ชัยวัฒน์ สุรวิชัย เรียนรู้วิศวฯจุฬา จาก “ ประติมากรรมปูนปั้นเล่าเรื่อง 100 ปี วิศวฯ จุฬาฯ” ( 13 มิย. 2556 ) - ตอนแรก ปู่จิ๊บ คิดว่า จะเล่าเรื่องวิศวฯจุฬาฯ ที่สามารถสร้างคนดีคนเก่งให้ประเทสได้มากมาย จะทำอย่างไร แต่เมื่อได้มาอ่าน เรื่องราวความเป็นวิศวฯจุฬาฯ จาก คำบรรยายภาพปูนปั้น ได้เห็นภาพและความเข้าใจได้ดี จึงขอนำมาเสนอต่อ เพื่อนมิตรที่รัก ลองอ่านดู ( หากสนใจไปดูได้ที่ ตึก 100 ปี วิศวฯจุฬาฯ ) - คำบรรยายภาพปูนปั้น เรื่องราวความเป็นวิศวฯจุฬาฯ โดย นายพิสุทธิ์ พันธ์เทียน (ผู้ชนะการประกวดการออกแบบภาพลายเส้นภาพประติมากรรมปูนปั้นนูนสูง-ต่ำ เรื่องราวความเป็นวิศวฯจุฬาฯ) การจัดวางภาพและเรื่องราวจะยึดถือการเรียงลำดับเหตุการณ์ตามเวลาที่เกิดขึ้นในรอบ 100 ปี โดยจะแบ่งเรื่องราวออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ 1. ลำดับเหตุการณ์ของสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ 2. ลำดับเหตุการณ์ทางด้านกายภาพ เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล - พระราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 การ จัดวางองค์ประกอบภาพ ประการแรก จะให้ความสำคัญไปที่จุดตรงกลางของภาพ โดยได้อัญเชิญรูปอนุสาวรีย์ของรัชกาลที่ 5 และ 6 เพราะเป็นสิ่งทีชาวจุฬาฯ ต้องให้ความเคารพบูชา โดยมีฐานรองรับเป็นรูปแบบที่ อาจารย์ศิลป พีระศรี ออกแบบ ซึ่งภายในฐานมีสัญลักษณ์เฟือง 21 แฉก และตราสัญลักษณ์ครบรอบ 100 ปี คณะวิศวฯ จุฬาฯ อยู่ภายใน ส่วนพื้นหลังจะเป็นภาพของหอประชุมจุฬาฯ ซึ่งมีตราพระเกี้ยวอยู่ตรงกลาง และในส่วนประกอบรอบข้าง บริเวณฐานอนุสาวรีย์ของรัชกาลที่ 5 และ รัชกาลที่ 6 จะเป็นภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงวิทยุ และกำลังทรงประดิษฐ์เรือใบมด โดย มีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงกล้องสำรวจประกอบด้านล่าง ส่วนอีกด้านจะเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญของชาววิศวฯ จุฬาฯ ซึ่งจะเป็นเหตุการณ์ที่นิสิตหมอบกราบขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ประทับรถยนต์พระที่นั่ง ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดต่อไปในการเรียงลำดับเหตุการณ์ - การเรียงลำดับเหตุการณ์เพื่อจะเล่าเหตุการณ์ เรื่องราวจะเรียงลำดับจากซ้ายไปขวาของผู้ดูภาพ ดังนี้ • ปราสาทวินเซอร์ อาคารเรียนหลังแรก เริ่ม จากซ้าย ภาพด้านบนจะเป็นรูปอาคารซึ่งเรียกว่า หอวัง เป็นตึกแบบปราสาทวินเซอร์ ภายหลังได้ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ ความสำคัญของอาคารหลังนื้ถือว่าเป็นอาคารเรียนหลังแรกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2456 ในขณะนั้นยังไม่ได้เรียกว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนยันตรศึกษา” ซึ่งเป็นแผนกหนึ่ง ในโรงเรียนข้าราชการพลเรือน โดยมีชื่อเต็มว่า “โรงเรียนยันตรศึกษาแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ” • สามภาควิชาแรกแห่งวิศวฯ จุฬาฯ จน กระทั่ง พ.