ชัยวัฒน์ สุรวิชัย โรงเรียน รักและสอนนักเรียน ให้มีความรู้ มีสติปัญญา มีวิริยะอุตสาหะ นำชีวิต ไปสู่ความสำเร็จ โรงเรียน หน่วยทางสังคมที่สำคัญที่สุดอีกอย่างหนึ่ง โรงเรียนในประเทศไทย ตั้งขึ้นเป็นทางการครั้งแรก ในปี 2414 สมัยร. 5 และนำมาสอนในบริเวณมหาราชวังสำหรับลูกท่านหลานเธอ ก่อนออกมาข้างนอก ในสมัยก่อนหน้า บ้าน คือทุกอย่างของชีวิต เป็นทั้งที่เกิด ที่อยู่ที่กิน และที่เรียนรู้จากพ่อแม่และการทำงาน การศึกษาหรือโรงเรียนถัดมาคือ วัด ที่คือสถานบันการศึกษาของชุมชน คามรู้แขนงต่างๆ และประสบการณ์ของชุมชนและบรรพบุรุษ ถูกเก็นรักษาและพัฒนาขึ้นมาโดยพระวัดและปราชญ์ชาวบ้านท้องถิ่น แม้มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นมา ชาวบ้านในชนบทก็ยังไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียน เนื่องจากว่ายังแปลกใหม่เนิ่นนานหลายสิบปี กว่าชาวบ้านจะเข้าใจและยอมส่งบุตรหลานเข้าในระบบโรงเรียนและเมื่อโรงเรียนมีการพัฒนาขึ้น จากทั้งครูบาอาจารย์ไทยที่เห็นความสำคัญของการเรียน และการนำความรู้ที่ได้ไปศึกษาต่อในต่างประเทสกลับมาพัฒนา รวมทั้งมีคณะครูและบาดหลวงทางศาสนานำเข้ามา เรื่องความรู้ สติปัญญา ความจริง แม้ว่า ในชีวิตของคนทั่วไป จะได้มาจากโรงเรียนเป็นหลักในช่วงวัยเรียน แต่ทั้งระหว่างการเรียนในห้องเรียนทุกระดับ อนุบาล ประถม มัธยมต้นปลายและมหาวิทยาลัย และหลังจากการศึกษา รวมทั้งการทำงาน เรายังได้ความรู้จากนอกตำรา นอกห้องเรียน การทำกิจกรรม จากการใฝ่ใจจดจ่อหาความรู้และประสบการณ์เอง ในทุกช่วงของชีวิต มีข้อสังเกตว่า คนที่มีฐานะไม่ดีบางส่วน ที่ต้องทำงานและเรียนไปด้วย กลับประสบความสำเร็จมากในชีวิต และนักเรียนนักศึกษาชาย ที่ดูเหมือนชอบใช้เวลาเรียนหรือทำงาน ไปสนใจในเรื่องนอกการเรียน จะมีความรู้รอบตัว มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาชีวิต ได้ดีกว่านักศึกษาหญิง ที่เรียนและสอบได้ดีกว่า เพราะ การเรียนรู้ที่สำคัญ นอกจากในห้องเรียนแล้ว ยังคือ ความรู้ต่อชีวิตและโลกแห่งความเป็นจริง ผมชอบ ความคิดผ่านข้อเขียน ของน้องชายคนเก่งมาก นาม ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯรุ่น 2516 อดีตผู้ว่าฯ ชาติที่โดดเด่น ฯ ซึ่งเป็นคนเก่งทั้งการเรียนและการงาน ได้พูดข้อความนี้ “ ผมได้ ให้แพกเก็จใหญ่ที่สมบูรณืแก่ลูกๆ เพื่อให้เขาได้สิ่งที่ดีสุด แต่ผมไม่แน่ใจ…เมื่อคิดถึงชีวิตของตนเอง ที่มีเพียงแฟ้มท์เล็กๆ ที่จะต่อสู้ดิ้นรน กว่าจะมีวันนี้ เพราะมันทำให้ผมต้อง ใช้ความพยายาม “ วิริยะอุตสาหะ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ” ( คำขวัญของโรงเรียนเครืออัสสัมชัญ ) ส่วน ปู่จิ๊บ ซึ่งได้รับประสบการณ์มากมาย จากการทำกิจกรรม การสนใจปัญหาของบ้านเมือง และเข้าร่วมในเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ก่อน 14 ตุลาคม 2516 และหลังเหตุการณ์ ตั้งแต่การก่อตั้งกลุ่มปช.ปช. ( กลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ) การก่อตั้งพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศ การเข้าร่วมไปต่อสู้ในชนบทกับนักศึกษาประชาชนหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และเมื่อกลับคืนสู่นาคร ก็ได้ร่วมก่อตั้ง “ กลุ่มเพื่อนพ้องน้องพี่ “ เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาประชาชนที่เดือดร้อนหลังออกมาจากป่า ได้ร่วมกับเพื่อนมิตรภาคประชาชนต่อสู้คัดค้านรัฐบาลเผด็จการทหารสุจินดา กรณีพฤษภาคม 2535 และหลังเหตุการณ์ ก็ได้เข้าร่วมกับพรรคพลังธรรม