ชัยวัฒน์ สุรวิชัย - ชีวิตของคนๆหนึ่ง ที่จะฟันฝ่าอุปสรรคที่ใหญ่และหนักอึ้งหลายครั้งในช่วง 50 ปี ของชีวิต ลำพังเพียงตัวเอง แม้จะมีความสามารถและประสบการณ์จากการสรุปบทเรียนมาตลอดต่อเนื่อง ก็ไม่พอ เพราะ มนุษย์เรามีความจำกัดในหลายเรื่องที่สำคัญในชีวิต ทั้งความรู้ สติปัญญา เวลา สุขภาพ ทุน ฯลฯ แต่ที่สำคัญยิ่ง ควบคู่ไปกับตัวตนของเรา ก็คือ “ผู้นำหน้า เคียงข้างและตามหลัง” ทั้งหญิงและชายวันนี้ ปู่จิ๊บ จะขอพูดถึง “ฝ่ายชาย” ที่หนุนช่วยให้ปู่จิ๊บ มีวันนี้ที่ สุข สงบ สำเร็จ - ความจริงในชีวิตของคนๆหนึ่ง มีเพียงสองเส้นทางเดินเท่านั้น ทางแรก เป็นทางสบาย เพราะมีทางมีเส้นทางอยู่แล้ว เพียงแต่เราเดินตาม เราก็สามารถไปถึงได้ โดยอาจจะเป็นเส้นทางแคบๆ แต่ก็มีอยู่แล้ว มีคนปักทางสร้างไว้มาก่อน อาจจะเดินไม่คล่องตัว เราก็ต้องใช้ความคิดความพยายามประกอบไปด้วยแต่ก็มีทางเส้นทางเหมือนกับซุปเปอร์ไฮเวย์ สะดวกสบาย เดินไปได้ด้วยความเร็วกว่าเดิมเมื่อปู่จิ๊บยังเด็ก เวลาเดินเหินไปไหน ก็สะดวกสบาย เพราะมีเส้นทางที่ราบเรียบให้เดินตาม เพียงแต่ เราต้องเดินให้ถูกทางตามที่มีผู้คนวางไว้แล้ว อย่าเดินออกนอกเส้นทาง ซึ่งอาจจะไปไม่ถึงโดยคนส่วนใหญ่ ก็สามารถเดินไปได้ ผ่านไปได้ เส้นทางนี้ คือเส้นทางที่ป๋าแม่ ที่เดินตามปู่ย่าตายายที่สร้างมาก่อน และป๋าแม่ก็ได้มาร่วมสร้างใหม่ด้วย นี่คือเหตุที่ทำให้คนแต่ละยุคแต่ละรุ่น มีความแตกต่างกัน ในเส้นทางเดิน แล้วแต่ยุคสมัยที่เปลี่ยนไป - เส้นทางนี้ คือ การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของปู่จิ๊บ ในวัยเรียนเล่น ในทุกระดับ อนุบาล ประถม มัธยม แต่ อาจจะมีต้องลงแรงใจและกายมากขึ้นอีกหน่อย เมื่อได้ไปเรียนที่กรุงเทพ โรงเรียนเตรียมอุดมพญาไท คือ ต้องไปอยู่กับญาติพี่น้องเครือญาติทางฝั่งของป๋า และต้องมีการไปเรียนกวดวิชาที่ “โรงเรียนอโนชา” โดยมีเป้าหมาย ที่จะสอบเข้าเตรียมทหารฯ แต่ก็สอบได้เพียงผ่านข้อเขียน แต่ตกสัมภาษณ์ เพราะสายตาสั้นฯ และเมื่อได้เข้าเรียนที่ “โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไท” ชีวิตก็เริ่มเปลี่ยนไป เริ่มจากการต้องตื่นแต่เช้า และออกจากบ้าน เดินหลายร้อยเมตร เพื่อมารอขึ้นรถเมล์สายที่จะไปโรงเรียน และต้องแย่งขึ้นเพราะคนแน่น จำได้ว่า บางครั้ง ต้องโหนรถเมล์ด้วย โดยมีเท้า ตัวบางส่วน และมือที่ต้องจับราวรถให้แน่น และตัวอยู่นอกรถ ในการเรียน ก็ต้องช่วยตนเอง อ่านศึกษามากขึ้น มากกว่า ยากกว่าสมัยเรียนอยู่ที่รร.อัสสัมชัญลำปางมาก ประการสำคัญ เด็กนักเรียนเตรียมฯ ส่วนใหญ่ เป็นเด็กเก่ง ที่มาจากทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดทั่วประเทศ ในการเรียนนั้น มิใช่เพียงแต่เรียนไปตามลำดับปกติ อย่างที่เคยเรียนมาในชั้นมัธยมต้น โดยมีครูนำ แต่เขาเรียนอ่านไปล่วงหน้า เรียนนำครูสอน บางคนก่งหรือขยันมาก เรียนไปล่วงหน้าไปอีกปีหนึ่ง - การเรียน ควบคู่กับการทำกิจกรรม ทำให้เราได้อะไรมากกว่า การอยู่กับคนเก่งคนขยัน ก็มีส่วนผลักดันให้เรา ต้องขยันตาม แต่ปู่จิ๊บก็เป็นปู่จิ๊บ คือมีการทำกิจกรรมไปด้วย ซึ่งที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพญาไทนี้ เป็นครั้งแรก ที่ปู่จิ๊บ ได้ร่วมทำกิจกรรม “ชมรมสังคมศึกษาศาสตร์” ทำให้เรามีความรู้ นอกจากตำราเรียน เพราะกิจกรรมทีชมรมฯทำ คือ เป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ เรื่องของโลก มีการจัดกิจกรรมวันสหประชาชาติ UN ในวันที่ 24 ตุลาคม ของทุกปี และมีการนำนักเรียนไปทัศนศึกษาดูงาน เกี่ยวกับวัด-สถานที่ประวัติศาสตร์ของไทยที่อยุธยาฯ ซึ่งทำให้เราได้รับรู้ถึงชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยยุคก่อนได้มีการฝึกการเป็นผู้นำที่ต้องเสียสละ คือ ต้องทำการบ้านทำความเข้าใจมาก่อน ต้องมาแต่เช้ากลับสุดท้าย โดยปู่จิ๊บ ได้รับรางวัลแบบไม่เป็นทางการ จากผอ.โรงเรียนเตรียมอุดมฯ คือ คุณหญิงบุญเลื่อน เครือตราชชู คือ ท่านเรียกไปหา แล้วชื่นชมที่ได้ทำหน้าที่ได้ดีจนสำเร็จ คือ พานักเรียนไปและกลับมาถึงโรงเรียนเรียบร้อย โดยรางวัลที่ได้ คือ “ธนบัตรใบยี่สิบบาท” ที่ท่านยื่นให้ แม้จะไม่ได้มาก แต่ความมากอยู่ที่ การที่ท่านชื่นชม จากการที่เราลงแรงทำงานอย่างเต็มความสามารถเพื่อส่วนรวมฯ และผลที่ตามมาในการเรียน ปู่จิ๊บได้คะแนนสูงสุดในวิชาประวัติศาสตร์ห้องเรียน 224 ชั้นมศ.5 ( ปีที่สอง) - และสิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ เป็นการสร้างความคิดอุปนิสัยเพิ่มเติมขึ้นทีละเล็กละน้อย อย่างไม่รู้ตัว และสะสมขึ้นเรื่อยๆ ต่อมาในชีวิต ซึ่งเป็นสิ่งที่ปู่จิ๊บ ได้มาสรุปทำความเข้าใจต่อมาในภายหลัง คือ “ สิ่งใหญ่ ในชีวิตมิได้เกิดขึ้นลอยๆ แต่มาจากสิ่งเล็กๆที่เราได้คิดได้ทำมาอย่างต่อเนื่องตลอด” บทเรียนที่ได้คือ “ ความขยันความเพียร ความคิดอุปนิสัยที่ดีเราสร้างได้ และสามารถนำไปสอนกับลูก กับหลานได้” และยิ่งกว่านั้น เมื่อเราทำมากขึ้นเรื่อยๆ มันก็สร้างให้เราเป็นอะไรก็ได้ อย่างที่มีการพูดกันมาก ในช่วงนี้ว่า “เราสามารถลิขิตชีวิตเราได้ เราอยากจะเป็นอะไร เรากำหนด เราสร้างขึ้นมาได้” ทั้งความเก่งความเพียรพยายามและการคิดดีทำดี ซึ่งควรมาควบคู่กัน เพราะ ความเก่งทำให้เราเหนือกว่า และความเพียร “วิริยะ อุตสาหะ นำเราไปสู่ความสำเร็จ” ( ซึ่งเป็นปรัชญาของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ) รวมทั้งสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การคิดดีทำดี ที่รวมความหมายทั้งหมดคือ “ ความสามารถที่ทำให้เราสำเร็จได้ในเรื่องที่ดีงามถูกต้องชอบธรรม เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น “ เพราะ หากเรามีเพียง “ความเก่ง” เราอาจจะสอบหรือทำงานนำหน้าเหนือคนอื่น