ชัยวัฒน์ สุรวิชัย การทำความเข้าใจโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ต้องวางใจเป็นกลาง แล้วพิจารณาข้อมูลที่เกิดขึ้น ทั้งจากภาครัฐและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคประชาสังคมบ้างส่วนที่คัดค้าน โดย จะนำเสนอ 2 ประเด็น ก. ข้อมูลและสภาพที่เกิดขึ้น ข. ความเห็นส่วนบุคคลที่นำเสนอ ก. ข้อมูลและสภาพที่เกิดขึ้น 1. คำนำ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เป็นเรื่องเชิงนโยบายของรัฐ ที่จะต้องสร้างขึ้น เพื่อแก้ปัญหา เรื่องกำลังไฟฟ้าในภาคใต้ ที่มีไม่พอใช้ ให้มีความมั่นคงและการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงของประเทศ เพราะเศรษฐกิจของภาคใต้มีการเติบโตขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 5-6 % ต่อปี แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะมีภาคประชาสังคมบางส่วนและชาวบ้าน คัดค้าน และรัฐบาลจึงได้ชะลอโครงการออกไปก่อน แต่รัฐบาลจะต้องตัดสินใจ ว่าจะสร้างหรือไม่สร้าง โครงการไฟฟ้าถ่านหิน หรือ จะมีนโยบายใหม่อย่างไร เพราะ การชะลอ คงจะทำได้เพียงระยะหนึ่ง เพราะไม่มีผลดีต่อทั้งสองฝ่ายและโดยเฉพาะต่อประเทศไทย ฝ่ายคัดค้าน ก็จะไม่หยุด ขณะที่ฝ่ายปฏิบัติ ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะต้องคอยท่าทีการตัดสินใจของรัฐบาล การพิจารณาปัญหานี้ มีหลายแง่หลายมุม ที่แต่ละฝ่ายได้นำเสนอต่อสาธารณะ ซึ่งแตกต่างกันไป แต่ในที่นี้ จะใช้ “ แนวทางการเสริมสร้างธรรมาภิบาลขององค์กรภาคประชาสังคม กับการปฏิรูป “มาพิจารณาถึงสาเหตุและแนวทางแก้ไข 2. ความเป็นมา โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เป็นหนึ่งในโครงการโรงไฟฟ้าที่รัฐ จะก่อสร้างขึ้นตามแผนพัฒนา กำลังผลิตไฟฟ้า พศ. 2555 – 2573 ( PDP 2012 ) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 เพื่อตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจของภาคใต้ ที่เติมโตเพิ่มขึ้น เฉลี่ยร้อยละ 5-6 % ต่อปี ขณะที่ในพื้นที่ภาคใต้ ยังไม่มีแหล่งผลิตไฟฟ้าหลักอย่างเพียงพอ ต้องพึ่งพาสายส่ง เชื่อมโยงจากภาคกลาง ดังนั้น การมีโรงไฟฟ้าในภาคใต้ จึงช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และการเกิดการกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงของประเทศ สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ภายในบริเวณ พื้นที่โรงไฟฟ้ากระบี่เดิม อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ กำลังการผลิต ขนาดกำลังการผลิตไม่ต่ำว่า 780 เมกะวัตต์ ( กำลังผลิตติดตั้ง 870 เมกะวัตต์ ) เชื้อเพลิง ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินคุณภาพดี ประเภทซับบิทูมินัสหรือบิทูมินัส นำเข้าจาก ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย เทคโนโลยี่ที่ใช้ ระบบเผาไหม้ และหม้อไอน้ำของโรงไฟฟ้า ชนิด Ultra Supercritical ซึ่งเป็นเทคโนโลยี่หม้อน้ำที่มีประสิทธิภาพที่สุดในเชิงพาณิชย์ การดำเนินการในเรื่องนี้ มีอุปสรรคที่ทำให้ฝ่ายปฏิบัติ ทำได้บางส่วน แต่ยังไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เนื่องจากความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับ ชาวบ้านและภาคประชาสังคมส่วนหนึ่งในพื้นที่และนอกพื้นที่ ซึ่งได้เคลื่อนไหวคัดค้านในรูปแบบต่างๆ ทั้งการยื่นข้อเสนอ ชุมนุมคัดค้าน การนำเรื่องเสนอต่อทางกระบวนการยุติธรรม ฯลฯ ทางรัฐบาล ได้ใช้วิธีการชะลอโครงการออกไป โดยยังมิได้ตัดสินใจที่ชัดเจน ( จาก เอกสาร ชี้แจง โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ตอบคำถาม ทุกข้อสงสัย มีนาคม 2560 ) 3. สภาพปัญหา และ ลักษณะของปัญหา คู่ความขัดแย้ง 1. คู่ขัดแย้ง หลัก = รัฐ กับ ชาวบ้าน หรือ รัฐ กับ ประชาสังคม หรือ มีเอกชน เข้าร่วมด้วย ความขัดแย้งรอง องค์กรกึ่งรัฐวิสาหกิจและเอกชน เช่น ปตท. โรงกลั่น อาจจะมี เอกชนในพื้นที่หรือส่วนกลาง และสื่อ ที่ได้ประโยชน์ หรือ เสียประโยชน์ ร่วม 2. ความเห็นต่อ แนวทางการพัฒนาประเทศ แนวทางทุนนิยม vs แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม 3. ปัญหาเรื่องข้อมูลและความจริง ที่แต่ละฝ่ายนำเสนอต่อประชาชนและสังคม บางกรณี มีการอ้าง ความคิดและข้อมูลจากประเทศต่างๆ แต่ละฝ่ายเน้นในเรื่องที่มีผลดีต่อความคิดตน แต่มีการอ้างข้อมูลที่ผิดพลาดและเบี่ยงเบน ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ฝ่ายหน่วยงานของรัฐ ใช้การลงโฆษณาเผยแพร่ ลงในสื่อต่างๆ และผ่านกลไกของรัฐลงสู่ชาวบ้านในพื้นที่ ฝ่ายคัดค้าน ก็จะใช้โซเชียลมีเดีย และสื่อที่สนับสนุนตน และใช้กลไกของเครือข่ายของฝ่ายตนสู่กลุ่มต่า 4. การคัดค้าน และ การสนับสนุน ๔.