ชัยวัฒน์ สุรวิชัย • แนวคิดของผู้นำหลายแบบหลายประเภท ที่ปู่จิ๊บได้เคยเห็น และบางส่วนจาการศึกษาเรียนรู้ ตามความคิดและประสบการณ์ที่ผ่านมา ในแง่ของการใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและบ้านเมือง • การมีผู้นำที่เป็นแบบอย่าง และจักเป็นประโยชน์ได้จริง ต้องมี 2 ประเภท และแต่ต้องมีมากกว่าหนึ่ง หนึ่ง. ผู้นำหน้า ผู้เคียงข้าง และผู้ตามหลัง ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะ เป็นการมองแบบองค์รวมครบถ้วน และจักสามารถสร้างความต่อเนื่องได้ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต สอง. ผู้นำ ที่จักเป็นประโยชน์ได้จริง แต่ละประเภท ควรจะมีมากกว่าหนึ่ง ทั้งนี้ เพราะ ความสามารถของแต่ละบุคคล ยังไม่มีบทบาทเด่นเป็นจริงได้มากพอ และเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ฐานะ บทบาท อาจจะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการมีผู้นำแบบอย่าง ที่มี “คนที่สอง” อาจจะมาทำหน้าที่แทนได้ และที่สำคัญ จะเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบ ถ่วงดุลกัน ในเชิงความคิดความเห็น ที่เราต้องนำมาเปรียบเทียบ แล้วเลือกสรร ในส่วนที่เป็นประโยชน์ของแต่ละคน มาปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและตัวของเรา ที่ผ่านมา ปู่จิ๊บ ได้มีผู้นำหลายคนในชีวิต แต่ก็ไม่ได้เคยนำมาสรุปเป็นบทเรียน ว่า “จะใช้อะไร อย่างไร เมื่อใด” จนเมื่อได้มาสรุปบทเรียน เพื่อใช้กับตัวเองและ เป็นแบบอย่างแก่เพื่อนมิตร และคนรุ่นหลัง จึงเริ่มเข้าใจชัดเจน เพราะ มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ทั้งสำหรับตัวเรา และคนอื่น จึงเห็นและเข้าใจถึงข้อสรุปนี้ • เพราะ แม้แต่เรื่องของหมอผู้รักษาโรค หรือวิธีการรรักษา ก็ต้องมีตัวหลักรอง และตัวเสริม หมอที่เก่งระดับประเทศในโรคหนึ่งๆ ก็มีหลักทฤษฎี การปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จ ก็ยังมีความต่างกัน และ วิธีการรักษา แผน ปัจจุบัน กับ แผนทางเลือก ก็มีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน รวมทั้งเรื่องอื่นๆฯลฯ ที่สำหรับ “ตัวเราเอง” ต้องศึกษาเข้าใจสภาพของตัวเองให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะ “ผู้ที่รู้เรื่องสุขภาพของตัวเรา” ก็คือ “ตัวเราเอง” มิใช่หมอโรงพยาบาล คลินิก หรือหมอตี๋ ฯลฯ โดยการศึกษาเรียนรู้อย่างเอาจริง เอาใจจดจ่อ ทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ไม่ตายไม่หยุด หยุดเมื่อตาย โดยนำข้อวินิจฉัยหรือคำแนะนำของหมอที่ตรวจอาการเรามาเป็นหลัก ในการทำความเข้าใจตัวเรา โดยถือหลักว่า “ เรื่องการรักษา หมอเก่งกว่าเรา : แต่เรื่องตัวเรา เรารู้ดีกว่าหมอ รู้ดีที่สุด” ที่ยกตัวอย่างเรื่อง “ การรักษาสุขภาพ “ ก็เพื่อให้เห็นภาพชัด สำหรับการมองการเข้าใจเรื่องสังคมและบ้านเมือง • ตอนนี้เราจะเข้าสู่ประเด็นสำคัญ คือ ประเภทและระดับของผู้นำ ที่ควรจะมีสำหรับตัวเราและบ้านเมือง 