ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ต่อจากฉบับที่แล้ว การมีมุทิตา แก่ บวร : พ่อแม่ พระ และครู เป็นบุญอย่างยิ่ง วันนี้จะขอเชิญชวนมาเน้น การทำบุญในส่วนที่สมควรทำ แต่มีความขาดแคลน เพราะสังคมหลงลืมกันไป คือเรื่อง “บวร” บ้านวัดโรงเรียน หรือ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์พระ ซึ่งเป็นเรื่องของบุคคลที่มีบุญคุณต่อเราโดยขอเริ่มที่ “ ครู “เพราะ เป็นส่วนที่มีความสำคัญของการศึกษา เป็นเรือจ้าง ที่คนมักลืมเมื่อขึ้นถึงฝั่ง โดยขอนำเสนอรูปธรรม ศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง จัดงานครบรอบ 60 ปี 16 ธันวา 2560 ได้เห็นกิจกรรมต่างๆ ที่คณะกรรมการฯ และพี่น้องชาวอัสสัมชัญลำปาง ได้เตรียมการจัดมาตลอดปี ช่วยให้ภาพของชาวอัสสัมชัญลำปาง โดดเด่นและเป็นที่รับรู้กันไปอยางทั่วถึงทั้งในลำปางและทั่วประเทศ เราได้เห็นศักยภาพ ความรักความสามัคคีร่วมมือกันของชาวน้ำเงินและขาว ที่เกิดขึ้นด้วยแรงใจกายของทุกคน ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในโรงเรียน คณะบราเดอร์มาสเซอร์-ครู และนักเรียนACL ที่รักของเรา หลักการที่ทำกัน คือ ช่วยกันตามความสามารถ เติมสิ่งที่ขาดให้เต็มให้ครบ ทำให้ดีขึ้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทำให้ จากวันเริ่มต้นคิด การจัดงานครบรอบ 60 ปี จากไม่มีสู่มี และจากน้อยสู่มาก จนมาถึงวันนี้ ซึ่งคณะกรรมการจัดงานและชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง ได้มีการจัดเตรียมงานอย่างยิ่งใหญ่ ที่สำคัญคือ การสร้างการมีส่วนร่วมของศิษย์เก่าทุกรุ่นและทุกชั้นเรียนขึ้น ทำให้ทุกคนได้ร่วมกันจัดงานฯ คณะกรรมการฯ ได้ทำงานกันอย่างเอาจริงจัง เข้าหาเข้าพบ ทั้งคณะบราเดอร์ มาสเตอร์และครู และศิษย์เก่าในแต่ละรุ่น โดยเฉพาะศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในการเรียน หน้าที่การงาน และกิจกรรม ในระดับประเทศและระดับสากล เช่น กีฬาฯ ดนตรี ฯ รวมทั้งมีการสรรหาและเลือกศิษย์เก่าดีเด่น ฯลฯ แต่เรื่องที่ปู่จิ๊บประทับใจยิ่ง คือ “ การรำลึกถึงและปรารถนาที่จะตอบแทนคุณของคณะมาสเตอร์ครู “ ซึ่งที่ผ่านมา ชมศิษย์เก่าฯ และบุคคลหลายท่าน ได้นำเสนอเรื่องที่สำคัญและมีประเด็นที่น่าสนใจ คือขณะที่โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง มีความพร้อมมีศักยภาพ ชาวอัสสัมชัญเติบใหญ่มีบทบาทมากมาย ฯลฯ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังขาด หรือมีไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้ “ ชาว ACL “ มีวันนี้คือเรื่อง “สวัสดิการและสวัสดิภาพของคณะมาสเซอร์ครู ที่ได้สั่งสอนเรามา “ผมจำความในอดีตได้ว่า “ มาสเซอร์อัสสัมชัญลำปางบางท่าน ที่ได้ออกไปสอนโรงเรียนรัฐบาลในลำปาง “ตอนเกษียณราชการ มีบำเหน็จบำนาญสวัสดิการสูงกว่า เมื่อเปรียบกับมาสเซอร์ที่ยังสอนอยู่ที่โรงเรียน เพราะ “ โรงเรียนอัสสัมชัญฯเป็นโรงเรียนเอกชน “ ไม่สามารถไปเปรียบเทียบกับโรงเรียนรัฐบาลได้แต่เรานักเรียนฯ คงมีความปรารถนาร่วมกัน ให้มาสเซอร์และครูของเราได้มีสวัสดิการที่ดีขึ้น ศิษย์เก่าของเราฯ ได้คิดถึงเรื่องนี้ และได้ร่วมสมทบเงินให้กับเรื่องนี้ มาตลอดในระยะหนึ่งที่ผ่านมา ได้เริ่มจัดตั้งกองทุนมุฑิตาจิตครูเก่าอัสสัมชัญลำปาง เพื่อช่วยดูแลมาสเซอร์ที่ป่วย,เสียชีวิตและเป็นสวัสดิการ โดยมีแหล่งที่มา 1. รายได้ส่วนหนึ่งจากการจัดกอล์ฟการกุศลประจำปี 2. กรรมการรุ่นระดมเงินในรุ่นบริจาค 3. การบริจาคจากศิษย์เก่าบางส่วน ในการจัดงานประจำปี 4. การบริจาคในนามของคนในครอบครัวที่เป็นศิษย์เก่าฯ หรือโอกาสวันเกิด ฯลฯ 5. อื่นๆ ที่ผ่านมา คณะมาสเซอร์และครู โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ก็ได้ใช้ดอกบี้ยจากกองทุนฯนี้ ไปเยี่ยมเยือนครู ที่ป่วย ไม่สบาย ฯ โดยซื้อของเยี่ยมของฝาก และการใช้เป็นสวัสดิการในการพบปะสังสรรค์กัน รวมทั้งการร่วมงานศพ ( กรณีเสียชีวิต ) ซึ่งมีความจำกัดพอสมควรฯ เพราะยอดเงินและดอกเบี้ยน้อยฯ มีมาสเซอร์บางท่านได้เสียสละ มาทำหน้าที่เป็นประธานและผู้ประสานงานกองทุนนี้ , ต้องขอชื่นชมฯ มีการปรึกษาหารือกันในบางส่วนของศิษย์เก่าและคณะกรรมการจัดงานและชมรมศิษย์เก่า มีความเห็นร่วมกันว่า : ในโอกาสพิเศษครบรอบ 60 ปีของโรงเรียนอัสสัมชัญ ควรเปิดให้ศิษย์เก่า ACL ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมกันระดมทุนให้”กองทุนมุฑิตาจิตครูเก่าอัสสัมชัญลำปาง” โดยนำเอาเรื่องนี้ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ในงานครบ 60 ปี อัสสัมชัญลำปาง ซึ่งจะทำให้ “ กองทุนฯนี้ “ มีทุนมากขึ้น ที่จะสามารถช่วยเหลือเป็นสวัสดิการให้แก่คณะครูฯได้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการแสดงความกตัญญูต่อคณะมาสเซอร์และคุณครู ที่ได้สอนเรามาจนเติบใหญ่มาในทุกวันนี้ โดยให้เป็นไปด้วยความสมัครใจตามกำลังความสามารถของแต่ละคน โดยเริ่มต้นที่ 100 , 500 , 1000 บาท …….. หรือแล้วแต่กำลังและสภาพของศิษย์เก่าแต่ละคน ปู่จิ๊บ ชอบชื่อ “ กองทุนมุฑิตาจิตครูเก่าอัสสัมชัญลำปาง “ เพราะมีความหมายทั้งผู้ให้ผู้รับ และวัตถุประสงค์ เมื่อผู้ให้ ( ศิษบ์เก่า ) ให้ทรัพย์น้ำใจและการคาราวะ ผู้รับ ( คณะมาสเตอร์ครู) จะได้นำไปใช้เป็นสวัสดิการและการช่วยเหลือครูด้วยกัน วัตถุประสงค์ของการให้และการรับ คือตอบแทนบุญคุณครู ที่อบรมสั่งสอนเรามา เมื่อทั้งสามส่วน เป็นเรื่องดี เป็นสามดี นับเป็นเรื่องของมุทิตา มุทิตา เป็นหนึ่งใน พรหมวิหาร 4 คือ ความมีจิตพลอยยินดีในความสุขของผู้อื่น ผู้ที่สมควรที่จะได้รับความสุข พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และเพื่อให้เจตนาและวัตถุประสงค์ที่ดีงามในการแสดงออกซึ่งความกตัญญูรู้คุณแก่คณะครู ทางคณะกรรมการจัดงานและชมรมศิษย์เก่า ได้กำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์การบริจาคเพื่อให้ ศิษย์เก่าทุกคน ( ทั้งที่ตั้งใจจะมาร่วมงานครบรอบ 60 ปี และผู้ที่ติดธุระหรือไม่สะดวกในการเดินทาง ได้สามารถร่วมการบริจาค ที่แสดงออกซึ่งมุฑิตาจิตแก่คณะครู ฯ แนวทางและหลักเกณฑ์ในการบริจาคสนับสนุนครูเก่า ( ชมรมครูเก่า และ กองทุนครูเก่า ) มี 2 ทาง 1. ผ่านชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง ( มี “นส.ชนัญฺธิดา ธรรมลังกา เป็นผู้ประสานงาน คุณไพรสณฑ์ เหรัญญิก ) บัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาร่มเกล้า 32 ชื่อบัญชี นายไพรสณฑ์ หน่อแก้วบุญ ( กองทุนครูเก่า ) หมายเลขบัญชี 030 3 793 88 7 2. ผ่านชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง ( มีคุณพนัสพี เดชะ ผู้ประสานงาน คุณสำฤทธิ์ รินทร์ศรี เหรัญญิก) บัญชี ธนาคารกรุงเทพ ถนนฉัตรชัย บัญชีสะสมทรัพย์ ชื่อบัญชี นายสำฤทธิ์ รินทร์ศรี และนายพนัสพี เดชะ กองทุนศิษย์เก่าเพื่อครูเก่า โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง หมายเลขบัญชี 425 0 730944 ชมรมจะรวบรวมเงินบริจาค รวมกับ การจัดกอล์ฟการกุศล นำส่งให้กองทุนครู และชมรมครู ทุกเดือนธันวาคม โดย แบ่งสัดส่วนให้กองทุนครู 90 % และ ชมรมคณูเก่า 10 % กองทุนครู คือ กองทุนมุฑิตาจิตครูเก่าอัสสัมชัญลำปาง “ ใช้ในการดูแลและเยียมเยือนครูที่ป่วย ชมรมครูเก่า คือ เป็นสวัสดิการเพิ่มเติม ในการจัดกิจกรรมและสันทนาการของครูเก่า จึงขอเรียนเรื่องที่ดีงาม ที่เป็นมุฑิตาจิตที่ดีนี้ มายังศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง และ ศิษย์ เก่าโรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีความรักเคารพและกตัญญูแก่ครูเก่าของเรา ปู่จิ๊บ จะขอพูดถึงข้อคิดและปฏิบัติ จากประสบการณ์ตรง จากการสรุปบทเรียนที่ผ่านมาของชีวิต 1. เริ่มจากการรับรู้ได้เห็นถึงการปฏิบัติของป๋าแม่ ( รวมทั้งก๋งและยาย ) ครูบาอาจารย์ และพระฯ 2. การบวชเต็มพรรษา กับท่านปัญญานันทะแห่งวัดชลประทานรังสฤษฏ์ ( เข้าพรรษา ปี 2517) 3. ศึกษาธรรมกับท่านพุทธทาส ในช่วงเวลาหนึ่งเดือน ในคราวที่ไปสวนโมกข์กับดร.