ชัยวัฒน์ สุรวิชัย • มีแฟนรายการ ที่ได้อ่าน เรื่อง ชายผู้นำหน้า เคียงข้างและตามหลังที่หนุนช่วยให้ปู่จิ๊บ มีวันนี้ที่ สุข สงบ สำเร็จ ซึ่งมี 2 ส่วน ส่วนหนึ่ง เป็นแฟนรุ่นเก่าที่ค่อนข้างเป็นแฟนพันธ์แท้ ที่ตดตามให้กำลังใจ “ปู่จิ๊บ“ มาอย่างยาวนาน อ่านจาก นสพ.สยามรัฐ ซึ่งก็มีเสียงมาว่า “หาซื้อได้ยาก แต่ก็ต้องจองไว้ล่วงหน้า จึงได้มา” อีกส่วนหนึ่ง อ่านจาก “ สยามรัฐ on-line” และติดตามจาก เฟสบุ๊ค อีเมล์และห้องไลน์ ซึ่งดูได้อย่างฟรีสบาย ได้ ขอให้ “ ปู่จิ๊บ “เล่าถึง วิศวฯจุฬาฯ โดยเฉพาะ วศ.2510 ว่า “ทำไม จึงรวมกันได้เหนี่ยวแน่นและมีพลังเช่นนี้ “เพราะ ได้ติดตามงาน 100 ปี จุฬาฯ ที่คณะต่างๆของจุฬาฯ ที่รวมกันได้อย่างมีพลังและมีบทบาทในงานต่างๆ • ปู่จิ๊บ ได้สรุป ไปแล้วในตอนที่ ( 9 ) ว่าความสำเร็จของวิศวกรจุฬาฯ ที่โดดเด่น มาจากเรื่องที่สำคัญอะไรบ้าง การหล่อหลอม ความเป็นวิศวฯ ของชาวปราสาทแดง ที่มีลักษณะเฉพาะ 1. คือ ระบบอาวุโส SOTUS SENIORITY ORDER TRADITION UNITY SPIRIT : อาวุโส ระเบียบ ประเพณี ความสามัคคี สปิริต 2. ความคิดแบบวิศวกรรม ENGINEERING THOUGHT คิดตามสภาพที่เป็นจริง ผิดก็พัง ถูกก็อยู่ได้ยั่งยืน ต้องมีการรับผิดชอบและการชื่นชม ต่างจากคณะวิชาอื่นๆคิดอย่างเป็นกระบวนการ คือ 1. IN-PUT > 2. PROCESS > 3. OUT-PUT 3. การทำงานเป็นทีม หรือ มีการร่วมมือกัน มิใช่ ONE MAN SHOW ทั้งหมดนี้ คือ “ ความเป็นวิศวฯ” ที่ทำให้ชาววิศวฯและปู่จิ๊บ มีวันนี้ที่สุข สงบ สำเร็จ. หัวใจที่สำคัญ คือ “ คิดจากความเป็นจริง” อย่างตรงไปตรงมา เป็นรูปธรรม สัมผัสได้ • ปู่จิ๊บ อยากจะเล่าถึง เพื่อนร่วมรุ่น วิศวฯจุฬา รุ่น 2510 หรือ เรียกกันว่า “ วศ.10” หลังจากการแข่งขันอย่างสุดฝีเท้าฝีมือ อ้อ ความคิดความรู้ ในการสอบเข้าวิศวฯจุฬาฯ ก็ได้คนมา 300 กว่าคน ในยุคนั้น มีทั้งภาคปกติและภาคสมทบ และเรียนในระบบเก่า คือ คะนนสอบรายวิชา ต้องได้ 60 % จึงผ่าน ปีหนึ่งมี 2 เทอม 13 – 14 วิชา , ไม่ผ่าน 4 วิชา ถือ “ ซ้ำชั้น” Repeat แต่ 5 วิชา ขึ้นไป ให้ออก “ Retired” หาก สอบผ่านหมด ก็ได้ขึ้นไปเรียนต่อ ชั้นปีที่สอง หรือ ไม่ผ่าน 3 วิชา มีสิทธิ “สอบซ่อม “ Re-xam” ซึ่งต้องผ่านหมด ตกวิชาเดียว