ดร.วิชัย พยัคฆโส [email protected] แม้ว่าจะพบกับปัญหาของการประเมินโครงการของการใช้เงินฟื้นฟูเศรษฐกิจจากเงินกู้ 1.1 ล้านล้านบาทไปแล้ว พบว่าบางโครงการคุ้มค่ากับงบประมาณและบางโครงการยังไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้ตามที่คาดหวังไว้ก็ตาม สภาพัฒน์ฯ ในฐานะผู้วางแผนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศยังไม่ลดความพยายามที่จะมุ่งพัฒนาต่อไปอีก ได้ฟังจากการสัมนา Thailand Survivor ของฐานเศรษฐกิจที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ สภาพัฒน์ฯมีจุดหมายที่จะพัฒนาเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจที่มีคุณค่าสำหรับแผนพัฒนาฉบับต่อไปอย่างน้อย 4 เป้าหมายด้วยกัน 1.เศรษฐกิจมูลค่าสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม -เกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง -การท่องเที่ยวเน้นคุณค่า -ฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า -การแพทย์และสุขภาพครบวงจร -ประตูการค้า การลงทุน และโลจิสติกส์ -อิเล็คทรอนิกส์อัจฉริยะและบริการดิจิทัล 2.วิถีชีวิตที่ยั่งยืน -เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ -การลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 3.สังคมแห่งโอกาสและความเสมอภาค -SMEs วิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจเพื่อชุมชน -พื้นที่และเมืองที่มีความเจริญทันสมัยและน่าอยู่ -ความยากจนข้ามรุ่นและความคุ้มครองทางสังคม 4.ปัจจัยการขับเคลื่อนการพัฒนา -พัฒนากำลังคนที่มีสมรรถนะสูงเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต -ภาครัฐสมรรถนะสูง ทั้ง 13 เป้าหมายนี้ก็เพื่อสร้างประเทศไทยให้อยู่ในโลกใหม่ คือ Hi-Value & Eco Thailand ซึ่งควบคู่กันไปกับการพัฒนาและจุดเน้นของเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต สภาพัฒน์ฯ คงประเมินแล้วว่าสามารถจะนำพาประเทศไปสู่จุดนั้นโดยให้ทุกกระทรวงร่วมกันบูรณาการสร้างให้เกิดขึ้น เห็นว่ามีเป้าหมายชัดเจนควรแก่การสนับสนุน ซึ่งมีหลายกิจกรรมที่ต้องปรับหรือพลิกโฉมของเศรษฐกิจและสังคมกันใหม่ ซึ่งจะมีการเปิดประเทศอีก 120 วัน ตามที่นายกรัฐมนตรีแถลงไว้ เป้าหมายคืออนาคตหากมีงบประมาณสนับสนุนคงพอจะสร้างได้ แม้ว่าจะใช้เวลานาน เช่น การพัฒนากำลังคนที่มีสมรรถนะสูง เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคตก็ตาม คงต้องอดทนต่อการพลิกโฉมการพัฒนากำลังคนกันหลายปีก็ตาม จึงของสนับสนุนและให้กำลังใจสภาพัฒน์ฯ ที่จะผลักดันด้วยโครงการนี้ให้เข้าสู่นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาชาติบ้านเมืองแห่งอนาคต ขอให้ทุกหน่วยงานสร้างกิจกรรมรองรับให้เห็นผลจริงต่อไป