ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ฟังเหตุผลของประชาชนรับร่างรธน.-คำถามพ่วง ตบหน้านักการเมืองนักวิชาการที่กล่าวหาว่า” ไม่อ่านไม่รู้เรื่อง” 1. นิด้าโพลคนรับร่างรธน.เพราะคิดว่าดีกว่าฉบับเดิม .... 38.95 % ระบุว่า คิดว่าน่าจะดีกว่าฉบับเดิมเพราะ ผ่านการกลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิมาดีแล้ว มีสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติอย่างแท้จริง 21.12 % ระบุว่า ต้องการเห็นการปฏิรูปประเทศ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อยากให้ประเทศเดินหน้า และเศรษฐกิจดีขึ้น 8.51 % ระบุว่า ชื่นชอบระบบการทำงานของนายกรัฐมนตรี รัฐบาล คสช. และ ระบบการทำงานของทหารที่จริงจัง เข้มงวด 8.02 % ระบุว่า ต้องการให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง 7.83 % ระบุว่า มีกฎหมายที่เข้มงวดเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต คอร์รัปชั่นของกลุ่มนักการเมือง การคัดกรองนักการเมือง และบทลงโทษของนักการเมืองและข้าราชการที่ประพฤติมิชอบ 2. ดุสิตโพล เผยคนมองโรดแมปบิ๊กตู่สะท้อนความมุ่งมั่นในการทำงาน-มีทิศทางที่ชัดเจน หวังทำได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด.... ( 1.)ประชาชนคิดอย่างไร? กับการดำเนินงานตามโรดแมปที่นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศ อันดับ 1 แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการทำงานตามโรดแมป มีทิศทางในการทำงานที่ชัดเจนเป็นระบบ 78.31% อันดับ 2 อยากให้นายกฯ กำกับดูแลการทำงานต่างๆให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส ยุติธรรม 73.78% อันดับ 3 นายกฯหรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาชนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง 55.75% อันดับ 4 การดำเนินงานตามโรดแมปมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยควรเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น 50.26% ( 2.) สิ่งที่ประชาชนคาดหวังต่อการดำเนินงานตามโรดแมป คือ อันดับ 1 รัฐบาลและคสช.สามารถดำเนินงานตามโรดแมปได้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด 79.53% อันดับ 2 เป็นโรดแมปที่ดี สามารถแก้ปัญหาและทำให้บ้านเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น 71.17% อันดับ 3 จะมีการเลือกตั้งในปี 2560 ตามที่ได้ประกาศไว้ 66.72% อันดับ 4 เปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย 54.44% (3 ) ประชาชนคาดหวังต่อการดำเนินงานตามโรดแมปมากน้อยเพียงใด? อันดับ1 ค่อนข้างคาดหวัง 43.99% เพราะ เชื่อมั่นในตัวนายกฯ ที่ผ่านมามีผลงานให้เห็นเป็นรูปธรรม มีคณะทำงานที่มีความรู้ความสามารถ ฯลฯ อันดับ 2 ไม่ค่อยคาดหวัง 21.69% เพราะ สถานการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ปัญหาการเมืองมีมาก ฯลฯ อันดับ 3 คาดหวังมาก 17.42%เพราะ เชื่อว่านายกฯจะดำเนินงานตามโรดแมปได้ตามเวลาที่กำหนด อยากเห็นบ้านเมืองและเศรษฐกิจดีขึ้นโดยเร็ว