ได้เป็นกรรมการบริหาร รองเลขาธิการ และ เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายกระทรวง รวมทั้งรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ( นายไชยวัฒน์ สินสุวงค์ ) และในช่วงคุณทักษิณเข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม ก็ได้มีความสนิทสนมคุ้นเคยและร่วมงานกันหลายเรื่อง ได้เข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนที่สำคัญของหัวหน้าทักษิณ การได้เข้าศึกษาผู้บริหารชั้นสูง ปปร.รุ่นที่ 2 ของสถาบันนพระปกเกล้าฯ ( 2539-40 ) การเข้าร่วมเคลื่อนไหวรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 การก่อตั้ง “ สถาบันพัฒนาการเมือง “ ครั้งแรก ที่ตึกช้าง( 2542 -48 ) ออกหนังสือและสร้างกิจกรรมต่างๆมากมายในการให้ความรู้และเข้าใจสังคมและประวัติศาสตร์ไทย แก่นักกิจกรรมรุ่นใหม่ และประชาชนทั่วไป ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติรุ่นแรกที่มีท่านอานันท์เป็นประธาน ( 2544-2548 ) , การได้รับเชิญเป็นเลขาธิการองค์กรเกษตรกรไทยเพื่อการพัฒนาระดับประเทศ สกพ. ) ปี 2547-2550 , เป็นกรรมการมูลนิธิ 14 ตุลาคม รุ่นอาจารย์นิคม ดร.โคทม อ.ธีรยุทธ บุญมี และได้ร่วมกับผู้นำภาคประชาชนต่อต้านคัดค้านระบอบทุนสามานย์ทักษิณ ที่ตอนหลังมีการจัดตั้ง พธม. มารับหน้าที่เป็นแกนนำ ซึ่งก็ได้ร่วมกิจกรรมอย่างใกล้ชิด ในการออกทีวีหลายช่องรวมทั้งปราศัยในเวทีต่างๆให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่มวลชนที่มารับฟังและประชาชนทั่วประเทศ ( 2549 – 2551) และจากนั้น ก็ได้ร่วมงานกับเสธอ้าย พลเอก บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ ประธานองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ในการออกมาชุมนุมที่สนามม้าและลานพระรูปทรงม้า ขับไล่รัฐบาลนอมินียิ่งลักษณ์ ปลายปี 2555 ,ในจังหวะเดียวกับ การก่อตั้งสถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน ( ยุค 2 ) แจ้งวัฒนะ (2554 -56 ) , ต่อเนื่องมายัง การชุมนใหญ่ของมวลมหาประชาชนเรือนล้านกป.ปส.ที่มีกำนันสุเทพและคณะ เป็นแกนนำ ( 2556-2557 ) และก่อนหน้าและหลังเหตุการณ์ ก็ได้ทำหน้าที่ในการสรรหาเลือกข่าวสาระที่เป็นความรู้ที่น่าสนใจ 1. เสนอต่อเพื่อนมิตรและผู้สนใจ ในหลายช่องทาง ทั้ง เฟสบุ๊ค อีเมล์ และไลน์ 2. สื่อนสพ. ได้เขียนบทความประจำทุกวันจันทร์ หน้า 4 แนวหน้า คอลัมน์ Change with คิด & ทำ สยามรัฐ รายวัน หน้า 3 คอลัมน์ ผีเสื้อกระพือปีก รายสะดวก อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ 3. วิทยุ รายการวิทยุ FM 101 RRone 07.30-09.00 น. ทุกวันอาทิตย์ รายการ “โต๊ะกรองข่าว” ร่วมกับ คุณภุมรัตน์ ทักษาดิพงษ์ พลอากาศเอกวีวิท คงศักดิ์ 4. รายการเคเบิ้ลทีวี HI CABLE TV รายการบูรพาภิวัฒน์ ทุกสัปดาห์วันศุกร์ 5. นอกจากนั้น ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับกลุ่มธุรกิจ กลุ่มเพื่อนพ้องน้องพี่ ภาคประชาชน นักการเมือง และกลุ่มทหารก้าวหน้าที่เกษียณแล้ว ซึ่งจากกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำไปนี้ ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และคงจะต่อไป ทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์ ความเข้าใจในทิศทางและแนวโน้มของสังคมไทย ซึ่ง ควจะได้นำมาเสนอต่อท่านผู้อ่านและเพื่อนมิตรตามโอกาสที่สมควร สุดท้ายในช่วงนี้ อยากจะสรุปว่า “ ชีวิตของปู่จิ๊บ ไม่เคยโรยด้วยดอกกุหลาบ ต้องฝ่าฟันด้วยหยาดเหงื่อ ผ่านความเจ็บปวดและอุปสรรคมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนและการสนับสนุนช่วยเหลือจากเพื่อนมิตร” กลับมาพูดถึงเรื่องโรงเรียน จะขอเริ่มที่จังหวัดลำปาง บ้านเกิดของปู่จิ๊บก่อน โรงเรียนในจังหวัดลำปาง เริ่มต้นมาจากทั้งโรงเรียนราษฎร ทั้งเอกชนไทยและศาสนา และโรงเรียนหลวง กลุ่มโรงเรียนที่เปิดสอนระยะแรก คือ กลุ่มโรงเรียนคริสต์ที่ก่อตั้งโดยมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน โดยได้รับพระราชทานที่ดิน ได้แก่ โรงเรียนวิชชานารี (แรกตั้งชื่อว่า ละกอนเกิร์ลสคูล ต่อมาเป็นสตรีอเมริกัน) โรงเรียนเคนเน็ตแมคเคนซี (เมื่อแรกตั้งชื่อว่า ละกอนบอยสคูล) ระลอกต่อมา คือ รร.บุญวาทย์วิทยาลัยที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (หรือรัชกาลที่ 6 ในเวลาต่อมา) ได้เสด็จมาเปิดในปี 2448 ขณะที่รร.ลำปางกัลยาณีเริ่มตั้งแต่ปี 2458 ในช่วงทศวรรษ 2450-2460 มีการขยายตัวของโรงเรียนขึ้นมากทั้งในส่วนรร.ราษฎร์และรร.ประชาบาล สัมพันธ์กับพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. 2461 และพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 โรงเรียนที่เกิดขึ้นช่วงนี้ได้แก่ โรงเรียนมัธยมวิทยา (ยกส่าย) และโรงเรียนฮั่วเคี้ยว (ประชาวิทย์) ซึ่งก่อตั้งโดยคหบดีชาวจีน หลังปฏิวัติสยาม 2475 ( ก๋งของปู่จิ๊บ นายเฮว เฮวอินปี มีบทบาทอย่างสำคัญในการก่อตั้ง) โรงเรียนประชาบาลจำนวนหนึ่งกลายเป็นโรงเรียนเทศบาล ขณะที่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็เป็นช่วงที่โรงเรียนคริสต์ในเครือเซนต์คาเบรียลได้เข้ามาตั้งโรงเรียนอรุโณทัยและโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ระดับอุดมศึกษา กว่าลำปางจะมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาก็ต้องรอจนถึงปี 2514 ที่มีการก่อตั้งวิทยาลัยครูขึ้น ณ บ้านหนองหัวหงอก ตำบลชมพู อำเภอเมืองลำปาง มหาวิทยาลัยรัฐ ม.ราชภัฏลำปาง (2514 ในนาม วิทยาลัยครูลำปาง) ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง (2515 ในนาม โรงเรียนเกษตรกรรมลำปาง เกษตรแม่วัง) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลำปาง (2521) สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง (2522) ม.สุโขทัย ศูนย์วิทยพัฒนา ลำปาง (2541) ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง (2546) ม.ดุสิต ศูนย์ลำปาง มหาวิทยาลัยเอกชน ม.เนชั่น วิทยาเขตภาคเหนือโยนก (2531) วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง ม.กรุงเทพธนบุรี ศูนย์ลำปาง ระดับอาชีวศึกษา-อุดมศึกษา การศึกษาระดับอาชีวศึกษาขยายตัวหลังการปฏิวัติสยาม 2475 เพื่อส่งเสริมให้พลเมืองได้ประกอบอาชีพได้ เป็นทางเลือกนอกจากการเรียนทางวิชาการ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง (2480 ในนาม โรงเรียนอาชีพชาย แผนกช่างโลหะและช่างไม้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง (2480 โรงเรียนช่างทอผ้า) วิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง 2524 รร.สารพัดช่าง) วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ.แม่เมาะ วิทยาลัยเทคโนโลยีลำปาง (แลมป์ - เทค) เอกชน วิทยาลัยการอาชีพเกาะคา รร.ลำปางพาณิชยการและเทคโนโลยี เอกชน วิทยาลัยการอาชีพเถิน โรงเรียนเถินเทคโนโลยีพณิชยการ วิทยาลัยเทคนิคลำปาง วิทยาเขตแจ้ห่ม ตอนต่อไป จะพูดถึง โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ที่ให้พื้นฐานชีวิตที่แข็งแกร่งของชีวิตปู่จิ๊บ