ระวี ภาวิไล( 2512) 4. การศึกษาทำความเข้าใจ เรื่องธรรม-บุญ-ธรรม-ความสุขสงบสว่าง ของพุทธศาสนานิกายต่างๆ 5. การเห็นด้วยการปฏิบัติของเพื่อนมิตรญาติพี่น้องและผู้คนในการทำบุญ 6. การนำหลักคิดหลักธรรมการปฏิบัติของตนและบุคคลต่างๆมาสรุป ที่ผ่านมา ปู่จิ๊บ ก็ได้ให้ความสนใจและให้ความสำคัญต่อเรื่องการทำบุญ และได้ทำตามกำลัง แต่เมื่อได้ศึกษาธรรมตามหลักและแก่นแท้ของศาสนา การได้ศึกษาแบบอย่างที่ดีของการทำบุญ จึงได้ปรับและเพิ่มเติมในส่วนที่ตนเองได้ทำบุญ ที่จะขอเสนอมาเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดกับทุกคน 1. การทำบุญมีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ 1. ผู้ให้ 2. ให้อะไร และ 3. ผู้รับ ซึ่งตัวร่วมคือ ต้องเป็นสิ่งที่ดีและงดงาม ทั้งความคิด เจตนา การปฏิบัติและผลลัพธ์ 2. ผู้ให้ สามารถให้ได้ทุกคน ไม่ว่าจะมีหรือจน อยู่ที่เจตนาที่ดีงามมีความหวังดี คือ ทุกคนล้วนมีสิ่งที่จะให้ได้ 3. ให้อะไร : ความคิดที่ดี (หลักธรรม หรือหลักปฏิบัติเพื่อไปสู่ความดี ) มีแรงกาย มีทรัพย์สิ่งของ และสิ่งที่มีค่ามากที่สุด คือ “ ชีวิต เลือกเนื้อ “ ที่สละหรือบริจาคได้ 4. ผู้รับ คือ ผู้ที่ขาด หรือมีไม่ครบ ทำให้เป็นทุกข์ หรือไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้ครบได้ดี 5. ผู้รับ จะต้องนำสิ่งที่ได้รับมาจากผู้ให้ ไปทำในสิ่งที่ดี มีประโยชน์แก่ตน ผู้อื่น หมู่คระ ชุมชนและสังคม การทำบุญที่ดีที่สุดหรือการให้ที่สูงสุด ตามหลักของพุทธศาสนา คือ “ การให้ความคิดที่ดีที่ถูกต้อง” เพื่อให้ผู้รับมีความคิดที่ถูกต้อง สามารถพึ่งตนเองได้ และกลับไปช่วยเหลือผู้อื่นต่อไปได้ “โดยสรุป คือ ช่วยให้คนดี เป็นคนดียิ่งขึ้น โดยการไปช่วยเหลือผู้อื่นให้ดีต่อ ช่วยให้คนไม่รู้ได้รู้ เมื่อรู้แล้ว จะได้ทำถูก ไม่ทำผิด ช่วยคนบาปหรือคนผิด ได้รู้ว่า สิ่งที่ทำอยู่นั้นผิด เมื่อรู้ถูกรู้ผิดแล้ว จะได้กลับใจเป็นคนดี เมื่อเราเข้าใจถูกต้องแล้ว เราควรกลับมาสำรวจ วิธีการทำบุญที่ผ่านมาของสังคมไทย “อะไรถูกอะไรผิด อะไรเป็นแก่นอะไรเป็นกระพี้ แล้วแก้ไขให้ถูกต้อง เริ่มจากตัวเองก่อน เมื่อเราเข้าใจถูกแล้ว ก็ทำบุญที่ถูกต้องต่อ คือ การช่วยเหลือผู้อื่น