ชัยวัฒน์ สุรวิชัย • คงได้เวลาที่จะสรุปเรื่องนี้ โดยนำเสนอแนวคิดของผู้นำที่เป็นรัฐบุรุษ และเสียงเพลงที่กระตุ้นใจปู่จิ๊บ เอาเสียงเพลงที่กระตุ้นใจก่อน เป็นการนำเอาเรื่องเบาๆนำร่อง ก่อนไปสู่เรื่องซีเรียสของสังคมไทย • ไล่ตามวันเวลาเดือนปีที่ผ่านมา จากเด็ก วัยรุ่น คนหนุ่มสาว ผู้ใหญ่และวัยเกษียณ ถึงเพลงประทับใจ • 1. ช่วงวัยรุ่น เพลงที่นิยมร้องและเปิดกัน ผู้คนในวัยนี้ มักมองดูสาวๆที่สวยน่ารัก โดยเฉพาะคนที่บ้านใกล้กัน แต่ปู่จิ๊บ ยังคงเป็นเด็กไร้เดียงสา แต่ก็ร้องเพลงที่ง่ายๆ และนำออกวิทยุเผยแพร่กัน และมักจะร้องคลอตามเสียงเพลงไปด้วยใจที่สุขสราญ 1.1 บ้านเรือนเคียงกัน แอบมองทุกวันเลยเชียว เห็นหน้าหน่อยเดียวหัวใจโน้มเหนี่ยวฝันหา หากมีวันใดที่นวลหายไปไกลตา โอ๊ยในอุราพี่มันเหมือนว่าถูกลนด้วยไฟ …………….บ้านเรือนเคียงกัน https://www.youtube.com/watch?v=2Nt2_W2TWy0 1.2 พี่รักเจ้ายิ่งกว่าปลารักน้ำ กินนรรักถ้ำ ไม่ล้ำพี่รักเจ้า กุญชรหวงงา มฤคาหวงเขา ยังไม่เท่าพี่หวงนงเยาว์ พี่หวงเจ้ากว่าดวงฤทัย กระต่ายพะวงหลงจันทร์ถึงมัวเมาพี่หลงเจ้ามัวเมากว่านั้นนะชื่นใจ …….. พี่รักเจ้า - สุนทราภรณ์ https://www.youtube.com/watch?v=YSxKRA1GyAw • 2. ช่วงเรียนมหาวิทยาลัย 1. เพลง จามจุรีศรีจุฬาฯ ผู้ประพันธ์ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ - https://www.youtube.com/watch?v=DpNBfpPCbdk บทเพลงนี้ สะท้อนความเป็นไปในการดำเนินชีวิตนักศึกษาได้เป็นอย่างดียิ่ง ชาวจุฬาฯ ถือเอาจามจุรีเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ จุฬาลงกรณ์ และด้วยวัฏจักรของต้นจามจุรี มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือ มีสีเขียวให้ความสดชื่นในช่วงภาคต้นของการศึกษาเสมือนนิสิต ปี ที่ 1. ที่ร่าเริง สนุกสนานกับการเป็นน้องใหม่ และเมื่อเวลาผ่านไปในภาคปลายการศึกษา ทั้งใบ และฝักย้ำเตือนให้นิสิต เตรียมตัวสอบปลายปี มิฉะนั้น อาจ จะต้องเรียนซ้ำชั้นหรือถูกไล่ออก อีกทั้งในช่วงนั้น นิสิต ซึ่งมาจากสถาน ที่ต่าง ๆ กันประสบกับปัญหาในชีวิตนักศึกษาเป็นอันมาก เนื่องจากเพิ่งก้าวออกจากชีวิตภายในรั้วโรงเรียนมัธยมศึกษาเข้าสู่รั้วการศึกษาในมหาวิทยาลัย ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม การเรียน ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง…. • เนื้อร้อง:เมื่อต้นปีจามจุรีงามล้น เครื่องหมายของสิ่งมงคล ทุกคนเริ่มต้นสนใจ เริ่มเวลารับชาวจุฬาฯ น้องใหม่.. เมื่อกลางปีจามจุรีฝักหล่น ถึงเวลาหน้าฝนลำต้นก็ลื่นหนักหนา …..