๑ การคัดค้านนี้ เป็นความเห็นส่วนใหญ่ของชาวบ้าน จริงไหม , ได้มา อย่างไร ๔.๒ การสนับสนุนนี้ เป็นความเห็นส่วนใหญ่ของชาวบ้าน จริงไหม , ได้มา อย่างไร 5. บทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เสนอข่าวต่อสังคม มีบางส่วนคลาดเคลื่อน ไม่ครบถ้วน คนส่วนใหญ่ ที่เห็นด้วยหรือคัดค้านโครงการนี้ ขาดความรู้ความเข้าใจหรือมีประสบการณ์ที่เป็นจริง แต่จะเห็นด้วยหรือเชื่อตามผู้นำและข่าวที่ถูกนำเสนอจากทั้งสองฝ่าย รวมทั้งการมีทัศนคติต่อรัฐหรือการพัฒนาที่ต่างกัน 5. กรอบแนวคิด ธรรมาภิบาล ( Good Governance ) หรือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศในยุคนี้ เพราะเมื่อเกิดมีนโยบายต่างๆของรัฐ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ ธรรมาภิบาลจักเป็นกลไกที่สำคัญ ในการนำไปสู่การบรรลุผลหรือลดความขัดแย้งลง โดยธรรมาภิบาล จะต้องถูกนำไปใช้ หรือกำกับ ทั้งฝ่ายรัฐ ข้าราชการ นักการเมือง เอกชน และประชาชน จึงจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง หลักการธรรมาภิบาลที่เป็นพื้นฐานสำคัญ 6 ประการ ( บางนิยามจะมีมากกว่านี้ ) คือ หลักนิติธรรม หลักความเสมอภาค หลักคุณธรรมและจริยธรรม หลัก เปิดเผยโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี ซึ่งเรียก Good Governance ว่า ธรรมรัฐ ได้ให้ความหมายว่า คือ การบริหารการจัดการประเทศที่ดีในทุก ๆ ด้าน และทุก ๆ ระดับ การบริหารการจัดการที่ดีดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีหลักคิดว่า ทั้งประชาชน ข้าราชการบริหารประเทศเป็นหุ้นส่วน (Partnership) กันในการกำหนดชะตากรรมประเทศ แต่การเป็นหุ้นส่วนไม่ใช่หลักประกันว่าจะเกิดธรรมรัฐหรือ Good Governance ยังต้องหมายถึง การมีกฎเกณฑ์กติกาที่จะให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้ ประสิทธิภาพ ความเป็นธรรมและ การมีส่วนร่วมของสังคมในการกำหนดนโยบายบริหาร ตรวจสอบ ประเมินผลอย่างจริงจัง UNDP (United Nation Development Program) หน่วยงานสังกัดองค์การสหประชาชาติ ได้ให้นิยามความหมายของ Good Governance หรือธรรมาภิบาล ว่า คือ การใช้อำนาจทางการเมือง การบริหารและเศรษฐกิจในการดำเนินภารกิจ กิจกรรมต่าง ๆ ของประเทศ ในทุกระดับโดยมีกลไก กระบวนการ สถาบัน ซึ่งประชาชนและกลุ่มต่าง ๆ สามารถแสดงออก ถึงความต้องการผลประโยชน์ การใช้สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย การประสานประนีประนอมความแตกต่างโดยผ่านกลไก กระบวนการและสถาบันเหล่านั้น อาจจะสรุปได้ว่า Good Governance จะให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ภาครัฐ (Public Sector) ซึ่งจะมีส่วนเสริมสร้างและปฏิรูปการเมือง กฎหมายและการบริหารราชการ ภาคเอกชน (Private Sector) ซึ่งจะมีส่วนในการประกอบธุรกิจที่ดีและดำเนินธุรกิจอย่างซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมซึ่งจะทำให้ประเทศชาติมีความเจริญรุ่งเรือง ภาคประชาชนหรือองค์กรประชาสังคมต่างๆ (Civil Society)จะมีส่วนในการเกื้อหนุนในการดำเนินการทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง โดยการระดมกลุ่มต่าง ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมใน กิจกรรมต่าง ๆ และสามารถตรวจสอบทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจเอกชนให้ตั้งอยู่ในความถูกต้องได้ กล่าวโดยสรุปแล้ว ธรรมาภิบาล (Good Governance) หมายถึง การบริหารการจัดการทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อการพัฒนาของประเทศ โดยมีการเชื่อมโยงองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนของสังคม คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม และให้มีการสนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจ สังคม การเมืองอย่างสมดุล ส่งผลให้สังคมดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ตลอดจนมีการใช้อำนาจในการพัฒนาประเทศชาติให้เป็นไปอย่างมั่นคงยั่งยืน และมีเสถียรภาพ