ศ.2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาประดิษฐานโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็น”จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ โรงเรียนยันตรศึกษา จึงเปลี่ยนมาเป็น “คณะวิศวกรรมศาสตร์”ซึ่งได้เปิดการเรียนการสอนเพียง 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า และภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ดัง นั้น ในด้านซ้ายของภาพด้านล่างจะเป็นเรื่องราวของวิศวกรรมโยธา ซึ่งจะเป็นรูปของการสร้างทางรถไฟ อันเป็นการแสดงถึงการพัฒนาของประเทศไทยในขณะนั้น จะเห็นเครนและปั้นจั้น ซึ่งจะเป็นเรื่องราวของโยธา ถัดมาจะเป็นรูปของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ เป็นเรื่องราวของวิศวกรรมไฟฟ้า และ สุดท้ายภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งได้นำเอารูปของนิสิตซึ่งกำลังศึกษาถึงส่วนประกอบจต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ดีเซล โดยในส่วนบนจะเป็นรูปอาคารหลังหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ตึกมหาวิทยาลัย” โดยใช้เป็นอาคารเรียนของคณะวิศวฯ เมื่อ พ.ศ.2466-2475 ปัจจุบันคือ “ตึกเทวาลัย” • ประเพณีแบกพระเจริญวิศวกรรม ปราสาทแดง โดย ในช่วงเวลานี้จะมีคณบดีคนสำคัญคนหนึ่งคือ “พระเจริญวิศวกรรม” ซึ่งทำหน้าที่ตั้งแต่ พ.ศ.2472-2504 เป็นที่รักและเคารพของชาววิศวฯ ซึ่งจะมีประเพณีเอาท่านขึ้นขี่คอในวันรับน้องใหม่ ดังภาพที่ได้แสดงถัดมา ถัด มาด้านบนจะเห็นอาคารอีก 2 หลัง คือ “ตึก 1 หรือ ตึกแดง” ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2478 โดยแรกเริ่มจะมีเพียง 2 ชั้น ดังภาพที่ได้แสดงไว้ ซึ่งในปัจจุบันได้ต่อเติมเป็น 3 ชั้น เป็นรูปแบบเดียวกับตึก 2 ในปัจจุบัน จะเห็น“ตึก 2” ถัดมา ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2482 ทั้งสองอาคารยังเป็นตึกเรียนในปัจจุบัน • วิศวกรรมช่างอากาศ วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมสำรวจ ส่วน ด้านล่างภาพถัดมาจากรูปแบกคุณพระเจริญ จะเห็นรูปเครื่องบิน ซึ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ เคยก่อตั้งภาควิชาวิศวกรรมช่างอากาศ ขึ้นมาเมื่อ พ.ศ.2476 ส่วนด้านล่างจะเป็นเรื่องราวของภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2482 โดยได้แสดงเป็นภาพของคนงานและช่างสำรวจเหมืองแร่กำลังทุบหิน ถัดมาจะเป็นรูปกลุ่มคนกำลังส่องกล้องสำรวจและจดบันทึก เป็นการแทนคำบรรยายของภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2498 และค่ายสำรวจคณะวิศวฯ ที่เขาชนไก่ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2500 • การถวายฏีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถัด มาจะเป็นภาพเหตุการณ์สำคัญหนึ่งของชาววิศวฯจุฬาฯ นั่นคือ การถวายฏีกา หมอบกราบ เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2506 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่นิสิตกลุ่มหนึ่งถูกไล่ออก นิสิตกลุ่มนี้จึงได้ไปถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทำให้ทางมหาวิทยาลัยได้รับ นิสิตกลุ่มนี้กลับเข้าศึกษาต่อ ยังความซาบซึ้งให้กับนิสิตวิศวฯ จึงได้เกิดประเพณีหมอบกราบขึ้น • ยุววิศวกรบพิธ วิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ พระพุทธรูปที่เขาชีจรรย์ ถัด มาด้านขวาของพระบรมรูปจะเห็นอาคารหลังหนึ่งซึ่งก็คือ ตึก 3 ใกล้ๆ กันจะเป็นรูปสะพานแขวน เป็นสะพานที่สร้างขึ้นที่หมู่บ้านม่วงชุม ต.ม่อนปิ่น อ.ฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยนิสิตคณะวิศวฯ ซึ่งจะเห็นภาพการออกค่ายอาสาของนิสิตก่อสร้างฝายพร้อมกับป้ายชื่อ “ค่ายวิศวฯ จุฬาฯ ” โดยพระราชดำริ ความสำคัญของสะพานนี้เป็นที่มาของการได้รับพระราชทาน “ยุววิศวกรบพิธ” ส่วนด้านล่างจะเป็นภาพแสดงภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2534 ถัดมาด้านบนจะเห็นภาพพระพุทธรูปที่เขาชีจรรย์ จังหวัดชลบุรี เป็นพระพุทธรูปแกะสลักแบบนูนต่ำในลักษณะพระพุทธฉายที่ใหญ่ที่สุด ในโลก เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำรัชกาลที่ 9 • พิธีรับน้องใหม่ ส่วน ด้านล่างของภาพเขาชีจรรย์ จะเป็นภาพแสดงให้เห็นถึงการใช้ชีวิตและกิจกรรมของนิสิต จะเป็นภาพของการรับน้องซึ่งรุ่นพี่จะเหน็บ slide rule ไว้ที่กระเป๋ากางเกงด้านหลัง ใกล้ๆ กันจะเป็นภาพพิธีอัดบันได ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2518 พร้อมกับภาพพิธีโปรยใบจามจุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในพิธีรับน้องใหม่ พร้อมกับภาพพิธีมอบเนคไท เกียร์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการบ่งบอกถึงความเป็นนิสิตวิศวฯจุฬาฯ • ตึก อรุณ สรเทศน์ วิศวกรรมสุขาภิบาล ถัดมาด้านบนจะเป็นรูปอาคารเจริญวิศวกรรมและ ตึกอรุณ สรเทศน์ เคยเป็นตึกของภาควิชาวิศวกรรมสุขาภิบาล ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2498 แต่ปัจจุบันได้ปรับปรุงเพื่อใช้เป็นที่ทำการสมาคมนิสิตเก่าวิศวฯจุฬาฯ • ลานเกียร์ กิจกรรมนิสิต ภาควิชาต่าง ๆ ส่วน สุดท้ายด้านบน จะเป็นภาพของลานเกียร์ ซึ่งเป็นสถานที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของนิสิตวิศวฯจุฬาฯ ส่วนตึกที่เห็นจะเป็นภาพอาคาร 100 ปี ที่กำลังก่อสร้างปัจจุบันด้านล่างจะเป็นภาพแทนแผนกวิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมนิวเคลียร์ รวมทั้งภาควิชาวิศวกรรมปิโตเลียม ซึ่งจะแทนคำด้วยภาพการวิจัยต่าง ๆ รวมทั้งหุ่นยนต์กู้ภัย • ความสำเร็จเพื่อประเทศชาติ บท สรุป ในส่วนสุดท้ายด้านบนจะเป็นภาพความเจริญก้าวหน้าในอนาคต ซึ่งเป็นรูปของรถไฟฟ้า จานดาวเทียม ด้านล่างจะเป็นรูปของความสำเร็จ นั่นคือ การได้รับพระราชทานปริญญาบัตร พร้อมกับภาพแสดงความสำเร็จเมื่อจบออกไปเป็นวิศวกรด้วยภาพของกลุ่มบุคคล ซึ่งมีอาชีพทาง ด้านวิศวกรรม - ปู่จิ๊บ อยากจะสรุป ความสำเร็จของวิศวกรจุฬาฯ ที่โดดเด่น มาจากเรื่องที่สำคัญอะไรบ้าง การหล่อหลอม ความเป็นวิศวฯ ของชาวปราสาทแดง ที่มีลักษณะเฉพาะ 1. คือ ระบบอาวุโส SOTUS SENIORITY ORDER TRADITION UNITY SPIRIT : อาวุโส ระเบียบ ประเพณี ความสามัคคี สปิริต โดยหลัก จะเน้น ความเป็นผู้ให้ รุ่นพี่ จะเสียสละให้รุ่นน้อง และรุ่นน้องต้องเคารพรุ่นพี่ แน่นอนว่า บางครั้ง จะมีนิสิตรุ่นพี่ นำเอาระบบอาวุโส มาใช้อย่างไม่ถูกต้อง แต่ก้เป็นส่วนน้อย และก็มีการปรับให้สอดคล้องกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป แต่โดยเนื้อหาและจิตวิญญาณยังอยู่ รูปธรรม ที่เห็นได้ คือ “ ความรักสามัคคีกันของชาวปราสาทแดง “ ที่ให้แก่คณะวิศวฯ จุฬาฯและบ้านเมือง 2. ความคิดแบบวิศวกรรม ENGINEERING THOUGHT คิดตามสภาพที่เป็นจริง ผิดก็พัง ถูกก็อยู่ได้ยั่งยืน ต้องมีการรับผิดชอบและการชื่นชม ต่างจากคณะวิชาอื่นๆ คิดอย่างเป็นกระบวนการ คือ 1. IN-PUT > 2. PROCESS > 3. OUT-PUT คือ สิ่งที่ใส่เข้าไป ต้องผ่านกระบวนการต่างๆที่ดีและถูกต้องมีประสิทธิภาพ และได้ผลที่ดีมีประสิทธิผล 3. การทำงานเป็นทีม หรือ มีการร่วมมือกัน มิใช่ ONE MAN SHOW เพราะ “ งานทุกอย่าง มิได้มีสิ่งเดียว หรือคนเดียวจะทำได้สำเร็จ เช่นสร้างบ้าน รถยนต์ ต้องอาศัยทีมงาน จึงทำให้ จะต้องมี สปิริต มีความร่วมมือ มีระเบียบ ประเพณี และการเคารพผู้อาวุโส ทั้งหมดนี้ คือ “ ความเป็นวิศวฯ “ ที่ทำให้ชาววิศวฯและปู่จิ๊บ มีวันนี้ที่สุข สงบ สำเร็จ