แต่หากเป็นงานที่ยากลำบาก มีอุปสรรค หรือต้องใช้เวลายาวนาน สิ่งที่สำคัญกว่า คือ “ความเพียร” ที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จ แต่ที่สำคัญกว่า คือ “การกระทำที่สำเร็จนั้น” ดีหรือไม่ดี และทำเพื่อตนเองหรือผู้อื่น มีบทเรียนที่เราเห็นได้ในปัจจุบัน คือ “นายทุนที่เข้ามาสู่การเมือง” มีความเก่งความสามารถสูง มีกลไกเครื่องมือต่างๆที่นำเขาไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ได้เป็นผู้นำของประเทศ เป็นเจ้าของพรรคการเมืองที่ยิ่งใหญ่ แต่สิ่งที่ทำไปนั้น เพื่อส่วนตัวญาติพี่น้องและพรรคพวก โดยที่สำคัญ คือ การโกงการกินจากงบประมาณของประเทศ และทำให้บ้านเมืองประชาชนเสียหายมหาศาล เพราะ เขา “ขาดความดี เพื่อคนอื่นเพื่อบ้านเมือง” ฉะนั้น บทเรียนที่ได้มาคือ “เราต้องมีทั้งความเก่งความเพียรและความดี ที่เราสร้างขึ้นได้” - การเรียนที่คณะวิศวจุฬาฯ ของปู่จิ๊บ ก็ได้เดินคู่กัน “ทั้งการเรียนและการทำกิจกรรม” แต่สิ่งที่ผิดพลาดไป คือ “ทำกิจกรรมมากกว่าการเรียน” ทำให้ ต้องเรียนนานกว่าคนอื่น คือ ขณะที่ตามหลักสูตรเรียน 4 ปี แต่ปู่จิ๊บเรียน 6 ปี แต่กิจกรรมที่ทำทั้งในคณะวิศวฯ และทำที่สโมสรนิสิตจุฬาฯ ที่ได้เป็นผู้นำนิสิตของจุฬาฯ คือ นายกสโมสร ที่ได้ทำอะไรต่างๆที่สำคัญมากฯลฯ ก็เป็นส่วนที่ทำให้ปู่จิ๊บสำเร็จมาจนทุกวันนี้ - แต่ในชีวิตจริง จะมีเส้นทางใหม่ ที่เราจะต้องสร้างขึ้นด้วยตนเอง คือ เส้นทางของชีวิตตนหนึ่งๆ ซึ่งต้องใช้ความคิด ความเพียร ความดีนำหน้า จึงจะไปสู่ความสำเร็จที่ดีได้ เส้นทางใหม่ เป็นเรื่องใหม่ ที่คนเราไม่เคยทำมาก่อน เราต้องสร้างขึ้นเอง ด้วยตัวของเรา แต่ความเป็นจริง นั้น การสร้างเส้นทางใหม่ของตนเอง เรามีต้นทุนเก่าอยู่แล้ว ก็คือการศึกษาจากเส้นทางเก่า ที่คนรุ่นก่อนสร้างมา แล้วเรานำมาคิดมาสรุปมาปรับให้ดีขึ้นก้าวหน้ามากขึ้น เพื่อเป็นเส้นทางชีวิตของเรา นี่คือเหตุผลสำคัญ ของการนำมาถึง เรื่องราวของบุคคลที่เดินนำหน้าและมาก่อนเรา ที่ปู่จิ๊บขอนำมาเสนอ - ชายคนแรกในชีวิต ก็คือ “พ่อ บุญช่วย สุรวิชัย” ที่ลูกๆ เรียกว่า “ป๋า” ป๋าบุญช่วย ( คือพ่อของปู่จิ๊บ ) มอบสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งให้ปู้จิ๊บ “ป๋าไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการศึกษา อยากจะเรียนอะไร เรียนได้เต็มที่ ป๋าจะส่งให้ลูกได้เรียนตามตั้งใจ “ปู่จิ๊บ ได้เรียนที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปางง คือ รร. อรุโณทัย และ รร. อัสสัมชัญลำปาง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาฯที่ดีที่สุดของประเทศ คือ รร.เตรียมอุดมพญาไท และคณะวิศวจุฬาฯ ป๋า เป็นแบบอย่างของลูกๆ ด้วยการปฏิบัติ โดยการได้เห็นในชีวิตของลุกๆ และปู่จิ๊บได้แบบอย่างมาจากป๋า ป๋าทำงานหนัก ทั้งการหาเงินให้ลูกเรียน งานบ้าน ฯ เป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด แม้งานหนักสุดๆ ความจำที่เกิดจากความชำนาญเป็นเลิศ เพราะจำอะไหล่ที่มีเป็นพันๆหมื่นๆชิ้นได้หมดราคาเท่าไหรอยู่ที่ไหน ป๋า มีลายมือสวย ใช้ปากกาเชฟเฟอร์หมึกเกฮาสีเขียว บันทึกรายะเอียดของการซื้อขายฯ เป็นรายวัน ฯ และทำงานทั้งวันจนดึก โดยเฉพาะวันล๊อตตารีออก เพราะซื้อไว้มาก งวดละหลายพันใบ เพราะเคยถูกราวัลใหญ่ แต่ป๋า (แม่) ก็สุขใจ ที่ลูกๆเป็นคนดี ของพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ครู ชุมชน-บ้านเมือง สิ่งสำคัญที่สุด ที่ลูกๆได้นำติดตัวมา คือ “คำสอนและ อัฐิของป๋าแม่” และนามสกุล “สุรวิชัย” ที่บรรพบุรุษคือ ปู่ทวด ที่มาจากเมืองจีน เข้ามาเมืองไทยในฐานะพ่อค้า และได้รับศักดินา 500 ไร่ ได้รับบรรดาศักดิ์ เป็น “ขุนวิชัยวานิช” ซึ่งเป็นที่มาของนามสกุล “สุรวิชัย” เราต้องคิดดีทำดี ต่อตนเอง ครอบครัวพี่น้อง คนอื่น ชุมชน และบ้านเมือง ตามแบบอย่างที่ดีของบรรพบุรุษ ทำให้ทุกคนที่มาก่อนเรา และให้เรามาทุกอย่าง “ความรัก ความเชื่อมั่น” มีความสุขจากการทำดี ของเรา ป๋า เป็นคนมีน้ำใจ และเป็นผู้ให้ ให้ความรักและแบบอย่างที่ดีแก่ลูก และช่วยเหลือหลานๆในเรื่องเงินทองฯ จึงเป็นที่รักเคารพของหลานๆ และทำให้ปู่จิ๊บ ได้ไปอาศัยอยู่เรียน ที่บ้านพี่(พลโทอารี ธิยะใจ)มีศักดิ์เป็นพี่เขย ร้านชัยประสาน ขายอะไหล่และสินค้าหลากหลาย และในยามสงคราม ก็ค้าขายกับญี่ปุ่น มีรายได้ดี และเนื่องจากเป็นคนไม่สะสม ไม่ซื้อที่ดิน ฯลฯ และมีแต่ให้ คนทั่วไปคิดว่า “ป๋าร่ำรวย มีเงินทองมาก” แต่ความจริง สิ่งที่ป๋าเหลือไว้ให้ลูก มิใช่เงินทอง แต่เป็นอะไหล่รถยนต์ ( ที่กองเต็ม 3 ห้อง และหมดสภาพ) และการ ค้าขายกับทางหน่วยราชการ ฯลฯ ที่พี่ชายและน้องชาย รับสืบทอดและมาพัฒนาต่อในภายหลัง และที่สำคัญที่สุด ก็คือ แบบอย่างในการดำรงชีวิตที่ดี เป็นผู้ให้แก่ผู้อื่น ลูก หลาน ญาติพี่น้องและเพือนๆ ป๋าเป็นคนเรียบง่าย มีความสุขง่ายๆ จากการกิน พูดคุยกับคนทั่วไป การซื้อล๊อตตาลี และ มี (ให้) เพื่อน ป๋ามีเพื่อนเป็นนายทหารและข้าราชการ รวมทั้งนักธุรกิจที่มาคบหากับนายทหารและข้าราชการ โดยเป็นผู้สนับสนุน เรื่องเหล้า อาหาร วิทยุ ฯ ในการรับรองแก่เพื่อนเหล่านี้ โดยการสั่งซื้อทางเครื่องบิน ฯ นายทหารที่เป็นผู้ใหญ่ ที่มาประจำอยู่ที่ลำปางในยุคนั้น และต่อมาได้เป็นนายกรัฐมนตรี คือ จอมพลสฤษดิ์ ซึ่งเวลามาลำปางทุกครั้ง จะให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ไปตาม “ไอ้ช่วย ให้มาพบ” และจอมพลสฤษดิ์ ก็อยากจะตอบแทนป๋า โดยการให้สัมปทานสินค้าของทหารฯ แต่ป๋าไม่ขอรับ เพราะ ป๋ามีความสุข ในการให้ ความรักความนับถือและความสุขแก่เพื่อนๆ รวมทั้งจอมพลสฤษดิ์ และฯลฯ ป๋า คงจะมีความสุขและปลื้มปิติมาก หากได้รู้ว่า “ลูกชายคนเล็ก” น้องเชฟ ได้เป็นพลเอกแห่งกองทัพบก