ถ้าเดินพลั้งพลาดท่าจะล้มทันที เมื่อปลายปีดอกจามจุรีร่วงหล่น ….เหล่าจุฬาฯ ทิ้งความสุขาทันใด…… หวังมิให้ตกชั้นรีไทร์ ปู่จิ๊บตอนรู้ว่าต้องเป็นนิสิตวิศวฯซ้ำชั้นปี 2 (2512) เดินปลีกตัวจากเพื่อนๆ ไปนั่งหน้าสระจุฬาฯ และตอนเรียนปี 4 ในฐานะรีพีทเตอร์ หากตกวิชาเดียว ก็จะถูกรีไทน์ สอบวิชาสุดท้าย ไปนั่งเฉยๆร่วมสิบห้านาที เพราะ “ ไปจินตนาการว่า : หากตกวิชานี้ คงจะต้องรีไทร์” แต่ก็ทำข้อสอบได้ เพราะเตรียมตัวมาอย่างดี แม้ว่าจะผ่านมาเป็นบัณฑิตวิศวจุฬาฯ หลังจากเรียน 6 ปี แต่ “ยังคงฝันเรื่องการสอบต่อมาอีกหลายสิบปี” 2. เพลงปราสาทแดง - www.youtube.com/watch?v=QPNesvuY9yY ความเป็นวิศวฯจุฬาฯ ที่ใช้เวลา 6 ปี เรียน 4 ชั้น ได้อะไรมามากมาย ยังคงจับติดตาเสมอมา 3. เพลงมหาจุฬาลงกรณ์ https://www.youtube.com/watch?v=o27UbkSS1VY การเป็นชาวจุฬาฯ 6 ปี ลงคิดลงแรง ผ่านมาทุกอย่าง ทั้งได้รับและให้ ทำให้ชีวิตมีคุณค่าความหมาย • ช่วงทำงาน และเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ หลังจากนั้นจนถึงวันที่ 7 สิงหาคม 2519 1. ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น https://www.youtube.com/watch?v=UMDxbFdfK-s โดยทางศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาฯ ชุดที่ อ.ธีรยุทธ บุญมี เป็นเลขาฯ ได้มีมติให้ 5 มหาวิทยาลัย ชุมนุมที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลจอมพลถนอมและดร.ศักดิ์ฯ คืนสภาพ 9 นักศึกษารามคำแหง โดยแยกสายมาตามพื้นที่ของตน คือ ธรรมศาสตร์มหิดลศิลปากร มาจากสนามหลวง-กทม.-ถนนข้าวสารฯ และจุฬา-เกษตร มาด้านสะพานผ่านฟ้า โดยเฉพาะนักศึกษาเกษตรฯ ใช้การขี่จักรยานมาฯ เป็นการชุมนุมที่คึกคักเร่าร้อนฯ และเป็นครั้งแรกที่ชุมนุมข้ามคืน ซึ่งเป็นการแสดงพลังที่เข้มแข็งครั้งแรกๆ ทำให้ทางรัฐบาลจอมพลถนอมประภาสฯ จำต้องใช้มาตรการกดดันหนัก ส่งทหารคอมมาโด เดินเรียงหน้าเข้ามา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกๆ ที่นักศึกษาฯที่ชุมนุมอยู่ “เกิดอาการกลัวหวาดหวั่น” และถอยหลังเข้าหาตัวอนุสวารีย์ฯ แต่ก็มีปรากฏการณ์มหัศจรรย์เกิดขึ้น ทหารคอมมาโดฯ หยุดเดินและยืนตรง ทำอะไรไม่ถูกเหมือนกัน เมื่อ “ใครไม่รู้ ในหมู่ผู้นำนักศึกษาฯที่ดูแลสถานการณ์อยู่” เปล่งเสียงดังร้องเพลง “ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น” อ.ธีรยุทธ ธัญญา ฯลฯ และปู่จิ๊บ ทั้งงงตกใจและขำ จนสามารถยิ้มได้ เพราะรู้ว่า “จะใช้อะไรมาต่อสู้ ฯ” มีการเล่นเอาทีเอาเถิดกัน(อาการที่ตามจับตามหาผู้ที่หลบเลี่ยงกันไปมา เช่น ตำรวจเอาเถิดเจ้าล่อกับผู้ร้ายฯ ) คือ เมื่อทหารฯเดินหน้าบุกเข้าฯ นักศึกษาผู้ชุมนุม ก็ร้องเพลงนี้ ทหารก็หยุด แล้วเดินมาใหม่อีก เราก็ร้องอีกฯ ในที่สุด ทางรัฐบาล ก็ยองลงให้ ฯ โดยสั่งให้ อธิการบดี ม.รามคำแหงฯ คืนสภาพ 9 นักศึกษารามฯ เพลงราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น จึงเป็นเพลงที่นักศึกษารุ่นนั้นจำได้ดี และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ ร.9 2. เพลงพระราชนิพนธ์ความฝันอันสูงสุด https://www.youtube.com/watch?v=ZyVulOveGDY ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ ขอสู้ศึกทุกเมื่อไม่หวั่นไหว ขอทนทุกข์รุกโรมโหมกายใจ ขอฝ่าฟันผองภัยด้วยใจทะนง จะแน่วแน่แก้ไขในสิ่งผิด จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง จะยอมตายหมายให้เกียรติดำรง จะปิดทองหลังองค์พระปฏิมา ไม่ท้อถอยคอยสร้างสิ่งที่ควร ไม่เรรวนพะว้าพะวังคิดกังขา ไม่เคืองแค้นน้อยใจในโชคชะตา ไม่เสียดายชีวาถ้าสิ้นไป นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง หมายผดุงยุติธรรมอันสดใส ถึงทนทุกข์ทรมานนานเท่าใด ยังมั่นใจรักชาติองอาจครัน โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่ เพราะมีผู้ไม่ยอมแพ้แม้ถูกหยัน คงยืนหยัดสู้ไปใฝ่ประจัญ ยอมอาสัญก็เพราะปองเทิดผองไทย • ปู่จิ๊บ ร้องเพลงนี้ ในช่วงระหว่าง ถูกจับไปขัง โดยคำสั่งของคณะปฏิวัติ จอมพลถนอมฯ 6-13 ตุลา 2516 ที่ “โรงเรียนพลตำรวจบางเขน ถนนวิภาวดีรังสิจ(ปัจจุบัน) ด้วยข้อหารุนแรง เป็นกบฏ มีการกระทำคอมฯ ทำไมจึงร้องเพลงนี้ ยังนึกไม่ออก แต่เคยร้อง แบบธรรมดา ไม่ได้อินอะไรนัก มาก่อน สภาพตอนนั้น” เราถูกแยกขัง โดยไปอยู่รวมกับนักโทษชาวต่างด้าว ข้อหา “ ลักลอบเข้าเมือง “ ปู่จิ๊บ ถูก ขังอยู่กับ “พี่บัง- ชาวบัลคาเทศ “ เป็นลักษณะต่างคนต่างอยู่ แต่สายตามองกันด้วยความเข้าใจ มีอาจารย์เพื่อนๆมาเยี่ยม ได้ฟังข่าวการชุมนุมของนักศึกษาประชาชน ที่เห็นว่าเราบริสุทธิ์ทำเพื่อบ้านเมือง เสียงเพลงที่เปล่งออกมา แตกต่างไปจากเดิม มีคุณค่าความหมาย เป็นพลังที่เติมให้ชีวิตสู้เพื่อความถูกต้อง ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ จะรักชาติจนชีวิตเป็นผุยผง นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง โลกมนุษย์ย่อมจะดีกว่านี้แน่ พี่บัง นั่งนอนฟัง แม้ไม่รู้ความหมาย แต่น้ำเสียงที่แสดงออก ทำให้รู้ว่า “เพื่อนร่วมห้องคนนี้ สู้ไม่ถอย” 3. สู้ไม่ถอย https://www.youtube.com/watch?v=Nt558n3oAJ0 สู้เข้าไปอย่าได้ถอย มวลชนคอยเอาใจช่วยอยู่ รวมพลังทำลายเหล่าศัตรู พวกเราสู้เพื่อความยุติธรรม โดย เสกสรรค์ ประเสริฐกุล เมื่อ 14 ตุลา2516 ที่ถูกร้องในการชุมนุมในช่วงนั้น และมาในยุคกปปส. 2556-7 • เพลงที่ดังก้องในป่าชนบทอันกว้างใหญ่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในช่วงปี 2519-2524 เราร้องเพลงเหล่านี้ ด้วยความคึกคัก ด้วยพวกเรามีอุดมการณ์ณืเดียวกัน แต่หลังจากออกมาจากป่า จนเรื่อยๆมา ความรู้สึกก็แตกต่างกันไป แต่ปู่จิ๊บยังรำลึกถึงเสมอ หลายเพลงที่วัยรุ่นเอาไปร้อง ด้วยความสนุกสนาน แต่ก็หาได้รู้สึกแบบเดียวกับคนในยุคนั้นไม่ เราต่างมาจากทั่วทุกสารทิศ https://www.youtube.com/watch?v=cVFi09m1AmA เพลงปฏิวัติ-สหาย https://www.youtube.com/watch?v=ZrUE4Ku0K1U ทหารของประชาชน(ที่มั่นแดง) https://www.youtube.com/watch?v=R4y0ATROYTs,เพลงปฏิวัติ-จากลานโพธิ์ถึงภูพาน https://www.youtube.com/watch?v=oVxoA0epfe0 เพลงปฏิวัติ-ภูพานปฏิวัติ www.youtube.com/watch?v=ZUKJLjEc9o0 ดาวแดงแห่งภูพาน https://www.youtube.com/watch?v=bga7tMNKSY4 7 สิงหาสู้บนทางปืน https://www.youtube.com/watch?v=dsMaYv1-DKk เพลงรำวงวันเมย์เดย์ https://www.youtube.com/watch?v=9z5KCdFXQVQ • เพลงในยุคหลัง มาถึงยุคปัจจุบัน เพลงอุดมคติ ยังคงมีการร้องกันในหมู่คนมีอุดมการณ์ แม้จะมีอารมณ์ความรู้สึกที่ต่างกันไปตามสภาพ แต่ในด้าน ความรู้สึกสุขใจ ที่ได้ฟัง ที่ทำให้เรารำลึกถึงความหลัง ในยุคแสวงหา ที่ผ่านมาด้วยเลือดเนื้อชีวิต เราก็นำมาสรุปบทเรียน และกลั่นเอา “ หัวใจและความรู้สึกของแต่ละเพลง” มาเป็นเครื่องยังชีวิตที่สู้เพื่อธรรม เพลงสู้ไม่ถอย ถูกร้องในหลายยุค “ยุคแสวงหา ยุคมวลชนเรือนล้านลุกขึ้นสู้ กปปส. และคงจะมีอีก” เพลงที่คงอยู่ได้ ต้องสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน เช่นเพลงเกี่ยวกับสถานการศึกษาที่เราได้ร่ำเรียนมาตั้งแต่ โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง คณะวิศวจุฬาฯ และเพลงจุฬาฯ รวมทั้งเพลงที่เกี่ยวกับชีวิต และเพลงที่ร้องกันมาก ในช่วงปีที่ผ่านมา คือ เพลงที่เกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่รักประชาชนยิ่งชีวิต แสงดาวแห่งศรัทธา https://www.youtube.com/watch?v=F1RVlXzv5D0 โลกนี้คือละคร - สุเทพ วงศ์กำแหง - https://www.youtube.com/watch?v=5r0UOpmX8OY พระราชาในนิทาน เสถียรธรรมสถาน https://www.youtube.com/watch?v=Yrwk3qFgzD4 ขอขอบคุณทุกเพลง ที่จรรโลงชีวิต ให้คุณค่าความหมายความรักต่อตนเองผู้อื่นและแผ่นดินไทย