ชัยวัฒน์ สุรวิชัย - บุคคลที่สำคัญที่สุดในช่วงนี้อีกคนหนึ่ง คือ อ.มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เจ้าของนสพ.สยามรัฐ และคอลัมน์ซอยสวนพลู หน้า 5 ที่โด่งดัง มีบทบาทสำคัญต่อความคิดเห็นของสังคมการเมืองและทั่วไป “คอการเมือง “จะถามกันว่า “ วันนี้อ่าน คอลัมน์ซอยสวนพลู หน้า 5 แล้วหรือยัง อ.คึกฤทธิ์ พูดว่าอย่างไร เพราะความเป็นปราชญ์ที่ติดดิน และคลุกคลี่กับคนมากมายทุกระดับ มีการไปพบปะพุดคุย และที่สำคัญ คือ การตั้งคำถาม ถึง อ.คึกฤทธิ์ เป็นประจำวัน เกี่ยวกับทุกเรื่องในสังคมไทย โดยชาวบ้านหลากหลาย และ “ทุกคำตอบของอาจารย์คึกฤทธิ์ ล้วนเป็นที่ถูกอกถูกใจ และที่สำคัญ คือ คนอ่านได้ความรู้จริง” พรสวรรค์ ที่ยากจะหานักประพันธ์อื่นเปรียบได้ คือท่านสามารถพาคนอ่านเดินเข้าไปอยู่ในนวนิยายของท่านเหมือนมีโลกนั้นอยู่ในความเป็นจริง และความสามารถ ในระดับที่เรียกว่า เป็น “นายของภาษา” ท่านเป็นผู้เขียนเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย อ่านเข้าใจชัดเจน โดย จะใช้ภาษาพูด ในการเขียน ซึ่งปู่จิ๊บ ก็ได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งในการเขียนเช่นนี้ด้วย เพราะ ได้ความรู้สึกที่จริงใจ เป็นธรรมชาติมากกว่า - ปู่จิ๊บ ซึ่งชื่นชมอาจารย์คึกฤทธิ์มาก่อน และมีโอกาสที่ดียิ่งในชีวิต ที่ได้มีโอกาสไปมาหาสู่กับอาจารย์เป็นประจำ ในช่วงที่เป็นนิสิตวิศวฯจุฬาฯ และเข้ามาร่วมทำกิจกรรมชมรมปาฐกถาและโต้วาที สจม. 2512-4 และได้เชิญท่านเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ จึงได้ไปที่บ้านซอยสวนพลูบ่อยๆ กับ พี่ฉายศิลป์ เชี่ยวชาญพิพัฒน์ และสมาชิกชมรมฯ และบางครั้ง ก็มีอ.ธีรยุทธ บุญมี คุณประสาร มฤคพิทักษ์ ไปร่วมด้วย นอกจากเราจะได้รับฟัง “ ความรอบรู้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้งแล้ว” จากการตั้งคำถาม ( รวมทั้งการอ่านจาก คอลัมน์ของอาจารย์เป็นประจำ ) โดยมีทั้งเรื่องทั่วไป เรื่องการเมืองและบางครั้งก็มีเรื่องพิเศษบางครั้ง เมื่อเป็นจังหวะที่อาจารย์กลับมาจากไปต่างประเทศ โดยได้กล่าวถึงบุคลิกลักษณะของคนชาติต่างๆ แล้วมาสรุปว่า “ สู้คนไทยไม่ได้ ในหลายเรื่อง รวมทั้งเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพศ ฯลฯ” รวมทั้งอาหารรสเด็ด จากฝีมือปรุงของอาจารย์เอง ซึ่งวัตถุดิบส่วนหนึ่ง ได้มาจากแฟนคอลัมน์ฯของท่าน - ชาวปาฐกถาและโต้วาทีจุฬาฯ ยังมีโอกาสพิเศษ ได้ไปพักที่บ้านขุนตาล ( ดอยขุนตาล จังหวัดลำปาง ) อาจรย์คึกฤทธิ์ มีบ้านส่วนตัวที่ดอยขุนตาล เพราะก่อนหน้านั้น ท่านไปดูแลธนาคารแห่งหนึ่งที่ลำปาง ไปกันหลายสิบชีวิตทั้งชายหญิงฯ พักอยู่หลายวัน ได้รับชมวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม และอากาศหนาวเย็น มีสวนดอกไม้หลากหลาย และต้นลิ้นจี่ที่มีลูกดกอร่อย ฯ ได้รับประทานอาหารฯ จากฝีมือของอาจารย์ และที่มีคุณค่าและประโยชน์มาก คือ ช่วงการตั้งวง รับฟังความเห็นของอาจารย์จากคำถามที่พวกเราถามฯ อาจารย์ตอบได้ทุกเรื่องจริงๆ บางเรื่องมีลักษณะกว้าง แต่หลายเรื่องก็ลึกซึ่งจริงๆ รายการทั้งหมด รวมทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆในเรื่องอาหารการกิน