ศ.ดร.ไชยา ยิ้มวิไล “วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2560 : วันถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9” ได้ผ่านพ้นไปเรียบร้อย พร้อมทั้งได้มีการบรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ทั้งเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมาน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีเชิญพระบรมราชสรีรางคารไปบรรจุ ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม และ วัดบวรนิเวศวิหาร โดยริ้วกระบวน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 27-28 และ 29ตุลาคม 2560 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม “พระราชพิธีฯ และริ้วกระบวนพระบรมราชอิสริยยศ” ได้จบสิ้นแล้ว แต่จิตใจของพสกนิกรชาวไทยยังคงอาลัยอาวรณ์ต่อพระองค์ท่าน ที่ยังคง “สถิตอยู่ในใจนิรันดร์” มิได้หายไปไหนแต่ประการใด หรือกล่าวอย่างภาษาชาวบ้านหมายความว่า คนไทยทั้งปวงยังคงโศกเศร้าร่ำไห้เสียใจกับการเสด็จสู่สวรรคาลัย ทั้งๆ ที่ทราบดีว่า พระองค์ท่านเสด็ตสวรรคตมาแล้วหนึ่งปีกว่าๆ  พร้อมทั้ง ถวายพระเพลิงพระศพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว “สิ่งที่คนไทยสมควรกระทำที่สุดคือว่า ต้องจดจำคุณงามความดี พร้อมทั้งตลอดระยะเวลา 70 ปีที่พระองค์ท่านทรงครองราชย์อย่างยาวนาน ด้วยโครงการพระราชดำริที่ได้ทรงทำไว้ ตลอดจนพระกระแสรับสั่ง พระราชดำรัสที่พระองค์ทรงสอนไว้ให้ไว้กับคนไทยนับหลายพันหลายหมื่นครั้ง ที่พระองค์ท่านทรงมีดำรัสไว้ตลอดกาล จนเราคนไทยอาจแทบจะจำไม่ได้ แต่ถ้านั่งทบทวน “หลักคำสอน” ของพระองค์ท่านแล้ว เราชาวไทยจะซาบซึ้ง เนื่องด้วยมิได้ยากเลยที่เราจะปฏิบัติตาม” ถามว่า “การปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระองค์ท่านฯ รัชกาลที่ 9” นั้นมิได้ยากเย็นแต่ประการใด ไม่ว่า “หลักเศรษฐกิจพอเพียง” หรือ “หลักการทฤษฎีใหม่” นั้นถ้าเรารู้จัก “บริหารจัดการ”อย่างพอดีพอเพียงอย่างมีหลักการ ก็จะมีอยู่อย่างพอดีพอกินได้ โดยมิจำเป็นต้องมีเงินทองมากมาย แต่ก็มิได้หมายความว่า “เสื่อผืนหมอนใบ” หรือ “มีเท่าไหร่ก็อยู่เท่านั้น” แต่หมายความว่า ถ้าสามารถขยายอาณาเขตบริเวณพร้อมการลงทุนให้ขยายมากขึ้น ด้วยการเพิ่มการลงทุนได้ด้วยการกู้หนี้ยืมสินได้ และสามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ มีกำไรได้ ก็นับว่าพอมีพอเพียงที่จะเจริญเติบโตเพิ่มพูนได้  ดังเสมือนบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ “ซีพี” ได้ ที่มีการกู้หนี้ยืมสิน การที่เราจะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการนำหลักคำสอนของพระองค์ท่านมาดำเนินชีวิตตลอดไป ด้วยความจงรักภักดี พร้อมทั้งช่วยสร้างชาติบ้านเมืองอย่างใจรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เท่านั้นเราก็ตอบแทนพระคุณท่านแล้ว “ในหลวงของเรารัชกาลที่ 9” นั้นเป็น “พระราชปฏิธานของรัชกาลที่ 10” ที่พระองค์ท่านรัชกาลที่ 10 จะดำเนินรอยตามอย่างแน่นอน ซึ่งเราก็จำต้องดำเนินรอยตามเช่นเดียวกัน เพราะว่า“สถาบันพระมหากษัตริย์” พสกนิกรชาวไทยนั้นดำรงไว้มาโดยตลอด 235 ปี ของรัชสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ถ้าสืบทอดไปจนถึงสมัยอยุธยาก็นับระยะเวลาเกือบ 800 ปี ที่สืบทอดกันเรื่อยมา ที่พระมหากษัตริย์ไม่เป็น “กษัตริย์นักรบ” ก็เป็น “กษัตริย์นักพัฒนา” มาโดยตลอด จนประเทศไทยพัฒนามาโดยตลอด นับหลังจากนี้จะมีการกำหนดให้เข้าชมนิทรรศการระหว่าง วันที่ 2-30 พ.