ชัยวัฒน์ สุรวิชัย จากลำปาง จะนำพาท่าน นั่งรถไฟมากรุงเทพ เป็นรถไฟคันที่ปู่จิ๊บ นั่งเข้ากรุงเทพตั้งแต่เด็ก มีความเป็นเพื่อนเป็นมิตร และคุ้นเคยกับรถไฟชั้น 3 มาก ไม่มีหมายเลขนั่ง ต้องขึ้นก่อนหรือรอคนลง วัดพระธรรม ที่ลำปาง เป็นพื้นฐานที่มั่นคง สำหรับการต่อเติม “ ธรรมแห่งชีวิตและการต่อสู้ของชีวิต “กว่าห้าสิบปี นับถึงวันนี้ เกือบ เจ็ดสิบ แต่หากมีชีวิตยาวนานไปถึงแปดสิบเก้าสิบ ก็จะเพิ่มพรรษาตาม เริ่มจากที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท 2 ปี ทั้งเรียนที่เป็นเรื่องปกติ ที่ทุกคนเก่งและศึกษาเอง แต่เรื่องกิจกรรมเพื่อส่วนรวมและสังคม ซิ มีไม่มากคนนัก ที่จะให้ความสนใจ มาทำงานให้โรงเรียนเริ่มจาก เป็นกรรมการชมรมสังคมศึกษาฯ ที่เน้นงาน “ UN สหประชาชาติ “ มีการจัดนิทรรศการขึ้น และตอนอยู่ปีสอง ก็มีกิจกรรมพานักเรียนฯ ไปศึกษาดูสถานที่ประวัติศาสตร์และวัดที่อยุธยาฯ หลังจากเสร็จงาน เพื่อนๆและน้องปีหนึ่งกลับบ้านแล้ว อาจารย์บุญเลื่อน เครือตราชู ให้รางวัล 20 บาทโตความคิดมากขึ้น เมื่อเข้ามาเรียนที่คณะวิศวจุฬาฯ และได้เข้ามาสัมพันธ์กับชมรมต่างๆของจุฬาฯ 2511 ปิดเทอมใหญ่ตอนปีสอง ได้เดินทางไปสวนโมกข์ ไปกราบท่านพุทธทาส เป็นเวลาเดือนเศษและที่มีคุณค่าและประโยชน์ไม่น้อย คือ ได้ไปร่วมกับคณะที่มี ดร.ระวี ภาวิไล และครอบครัวไปด้วย ( เป็นคนสำคัญ มีความรู้มากและเขียนหนังสือด้าน วิทยาศาสตร์ พุทธศาสนา วรรณกรรม และปรัชญา เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขา วรรณศิลป์ และราชบัณฑิต ทางวิทยาศาสตร์ ) การได้อยู่กับผู้รู้ทางธรรมและโลก และได้ฟังคำแนะนำจากท่านทั้งสอง ทำให้สติปัญญางอกงามขึ้น ตัดตอนมาปี 2517 หลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ผมมีความคิดอยากจะบวช เพราะมีความตั้งใจ และความุ่งมั่น 3 ประการ ด้วยเป็นโอกาสและจังหวะที่ดี ที่จะได้ทำสิ่งที่ควรทำ ในเวลาอันเหมาะสม 1. บวชทดแทนคุณพ่อแม่ ทำให้ท่านได้บุญตามความเชื่อของสังคม และต้องการจะขอขมา จากการ ทำให้ท่านทั้งสอง ต้องเป็นทุกข์กังวลกับลูกคนนี้ ที่ต้องถูกจับติดคุกการเมือง ในวันที่ 6-13 ตุลา 2516 2. ต้องการไปศึกษธรรมของพระพุทธเจ้า ในเรื่องของชีวิตและการทำงานที่ถูกต้องชอบธรรมไปตลอด 3. ต้องการพักผ่อนบ้าง หลังจากได้ใช้ชีวิตทำกิจกรรมทางการเมืองของบ้านเมืองและมหาวิทยาลัย โอกาสที่เหมาะสม คือ ผมเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครฯ ในฝ่ายโยธามาตั้งแต่ปี 2516 และมีสิทธิที่จะลาบวชได้ จึงถือโอกาสใช้สิทธินี้ โดยผมพยายามทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องของราชการ ยื่นเรื่องขาลาบวชไปเดือนกว่า จนใกล้เข้าพรรษาแล้ว เรื่องยังไม่อนุมัติมา แล้วจะทันบวชไหมนิ ผมจึงตัดสินใจ เดินไปหาท่านปลัด กทม. คุณหญิงนันทกา สุประภาตะนันทน์ ที่ห้องทำงานของท่าน เวลาที่ผ่านไปไม่กี่นาทีในห้องฯ “ คุณชัยวัฒน์ มีอะไร พี่ชื่นชมสิ่งที่คุณและพวกทำให้บ้านเมืองน่ะ , ผมจะบวชพรรษานี้ จึงมาขอลาบวชครับ , อ้อดีนิ ขออนุโมทนาบุญด้วยน่ะ มีอะไรให้พี่ช่วย …….. “แล้วไม่กี่ชั่วโมง ผมได้รับใบอนุญาตให้ลาบวชได้ ผมต้องขอขอบคุณย้อนหลังท่านมา ณ ที่นี้ด้วย ผมเดินทางกลับไปบ้านลำปาง เพื่อทำพิธีบวชที่วัดเชียงรายลำปาง โดยหลวงพ่อเป็นผู้บวชให้ มีเพื่อนพ้องน้องพี่จากกรุงเทพฯไปกัน ตรึม มีการถ่ายรูปร่วมกันหน้าวัดด้วย ป๋าและแม่ มีความสุขมาก ที่ได้เห็นชายผ้าเหลืองของลูกชาย ผมดีใจที่ทำให้ท่านมีความสุข แล้วเดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ กับท่านปัญญานันทะภิกขุ ท่านปัญญาเรียกผมว่า “ สหายไขแสง “ (พี่ไขแสง สุกใส ที่มีความคุ้นเคยกับท่านปัญญา ช่วยจัดการให้ ) การบวชเข้าพรรษาของวัดชลประทานฯ เป็นรอบของพระนวกะ ที่อุปสมบทหมู่ ( ที่มีข้าราชการทหารตำรวจพลเรือน เอกชนและบุคคลทั่วไป ในรุ่นปี 2517 มีประมาณ 100 คน ) มีงานวิจัยประมวลผลความคิดเห็นของพระนวกะ ที่ตัดสินใจบวชที่วัดชลประทานฯ 1. ด้านเหตุผลทั่วไป : เพื่อทดแทนบุญคุณบิดามารดาหรือผู้มีพระคุณ จำนวน 226 รูป 2. ด้านเหตุผลในการตัดสินใจเลือกอุปสมบทที่วัดชลประทานฯ : เชื่อมั่นในคำสอนของ พระพรหมมังคลาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ)ฯลฯ ซึ่งมีความชัดเจนทั้งสอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนา 3. ด้านเป้าหมาย : เพื่อทดแทนพระคุณบิดามารดาและผู้มีพระคุณ 4. ด้านผลสัมฤทธิ์ : การอุปสมบทเป็นพระทำให้พิจารณาเห็นคุณค่าของชีวิตมากขึ้น ท่านปัญญาฯจะให้ความรักและความสนิมสนมกับ พระชัยวัฒน์ อิสรธัมโม มากหน่อย และได้มีโอกาสรับฟังธรรมจากท่านเป็นประจำ , ในการเทศน์ ท่านจะยืนเทศน์หน้าพระนวกะ พูดสำเนียงใต้ “ ท่านทั้งหลาย …… “ ให้หลักคิดและหลักปฏิบัติที่ดี เป็นคำง่ายๆ พูดง่ายฟังง่าย ทั้งในตำราธรรมของท่านพุทธทาส และรูปธรรมของสังคม ที่ท่านได้พบได้เจอทั้งในอดีตและปัจจุบัน ผมได้พักในกุฏิเดียวกับพระอาวุโสรูปหนึ่ง ท่านก็ได้ให้ความเมตตาและคุยกัภาษาธรรมดา ท่านจะรวบรวมสิ่งของและปัจจัยที่ได้มา ส่งกลับไปวัดต่างจังหวัดที่ยากจนขาดแคลนประจำ ฯ ในช่วงที่ผมบวชพรรษา มีเหตุการณ์การเมืองเกิดขึ้น คือ การจลาจลที่พลับพลาไชย พ.ศ. 2517เกิดขึ้นในเวลา 20.30 นาฬิกาของวันที่ 3 กค. 2517 เป็นเรื่อง “ แท็กซี่ และตำรวจพลับพลาชัย “เหตุการณ์บานปลายเมื่อฝูงชนได้เข้าทำลายอาคารสถานีตำรวจพลับพลาไชย มีการทำลายทรัพย์สินของตำรวจ ตำรวจได้ยิงปืนกราด ทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ได้ยืดเยื้อไปอีกถึง 2 วัน ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2517 มีการต่อสู้กระจายไปทั่วพลับพลาไชย มีประชาชนร่วมในเหตุการณ์ประมาณ 500 คน โดยกลุ่มวัยรุ่นซึ่งต่อมาถูกตำรวจจับกุมตัวได้ และถูกส่งไปดำเนินคดีข้อหาหนักทั้งหมด ระหว่างเกิดเหตุนั้น รัฐบาลนายสัญญา ได้ประกาศภาวะฉุกเฉิน และยกเลิกในวันที่ 9 ก.ค. 2517 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 25 คน บาดเจ็บ 120 คน พระชัยวัฒน์ อิสรธัมโม ยามว่างจากการฟังเทศน์และการศึกษาธรรมจากท่านปัญญาฯและตำรา ก็จะมาธุดงค์ ที่สนามหลวง และท่าพระจันทร์ ธรรมศาสตร์ เป็นประจำ โดยนั่งรถเมล์มาเองคนเดียว ได้โอกาสไปเดินดูเหตุการณ์ในช่วงนี้ด้วย และได้เห็น พระสงฆ์รุ่นใหม่ไฟแรงจำนวนหนึ่ง ที่มาร่วมชุมนุมกับ นักศึกษากรรมกรชาวนา ( สามประสาน ) ได้รู้จักคุ้นเคยกับพระสงฆ์ หลายรูป เช่น พระมหาจัด คงสุข ฯ ชีวิตพรรษาของการเป็นพระ ต้องยอมรับว่า “ ยังไม่ได้ธรรมอย่างเต็มที่ “ เพราะยังหนุ่ม ประสบการณ์ทางชีวิตและธรรม ยังไม่มากนัก เพราะเรื่องของ พระวัดธรรม เป็นเรื่องของความสัมพันธ์กับชาวบ้านชาวโลก เป็นเรื่องที่คู่กัน ไม่สามารถแยกขาดจากกันได้ การมีประสบการณ์ทั้งทางบ้านวัดโลกและทางธรรม จะนำพาเราเข้าใจธรรมได้ง่ายและมากขึ้น จนถึงขั้นที่เป้นไปด้วยธรรมชาติ ด้วยความรู้สติปัญญาความจริง “ เจ้าชายสิทธัตถะ ออกบวช เพราะต้องการได้ธรรมช่วยคนและเมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้ออกมาเผยแพร่ธรรม ให้คนคิดดีทำดี เพื่อตนเองและผู้อื่น โดยละสุขทุกข์ทางโลก สู่สุขแท้ทางธรรม” หลังจากออกพรรษา ระยะหนึ่ง พระชัยวัฒน์ ได้กราบลาหลวงพ่อปัญญานันทะ เพื่อกลับไปสึกที่ลำปางได้ถูกนิมนต์ โดยโยมพ่อและแม่และพี่น้อง ไปที่บ้าน และได้นั่งเก้าอี้เทศน์โปรดฯ ภาพที่พระ ซึ่งเป็นลูก นั่งบนเก้าอี้สูง กับ พ่อแม่ ที่เป็นผู้ให้กำเนิด นั่งพับเพรียบอยู่บนพื้นในห้องนอนชั้นบน ของร้านชัยประสาร ผมยังจำได้ดี และจำความรู้สึกที่ตะขิดตะขวง แต่ก็ซ่อนไว้ในใจ เทศน์จนจบ แล้วก็ไปที่วัดลำปางเชียงราย ให้หลวงพ่อฯ ทำพิธีสึกให้ พระชัยวัฒน์ อิสรธัมโม ก็กลับเป็น นายชัยวัฒน์ ฯ ชีวิตพระวัดธรรม มิได้จบตรงการเปลี่ยนชุดคลุมจากสีเหลืองของพระ มาเป็นชุดหลากหลายของฆราวาส การบวชได้อะไรทางธรรม ติดตัวติดใจมาบ้าง แต่ยังไม่มากนัก เส้นทางเดินสายธรรม ได้มามากขึ้น เข้าใจมากขึ้น บนเส้นทางชีวิตทางโลก และการต่อสู้เพื่อบ้านเมือง