ชัยวัฒน์ สุรวิชัย แม้ว่า นักการเมือง นักวิชาการ ภาคประชาชน ส่วนที่ไม่รับรธน.และคำถามพ่วง ได้แสดงสปิริต ยอมรับการลงประชามติ 7 สิงหา 2559 ออกมาทางสาธารณ เป็นครั้งแรกๆ ก็ทำให้บรรยากาศทางการเมืองดีขึ้น และทิศทางการเมืองไทยดูมีแนวโน้มที่มีความหวังขึ้น แต่เสียงตามมาของบางส่วน ที่ออกมาในลักษณะตีโพยตีพายอ้างสาเหตุที่แพ้ เพราะไม่มีความเป็นประชาธิปไตย และมีการเรียกร้องให้รัฐบาลและคสช. ดำเนินการยกเลิกการใช้ ม.44 , การให้ปล่อยตัวผู้กระทำความผิดทันที ไม่สนใจกฎหมาย และสภาพความเป็นจริงในสังคม รวมทั้งเร่งให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว นายอนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง ออกแถลงการณ์ อ้างเครือข่าย 96 องค์กร ใส่ใจประชามติรัฐธรรมนูญ กำหนดอนาคตประเทศ ระบุว่า เมื่อรัฐธรรมนูญผ่านแล้ว ขอเรียกร้อง คสช.คืนชีวิตปกติให้กับสังคมไทย ยกเลิกมาตรา 44 ยุติการให้ประชาชนขึ้นศาลทหาร ให้ปล่อยตัวผู้เห็นต่างทั้งหมด ยุติการจับกุมคุมขังกับ ผู้รณรงค์ประชาธิปไตย ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด ดร.โคทม อารียา เขียนบทความ “ ฝ่ายประชาธิปไตย จะทำอะไรดี “รธน.ฉบับที่ 20 มีลักษณะประชาธิปไตย ครึ่งใบ ไม่ถูกใจฝ่ายปชต. สาเหตุที่ผ่าน ขอเสนอเป็นสมมติฐานว่า การใช้อำนาจรัฐหนุนร่างรัฐธรรมนูญ สกัดผู้เห็นต่าง อย่างได้ผลใช้วาทกรรมของกรธ. ที่เผยแพร่ทางสื่อต่างๆ สื่อของกกต.ที่แจกไปตามบ้าน และเรียกร้องให้ มีการยกเลิก ม.44 ก็ต้องตั้งคำถามกลับ ไปให้คนกลุ่มเหล่านี้ ตอบตัวเองและตอบสังคม ในขณะที่ การพูดแต่ละครั้ง ก็กล่าวอ้างว่า “ คสช. รัฐบาล กรธ. ฯ ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย “และแสดงบทบาทว่า “ ตนและกลุ่มของตน เป็นนักประชาธิปไตยตัวจริง ทำเพื่อประชาชน “ 1. ฉะนั้น สิ่งที่เรียกร้อง ให้ปล่อยตัวพวกตนที่กระทำผิด ละเมิดกฎหมาย และสร้างความปั่นป่วนให้สังคม และมีการบิดเบือนรธน. และกล่าวหารัฐบาลและผู้คน ด้วยข้อหาใหญ่คำโต ทำให้เกิดความเสียหายฯ จะให้สังคมเข้าใจได้อย่างไร ?และนายกประยุทธ์ ได้ออกมาพูดสั้นๆชัดเจนว่า “ ให้เป็นไปตามกฎหมาย “ สังคมเข้าใจแต่พวกคุณกลับไม่เข้าใจ เพราะ “ มีตรรกะ ว่า : รัฐบาลทหาร ที่มาจากรัฐประหาร ทำอะไรก็ผิด “ส่วนพวกตน “ เป็นพวกต่อต้านรัฐประหาร เป็นนักประชาธิปไตย ทำอะไร ก็ถูก “ตรรกนี้ หลอกตัวเองได้ แต่หลอกประชาชน และผู้ที่รู้ทัน บ่ได้ดอก 2. การเรียกร้องให้ คสช. และรัฐบาลประยุทธ์ “ ยกเลิก ม.44 ทันที “ ก็ใช้ตรรกเก่ามุขเดิมอีก ว่า “ เป็นอำนาจเผด็จการ มิใช่อำนาจประชาธิปไตย “ รองนายกวิษณุ ได้ออกมา ให้ความจริงว่า “ รัฐบาลนี้ จะใช้ ม.44 ที่ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ “ และต้องมาดู รัฐบาลประยุทธ์ ใช้ ม.44 ทำในเรื่องอะไรบ้าง ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์เพราะกลุ่มเหล่านี้ อ้างผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ จึงต้องมาดูข้อเท็จจริงกันเรื่องส่วนใหญ่ ที่นายกฯใช้ ม.44 เป็นเรื่องที่ประชาชนส่วนใหญ่พอใจ ประเทศได้ คนไม่ดีเสียประโยชน์ ลองมาฟัง ดร. อเนก เหล่าธรรมทัศน์ พูด “ เราอาจจะดูเหมือนว่าไม่เท่าไหร่ แต่ว่าสำหรับประชาชนทั่วไปอาจจะคิดว่าเขาก็มีผลงาน เศรษฐกิจก็อาจจะดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในยามที่ภาวะเศรษฐกิจโลกมันเป็นอย่างนี้ และเรื่องการเอาที่ดิน ส.