ก็ต้อง “ซ้ำชั้น” Repeat ซึ่ง ปู่จิ๊บ ก็เจอสภาพนี้ มา 2 ครั้ง จึงเรียน 6 ปี หากถามว่า “ เรียนยากไหม” ตอบตรงว่า “ไม่ยาก หากได้เรียน” แต่ส่วนใหญ่ ไม่ได้เรียน ดูหนังสือสอบไม่ทัน และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง “ การปรับตัว” จากหนอนตำรา มาเป็น จิ้งหรีดอิสระ ที่โลดแล่นไปทั่วทุกเรื่อง ซึ่งเด็กที่เรียนเก่งจากโรงเรียนดังๆมีปัญหามาก สู้เด็กนักเรียนที่มาจากโรงเรียนทั่วไป ที่สู้ชีวิตมา ปรับตัวดีกว่า • ทำไม จึงไม่ได้เรียน : เพราะ มีกิจกรรมมาก ทั้งของคณะวิศวฯจุฬาฯ ที่ “โหดหน่อย” และของ จุฬาฯที่สนุกฯ “ การซ้อมเชียร์ ที่มีทุกวัน และวันพิเศษที่หนัก เพราะ “ รุ่นพี่” ใส่ สปิริต และประสบการณ์ ให้รุ่นน้อง การเล่าเรื่องมากมาย หลังจากซ้อมเชียร์เสร็จ ที่ทำให้เราคึกคัก ฮึกเหิม สนุกสนาน มันส์ และติดใจ เพราะ รุ่นพี่ ต้องการ ฝึกให้เป็น “แมน” เข้มแข็ง ทรหดอดทน สู้งาน ใจสู้ กินเหล้า เที่ยวผู้หญิง ฯลฯ เพราะ ในยุคนั้น วิศวกรฯที่จบออกไป มักจะต้องไปทำงาน “ เป็นนายช่าง” คุมสร้างทาง ในชนบท ต้องคุมคนมากมาย ทั้ง โฟรแมนต์ ช่างสารพัด รถเกรด รถบด รถเทอเร่อร์ ฯ คนงาน และผู้รับเหมาฯ การทำงานในออฟฟิตร์ งาน กระดาษ บัญชี และ ในสนาม กลางแดด ฝน กลางค่ำกลางคืน ไม่มีวันหยุดฯ ปู่จิ๊บ หลังออกมาจาก การต่อสู้ในชนบทกับพคท. นักเรียนนักศึกษาประชาชนที่เข้าป่า ในช่วง 6 ตุลา 2519 ก็ได้ไช้ชีวิต “ เป็นนายช่าง “ ตั้งแต่ ปี 2524 – 2531 ก็ได้ใช้ ความเป็น Entania ผ่านงานมาได้ด้วยดี ปู่จิ๊บ ผ่านกิจกรรมมาครบทุกประเภท คือ การเชียร์จนดึกดื่น การวิ่งหนีอาจารย์โด่งที่วิ่งจับ การรีบออกมาจากห้องเรียนก่อน เพื่อมา “ บูม บาลาก้า” เรียกนิสิตวิศวฯปีหนึ่ง มารวมพลฯ กิจกรรมทางวิชาการวิศวฯที่ผลิตเอกสาร แปลตำราฯ ราคาถูกจำหน่ายแก่นิสิตทุกคณะและต่างมหาวิทยาลัย ในห้องเรียน ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นหัวหน้าห้อง แต่ก็ช่วยทำหน้าที่แทน ในการดูแลความเรียบร้อยและประสานรุ่นพี่ และ ยังเป็นรุ่นหัวหอกแรกๆ ที่มีรุ่นพี่วิศวฯไม่มาก ที่ไปร่วมกิจกรรมของชมรมและสโมสรนิสิตจุฬาฯ มีพี่สงคราม พี่สุวรรณ พี่ฉายศิลปะ พี่ต่อตะกูล พี่( เจ้าเสือหาญฟ้า ณ ยองห้วย และเพื่อนๆ และตัวปู่จิ๊บ และที่ตามมา ก็มี อาจารย์ธีรยุทธ คุณเคียง ดร. ประสาร ไตรรัตน์วรกุล คุณบวร คุณอภิชาต ฯลฯ ต้องเรียนตามตรง งานกิจกรรมต่างๆ ทำได้ดี ไม่มีบกพร่อง ได้รับการยอมรับทั้งในคณะและในจุฬาฯ แต่ เรื่องการเรียนมีข้อบกพร่องมาก ทำให้กว่าจะจบมาได้ ก็ใช้เวลาถึง 6 ปี และความรู้ในวิชาต่างๆก็น้อยมาก ที่ได้มา คือ หลักคิดแบบวิศวกรรมศาสตร์ ความยึดความจริง การเคารพคน และความรับผิดชอบ • ในเรื่องความรับผิดชอบ ในฐานะผู้นำ ที่ต้องตื่นและมาก่อนผู้อื่น และ กลับหรือเลิก หลังจากงานเสร็จคนกลับ เป็นลักษระนิสัยที่ติดตัวชาววิศวฯ และปู่จิ๊บมาตลอด แม้แต่การทำงานการเมือง ในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ร่วมขบวนตั้งแต่แรก กับอาจารย์ธีรยุทธและเพื่อนๆ ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และการส่งสัญญาณ ว่า จะมีการล้มปราบนิสิตนักศึกษาประชาชนในเหตุการณ์ถัดมาและเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 การเข้าร่วมต่อสู้กับพคท.ในชนบท และการเริ่มก่อการ เหตุการณ์ พฤษภาคม 2535 กับพี่ฉลาดและเพื่อนๆ รวมทั้งเหตุการณ์ การต่อสู้ของพธม. 2548-2551 และ กปปส. 2556-7 ซึ่งจะอยู่ถึงวันสุดท้ายของทุกเหตุการณ์ จึงได้ออกมาพักผ่อน นี่ร่วมทั้งการร่วมพรรคการเมือง 2 พรรค คือ พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศ 2517-2519 และพรรคพลังธรรม 2535 -2541 • ลักษณะอุปนิสัยเช่นนี้ รวมทั้ง “ การเป็นผู้ให้ และผู้อยู่ข้างหลังองค์พระปฏิมา” ชาววิศวจุฬาฯ มีกันมาก วิศวจุฬาฯ รุ่น 2510 ที่ ปู่จิ๊บ จะขอกล่าวถึง มีทั้งเพื่อนมิตรส่วนตนที่คบกันมานานจนถึงปัจจุบันฯ เพื่อนที่เป็นกรรมการชมรมนิสิตเก่าวิศวฯจุฬา รุ่น 2510 และ แชร์วศ.10 ( ที่ปู่จิ๊บเป็นเท้าแชร์ ) ฯลฯ • ขอเริ่มที่ แชร์วศ.10 ที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี 2532 จนมาถึงปัจจุบัน ว้าว จัดได้อย่างไร ในปี 2532-3 ปู่จิ๊บ ได้รับเลือกจาก “เพื่อนวิศวจุฬา รุ่น 2510 ให้เป็นประธานรุ่น ติดต่อกันสองสมัย ( รายละเอียด จะได้เล่า เมื่อ พูดถึงเรื่องนี้ ต่ออจากนี้ ) ในจังหวะนั้น ปู่จิ๊บ ก็อยู่ระหว่างสร้างเนื้อสร้างตัว ต้องการเงินทองบางส่วนมาซื้อรถอีซุซุแวน