ชัยวัฒน์ สุรวิชัย • การสร้าง “ความเพียร” ที่เป็นปัจจัยนำไปสู่ความสำเร็จ มากกว่า “ ความเก่ง” • ดร. หญิงคนหนึ่ง เป็นนักวิจัยระดับโลก ที่ได้ทำวิจัยมามากมาย เพื่อหาข้อสรุป ถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ ข้อมูลเบื้องต้น ที่ เธอ ได้มา คือ ความเก่งความสามารถ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่นำไปสู่ความสำเร็จ แต่ เมื่อทำวิจัยไปหลายที่หลายแห่ง ปรากฏว่า “ คนที่มีความเพียรพยายาม ประสบความสำเร็จมากกว่า”เธอ กล่าวว่า “นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษามากมาย ได้สร้างกลไก ที่นำคนไปสู่ความเก่ง” แต่ ยังไม่สามารถสร้าง “ ความเพียร” ให้เกิดขึ้นกับผู้คน ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้ แต่ เรา น่าจะ หาหนทาง ในการสร้าง “ ความเพียร” ได้ จากประสบการณ์และความคิดดีเพื่อส่วนรวม • ระหว่าง การนั่งพัก ภายใต้บรรยากาศสบาย ๆ เงียบ สงบ ฯ สายลมพัดมาจากรอบทิศ มาสัมผัสตัวตน ช่วงที่ใจว่าง จากการปล่อยวาง เรื่องราวต่างๆที่หนักฮึ้งลง เกิดความคิดแบ๊ป ขึ้นมาในสมอง สิ่งที่บรรพบุรุษ พ่อแม่ และตัวเรา ที่ได้ประสบมา ได้เรียนรู้พัฒนา และความมุ่งหวังต่ออนาคตของลูก… ก. บรรพบุรุษชาวไทยชาวจีน และประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ที่ผจญกับปัญหาอุปสรรคความยากลำบาก ทั้งจากธรรมชาติ ผู้ปกครองบ้านเมือง ความมิชอบธรรม ความเอาแต่ได้ ความเห็นแก่ตัวของผู้มีกิเลส ที่เอารัดเอาเปรียบผู้คน ทำให้คนทุกข์ เดือดร้อน อย่างแสนสาหัส อย่างยากที่จะพรรณนาได้ แต่เมื่อคนเหล่านี้ ลุกขึ้นสู้ ด้วยจิตใจไม่ยอมแพ้ ต้องการเป็น อิสระ เป็นไท เป็นธรรม มีสุข เขาทั้งหลาย ก็ประสบความสำเร็จ ผ่าน “ทุกข์มาสู่สุขได้ ผ่านความล้มเหลว มาสู่ความสำเร็จ ฯลฯ” สิ่งนี้ คืออะไร หากมิใช่ “ ความเพียร หรือวิริยะ อุสาหะ นำมา ซึ่งความสำเร็จ” คงพอสรุป ถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความเพียรที่นำไปสู่ความสำเร็จ 1. ความยากลำบาก ที่เกิดจากภัยธรรมชาติและภัยผู้คนฯ 2. ความต้องการเป็นอิสระ เป็นไท เป็นธรรม มีสุข ข. นึกถึง คำสอนและการเป็นแบบอย่างแห่งความเพียรของพ่อแม่ คำสอนของโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง “ วิริยะ อุตสาหะ นำไปสู่ความสำเร็จ” ซึ่งคณะบราเดอร์ มาสเซอร์ ได้บ่มเพาะ เคี่ยวเข็ญเราอย่างหนัก วิชาการความรู้ และการบ้าน ตลอดจน การให้ “อยู่เย็น” เพราะทำผิด มาท่องภาษอังกฤษเป็นหน้าๆ การเรียนหนัก ทั้ง ทำความเข้าใจวิชาเรียน การทำการบ้าน และการแข่งขันกันในการเรียนการสอบของเรา ทั้งหมดนี้ ทำให้ “ นักเรียนส่วนหนึ่ง” ที่ผ่านเรื่องเหล่านี้ มาได้จนสำเร็จ ด้วยความเพียรคงพอสรุป ถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความเพียรที่นำไปสู่ความสำเร็จ 3. คำสอนการเป็นแบบอย่างของพ่อแม่ครูฯ ที่เราเชื่อมั่นและยึดถือ 4. การมีเป้าหมายทำให้พ่อแม่ครูเชื่อใจ ด้วยการลงแรงหนัก เอาจริง ค. คิดถึง ตอนมาเรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมพญาไท ที่ต้องเอาอย่าง แข่งขันการเรียนอย่างหนัก เพราะ มีแต่คนเก่งๆ ที่มาจากคะแนนสูงสุดของโรงเรียนทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด และการมีเป้าหมายที่สูงกว่า คือ การสอบเข้า คณะวิศวจุฬาฯ คงพอสรุปถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความเพียรที่นำไปสู่ความสำเร็จ 5. การอยู่ในที่แวดล้อม ที่มี คนเรียนเก่ง ทำให้เราต้องปรับตัว ทำให้ดีที่สุด สู้ถึงที่สุด ง. ช่างเวลาที่เรียนวิศวฯจุฬาฯ 6 ปี รับหนักรับเต็ม “ การเรียน กิจกรรม การทำงาน” หนัก เป็นการปรับตัวจาก “ การถูกคุมจากบ้าน-โรงเรียน” มาเป็นอิสระ ดูแลเอาใจใส่ตนเองเพื่อเรียนให้จบ การรับใหม่ กิจกรรมที่ทำงานเพื่อคนอื่น การออกค่ายอาสาสมัคร ไปสัมผัสวิถีชีวิตคนจนในชนบท การร่วมคิดสิ่งใหม่ “การต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น คิดสินค้าไทยผ้าดิบเพื่อรณรงค์” การผ่านการเป็นผู้นำนักศึกษาฯ เข้าสู่การเมืองที่คัดค้านการคอร์รับชั่นและเผด็จการ เหตุการณ์ทางการเมือง ตั้งแต่การโกงการเลือกตั้ง ที่ได้ไปสังเกตการณ์ ในปี 2512 การรัฐประหารเพื่อตัวเองและพวกพ้อง ของจอมพลถนอมประภาส 17 พฤศจิกายน 2514 การแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ของคณะรัฐประหาร กฎหมายโบว์ดำ 299 กรณีทุ่งใหญ่ “ เซซาโว่” ที่นายทหารตำรวจ ใช้เฮลิคอปเตอร์ไปล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่ การใช้อำนาจเผด็จการของผู้บริหารมหาวิทยาลัยรามคำแหง สั่งปลด 9 นักศึกษา การตั้งใจศึกษาครั้งสุดท้ายเพื่อให้จบ เพื่อจะไม่ทำให้ พ่อแม่พี่น้อง “ ผิดหวังในตัวเรา” คงพอสรุป ถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความเพียรที่นำไปสู่ความสำเร็จ 6. ความจำเป็นที่ต้องปรับตัว เพื่อความเป็นอิสระ เพื่ออยู่รอด 7. การได้รับประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม ได้เรียนรู้ได้เห็น 8. การเห็นความไม่ชอบธรรม สิ่งที่ไม่ถูกต้องและระบบเผด็จการฯที่มิชอบธรรม ที่ต้องขจัด 9. การไม่ปรารถนา ที่จะทำตัวให้ “ พ่อแม่พี่น้อง คนที่รัก” ผิดหวัง จึงเกิดแรงฮึดสู้ จ. ช่วงเวลา 3 ปี ในการทำงานอาชีพ และงานการเมืองเพื่อบ้านเมือง