ป.ก.คืนมา การเอาชายหาดคืนมาจากพวกผู้มีอิทธิพล ผมก็คิดว่าคนเชียร์นะ แล้วก็การพักงานนักการเมืองท้องถิ่น ผมว่าคนก็เอานะ.... “ ประโยคแรก เป็นการวิจารณ์ มุมมองของคนที่ไม่รับ รธน. และคำถามพ่วง แต่ประโยคต่อมา คือ การสะท้อนความรู้สึกของประชาชน “ นี่เป็นสิ่งที่นักการเมือง นักวิชาการ และภาคประชาชน บางส่วนฯ คิดต่างไป จากคนส่วนใหญ่ ซึ่งควรจะมีการปรับทัศนคติของตนและพวกพ้องของตน หากใจยังคิดถึงประชาชนมากกว่าตัวเอง สิ่งที่สำคัญไม่น้อย คือ “ เรื่องที่ไม่ดีไม่ถูกต้อง ทำให้ประชาชนและประเทศชาติเสียหายไม่สามารถแก้ไขได้ “ ด้วยกฎหมาย หรือแม้แต่รัฐธรรมนูญของนักการเมือง “หากจะแก้ไข ก็ต้องใช้เวลายาวนาน เพราะ ต้องใช้ระบบรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรมเพราะบรรดาตัวบทกฎหมาย และขบวนการยุติธรรมที่มีอยู่ “ ไม่ยุติธรรม สำหรับประชาชน “เป็นกฎหมายที่นักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ ฯ ที่ไม่ดี ได้ประโยชน์ ขณะที่ชาวบ้านเสียเปรียบ ฉะนั้น สิ่งที่นำเสนอ “ ให้เลิก ม.44 ทันที “ ก็เป็นลักษณะ “ อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ “คือ คิดและทำเพื่อใคร หรือ ก็คิดในกรอบตะวันตก ที่ไม่สอดคล้องกับสังคมไทย ต้องเข้าใจสังคมไทยให้มากขึ้น ดีขึ้น โดยใช้หลัก 3 ประการ 1. ดีถูกต้อง 2. ใช้ได้จริง 3. ใครได้ประโยชน์ในสังคมที่ไม่มีความเป็นธรรม คนส่วนน้อยได้เปรียบ คนส่วนใหญ่เสียเปรียบการจะแก้ไขได้ “ มิใช่ระบบและกรอบคิด ที่คนส่วนน้อยร่างออกมาใช้ เพื่อตนเองและพวกพ้อง “แต่ต้องใช้อำนาจเป็นธรรม แก้ตัวบทกฎหมายและกติกาสังคม เพื่อคนส่วนใหญ่และเมื่อ สังคม ก้าวผ่าน “ ประชาธิปไตยในระยะเปลี่ยนผ่าน ไปสู่ ประชาธิปไตยที่ได้ดุลภาพของสังคม “คือ ประชาชน ข้าราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ สามารถถ่วงดุลและตรวจสอบกันได้ จึงจะเข้าสู่ระบบที่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เหมือนกับ ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยทั้งหลาย 3. ให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว พิจารณาดูแต่ละเรื่อง ที่พวกคุณเปิดปากกล่าวอ้าง มันก็เป็นเรื่องเดียวกัน คือ ต่างก็มีกรอบความคิดประชาธิปไตยครอบหัว และตัวเองเป็นกบอยู่ในกะลาครอบ คือ ต้องการเอารองเท้าประชาธิปไตยตะวันตก มาใช้ในเมืองไทย หวังว่าจะเกิดผลดีต่อประชาชนโดย ต้องตัดเท้าคนไทย ให้เข้ากับเกือกหรือรองเท้าฝรั่ง , ซึ่งทำมา 84 ปีแล้ว ไม่เกิดผลดีอะไร มีแต่ “ เท้าของชาวบ้าน ต้องถลอกต้องขาด เสียเลือดเสียเนื้อ(เท้า) ไปไม่รู้จักเท่าไหรและจะให้พูดแบบแรงๆ “ พวกคุณ ไม่เคยถูกตัดหรือเฉือนเท้าไป “ เพราะอยู่ในสังคมที่ได้เปรียบ นี่คือ อคติใหญ่ ที่ชื่นชมประชาธิปไตยตะวันตก โดยไม่เข้าใจไม่ศึกษาลึก ที่มา กว่าเขาจะมีวันนี้ได้ และการมีอคติต่อ สถาบันทหารและสถาบันหลักของชาติ และไม่เข้าใจสภาพสังคมไทย และยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลง ที่ต้องเอาผลประโยชน์ของประชาชนมาก่อนตัวเองและพวกพ้อง นี่คือ ทัศนะของกรอบคิดของนักการเมือง “ ที่อ้าง เพื่อรักษาระบอบรัฐสภา( ที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม ) ทั้งนักการเมืองที่ไม่ดีแบบพรรคเพื่อไทย และนักการเมืองที่ดูดีอย่างพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็มีข้อแตกต่างกันอย่างหน้ามือและหลังเท้า คือ พรรคเพื่อไทย เอาผลประโยชน์ของหัวหน้าน้องสาวและพวกพ้อง ซึ่งมีคดีจากการโกงการใช้อำนาจมิชอบฯ พรรคประชาธิปัตย์ ที่มีข้อดี ในแง่ของการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ มากว่าแต่ทั้งสองพรรค มีแนวคิดเลือกการเลือกตั้งในระบบรัฐสภา โดยเร็วเหมือนกันซึ่งต่างจาก “ มวลมหาประชาชนเรือนล้านที่เดินขบวนทั่วกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ที่รู้ธาตุแท้นักการเมือง “จึงมีข้อเรียกร้องใหญ่ 2 ข้อ คือ 1. ไม่เอาการเมืองเก่า 2. ต้องปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง นอกจากนี้ ยังมีนักเคลื่อนไหวต่อสู้ที่มีประสบการณ์จริง ในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในเหตุการณ์ต่างๆ คือ “ เอาตัวเองออกหน้าในยามสู้รบ ในยามบ้านเมืองมีภัย และเมื่อเสร็จศึก ก็ไม่สนใจยศถาบรรดาศักดิ์” และที่สำคัญ ที่ปรากฏตัวออกมา “ วีรบุรุษ ที่เกิดจากสถานการณ์ที่เป็นจริง “คือ กำนันสุเทพฯ ที่มีประสบการณ์ทางการเมืองเชี่ยวกาจ เห็นและรู้ไส้ของนักการเมืองเก่าในระบบที่กล้าเสียสละออกมานำมวลมหาประชาชนสู้สึก กับรัฐบาลอธรรม อย่างเอาเป็นเอาตาย ฯ และกล้าประกาศ ในคราวลงประชามติ “ ผมรักประชาชนและประเทศชาติมากกว่า นักการเมืองพรรคใด “และประณามว่า “ นักการเมือง ที่ออกคัดค้าน ไม่รับรธน.และคำถามพ่วง “ คือ “ พวกเห็นแก่ตัว” การเลือกตั้ง ใครๆและประชาชน ต่างต้องการ เพราะ จะเป็นเรื่องของความชอบธรรมจากประชาชน แต่ต้องเป็นการเลือกตั้งที่สุจริตเทียงธรรม ( ที่ประเทศไทยในยุคหลัง ไม่มี )ซึ่งจะเกิดขึ้น จากการปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปข้าราชตำรวจอัยการและกระบวนการยุติธรรม – การศึกษา การปราบปรามคอร์รัปชั่น การกระจายอำนาจที่ไปถึงประชาชนอย่างแท้จริง ฯลฯ ซึ่งต้องการเวลา โดยต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนโดยรัฐบาลและประชาชน ให้ทัน Road Map ทั้งหมดที่นำมาเป็นตัวอย่าง กล่าวมาโดย นักการเมือง นักวิชาการ ภาคประชาชน ที่ไม่รับรธน.-คำถามพ่วง จะต้องสรุปบทเรียนและปรับทัศนคติของตนเองให้ได้ หากยังต้องการ ให้เกิดผลต่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งผู้นำของคนเหล่านี้ เป็นคนมีความรู้ความสามารถมีประสบการณ์มากมาย ที่จะทำได้ไม่ยากนักแต่ที่จะต้องทำให้ได้ก่อน คือ “ ทัศนคติและอคติมุมมองของตนและพวกพ้อง “ ซึ่งยากมาก สำหรับ การขุดสันดอนใหญ่ ที่สะสมมายาวนาน จนเป็นกองใหญ่โตมหึมาเป็นดุจขุนเขา มันเจ็บปวดใจมากกว่ากายหลายร้อยเท่านัก เพราะมันจะเกิดความรู้สึกเสียหน้าเสียตาพวกต่างชาติ เพราะ ตลอดชีวิตของพวกตน “ คิดพูดและทำ ในกรอบคิดตะวันตกมานาน “ ใครๆก็รู้ และการเติบโตและการยอมรับของผู้คนและต่างชาติตะวันตก มันมาจากกรอบคิดอคตินี้ ความจริง มันง่ายมาก หากเอาผลประโยชน์ของประชาชนและบ้านเมือง มาก่อนความอายของตนเอง “ Think for Country not for yourself”