และอื่นๆ มีเพื่อนสนิท เสนอให้ “ ชัยวัฒน์ จิ๊บ” ตั้งวงแชร์วิศวฯ2510 ขึ้นมา เพราะ เป็นคนที่เพื่อนรักและเชื่อถือ ปรากฏว่า “ มีเพื่อนที่มีฐานะดีมาก และดีปานกลาง เข้ามาร่วมวงแชร์นี้ จำนวน 20 – 25 คน” ใช้สถานที่ “ ร้านอาหารพงหลี อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” ร้านเพื่อนวิศว “ประจิตต์ ตงพิพัฒน์” เป็นหลักเพราะ บางครั้ง คนเป็นเท้าแชร์และเพื่อนๆ อยากเปลี่ยนบรรยากาศ ไปหาอาหารแปลกใหม่กินกัน @ เท้าแชร์ คือ ผู้เป็นหัวหน้าวงแชร์ มีหน้าที่จัดการและรับผิดชอบเรื่องเงินของลูกแชร์ในวงแชร์ ปรกติเป็นผู้ได้เงินเป็นคนแรกโดยไม่เสียดอกเบี้ย.ตา"พรบ. การเล่นแชร์ 2534" เรียกว่า "นายวงแชร์" วงแชร์นี้ เริ่มต้น ด้วยวงเงิน คนละ 30,000 – 50,000 บาท คือ เท้าแชร์ จะได้/จ่าย คนละ 50,000 บาท ส่วนลูกแชร์ ได้คนละ 30 ,000 บาท การจัดวงแชร์ครั้งนี้ ทำให้ ปู่จิ๊บได้เงนก้อน และนำไปซื้อรถอีซูวูแวนด์ และมีภาระหน้าที่ ไปหาซื้อของที่มีคุณค่าให้ลูกแชร์ ซึ่ง ก็ได้พยายามหาของดีๆมีคุณค่า ราคาพอประมาณ ครั้งหนึ่ง ปู่จิ๊บ สั่งรถม้าจำลองทำด้วยไม้อย่างดี จาก ลำปางมาให้ ราคาตัวละ 1,500 บาท การจัดแชร์ นตอนค่ำ จาก 18.30 ไปจนถึง 21.30 น. คุยกันหลากหลาย เรื่องวิศวฯ เพื่อน และการเมืองฯลฯ บางคนพูดเก่งมีเรื่องมากมายมานำเสนอเพื่อนๆ เช่น คุณสุธี ภู่สวรรค์ ฯลฯ วงแชร์ มีคุณค่าความหมายมาก ต่อความเป็นเพื่อน ทำให้คุ้นเคยเข้าใจและรักกันมากขึ้น ปู่จิ๊บต้องขอบคุณ • ประธานและกรรมการรุ่นฯ เป็นจุดรวมศูนย์ของรุ่น ที่เพื่อนๆเสนอและเลือกกันมาเป็น แบบรวดเร็วทันใจ 1. รุ่นก่อตั้ง เริ่มจากปี 2518 หลังจากทำงานมา 4-5 ปี พอตั้งหลักในงานอาชีพได้ จึงคิดถึงการรวมกัน จัดตั้งประธานรุ่นฯ มาทำหน้าที่ เริ่มจาก คุณบรรพต จำรูญ โรจน์ ต่อมาด้วย คุณสุสรรค์ สุขุขาวดี คุณชัยเดช ข่าทิพย์พาที คุณประเสริฐ ทรัพย์พิพัฒนา คุณสมชาย สถิตสุขเสนาะ คุณวาสุกี กล้าไพรี คุณวิทย์ วุฒิพุธนันท์ พ.ต.อ.