ชัยวัฒน์ สุรวิชัย วิศวจุฬาฯ สร้างคน คนสร้างชาติ - เราเหลือ วิศวกรจุฬาฯ อีก 2 คน คือ คุณบวร ยสินทร-คุณอภิชาติ ชิตามิตร 2514, บวร ยสินทร ตำแหน่งในสโมสรนิสิตจุฬาฯ คือ ประธานเชียร์ สจม. หลังจากจบการศึกษาแล้ว ก็ได้ดำเนินกิจกรรมทั้งทางการเมืองและทางธุรกิจ ประธานเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน เป็นผู้ที่มีบทบาททางการเมืองในช่วงปี 2556 อภิชาต ชิตามิตร เป็นอุปนายกสจม. หลังจากนั้น เดินทางไปทำงานศึกษาต่างประเทศ กลับมาร่วมสิบปี ยังคงมีความคิดเรื่องส่วนรวมอย่างมั่นคง พร้อมกับประสบการณ์ที่ผ่านมา คงจะมีบทบาทต่อไป - มาดูความคิดมุมมองของบางท่าน , ปู่จิ๊บ ขอนำมาโดยสรุปให้เห็น “ ทิศทางของโลกและประเทสไทย” ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่ธนาคารชาติ ได้ปาฐกถาเรื่อง “มหาวิทยาลัยในโลกที่ไม่เหมือนเดิม” ( ในสัมมนาผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จุฬาฯ” ) อย่างไรก็ดี บริบทต่างๆ ในศตวรรษใหม่ที่เรากำลังเผชิญต่างจากโลกในศตวรรษที่ผ่านมาในหลายมิติ นับเป็นความท้าทายสำหรับทุกคนและทุกสถาบันที่จะต้องปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผมขอร่วมเสนอมุมมองใน 3 ประเด็นคือ - 1. โลกที่ไม่เหมือนเดิม โลกของเราไม่เคยหยุดนิ่ง เนื่องจากมนุษย์มีสติปัญญา ความคิด จินตนาการ และปรับตัวได้ จึงทำให้มนุษย์สามารถก้าวออกจากถ้ำ จนไปยืนอยู่บนดวงจันทร์ได้ และ สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง จนทำให้สิ่งที่เคยอยู่ในจินตนาการเป็นจริงได้อย่างไม่น่าเชื่อ ที่สำคัญ ความพร้อมด้านเทคโนโลยี จะยิ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวดเร็วและคาดเดาได้ยากยิ่งขึ้น มองไปข้างหน้า ความไม่เหมือนเดิมของโลกที่จะมีนัยต่อมหาวิทยาลัยในระยะต่อไป มี 3 มิติสำคัญ 1.1 มิติแรก คือ โลกไร้พรมแดน พัฒนาการของเทคโนโลยีด้านการคมนาคมและการสื่อสาร ทำให้ โลกที่เคยกว้างใหญ่กลับเล็กและแคบลง เสมือนประชาคมโลกเป็นชุมชนเดียวกันและผู้คนเดินทางไปมาหาสู่กันมากขึ้น นักวิเคราะห์หลายท่านมองว่า สังคมและวัฒนธรรมทั่วโลกจะถูกหลอมรวมเป็นหนึ่ง 1.2 มิติที่สอง คือ โลกซับซ้อนมากขึ้น แต่หลายเรื่องก็ชี้ว่าโลกที่เราอยู่นี้ซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในแง่ความกว้างและความลึกของเรื่องราวที่เชื่อมโยงระหว่างผู้เกี่ยวข้อง จนยากจะคาดการณ์ 1.3 มิติที่สาม คือ โลกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและคาดเดายาก แน่นอนว่า การเปลี่ยนแปลงเป็นสัจธรรมของชีวิต แต่การเปลี่ยนแปลงทุกวันนี้เกิดใน “speed ที่เร็ว” ขึ้นมาก อีกทั้งยัง “คาดเดายาก” ว่าทิศทางจะเป็นอย่างไร ความจริงใหม่ หรือ new normal ของโลก คือ เราจะเจอกับเรื่อง surprise บ่อยและถี่ขึ้นเรื่อยๆ Disruptive Technology จะกระทบความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะระดับบุคคล องค์กร สังคม McKinsey คาดการณ์ว่าเทคโนโลยีจะมาทดแทนสิ่งที่มนุษย์ทำได้เกือบครึ่งหนึ่ง นัยคือคนในยุคต่อไปกว่าจะเกษียณ อาจจะต้องเปลี่ยนงาน 4-5 อย่าง - นอกจากโลกที่ไม่เหมือนเดิมแล้ว มองมาใกล้ตัว ไทยมีความก้าวหน้าไม่น้อย แต่ภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายเรื่องกลับเปราะบางอย่างน่ากังวล การพัฒนาของประเทศในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ช่วยทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยดีขึ้นอย่างชัดเจน เศรษฐกิจขยายตัวประมาณ 14 เท่า ผู้คนจำนวนมากพ้นความยากจน พัฒนาการทางการแพทย์ทำให้คนไทยมีสุขอนามัยที่ดีและชีวิตยืนยาวขึ้น ประชาชนสามารถเข้าถึงการศึกษาได้มากขึ้น - แต่อีกมุมหนึ่งเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเทศเรามีโจทย์หลายเรื่องที่รอการแก้ไข อาทิ – ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม ปี– ศักยภาพการเติบโตลดลง– คุณภาพของระบบการศึกษา ของเราด้อยลง – วัฒนธรรมที่เปลี่ยนและปัญหาสังคมมากขึ้น – ปัญหาสังคมผู้สูงอายุกำลังคุกคามไทย – ปัญหาการคอรัปชัน ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง และที่น่าหนักใจคือ กลไกภาครัฐที่กลับไม่สามารถทำงานได้อย่างมีปสท. และในหลายกรณีกลับเป็นตัวเหนี่ยวรั้งศักยภาพภาคเอกชนจากกฎระเบียบที่มีอยู่มากมายจนเกินพอดี - 2. โอกาสและความท้าทายของมหาวิทยาลัยในโลกที่ไม่เคยหยุดนิ่ง บริบทโลกที่ไม่เหมือนเดิมและปัญหาที่รุมเร้าประเทศขณะนี้ นับเป็นโอกาสและความท้าทายของมหาวิทยาลัยในฐานะที่เป็น “เสาหลัก” ที่จะช่วยประเทศเผชิญกับความท้าทายและก้าวข้ามปัญหาข้างต้นได้ โลกที่ไม่เหมือนเดิมมีนัยต่อบทบาทของมหาวิทยาลัยใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) การสร้างคน 1. ปรับกระบวนการเรียนรู้อย่างไร? 2. สอนอะไร? เพียงพอหรือไม่? มหาวิทยาลัยควรปลูกฝัง “ทักษะและอุปนิสัยที่จำเป็น” ในการอยู่ในโลกที่ไร้พรมแดน ซับซ้อนได้และเปลี่ยนแปลงรวดเร็วชนิดคาดเดายาก ซึ่งได้แก่ ทักษะ การรู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่ม รู้จักสื่อสาร และทำงานร่วมกับคนอื่นได้ นิสัย ใฝ่รู้ สร้างสรรค์ ขยันอดทน รู้จักปรับตัว มีภาวะผู้นำ เปิดใจยอมรับความแตกต่าง มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และมีจิตสาธารณะ (Public Mind) แต่ในบริบทของไทย “ การมีสติ และการอ่อนน้อมถ่อมตน “ สำคัญมาก ประธานาธิบดีเนลสัน มันเดล่า “การอ่อนน้อมถ่อมตน (Humility) เป็นลักษณะนิสัยที่มีค่าที่สุด ที่มนุษย์พึงจะมี เพราะจะทำให้เราเห็นคุณค่าของคนอื่น” 3. บทบาทของครูควรเป็นอย่างไร? “ครูที่ช่วยกระตุ้นความคิด สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้ผมเห็นโลกกว้าง” “We cannot create leader, we could only help them” 4. บรรยากาศแบบไหนที่จะเปิดศักยภาพเด็กได้มากที่สุด? - (2) การสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรม การแสวงหาความร่วมมือและการบูรณาการความรู้ ความเข้าใจเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือสร้าง นวัตกรรมที่ตอบโจทย์คนในวงกว้างได้ 1. การเปิดประตูสู่สากล ใช้โอกาสจากโลกที่ไม่มีพรมแดน สร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ 2. การสร้างนวัตกรรม ผ่านการทำวิจัย และพัฒนางานวิจัยไปสู่นวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง 3. การขยายหลักสูตรที่มีลักษณะสหวิชา (Multi-disciplinary) – โลกที่ซับซ้อน ทำให้ไม่สามารถใช้เพียงศาสตร์ 4. ไม่ควรมองข้ามศาสตร์แห่งความเข้าใจมนุษย์ - (3) การนำองค์ความรู้ไปอำนวยประโยชน์ต่อสังคม 1. คิดถึงปัญหาของบ้านเมือง ปัญหาของประเทศในบางเรื่อง เช่น ปัญหาเรื่องความเลื่อมล้ำทางสังคม 2. เข้าหาและเข้าใจผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึงประชาชน ผู้มีส่วนได้เสียปลายทางด้วย - 3. การขับเคลื่อนจุฬาฯ สู่ศตวรรษใหม่ โลกที่เราอยู่นี้ไม่เหมือนเดิม แต่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นสัจธรรมของชีวิต ที่เป็นปกติธรรมดา ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องปรับตัว โดยสิ่งสำคัญคือ (1) ยอมรับและมองโลกตามความเป็นจริง เรากำลังก้าวไปสู่โลกที่ไม่เหมือนเดิม ไร้พรมแดน ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงรวดเร็วยากจะคาดเดา การอยู่ใน status quo หรือ ทำอย่างที่เคยทำ ไม่ใช่ทางเลือกของจุฬาฯ ไม่ใช่ทางเลือกของประเทศ การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่ choice แต่ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น Sir Charles Darwin เขียนไว้ในหนังสือ Origin of Species (1859) คนที่จะอยู่รอดไม่ใช่ คนที่แข็งแรงฉลาดที่สุด แต่คือคนที่สามารถจัดการและยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุด (2) ทำปัจจุบันให้ดี ที่สำคัญที่สุดคือ นิสิตนักศึกษา และเราต้องไม่มองเขาว่า “เป็นเด็ก” แต่ต้องมองว่า “เขาคืออนาคตของจุฬาฯ อนาคตของประเทศ และอนาคตของโลกใบนี้” (3) คิดบวก พลังความคิดบวกมีความสำคัญ เมื่อประกอบกับเทคโนโลยีที่สร้างความเป็นไปได้แทบไม่มีขีดจำกัด (4) มีสติรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง มหาตมะคานธีกล่าวว่า เมื่อใดก็ตามมีแนวคิดใหม่เกิดขึ้น มันจะมีกระบวนการ 5 ขั้นตอนที่จะตามมา 1. ถูกเยาะเย้ย ถูกหัวเราะเยาะ 2. ถ้ายังสู้ไม่หยุด และเริ่มประสบผล ก็จะถูกต่อต้านขัดขวาง 3. ถ้ายังไม่หยุด อาจถูกทำร้ายอาจถึงชีวิต 4. ถ้าไม่หยุด และประสบความสำเร็จ เขาก็จะเริ่มยอมรับ 5. เขาจะชื่นชม สรรเสริญ แต่ประการที่สำคัญที่สุด จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายใน - ประธานาธิบดี เนลสัน แมนเดล่า เคยพูดไว้ว่า “สิ่งที่ยากลำบากที่สุดอย่างหนึ่งไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงตนเอง”