ชัยวัฒน์ สุรวิชัย 6. บทบาทของคน หน่วยงานภาคส่วน ที่เกี่ยวข้อง ( ลักษณะ และองค์ประกอบ ) ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายรัฐ ฝ่ายองค์กรประชาสังคม ฝ่ายตรวจสอบของรัฐ ฝ่ายรัฐสภา นิติบัญญัติฝ่ายวิชาการ ชาวบ้านในพื้นที่ ชาวบ้านในภาคใต้ ที่ได้รับผลประโยชน์ หรือผลกระทบ อื่นๆ 6.1 ลักษณะขององค์กรประชาสังคม ( ในส่วนที่คัดค้านฯ ) องค์กร = คนในพื้นที่ + องค์กรเครือข่ายพลังงาน + นักวิชาการ + แนวร่วม + สื่อความคิดต่อการพัฒนา = มองในเชิงลบ ( เพราะต้องการอนุรักษ์ ฯ การไปในทางทุนนิยมมีผลเสียฯ ) ความคิดต่อรัฐ = ไม่ไว้วางใจ ( ส่วนหนึ่งจากอดีต และบางส่วนจากปัจจุบัน) ท่าที่ = ชี้แจงความคิดเห็นของตนต่อสาธารณะ , คัดค้าน ต่อต้าน รัฐบาลหน่วยงาน แต่ยอมร่วมเจรจา วิธีการ = ใช้มวลชน สื่อ กฎหมาย นำเรื่องเข้าสู่ศาล การใช้ฐานความรู้ ข้อมูล งานวิชาการ = เป็นข้อมูล ในเชิงคัดค้าน ( มีส่วนจริงและไม่จริง ) ? ให้ความสำคัญต่อ ชีวิตและความปลอดภัยของชาวบ้าน ชุมชน เน้นในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม 6.2 ลักษณะของฝ่ายรัฐ ผู้ตัดสินใจ = คณะรัฐมนตรี ฝ่ายนโยบาย = สำนักนโยบายและแผนพลังงาน ฝ่ายปฏิบัติ = การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ความคิดต่อการพัฒนา = มองในเชิงบวก เป็นความจำเป็นต่อการพัฒนาไปข้างหน้า ความคิดต่อผู้คัดค้าน = ไม่ไว้วางใจ ( ส่วนหนึ่งจากอดีต และบางส่วนจากปัจจุบัน ) ท่าที่ = ชี้แจงความคิดเห็นของตนต่อสาธารณะ สนับสนุน เห็นด้วย แต่ยอมร่วมเจรจา วิธีการ = ใช้มวลชน สื่อ กฎหมาย นำเรื่องเข้าสู่ศาล การใช้ฐานความรู้ ข้อมูล งานวิชาการ = เป็นข้อมูล ในเชิงสนับสนุน ( มีส่วนจริงและไม่จริง )? ให้ความสำคัญต่อการพัฒนา สร้างความเชื่อมั่นถึงความปลอดภัยของชาวบ้าน ชุมชน 7. การใช้ธรรมาภิบาล ให้เกิดการสร้างสรรค์ได้ไหม อย่างไร 7.1 ในภาวะของความขัดแย้งในปัจจุบัน ที่มีทัศนะต่อการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ต่างกันอย่างรุนแรง และเกิดความไม่ไว้วางใจกัน และมีการตั้งป้อมของแต่ละฝ่าย ( มากน้อย ต้องตรวจสอบความจริง ) อีกทั้งการใช้หลักธรรมาภิบาลในแต่ละฝ่ายยังขาด หรือทำไม่ได้ครบ ทำให้สภาพเช่นนี้ ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป 7.2 แต่การริเริ่มหรือใช้หลักธรรมาภิบาลของแต่ละฝ่าย น่าจะเกิดผลดีต่อตัวเองและต่อประชาชน ดังนั้น แต่ละฝ่ายจะต้องสำรวจว่า ได้ใช้หลักธรรมาภิบาลไปอย่างไร และจะเสริมเพิ่มเติมมากขึ้นได้อย่างไร ฝ่ายรัฐและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ในฐานะที่เป็นตัวแทนของประชาชนและประเทศ ควรจะต้องเป็นฝ่ายหลักใช้หลักธรรมาภิบาล ฝ่ายภาคประชาสังคมในส่วนที่คัดค้าน ก็จะต้องปรับปรุงตนเองและองค์กรของตนให้มีธรรมาภิบาลมากขึ้น เพราะ จะมีผลดีต่อ การทำงานของตน และการได้รับความเชื่อถือจากประชาชนมากขึ้น 