ศักดา เสถียรภาพงษ์ คุณสุรวัฒน์ อายุวัฒน์ รุ่นปักหลักสร้างความมั่นคง คือ นายชัยวัฒน์ สุรวิชัย (2532-3 ) นายกิจจา จำนงค์อาษา (2534-5 )ฯลฯ 2. จุดเปลี่ยน คือ การที่เพื่อนวิศวฯ เริ่มมีฐานะหน้าที่การงานที่มีระดับสูง หลังจากทำงานมา ร่วม 20 ปี และตัวประธานฯและกรรมการฯ ได้ทุ่มเททำงานอย่าหนักในการสร้างและพัฒนารุ่นของเรา ตัวดัชนีที่เป็นรูปธรรม คือ การจัดเสวนาประจำปีของรุ่น ซึ่งปกติที่ผ่านมา เราเชิญบุคคลที่สำคัญและรุ่นพี่ ที่มีชื่อเสียงและบทบาทมาพูด แต่ในครั้งนี้ เราเชิญ เพื่อนร่วมรุ่นที่ประสบความสำเร็จมาพูดให้เพื่อนฟัง เช่น คุณศุภชัย สุทธิพงษ์ชัย คุณวิศิษฐ์ เยาวพงษ์ศิริ คุณวรพจน์ จิระวัฒนาพงศา ฯลฯ หลังจากนั้น ได้ขอระดมเงินบริจาคเข้ารุ่น โดยนำเสนอว่า “ ขอเงินก้อนครั้งเดียว” ( ดอกเบี้ย 15 %) ได้เงินมาร่วมสองล้านบาท นำไปฝากไฟแนนซ์ ได้ดอกเบี้ย ร่วม 300,000 บาท ฯลฯ 3. รุ่นมั่นคงและพัฒนาจนอยู่ตัว เริ่มต้นจากรุ่นประมาณ ปี 2545 ,มาจนถึง 2552 ซึ่งรุ่นของเราใกล้เกษียณ คนที่ทำงานราชการฯ ก็มีตำแหน่งระดับอธิบดี รองปลัดฯ เลขาธิการบีโอไอ รองผู้ว่าปตท. ประธานบอร์ดฯ ส่วนผู้ที่ทำงานเอกชน ธุรกิจก็ถึงจุดสูงสุด เป็นบริษัทใหญ่โต มีความสำเร็จสูง ฯ มีการระดมเงินให้รุ่นในระดับคนละล้าน ห้าแสน และการบริจาคตามกำลังความสามารถ หลักหมื่นหลักพันฯ ทำให้เราสามารถจัดงานรุ่นได้โดยสมาชิกไม่ต้องจ่ายเงิน ,มีกิจกรรมประจำ และมีภรรยามาร่วมงานกันคับคั่ง และยังตั้งกองทุนช่วยเหลือลูกๆที่พ่อได้จากไปฯเรียนต่อจนจบ และสวัสดิการแก่เพื่อนที่ป่วยเป็นอัมพาต ฯลฯ รวมทั้ง การไปร่วมสนับสนุน สมาคมศิษย์เก่าวิศวฯ งานต่างๆ และงาน 100 ปี จุฬาฯ ในปีนี้ • เพื่อนที่มีความสนิทสนมส่วนตัว ปู่จิ๊บ จะมีเพื่อนที่รักกันมาก จากลำปาง ร่วมเรียนในชั้น ในแผนกของคณะ ทำกิจกรรมในจุฬาฯ งานอาชีพ งานการเมือง( พรรคพลังธรรม ) และการร่วมรักชาติรักประชาธิปไตยฯลฯ ปู่จิ๊บ ทั้งได้รับการสนับสนุนจากเพื่อน และการช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนในสิ่งที่ดีงามถูกต้องเพื่อส่วนรวม แม้เพื่อนที่จะมีความคิดต่างกัน เราก็รักและเคารพกัน แต่ความรักความสัมพันธ์ จริงใจต่อกันเสมอ ต้องขอสรุปว่า “ปู่จิ๊บ” มีวันนี้ เพราะ การมีเพื่อนวิศวฯจุฬาฯ รุ่น 2510 ที่ดี ที่รักเคารพ และจริงใจต่อกัน ขอขอบคุณเพื่อนทุกคน และหวังงว่า เราจะใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ คิดดีทำดีเพื่อคณะจุฬาฯและบ้านเมือง