ฯลฯ อันดับ 4 ไม่คาดหวัง 16.90% เพราะ รู้สึกเบื่อปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง มีแต่ความขัดแย้งแตกแยก สนใจเรื่องปากท้องมากกว่า ฯลฯ ( 4 ) ประชาชนคิดว่าการดำเนินงานตามโรดแมปจะสำเร็จและเป็นไปตามกำหนดเวลาหรือไม่? อันดับ 1 น่าจะสำเร็จและเป็นไปตามกำหนดเวลา 33.45%เพราะ นายกฯเป็นคนพูดจริงทำจริง มุ่งมั่นเอาจริงเอาจัง มีกรอบเวลาชัดเจน ใช้ระบบการทำงานแบบทหาร ฯลฯ อันดับ 2 ไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จและเป็นไปตามกำหนดเวลา 27.79%เพราะ บ้านเมืองประสบปัญหามานาน ต้องอาศัยเวลา อาจทำไม่ทันตามโรดแมป ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้....... อันดับ 3 ไม่น่าจะสำเร็จและคงไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา 25.00% เพราะ ยังไม่เห็นความก้าวหน้าในการดำเนินงาน บางขั้นตอนยุ่งยากอาจต้องใช้เวลามาก ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ฯลฯ อันดับ 4 สำเร็จและเป็นไปตามกำหนดเวลา 13.76%เพราะ มั่นใจว่าทั้งรัฐบาลและคสช. สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้ ผลประชามติทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ บริหารงานได้ง่ายขึ้น ฯลฯ.... ทั้งสอง โพล ที่ออกมาเกี่ยวกับ การลงประชามติ รธน. ฯ และRoad Map ของนายกประยุทธ์ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นส่วนใหญ่ของประชาชน เป็นความคิดเห็น ที่มีเหตุมีผล โดยชาวบ้านมองออกมา จากความเป็นจริง ที่เห็นจากชีวิตจริง ไม่ได้สวมแว่นสี หรือมีอคติใดๆ มีทั้งเหตุผลที่รับ และไม่รับ โดยมีแง่มุมที่น่าสนใจ โดยสรุป ประชาชน ได้แสดงความเห็นว่า 1. รับรัฐธรรมนูญ และคำถามพ่วง ดีมีประโยชน์ ใช้ได้จริงสอดคล้องกับสภาพสังคม 2. ชื่นชมและเชื่อมั่นในการทำงานจริงของนายกประยุทธ์ และการเดินตาม Road Map 3. ต้องการให้เกิดการปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง และอยากให้ใช้เวลาที่เหลือดำเนินการไปทันที ต่อไป ลองฟังทัศนะของนักวิชาการแนวหน้าของสังคมไทย ที่ติดดิน ยึดความเป็นจริง คือ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 1. "ประชามติ" สร้างจุดเปลี่ยน ประเทศไทยกำลังเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญหลังจากร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงผ่านประชามติเมื่อวันที่ 7 ส.ค.ที่ผ่านมา เท่ากับว่าทิศทางการเมืองนับจากนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนของการเปลี่ยนผ่านประเทศอย่างเต็มตัวก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งในปลายปี 2560 หรือต้นปี 2561 จุดเปลี่ยนของสถานการณ์ Turning Point คือ จุดรอยต่อ หรือจากเชื่อมจาก สภาพหรือสถานการณ์เก่า มาสู่สภาพให่หรือสถานการณ์ใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ 2 ส่วน 1 ทางกายภาพ 2 การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากแรงขับเคลื่อนของมนุษย์เอง จุดแรกเริ่มในการมองการเปลี่ยนแปลง คือต้องเริ่มมองจากตัวเราเองก่อน 