ย. 2560 เวลา 07.00-22.00 น. ในการนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จะเสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานเปิดนิทรรศการในวันที่ 2 พ.ย.นี้ เบื้องต้นกำหนดให้ประชาชนเข้าชมนิทรรศการแบบอิสระ รอบละ 5,500 คน ใช้เวลารอบละประมาณ1 ชั่วโมง เน้นการแต่งกายสุภาพ สำหรับเนื่องหาของนิทรรศการประด้วย 1 พระเมรุมาศ 1 พระที่นั่งทรงธรรม และ 6 อาคารประกอบ โดยเนื้อหานิทรรศการบนพระที่นั่งทรงธรรมเสนอเกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ  แสดงจิตรกรรมฝาผนังโครงการในพระราชดำริจำนวน 3 ผนังที่น่าสนใจ ขณะที่ศาลาลูกขุน 4 หลังเป็นนิทรรศการครอบคลุมการออกแบบและจัดสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ งานประณีตศิลป์ งานศิลปกรรมของสำนักช่างสิบหมู่ “ของที่ระลึกในพระราชพิธี” กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้จัดทำ “เหรียญที่ระลึก” เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมี 4 แบบ คือ ได้แก่ เหรียญที่ระลึกทองคำ เหรียญที่ระลึกเงิน เหรียญที่ระลึกทองแดงรมดำพ่นทราย เหรียญที่ระลึกคิวโปรนิกเกิล “แสตมป์ที่ระลึก” บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำตราไปรษณียากรที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 3 แผ่น3,000,000 ชุด แสตมป์ชุดนี้มีทั้งหมด 13 ดวง เพื่อให้ตรงกับวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 “นิทรรศการภายหลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ” โดยจุดประสงค์หลักเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผ่านพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ เรื่องราวของโครงการในพระราชดำริ รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมความงดงามของพระเมรุมาศ และอาคารประกอบ ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยได้กำหนดเนื้อหานิทรรศการซึ่งจะใช้พื้นที่ทั่วทั้งบริเวณมณฑลพิธี ออกเป็น 3 ส่วน อาทิ นิทรรศการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บอกเล่าเรื่องราวผ่านงานภูมิทัศน์ ได้แก่ การชมแปลงนาข้าวและบ่อแก้มลิงบริเวณทางเข้าด้านทิศเหนือของมณฑลพิธี รวมถึงภาพ ภายในพระที่นั่งทรงธรรม ซึ่งแสดงให้เห็นโครงการพระราชดำริที่สำคัญในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย นิทรรศการเกี่ยวกับการจัดสร้างพระเมรุมาศ สิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศ และการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ เป็นการบอกเล่าเรื่องราวผ่านสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ภายในบริเวณมณฑลพิธี และที่ศาลาลูกขุนทั้ง 6 หลัง เป็นต้น พร้อมทั้งนิทรรศการพระราชประวัติตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ นิทรรศการจากหนังสืออุปกรณ์ทรงงาน (ชุดที่1) นิทรรศการธรรมราชา พระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม นิทรรศการจากหนังสืออุปกรณ์ทรงงาน (ชุดที่ 2) และนิทรรศการสืบสานสมานมิตร เล่าเรื่องการเสด็จพระราชดำเนินไปเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จเป็นประธานเปิดนิทรรศการ ในวันที่ 2 พฤศจิกายน โดยนิทรรศการดังกล่าวจะจัดเปิดให้เข้าชม ตั้งแต่วันที่ 2 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ตั้งแต่เวลา 07.00 - 22.00 น. ขอพระองค์ฯ สถิตอยู่ในใจชั่วนิจนิรันดร์