รวมทั้งการศึกษาธรรมทุกประเภท ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต และการไปแสวงหาธรรมที่เกี่ยวกับชีวิตและโลก ทางพุทธศาสนาเป็นหลัก ทั้งนิกายเถรวาท มหานิกาย ฯ และศาสนาอื่นๆในบางช่วงเวลาที่พานพบ แต่ที่สุด ที่ได้นำมาน้อมใส่ใจ เอาใจจดจ่อธรรม เพราะรู้ด้วยความรู้สติปัญญาความจริงว่า “ การมีธรรมที่ถูกต้องสอดคล้องกับชีวิตและโลก จะทำให้เราเป็นคนดี คิดดีทำดีเพื่อตนเอง ผู้อื่น ชุมชนสังคมและบ้านเมือง ได้มาก “การทำเพื่อตนเองให้ดี ก็เพื่อให้ตนมีความคิดที่กว้างขึ้น นอกจากตัวเอง ไปยังผู้อื่นและโลก การทำเพื่อผู้อื่น จะทำให้เรารู้จักตัวเองว่า “ เล็กน้อย “ โดยเราต้องไม่เอาเปรียบคนอื่น ต้องให้มากกว่าเอา การทำเพื่อผู้อื่นและเพื่อบ้านเมือง ก็คือ การทำให้ตนเอง มีและอยู่ในสภาพของสังคมที่มีคนอื่นๆที่ดีและ มีบ้านเมืองที่มีระบบโครงสร้างที่ดี ที่จะเอื้อให้คนทำดี และปกป้องความดี และขัดขวางมิให้คนทำชั่วชีวิตที่ผ่านมาถึงวันนี้ ก็ได้ทำได้ดีระดับหนึ่ง ทำให้ป๋าแม่พี่น้องญาติมิตรและเพื่อนๆ ภาคภูมิใจในตัวเรา “ เพื่อนๆและรุ่นน้องหลายคน กล่าวชื่นชมเกินไปว่า “ พี่จิ๊บ มั่งคงเสมอต้นเสมอปลาย ทำให้น่าชื่นชม “ ทั้งตัวเองและคำกล่าวนี้ ทำให้เราตั้งใจมั่นที่จะเดินหน้าทำดี เสียสละต่อไป แม้จะได้ข้อสรุปในชีวิตว่า “ คนดีมีอุดมคติ ต้องเสียสละตลอดไป และอย่าหวังที่จะได้อะไรตอบแทน ไม่ว่าลาภยศสรรเสริญสุข “เพราะ ไม่มีความจำเป็นอะไร ที่จะเอาสิ่งภายนอกมาเพิ่มเติม อีกทั้งอาจนำความโลภโกรธหลงมาให้อีก เมื่อน้ำในใจแห่งคุณงามความดี มีอยู่เต็มแก้วแล้ว จึงมีความสุขกายและใจเสมอ ไม่มีอะไรต้องการอีกเลย สำหรับตัวเอง ไม่เคยทำในสิ่งที่ชาวบ้าน กล่าวหา “ นักการเมือง หรือคนเดือนตุลาหลายคนที่เปลี่ยนไป “ไม่เคยทำเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ยึดหลักปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำให้บางครั้งถูกเพื่อน แซงไปจากการวิ่งเต้น แต่เราก็มองว่า “แม้เพื่อนบางคนทำไม่ถูกต้อง แต่ในระบบนี้ เขา ก็ยังดีกว่า นักขายตัว ที่มากมายในสภา” เพราะเราอยู่ในโลกและชีวิตแห่งความจริง ที่แม้แต่คนมีอุดมคติ อยากทำงานให้สังคม ก็ทำแบบที่ผิด บนเส้นทางไปสู่สังคมอุดมคติ ต้องแยกแยะ “ ผู้คน แม้ไม่มีดีที่สุด ก็เลือกคนที่เลวน้อยที่สุด “พูดเหมือนกับนักการเมืองเลย ที่ว่า “ ประชาธิปไตย คือระบบการเมืองที่เลวน้อยที่สุด “ ชีวิตพระวัดธรรม และชีวิตโลก เรายึดมั่นและทำได้มาตลอด “ยามทุกข์อยู่หน้า ยามสุขอยู่ท้าย” นี่คงเป็นผลจาก พระวัดธรรม ที่ได้ศึกษาเรียนรู้และสัมผัสมาทั้งชีวิต และคงต่อไปในช่วงที่เหลือของชีวิต