การได้บวรพระ จาก ปี 2516 – 2519 เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ก่อนหน้า ในเหตุการณ์ และ หลังฯ การออกเวทีต่างจังหวัดทั่วประเทศ เผยแพร่ประชาธิปไตย การร่วมกัน(ผู้นำนักศึกษาฯนักการเมืองสังคมนิยม ผู้ร่วมเหตุการณ์ก่อตั้ง พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย การส่งผู้สมัครและการรณรงค์หาเสียงทั่วประเทศ จนได้ สส. ถึง 15 คน การเคลื่อนไหวร่วมกับผู้นำชาวนา กรรมกร ประชาชน เพื่อสร้างพลังประชาชนประชาธิปไตย แนวความคิดซ้ายจัดที่แฝงเข้ามาในพรรค องค์กรภาคประชาชน ทำให้การเคลื่อนไหวผิดพลาด ประชาชน เริ่มรับไม่ได้กับ กระแสซ้ายจัด ที่ทำเพื่ออุดมคติของตน มิใช่ผลประโยชน์ของประชาชน จังหวะที่ ฝ่ายอนุรักษ์และกระแสขวาจัดเริ่มก่อรูปขึ้น รุกและคุกคามผู้นำฝ่ายประชาชน เสียหายหนัก การล้อมปราบนักศึกษาประชาชน เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ก่อน และหลัง ทำให้ภาคประชาชนเพลียงพล่ำ นักศึกษาประชาชนและผู้นำพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย ต้องหลบไปต่อสู้ในชนบทกับพคท. คงพอสรุป ถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความเพียรที่นำไปสู่ความสำเร็จ 10. การพัฒนาพลังประชาชนที่ถูกต้องสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ได้รับการต้อนรับ ภารกิจที่ได้รับการมอบหมายและการต้องสานต่อ ด้วยจิตสำนึก 11. การถูกแทรกแซงจากฝ่ายซ้ายจัด ทำให้กระบวนการต่อสู้ของประชาชนรุนแรง และเพลี่ยงพล่ำ 12. พลังฝ่ายอนุรักษ์และขวาจัดฯที่คงอยู่ เริ่มตั้งหลักตอบโต้ และรุกกระหน่ำ พลังฝ่ายประชาชน 13. การถอย ไปหาแนวทางการต่อสู้ใหม่ ที่ไม่คุ้นเคย ฉ. ช่วงเวลา 6 ปี ในการเข้าร่วมต่อสู้ทางการเมืองกับ พคท. ในชนบท 2519 – 2524 คงพอสรุป ถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความเพียร ที่นำไปสู่ความสำเร็จ 14. การปรับตัว ศึกษาเรียนรู้ แนวทางการต่อสู้ใหม่ ด้วยความเชื่อนำความจริง ช่วงแรกคึกคักมีพลัง 15. การยึดมั่นในอุดมการณ์เพื่อเปลี่นแปลงสังคม มีพลังที่จะต่อสู้ชีวิตในป่าเขาลำเนาไพร่ 16. แต่ เมื่อได้เรียนรู้ความเป็นจริง ทำให้เห็นว่า แนวทางผิดของพคท. ไม่สามารถเอาชนะได้ 17. ประกอบกับ กระแสโลกเปลี่ยน มหาอำนาจจีน ปรับตัว และรัฐไทยเข้าเจรจาให้ ลดความช่วยเหลือ 18. ฝ่ายรัฐบาล ได้ปรับมาใช้ แนวทางสันติ นโยบาย 66/23 ผลักดันให้ “ขบวนการประชาชน”แยกตัว ช. ช่วงการทำงานอาชีพ สร้างเนื้อสร้างตัว การแต่งงานมีครอบครัว และร่วมต่อสู้ทางการเมือง 2524-2544 คงพอสรุป ถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความเพียรที่นำไปสู่ความสำเร็จ 