และการบริการต่างๆ อาจารย์เป็นผู้จัดการหมด นึกถึงเรื่องนี้ ครั้งใด ก็รู้สึกขอบพระคุณท่านอยู่ในใจทุกครั้ง - มีเรื่องพิเศษลับเฉพาะ ระหว่างปู่จิ๊บกับท่านอาจารย์ “อย่าเข้าใจผิดน่ะ” โปรดฟังข้อเท็จจริงก่อน จ้ะ ในค่ำคืนวันที่ 11 หรือ 12 ตุลาคม 2516 ขณะที่พวกเรา 13 กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เหตุการณ์ 14 ตุลา 16 ยังถูกคุมขังอยู่ที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน ( ในขณะนั้น ) กระแสของการเคลื่อนไหวของนักศึกษาประชาชน เริ่มมีพลังมากขึ้นอย่างไม่คาดคิด โดยการนำของศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ยุคเลขาฯคือ ดร.สมบัติ ธำรงธัญญาวงค์ และนักเรียนนิสิตนักศึกษาประชาชนวงการต่างๆเริ่มเข้าร่วมอย่างมากมาย และมีข้อเรียกร้อง ให้รัฐบาลจอมพลถนอมประภาส “ปล่อยตัว 13 กบฏ” อย่างไม่มีเงื่อนไข ปรากฏว่า “มีบุคคลที่ชื่อว่า คุณสนั่น ผิวนวล” ที่เราไม่รู้จัก มาขอประกันตัวพวกเรา ฯ และทางการฯ ก็มีการอนุโลมเป็นพิเศษ ที่ให้พวกเราที่ถูกขังแยก มาอยู่รวมกันและปรึกษาหารือกันได้ และทางกลุ่มฯ ได้เสนอ “นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย” ที่เคยเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯ เป็นที่ปรึกษาศูนย์นิสิตฯ ให้เป็นตัวแทน ออกไปให้ สัมภาษณ์สื่อสารมวลชนที่มาจากทุกสาย ทีวี วิทยุ นสพ.ทั้งในและต่างประเทศ ก่อนหน้านี้พวกเราได้ประชุมปรึกษาหารือกัน ถึงสภาพสถานการณ์การชุมนุม แนวโน้มทางการเมืองฯ ที่เราเริ่มได้รับรู้จากสื่อต่างๆมากขึ้น - ในค่ำคืนก่อนที่จะออกไปให้สัมภาษณ์ ปู่จิ๊บ ได้นึกถึงบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่จะให้คำปรึกษาได้อย่างดีที่สุด จึงได้โทรไปหา อาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยสายตรงที่มีอยู่จากการคุ้นเคยกับท่านมาก่อน ตามที่ได้เล่าไป อาจารย์คึกฤทธิ์ มารับโทรศัพท์ด้วยตนเอง พอได้ยินเสียง ท่าก็จำได้ และถามถึงสภาพของพวกเรา ผมก็ได้เล่าเรื่อโดยสรุปให้ท่านฟัง และขอความคิดและคำแนะนำจากท่าน อาจารย์คึกฤทธิ์ ได้ประเมินถึงสภาพสถานการณ์ ของการชุมนุมผู้คนเข้าร่วมมหาศาล จนทำให้รัฐบาล เริ่มมีท่าทีที่อ่อนลง จากแข็งกระด้าง จะเอาเป็นเอาตายกับพวกเรา 13 คน ที่ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ท่านได้ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์มากว่า “ แต่พวกคุณจะต้องระมัดระวังตัวให้มาก คิดให้รอบครอบ เพราะ อาจจะมี “อุบัติเหตุทางการเมืองเกิดขึ้นแทรกซ้อนได้” และท่านแนะนำว่า “หากจะต้องออกไป จะต้องรับฟังความคิดจากศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และจะดีมาก หากศูนย์มารับเอง” ทำให้การออกมาสัมภาษณ์ของ “ นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย” รัดกุม และได้รับความสนใจจากชาวไทยอย่างมาก ซึ่งสื่อ นสพ.