คอลัมน์ ผีเสื้อกระพือปีก ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ความเห็นส่วนตัว เท่าที่ได้ศึกษาและติดตามโครงการนี้มาระดับหนึ่ง ได้เห็นทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายประชาสังคมส่วนหนึ่งที่คัดค้าน ยังมีความไม่สมบูรณ์ มิได้ดำเนินการพอ ในเรื่องของการนำธรรมาภิบาลมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้ โดยทั้งสองฝ่าย มีทั้งจุดแข็งจุดอ่อนของตน รวมทั้งข้อจำกัดบางประการในเรื่องการให้ข้อมูลที่เป็นความจริง การแสดงความเห็นนี้ : ใช้หลักการสร้างสรรค์ ตรงไปตรงมา , ส่วนการติติง “เป็นการรักษาโรคเพื่อช่วยคน “อาจจะพอสรุปได้บางประการคือ 1. ในอดีตที่ผ่านมา ฝ่ายรัฐมีจุดอ่อนในเรื่องของธรรมาภิบาล ในประเด็น ความเสมอภาค การใช้กฎหมาย (ระหว่างฝ่ายทุนและประชาชน )การมีส่วนร่วม การเปิดเผยข้อมูล ฯลฯ แต่ในช่วงหลัง ตั้งแต่การมีรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ รธน. 2540 จนมาถึงปัจจุบัน มีการปรับปรุงแก้ไข ได้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง แม้ว่ายังไม่สมบูรณ์ครบถ้วน 2. ในส่วนของฝ่ายประชาสังคมส่วนหนึ่งที่คัดค้านฯ มีข้อดี ในจุดยืนที่ต้องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติพลังงานและสิ่งแวดล้อม และชีวิตและความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชน รวมทั้งการสร้างความตระหนักแก่ประชาชนส่วนใหญ่ ที่ยังขาดข้อมูลและความสนใจต่อเรื่องส่วนรวม แต่ในเรื่องของ ข้อมูล มีความจำกัด ( ทั้งจากภาครัฐ และการศึกษาค้นคว้าฯ ) ทำให้มีข้ออ่อน ในเรื่องของข้อเท็จจริง เพราะบางครั้ง มุ่งไปในการโต้คัดค้านข้อมูลของฝ่ายรัฐ โดยใช้ข้อมูลจริงและไม่จริงอีกประการหนึ่ง ยังเน้นการรักษาสิทธิผลประโยชน์ของชุมชนมากกว่าผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่แม้จะเป็นเรื่องจุดยืนของภาคประชาสังคมส่วนนี้ แต่ก็ควรคำนึงถึงส่วนใหญ่ด้วยซึ่งควรจะมีการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น จะเป็นประโยชน์ต่อความน่าเชื่อถือของภาคประชาสังคม @ องค์กรภาคประชาสังคม ส่วนมากจะร่วมกับภาครัฐ ในการพัฒนาชุมชน หรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ฯ แต่ส่วนที่คัดค้าน จะเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ที่ตรวจสอบโครงการของรัฐที่ลงในท้องถิ่นทั้งในระดับจังหวัดภูมิภาคหรือประเทศ ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และเรื่องสิทธิชุมชน หรือ สิทธิมนุษยชน ฯลฯ 3. ในส่วนของภาครัฐ แม้ว่า แนวทางการพัฒนาประเทศ จำเป็นจะไปในทิศทางทุนนิยม ตามกระแสโลกและเพื่อนบ้านในอาเซียนและภูมิภาคต่างๆของโลกแต่ก็ควรจะดำเนิการในเรื่องหลัก 2 ประการ คือเสริมสร้างทุนนิยมให้มีธรรมาภิบาลมากขึ้นเสริมสร้างและยกระดับ การพัฒนาในทางเลือกที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนให้มากขึ้น 4. สังคมไทย ต้องสร้างธรรมาภิบาล ในเรื่องของความรับผิดชอบ หากฝ่ายที่ตัดสินใจไปทางใดทางหนึ่ง ที่ต่างกันไปควรจะต้องมีความรับผิดชอบ ทั้งผลดี หรือผลเสียที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมาและอาจจะผ่านไปอีก “ ไม่มีความรับผิดชอบตามมา “ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาซ้ำซากตามมาไม่รู้จบ “ เมื่อคนทำดีไม่ได้รับการยกย่อง แลเคนผิดไม่ถูกลงโทษ “ 5. ผู้ที่ให้การสนับสนุน หรือ คัดค้าน ควรจะมีการศึกษาหาความรู้โดยตรงให้มากขึ้นอย่าเพียงใช้ข้อมูลที่มาจากฝ่ายรัฐและประชาสังคมฯหรือความคิดในเชิงอคติ ต่อ รัฐ หรือ ฝ่ายคัดค้าน เป็นหลักในการในการตัดสินใจ หรือ การเข้าร่วมฯ 6. ผู้ที่ให้การสนับสนุนส่วนหนึ่ง มาจากสายวิชาชีพวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี่และเกี่ยวข้องผุ้ที่คัดค้านส่วนหนึ่ง มักจะเป็นผู้มาจากสายวิชาชีพ สิ่งแวดล้อม สังคม กฏหมาย ฯลฯ 7. ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ ได้มีการแสดงท่าที โดยคณาจารย์ที่เกี่ยวข้อง 4 สายงาน สนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ที่ห้องประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาฯ วันที่ 28 กุมภา2560 ผมได้ไปร่วมฟังตลอดรายการ ( มีผู้แสดงความเห็นคัดค้านบางประเด็น แต่ก็มีการชี้แจงจากวิทยากร ) 8. ข้อมูลที่ถูกนำเสนออกมาจากทั้งสองฝ่าย แม้จะไม่ครบถ้วน แต่ฝ่ายสนับสนุนมีน้ำหนักมากกว่าขณะที่ฝ่ายคัดค้าน นำเสนอข้อมูลทั้งเป็นจริง ( แต่เป็นประเด็นรอง ) และบางข้อมูลเป็นเท็จเช่น ประเทศจีน ยกเลิกโรงไฟฟ้าถ่านหิน ฯ ( ซึ่งนำเสนอไม่หมด ความจริงที่ทางทูตจีน ได้ชี้แจงคือส่วนที่ยกเลิก เป็นโรงถ่านหินเก่าและใช้เทคโนโลยี่เก่า แต่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่สร้างขึ้นมีมากกว่าและใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัย ที่ทำให้ได้ไฟฟ้าและความปลอดภัย ตามค่ามาตรฐานโลก ฯลฯ )เช่น การกล่าวอ้างที่เป็นวาทกรรมที่คลาดเคลื่อน เช่น “ ถ่านหิน ไม่สะอาด มีมลพิษ “ แต่ไม่พูดให้ครบว่าหน่วยงานรัฐ ใช้ ถ่านหินประเภทที่ดีที่สุด และใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัยเป็นที่ยอมรับในค่าความปลอดภัยทำให้สามารถผลิตไฟฟ้า ที่มีความปลอดภัยได้ ฯลฯ 9. เท่าที่ได้ติดตามมา ทั้งในวงกว้างและในวงเพื่อนมิตรและคนรู้จักรวมทั้งในโซเชียลมิเดียพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ สนับสนุนโครงการฯนี้ และต้องการให้เร่งดำเนินการ และ ประชาชนบางส่วนเท่านั้น ที่เห็นด้วยกับฝ่ายคัดค้านฯ แม้ในพื้นที่เองอีกทั้งทัศนคติความนิยมชมชอบ ผู้นำที่คัดค้านฯ ก็ลดลงไปมาก 10. ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพลังงาน ได้มีการพัฒนาปรับเพิ่มและลดกำลังการผลิตไฟฟ้าและการกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ ให้อยู่บนพื้นฐานของความมั่นคงและประโยชน์แก่ประเทศมาตลอด(แผนบูรณาการกลังงานระยะยาว 2558 -2579 ) 10.1 เสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า : ระบบการผลิต ระบบขนส่ง และระบบจำหน่าย 10.2 จัดสรรกำลังการผลิตและกระจายสัดส่วนเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ปี 2557>2579 พลังงานหมุนเวียน :9 % >20 % ก๊าซธรรมชาติ : 64 % >37 % ซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากต่างประเทศ:7 % > 15 % เทคโนโลยี่ถ่านหินสะอาด :20 % >23 % 10.3 รักษาระดับ กำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง :15 % 11. การสร้างความสมดุลในมิติการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยลดการพึ่งพาแก๊ซธรรมชาติ ที่มีสัดส่วนสูงถึง 60-70% ทำให้ประเทสมีความเสี่ยง เนื่องจาก ก๊าซธรรมชาติถือเป็นเชื้อเพลิงที่เก็บสำรองค่อนข้างยาก และโดยปกติต้องขนส่งทางท่อ ซึ่งหากแหล่งต้นทางผลิตและท่อส่งมีปัญหา ก็จะเกิดผลกระทบถึงการผลิตไฟฟ้าได้เพื่อเพิ่มสมดุลในการผลิตไฟฟ้า จึงควรที่จะเพิ่มการนำเทคโนโลยี่ถ่านหินสะอาดมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เพราะ ยังมีสำรองถ่านหินในโลกอยู่สูงมาก และอาเซียนก็มีแหล่งถ่านหินสะอาด ทำให้ต้นทุนการผลิตยังไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงอื่นๆ ที่คุ้นค่าทางเศรษฐศาสตร์ ช่วยให้ต้นทุนพลังงานของภาคธุรกิจยัสามารถแข่งขันได้ 12. การตัดสินในขั้นสุดท้ายอยู่ที่รัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจ จะเดินหน้าต่อ หรือ หยุด หรือชะลอเงื่อนไขของเวลา ที่จะยังไม่ตัดสินใจ มีมากน้อยเพียงใด และจะเกิดผลดีผลเสียอย่างไรการตัดสินใจเลือกทางใดทางหนึ่ง จะต้องมีเหตุผลอธิบายได้ชัดเจน และการมีมาตรการที่ต่อเนื่อง ทางรัฐบาล คงจะต้องรีบประเมินผล และมีการตัดสินใจโดยเร็ว โดยจะต้องมีคำชี้แจงอธิบายต่อประชาชนโดยยึดหลักการที่ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาล และความจำเป็นของประเทศและควรจะยอมรับข้ออ่อนบางประการที่มี เพราะเรื่องของการพัฒนาประเทศตามแนวทางนี้ มิได้มีแต่ข้อดีหรือได้หมด 100 % แต่โดยหลักต้องให้เกิดประโยชน์สูงสุดสุดต่อประชาชนและประเทศชาติและข้ออ่อนที่มี ( ซึ่งต้องเป็นส่วนน้อย ) ต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นและสำหรับชาวบ้านในพื้นที่รวมทั้งธุรกิจที่ถูกกระทบ รัฐจะต้องถือว่า “เป็นผู้เสียสละ จะต้องชื่นชมยกย่อง รวมทั้งต้องมีการชดเชยให้แก่ผู้ที่เสียหายจริง ตามความเหมาะสม”