19. แม้พ่ายศึก แต่ใจมิพ่าย ยังสู้ใหม่ เริ่ม สร้างตัวเอง สร้างกลุ่มเพื่อนพ้องน้องพี่ ช่วยเหลือเพื่อนมิตร 20. การเริ่มสร้างกำลังของภาคประชาชนขึ้นใหม่ ตามสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไป 21. ได้เรียนรู้ว่า มีส่วนที่หยุดละทิ้งฯ เพราะผิดหวัง หันไปทำเพื่อตนเอง ส่วนที่มีใจเชื่อมั่น เดินหน้าสู้ต่อ 22. เมื่อมีเงื่อนไข และฝ่ายประชาชนมีพลัง ก็รวมกันใหม่ ต่อต้านเผด็จการทหารพลเอกสุจินดา 2535 23. การร่วมกันผลักดันในภาคประชาชน สร้างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 24. ด้วยความรับรู้ที่จำกัด เมื่อเห็นโอกาสของรัฐธรรมนูญใหม่ ก็คิดว่า “ เป็นฉบับประชาชน “ ซ. จุดเปลี่ยนแปลงของคนมีอุดมการณ์บางส่วน ที่หันไปร่วมมือกับ”ระบอบทุนสามานย์ “ 2544-2557 “ คงพอสรุป ถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความเพียรที่นำไปสู่ความสำเร็จ 25. ธาตุแท้ของนักอุดมการณ์ ที่หวังเพียงชัยชนะ ไม่เลือกวิธีการ ( ที่ถูกเป็นธรรม) เพื่อชนะ 26. ปรากฏการณ์ใหม่ ฝ่ายระบอบทุนสามานย์ ใช้ “ ทุน -อำนาจ -สื่อ -มวลชน “ สามารถเข้าถึงอำนาจรัฐ 27. กระบวนการประชาชนใหม่ ของพธม.และ กปปส. สามารถก่อเกิดได้ เมื่อทุนสามานย์ฮึกเหิมในอำนาจ ใช้อำนาจมิชอบ แก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้อำนาจรัฐคอร์รับกอบโกย และบังอาจล่วงละเมิดสถาบันหลัก 28. แต่ การขาดพลังที่เป็นเอกภาพ ไม่มีการจัดตั้ง เป็นพลังที่เป็นจริง “ชาดแนวทาง อาวุธ แนวร่วมทหาร” จึงทำได้ แค่ รุกให้รัฐบาลนอมินี เกือบจนมุม หมดความชอบธรรม แต่ ไม่สามารถล้ม เข้าสู่อำนาจรัฐได้ ฌ. จุดเปลี่ยนแปลง เมื่อสถานการณ์สุกงอม สองฝ่าย ยันกัน เปิด ทหารรัฐประหาร เข้ามาเป็นรัฐบาล 2557-ปัจจุบัน คงพอสรุป ถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความเพียรที่นำไปสู่ความสำเร็จ 29. กองทัพฯล้มรัฐบาลเลือกตั้งฯได้ แต่หากขาดวิสัยทัศน์ ความเป็นรัฐบุรุษ ไม่สามารถปฏิรูปประชาธิปไตยได้ • “สาระและหัวใจ “ของเรื่องนี้ คือจะเข้าใจได้ถึง “ ความสำเร็จ ที่มาจาก ความเพียร-ความพร้อม-โอกาสได้” แต่ต้องเป็น “ความเพียร ที่มีวิสัยทัศน์ ความเป็นรัฐบุรุษ กล้าตัดสินใจ จึงจะนำมาซึ่งความสำเร็จ” เป็นความเพียร ที่ได้มาจาก 1. การต่อสู้กับตนเอง 2. ผู้อื่น 3. ระบบโครงสร้างและสภาพที่เป็นจริง การพัฒนาตนเอง ระดับปริมาณ ที่ยกระดับเป็น คุณภาพที่สูงขึ้น สร้าง “ความเพียรอาริยะ” ขึ้นมาได้ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จที่แท้จริง ซึ่งต้องอาศัย “จิต กาย ใจ” ที่เข้มแข็งและสมบูรณ์