1. ผู้นำเชิงปัจเจก 2. ผู้นำระดับชุมชน 3. ผู้นำระดับประเทศ 4. ผู้นำระดับรัฐบุรุษ • ปู่จิ๊บ มองย้อนหลังและปัจจุบันของตัวเอง และประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของประเทศ ตัวเอง ก็ได้กล่าวมาแล้ว สำหรับประเทศ ขอสรุปถึงแนวทางของการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตยไทย 1.1 การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฯ โดยคณะราษฎร์ 24 มิถุนายน 2475 ข้อสรุป ความปรารถนาที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย จากได้เห็นความเจริญของประชาธิปไตยตะวันตก และ “ เมื่อข้าพเจ้ามีอำนาจฯ ข้าไม่มีประสบการณ์ และเมื่อข้าฯมีประสบการณ์ ก็ไม่มีอำนาจแล้ว”การขาดการมีอำนาจที่แท้จริง รวมทั้งความขัดแย้งและแตกแยกในคณะราษฎร์ ฯลฯ 1.2 การเข้าสู่อำนาจของคณะทหารฯ กองทัพบก จากการแตกแยกความคิดเห็นของกลุ่มผู้นำทหาร และพลเรือนในคณะราษฎร์ และการเข้ามามีอำนาจเต็มที่ ในปี 2490 เป็นต้นมา และมาในช่วงหลังคือ กองทัพไทยรัฐประหารรัฐบาลรักษากาฯรพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร 19 กันยา 2549 และ 22 พฤษภาคม 2557 ผู้บัญชาการเหล่าทัพประกาศรัฐประหารรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ข้อสรุป คือ ความไม่เป็นเอกภาพและแตกแยก กับบทบาทที่เข้มแข็งที่สุดในอำนาจที่มีฯ และลักษณะความคิดของ คณะนายทหารฯที่นำการเปลี่ยนแปลง ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่มีวิสัยทัศน์ฯ 1.3 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย 1 ธันวาคม 2485 ใช้แนวทาง “ ยึดอำนาจรัฐด้วยกำลังอาวุธ ใช้ชนบทล้อมเมืองและยึดเมืองในที่สุด” และ การปฏิเสธ “ศํกดินา จักรพรรดินิยม และทุนนิยมขุนนาง” มีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ไปสู่สังคมที่เสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยแนวคิดสังคมนิยมฯ ความล้มเหลว คือ การใช้แนวทางฯที่นำเข้าจากประเทศสังคมนิยม(โซเวียดจีน)ที่ไม่สอดคล้องกับสังคมไทย 1.4 แนวทางการเลือกตั้งแบบตะวันตกของพรรคการเมืองไทย ที่เคยใช้ได้ผล ได้เป็นรัฐบาล แต่ไม่สามารถครองอำนาจได้ยาวนานต่อเนื่อง อันเกิดจากความแตกแยกไม่เป็นเอกภาพของพรรคการเมือง ไม่มีความเข้มแข็งพอ ที่จะคุมกองไทยได้ ในภาวะที่ประชาชนปฏิเสธไม่เอารัฐบาลฯที่คอร์รับใช้อำนาจมิชอบฯ และที่สำคัญ ไม่สามารถแก้ไขวิกฤตของประเทศ ที่เกิดจากนักการเมือง และกลุ่มทุนฯ ก่อขึ้นมา แนวทางการพัฒนาประเทศแบบทุนนิยมและทุนสามานย์ ซึ่งก่อให้เกิดการคอร์รับชั่นและใช้อำนาจมิชอบฯ ระบบเลือกตั้งฯ ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุลใน 3 อำนาจอธิปไตย คือฝ่ายนิติญัตติเป็นอันเดียวกับฝ่ายบริหาร 1.5 การลุกขึ้นต่อสู้ของมวลมหาประชาชนเรือนล้าน เพื่อคัดค้านเผด็จการทหารและทุนนิยมสามานย์ฯลฯ ที่เกิดขึ้นจาก การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล(เผด็จการและพลเรือน) เป็นไปเพื่อตนเอง(คอร์รับชั่นและ ใช้อำนาจโดยมิชอบ) ทำให้ประชาชนเดือดร้อนที่สุด ซึ่งก่อให้เกิดการลุกขึ้นสู้ในประเด็นต่างๆที่เป็นตัวจุดเชื้อฯ แต่หาได้มีพลังและความเข้มแข็งที่แท้จริง เพราะไม่มีความคิดปฏิวัติ ขาดการจัดตั้งและกำลังที่เป็นจริง 1.6 บทบาทของประเทศมหาอำนาจฯที่เข้ามามีอิทธิพลต่อรัฐบาลและประเทศไทย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่ยุคจอมพลสฤษดิ์ฯ ที่มาพร้อมกับแผนพัฒนาประเทศของสภาพัฒน์และธนาคารโลกฯ ซึ่งยังคงเป็นบทบาทเชิงความคิด และการแทรกแซงทางอ้อมฯ 1.7 บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ที่เป็นจุดรวมศูนย์ของประชาชนไทยมาตลอดฯ และโดยที่ระบบการปกครองของไทย พระมหากษัตริย์ จะอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ บทบาทจึงมีลักษณะ การใช้พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสฯ ให้แก่ รัฐบาล กองทัพ และ ศาสฯ ในการบริหารปกครองบ้านเมืองโดยธรรมฯ และการยัยยั้งบรรเทาสถานการณ์ความขัดแย้งลงได้ชั่วคราวฯลฯ • จากนี้ เราก็จะมาดู ถึงบทบาทของผู้นำในลักษณะและระดับต่างๆ 1. ผู้นำเชิงปัจเจก ได้แก่ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ พระ และผู้นำในระดับต่างๆที่เรานิยมชมชอบและศรัทธาฯ 2. ผู้นำระดับชุมชน เป็นผู้นำในชุมชน สถาบันการศึกษา ผู้นำนักศึกษา ผู้นำในระดับจังหวัดที่โดดเด่นฯ เช่น พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้ว่าพิจิตร ผู้ว่าอภิรักษ์ ปราชญ์ชาวบ้านต่างๆ ธีรยุทธ บุญมี ,มีชัย วีระไวทยะ ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล , คุณบัณฑูร ล่ำซำ แห่งกสิกรไทย ฯลฯ 3. ผู้นำระดับประเทศ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ อ.คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านอานันท์ ปันยารชุน คุณชวน หลีกภัย คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ คุณทักษิณ ชินวัตร พลเอกชาติชาย ชุนหวัณ กลุ่มราษฎรอาวุโส หมอประเวศ อ.ระพี สาคริก อ.เสน่ห์ จามริกฯ ท่านพุทธทาส ท่านปัญญานันทภิกขุ ท่านประยุทธ ประยุทธโต ฯและผู้นำวงการสงฆ์ ฯลฯ จอมพลป พิบูลสงคราม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พลเอกสุรยุทธ์ จุฬานนท์ พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา 4. ผู้นำระดับรัฐบุรุษ โดยตำแหน่ง อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ พลเอกเปรม ติณสูรานนท์ • แต่หากเราพิจารณาในเชิง ของการบริหารประเทศของผู้นำไทย ที่สามารถแก้วิกฤตและนำประเทศไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง ดูเหมือนว่า “ อยู่ในระดับของการเข้าใกล้ตำแหน่ง “ระดับรัฐบุรุษ” แต่ยังไม่ถึง รัฐบุรุษ : ต้องเป็นผู้นำที่สามารถแก้วิกฤตและปัญหาหลักของประเทศ คือ ความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรม และสามารถนำพาประเทศไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงอย่างเป็นรูปธรรม คือ มีความเสมอภาคเที่ยงธรรม