7.3 บทบาทของฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องทางอ้อม ก็ควรจะต้องมีธรรมาภิบาลด้วย นักวิชาการ และมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง ( ที่มีการสอนในเรื่องนี้ ) บทบาทขององค์กรอื่นๆ ทั้งที่สนับสนุนและคัดค้าน บทบาทของสื่อ บทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ อื่นๆ 7.4 หลักการธรรมาภิบาลที่เป็นพื้นฐานสำคัญ 6 ประการ ( ดู ข้อ 5. กรอบคิด ) 8 ปัจจัยที่ส่งผลสู่ความสำเร็จของโครงการ ( ทุกฝ่าย ยอมรับได้ และเกิดผลประโยชน์ต่อประเทศ ) 8.1 การคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับ การคำนึงถึงผลเสียหายต่อพื้นที่และประเทศ ที่จะเกิดขึ้น หากยังคงมีสภาวะขัดแย้งกันอยู่เช่นนี้ 8.2 การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในแต่ละฝ่าย อย่างมีขั้นตอนและจังหวะก้าว 8.3 การสรุปทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาของแต่ละฝ่าย อะไร เป็นสิ่งที่ถูกต้อง อะไร เป็นฝ่ายที่ผิดพลาด มองอีกฝ่ายว่า มีข้อดีอย่างไร 8.4 การสร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ( เข้าร่วม รับรู้ครบถ้วน เข้าใจ ตัดสินใจได้เอง ) 8.5 ฝ่ายรัฐและหน่วยงานของรัฐ และฝ่ายองค์กรประชาสังคม ได้ทำไปแค่ไหน อย่างไร : ต่อ ประชาชนในพื้นที่ ฝ่ายผู้ที่ได้รับประโยชน์หรือผลกระทบในจังหวัดและภาคใต้ ฝ่ายประชาชนชาวไทย ทั้งประเทศ 8.6 ข้อเสนอในเชิงสร้างสรรค์ของแต่ละฝ่าย 8.7 การแสวงหาข้อเท็จจริง เวทีประชุมร่วม เวทีวิชาการ การเจรจาต่อรอง ( Negotiate ) การดูงาน ฝ่ายรัฐ อ้างว่า ได้พาไปดูงานในต่างประเทศ ชาวบ้านที่ไปร่วม พอใจ ฝ่ายคัดค้าน อ้างว่า ฝ่ายรัฐ เลือกพาชาวบ้าน ไปดูงาน เฉพาะที่ดี ( จะหาทางออกอย่างไร ) 8.8 มาตรการหรือวิธีการอื่นๆ = ขอเน้น การทำประชาพิจารณ์ ว่า มีหลักการเหตุผล การมีส่วนร่วม ข้อดีข้อเสีย อย่างไร ควรจะมีการปรับปรุงอย่างไรที่ให้ได้ผลดี ทั้งในส่วนของกรรมการฯ และฝ่ายต่างๆที่เข้าร่วม 9. ปัจจัยที่ส่งผลสู่ความล้มเหลวของโครงการ ( ยอมรับกันไม่ได้ และเกิดผลเสียต่อประเทศ ) 9.1 สถานการณ์และสภาพของสังคม ที่มีความขัดแย้งกันสูงของฝ่ายต่างๆ ซึ่งทำให้ฝ่ายที่เห็นต่างกับรัฐบาล เข้ามาใช้และขยายความขัดแย้งนี้ 9.2 ทัศนะที่มีต่อการพัฒนาประเทศ แนวทางทุนนิยม vs แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม และมีส่วนทำให้กลุ่มคนส่วนหนึ่ง ที่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นเรื่องพลังงานอื่นๆ เช่น แก็สและปิโตรเลี่ยม เข้ามาร่วมสนับสนุฝ่ายต่อต้าน ฯ 9.3 ทัศนะต่อรัฐบาลทหารที่มาจากการรัฐประหาร และอคติต่อทหาร รวมทั้งต่อข้าราชการ 9.4 ท่าที่ของฝ่ายต่างๆที่ขาดการเน้นเรื่องการสร้างสรรค์ และการร่วมมือกันในการทำงานฯ 9.5 การขาดธรรมาภิบาล หรือ มีไม่ครบถ้วน ของทั้งสองฝ่าย 9.6 ฝ่ายอื่นๆ รวมทั้งประชาชนที่เห็นด้วยหรือคัดค้าน ขาดการศึกษา ทำความเข้าใจถึงที่ไปที่มา และผลดีผลเสียของโครงการไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ แต่เข้ามาร่วมสนับหนุนหรือคัดค้าน ตามผู้นำ และเชื่อหรือไม่เชื่อข้อมูลที่นำเสนอ 9.7 การขาดการตัดสินใจที่เด็ดขาดของรัฐบาล 10. ข้อเสนอแนะ ( เป็นประเด็นทางเลือก ที่ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพิจารณา ) ก. ประเด็นหลัก ที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยพิจารณา 1. ความเห็นต่อ แนวทางการพัฒนาประเทศ แนวทางทุนนิยม vs แนวทางอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม สภาพความเป็นจริงที่สังคมไทย ต้องเดินไปข้างหน้า สามารถยกเลิกการใช้ไฟฟ้าจากถ่านหิน แล้วพัฒนาพลังงานไฟฟ้าอื่นๆ และทางเลือกอื่น ตามข้อเสนอของฝ่ายคัดค้าน ได้ไหม 2. การใช้แนวทางทุนนิยม + การปรับยกระดับการพัฒนาที่พอเพียง พํฒนาควบคู่กันไป เพื่อให้ได้ผลทั้งสองส่วน ในระยะยาว 3. หากทางภาครัฐ มีนโยบาย ที่จะแก้ไขปรับปรุง ในเรื่องพลังงานทั้งระบบอย่างจริงจัง > คำถาม คือ 3.1 รัฐสามารถที่จะหยุดชะลอ “ การผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ฯลฯ “ ได้ไหม อย่างไร จะเกิดผลดีต่อส่วนรวม รวมทั้งเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติ ทรัพากรและสิ่งแวดล้อม จะมีผลเสียต่อภาพรวมทั้งหมดของประเทศชาติ ไหม อย่างไร มีทางแก้ได้หรือไม่ 3.2 หากตามความเป็นจริง ทางรัฐ ไม่สามารถปรับเปลี่ยน ให้หยุด การค้านไฟฟ้าจากถ่านหินได้ เพราะ เกิดผลเสียต่อภาพรวมของทั้งประเทศ ที่เดินมาทางแนวทุนนิยม และต้องแข่งขันกับต่างประเทศและ ทางรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็มั่นใจ ในระบบเทคโนโลยี่ใหม่ และการจัดการที่ดีพอฯ ทางภาคประชาสังคมฯลฯ จะยอมรับได้ไหม หากนี่เป็นผลประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศ 4. ในส่วนของชาวบ้าน 4.1 หากชาวบ้านในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบ ไม่ยอมรับ ทางรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแก้ไขได้อย่างไร 4.2 หาก ชาวบ้านในพื้นที่ ที่ได้ผลกระทบ ในระดับต่างกัน สามารถยอมรับได้ นี่คือ การเสียสละส่วนของตนเอง เพื่อส่วนรวม เพื่อบ้านเมือง ภาครํฐ จำเป็น จะต้องมีนโยบายพิเศษ เพื่อเป็นการตอบแทนให้ จึงจำเป็นและสมควร ที่จะให้ การชดเชย หรือ การให้สิทธิพิเศษ สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบ และได้เสียสละส่วนตัวเพื่อส่วนรว ข. ประเด็นทั่วไป ที่ทุกฝ่ายจะต้องช่วยพิจารณา บทบาทของแต่ละฝ่าย ที่ควรจะเป็น การแสวงหาข้อเท็จจริง ที่ทุกฝ่ายยอมรับ ใคร ที่ไหน อย่างไร เรื่องหรือประเด็น ที่แต่ละฝ่ายยอมรับไม่ได้ เกณฑ์ขั้นต่ำที่แต่ละฝ่ายยอมรับได้ การมีธรรมาภิบาลของฝ่ายต่างๆที่ควรจะมีจะเป็นการตัดสินใจขั้นสุดท้าย ความรับผิดชอบ การชดเชย