ทุกฉบับ ( รวมทั้งทีวีทุกช่อง ) ได้ขึ้นรูปและคำให้สัมภาษณ์ของปู่จิ๊บ - ปู่จิ๊บ ต้องขอกล่าวถึงที่นี้ เพื่อแสดงความคาราวะและขอบคุณท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ที่ได้เมตตามาตลอด และรู้สึกเสียดาย ที่หลังจากเหตุการณ์ ไม่ได้มีโอกาสเหมือนสมัยที่เรียนอยู่ เพราะนอกจากรับราชการที่กทม. ยังเริ่มทำหน้าที่เคลื่อนไหวเผยแพร่ประชาธิปไตยไปสู่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนในภูมิภาคต่างๆ ตั้งแต่ ทำในนามของ “ กลุ่ม ปช.ปช.) กลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่อาจารย์ธีรยุทธ เป็นผุ้ประสานงาน ร่วมกับเพื่อนๆใน 13 กบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญ กลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ นักเรียนและนักศึกษาที่สนใจ โดยมีสำนักงานของกลุ่มปชปช ตั้งอยู่ที่ตึกแถวตลาดบางลำพู กทม. และหลังจากนั้น ปู่จิ๊บก็ได้ร่วมกับเพื่อนมิตรในวงการต่างๆที่สนใจปัญหาบ้านเมืองและผู้ที่มีแนวคิดสังคมนิยม ก่อตั้ง “ พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย” ซึ่งปู่จิ๊บ ได้รับเลือกเป็นกรรมการกลาง “ ฝ่ายกิจการมวลชน” ที่มีหน้าที่ต้องออกไปประชุมแลกเปลี่ยน กับชาวบ้านประชาชน กรรมกร และชาวไร่ชาวนาทั่วประเทศ ซึ่งในการส่งตัวแทนประชาชนนักศึกษานักการเมืองลงสมัครครั้งแรก เมื่อต้นปี 2518 ได้สส.มาถึง 15 คน ซึ่งได้ทำหน้าที่ตัวแทนของประชาชนในการร่วมกับพ่อแม่พี่น้องประชาชนทั่วไทย แก้ปัญหาของประเทศฯลฯ - ขออนุญาต จะได้กล่าวถึง “ประวัติและผลงาน ของ อาจารย์คึกฤทธิ์ พอเป้นสังเขป” ศาสตราจารย์พิเศษ พลตรี นายกองใหญ่ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (20 เมษา 2454 - 9 ตุลา 2538) นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง และศิลปินแห่งชาติ นับเป็นปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย อ.คึกฤทธิ์ นับเป็นบุคคลและบทบาทที่หลากหลาย มีชื่อเสียงในหลายๆ ด้าน การประพันธ์ การแสดงฯ ยังเป็นนักการเมือง ท่านเป็นผู้ก่อตั้งพรรคก้าวหน้า เมื่อ 2488 ต่อมาได้ยุบรวมกับพรรคประชาธิปัตย์ในปีถัดมา ต่อมาก่อตั้งหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เมื่อ พ.ศ. 2493 และก่อตั้งพรรคกิจสังคม เมื่อ พ.ศ. 2517 และได้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 13 ของประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2518 โดยสามารถเป็นแกนนำตั้งรัฐบาลทั้งที่มีจำนวน ส.ส.ในมือเพียง 18 คน เจ้าของ "นโยบายเงินผัน" เป้าหมาย เพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ และ สร้างงานในชนบท อันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในสมัยนั้น ต้นตำรับโครงการประชานิยมตัวจริง เสียงจริง คนแรกของเมืองไทย ผลงานอีกชิ้นซึ่งสร้างชื่อเป็นอย่างมาก ก็คือ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนแรก ที่นับว่ามีวิสัยทัศน์กว้างไกลก ไปเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ กับ ประธานเหมา เจ๋อ ตุง ผู้นำสูงสุดประเทศจีนในขณะนั้น นับเป็นส่วนหนึ่งในการนำมาซึ่งทางการทูตที่ดีกับประเทศพี่เบิ้มยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียและของโลกในปัจจุบัน บุคลิกที่โดดเด่นเป็นตัวของตัวเองที่ทุกคนรู้จักดี คือ วาทศิลป์และบทบาทเป็นที่ชวนให้จดจำ เมื่อมีผู้ถามว่า หมายถึงอะไร โดยตอบว่า “คึกฤทธิ์ ก็คือ คิดลึก” ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ได้รับฉายาจากนักการเมือง และสื่อมวลชนมากมายทั้ง "เฒ่าสารพัดพิษ" "ซือแป๋ซอยสวนพลู" "เสาหลักประชาธิปไตย" แสดงความเห็นทางการเมือง ได้อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลใดๆ ด้านวรรณศิลป์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีผลงานหนังสือที่มีชื่อเสียงระดับประเทศมากมาย ที่ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่น สี่แผ่นดิน, ไผ่แดง, กาเหว่าที่บา เพลง, หลายชีวิต, ซูสีไทเฮา, สามก๊กฉบับนายทุน และเรื่องสั้น "มอม" ซึ่งได้ใช้เป็นบทความประกอบแบบเรียนภาษาไทยในปัจจุบัน บางชิ้นมีผู้นำไปทำเป็นละครโทรทัศน์เช่น สี่แผ่นดิน, หลายชีวิต และ ทำเป็นภาพยนตร์ เช่น กาเหว่าที่บางเพลง ปี 2554ท่านได้รับการประกาศยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกใน 4 สาขา ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และสื่อสารมวลชน - บุคคลสุดท้ายในช่วงนี้ ที่ลืมไม่ได้ คือ พันเอกอารี ธิยะใจ พี่เขย (สามีของพี่สาวลุกป้าคนโต ) ที่ปู่จิ๊บไปอยู่ด้วยในสมัยมาเรียนกรุงเทพ พี่อารี เป็นทหารที่มีจิตใจประชาธิปไตยคนหนึ่ง ทำงานหนักเอาจริงและจริงใจต่อเพื่อนและผู้ใต้บังคับบัญชา และต่อผู้บังคับบัญชา โดยเฉพาะต่อ “ จอมพลถนอม กิตติขจร “ ที่เป็นชาวจังหวัดตาก เช่นกัน พี่อารี ทำหน้าที่เป็นนายทหารพัฒนาฯ ออกไปสร้างและพัฒนาพื้นที่ต่างๆและประชาชนในต่างหวัด ในส่วนความสัมพันธ์กับปู่จิ๊บ ได้มีการพูดคุยให้แง่คิดในบางประเด็น ส่วนใหญ่ก็ปล่อยให้มีอิสระตามใจตนเอง ซึ่ง ปู่จิ๊บ สมัยเป็นนักเรียนเตรียมอุดมฯและนิสติวิศวฯจุฬาฯ ก้ไม่ได้ทำให้พี่อารีและพี่เฉลา ผิดหวังฯ และปู่จิ๊บ ได้มีความสนิทกับครอบครัวนี้ เพราะพี่อารีพี่เฉลา มีลูกชายชื่อ”แดง” เรียนรุ่นเดียวกัน ( และแดง ก้ได้เจริญตามรอยพ่อ และเกษียณราชการในยศสูงสุดของกองทัพบก คือ พลเอก ) ในช่วงที่มีเหตุการณ์การเคลื่อนไหวของนักศึกษา ซึ่งปู่จิ๊บ เคยพา อ.ธียุทธ บุญมีมานอนที่บ้าน และข่าวนี้ ถูก พันเอกณรงค์ กิติขจร ( รุ่นน้อง ) ตำหนิ , พี่อารี ก็ได้พูดชัดว่า “ น้องผมคนดี ไม่ต้องห่วง “. ซึ่งปู่จิ๊บ ขอแสดงความรู้สึก ชื่นชมและขอบพระคุณ “พี่อารีและพี่เฉลา” ( ท่านจะเสียชีวิตไปแล้วทั้งคู่ ) ชีวิตช่วงที่อยู่กับพี่อารีพี่เฉลาและญาติๆ ที่มีอาชีพทหารตำรวจที่เป็นคนดี ทำให้มีทัศนะที่ดีในเรื่องนี้. - การสร้างคนให้มีคุณภาพ ให้ไปไกลที่สุด มีพลังคิดดีทำดีเพื่อตนเองผู้อื่น ชุมชนและที่สำคํญที่สุด คือ บ้านเมือง คน เป็นหัวใจของทุกสิ่งทุกอยาง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม กระบวนการยุติธรรม และธรรมชาติ รุกเป็น รับเป็น ถอยเป็น จึงจะครบสูตร ครบกระบวนการเพราะ คนมิใช่มีแต่ความสำเร็จ แต่ก็มักจะมีความล้มเหลว ผ่านเข้ามาเสมอๆคนที่มีแต่ความสำเร็จ เขาจะมีเพียงด้านเดียว และเมื่อล้มเหลว หรือผิดพลาดใหญ่ๆ อาจจะเอาตัวไม่รอดผิดกับคนที่ล้มเหลวมาแล้ว เขาก็รู้ซึ้งถึง ความรู้สึกในช่วงนั้น และเมื่อผ่านมาได้ เขาก็จะยืนได้อย่างสง่า