2. การเรียนรู้หรือการตระหนักรู้ ต่อการเปลี่ยนแปลง “พอผลการลงประชามติออกมา ผมคิดว่าเราก็ควรจะเรียนรู้จากสิ่งที่ประชาชนคิดจริงๆ เพราะก่อนหน้านี้เราก็คิดจากอุดมการณ์ คิดจากประสบการณ์ คิดจากความมุ่งมั่นอะไรของเรา แต่ทีนี้ประชาชนให้ความเห็นอย่างนี้ออกมา ผมว่าน่าจะต้องเคารพประชาชน และต้องมาคิดให้เป็นบทเรียนในการสอนเรา “อย่างภาคประชาชนก็บ่น เพลีย ท้อ ผมคิดในใจว่าภาคประชาชนที่คิดไม่เหมือนประชาชนเอาเสียเลย ก็ต้องปรับวิธีเหมือนกัน ไม่งั้นจะมาเรียกตัวเองว่าภาคประชาชนต่อไปมันก็แปลก และก็พรรคการเมืองบางพรรคอย่างน้อยก็สองพรรคใหญ่ก็ต้องคิดว่าตนนำประชาชนไม่ได้ “ประชาชนที่ลงประชามติไม่ได้ลงตามผู้นำพรรค ผู้ใหญ่พรรค อย่างภาคใต้ ประมาณ 80% ลงรับ ในขณะที่ผู้ใหญ่ของพรรครวมทั้งผู้ใหญ่รุ่นอาวุโสมากๆ บอกว่าไม่รับ มันก็เป็นอะไรที่เราควรจะต้องเรียนรู้ “สำหรับนักประชาธิปไตยก็ต้องคิดนะว่าประชาชนดูเหมือนจะยอมรับการทำงานของ คสช.ในรอบสองปี น่าจะลองตีความแบบนี้ดูบ้างว่าประชาชนยอมรับระบอบที่มาแทนที่ประชาธิปไตยอย่างน้อยก็ชั่วคราว เพราะว่ามันนำมาซึ่งความสงบสุขและได้สร้างผลงาน “เราอาจจะดูเหมือนว่าไม่เท่าไหร่ แต่ว่าสำหรับประชาชนทั่วไปอาจจะคิดว่าเขาก็มีผลงาน เศรษฐกิจก็อาจจะดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในยามที่ภาวะเศรษฐกิจโลกมันเป็นอย่างนี้ และ เรื่องการเอาที่ดิน ส.ป.ก.คืนมา การเอาชายหาดคืนมาจากพวกผู้มีอิทธิพล ผมก็คิดว่าคนเชียร์นะ แล้วก็การพักงานนักการเมืองท้องถิ่น ผมว่าคนก็เอานะ.... “ฝ่ายที่แพ้ก็ไม่ควรเสียใจนะ ควรเป็นโอกาสได้เรียนรู้ แต่ใครเรียนรู้และเอาไปปรับได้มากที่สุดถือว่าดี พิจารณาจนถึงขั้นที่ว่าจะปรับอย่างไรให้ทั้งภาคประชาชนปรับตัวให้ได้มากๆ พรรคเพื่อไทยก็ต้องปรับตัวเองให้ได้มากๆ พรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องปรับตัวเองให้ได้มาก อย่างนี้จะมีแต่เป็นคุณ ไม่ต้องไปเสียใจหรอก.... ดร. อเนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้อาศัยผลของการลงประชามติ เพื่อเตือน 1. ผู้นำภาคประชาชนบางส่วน 2. นักการเมือง 3. นักประชาธิปไตย ส่วนผม ได้เขียนเตือนมานานแล้ว เพราะ ได้สรุปบทเรียนหลายครั้งหลายหน ในแต่ละสถานการณ์ และได้เห็นข้อดีและข้ออ่อนของผู้นำสังคมทั้งสามประเภทนี้และได้เตือนทั้งโดยตรงและทางอ้อมมาบ่อยๆ เพราะ เห็นว่า “ การเปลี่ยนแปลงสังคมไทย จากสังคมที่เป็นประชาธิปไตย ตามกล่าวอ้าง เชิงรูปแบบ ไปสู่ ประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยเนื้อหา คือ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องมีส่วนร่วมและได้รับผลโดยตรง “จะต้องเริ่มเปลี่ยนจาก “ ชนชั้นนำในสังคม “ และ “ ผู้นำของกลุ่มชนต่าง “และการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้น เป็นจริงได้ ต้องเริ่มที่การเปลี่ยนความคิด ทัศนะคติรวมความคือ “ การเปลี่ยนความคิดหรือทัศนะคติของผู้นำ” ซึ่งมี 2 ทางเลือก คือ 1. เปลี่ยนด้วยตนเอง 2.. มีคนมาเปลี่ยน หรือ โค่นล้ม ให้หมดอำนาจไป ฯ