มีสิทธิเสรีภาพด้วยการมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ประชาชนมีคุณภาพ มีอิสระ ที่จะยืนอยู่บนลำแข็งและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง โดยมีความรู้สติปัญญาความจริง ผู้คนมีความสุข ไม่ทุกข์ ประเทศมีเอกราชประชาธิปไตย คือเป็นรัฐอิสระ คิดและตัดสินใจได้ด้วยตนเอง บนผลประโยชน์ของประชาชน จากการบริหารประเทศฯโดยประชาชน เป็นของประชาชน และเพื่อประชาชน อย่างเป็นรูปธรรมฯ การจะทำเช่นนี้ได้ รัฐบุรุษ ต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ 1. มีวิสัยทัศน์ เพื่อนำพาประเทศและประชาชน ผ่านวิกฤติ ไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง 2. มีกำลังความสามารถทั้งทางตรงและทางอ้อม( การประสานกับฝ่ายต่างๆ)เพื่อไปแก้วิกฤติ 3. มีความกล้าหาญ กล้าเสียสละกล้าตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ดีและถูกต้องเพื่อบ้านเมือง 4. ความซื่อสัตย์สุจริต รับใช้ประชาชน และเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนและเพื่อนร่วมงาน • ในสังคมไทย โอกาสที่จะเกิดรัฐบุรุษ มีน้อย ค่อนข้างยาก แต่อาจจะเกิดขึ้น โดยมีเงื่อนไขและสถานการณ์พิเศษ ที่มีปัจจัยภายในและภายนอก ที่ถึงจุดเปลี่ยนแปลง คือ ประชาชนปฏิเสธผู้นำรัฐที่มีปัญหาแก้วิกฤตไม่ได้ และลุกขึ้นมาร่วมเปลี่ยนแปลงอย่างพร้อมเพียงกัน โดยมีกองทัพและข้าราชการร่วมมือให้การสนับสนุน โดยผู้นำรัฐบาล ( ทั้งทหารและลพเรือน ) ที่มีอำนาจรัฐ (กองทัพ ราชการ ประชาชน ) และได้รับการยอมรับ อนึ่งบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ ก็มีโอกาสที่จะสนับสนุนผู้นำรัฐบาลนำพาประเทศไปสู่ประชาธิปไตย • อนึ่ง การมองและทำความเข้าใจต่อปัญหาและสถานการณ์การเมืองในสังคม ต้องมองจากความเป็นจริง ซึ่งไม่ง่ายนักเลย ยิ่งมาในช่วงหลัง ที่ยุคสมัยได้เปลี่ยนไป “ มีความสับสนสลับซับซ้อนมากขึ้น “ • ประเด็น “ ความจริงและความเท็จ ข่าวจริงข่าวลวงข่าวหลอก “ แยกและการได้มา มิง่ายเลย ฉะนั้นผู้นำที่หวังประสบความสำเร็จ จะต้องแสวงหาข่าว มีแหล่งที่น่าเชื่อถือ และมีหลักในการแยกแยะกรองข่าว มิใช่ ฟังแต่เขาเล่าว่า หรือ ข่าวลือ ข่าวตามอคติ อวิชชา ความเชื่อของตนและกลุ่มความคิดเดียวกัน การฟังจากสื่อสารมวลชน ที่เน้น “ ขายข่าว มีผลประโยชน์ผูกพันกับผู้นำกลุ่มต่างๆ “ และการเปลี่ยนไปของสื่อ ที่มิใช่ฐานันดรที่สี่ มีมีจรรยาบรรณมีความรับผิดชอบต่อประชาชนและประเทศชาติ กลายเป็นทุนใหญ่ในตัวเอง เราต้องใช้ เครื่องกรอง 3 ขั้นของโซเครติส “ชั้นแรกคือความจริง ชั้นที่ 2 คือความดี ชั้นที่ 3 คือ ประโยชน์ • หัวใจของบทความข้อเขียนของปู่จิ๊บ คือ การร่วมกันมองตัวเองและสังคมไทย อย่างเอาใจจดจ่อ เริ่มจากตัวเอง เพื่อนมิตร และที่สำคัญผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย แนวทางและยุทธศาสตรยุทธวิธี เราทุกคน สามารถเป็นได้ทั้งผู้นำ ผู้เคียงข้างและผู้ตาม เพื่อการเปลี่ยนใหญ่ที่จะมาถึงในเร็ววันนี้