ชัยวัฒน์ สุรวิชัย • สถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน 2542 – ปัจจุบัน มาลงลึกกันต่อ • สถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน เป็นหน่วยงาน ที่ “ อาจารย์ชัยวัฒน์ สุรวิชัย” ได้คิดขึ้น แต่มีความเป็นมา ที่พัฒนาและต่อเนื่องกันมา และะมีบางช่วงหยุดไป เพราะขาดปัจจัยใหญ่(ทุน) สนับสนุนแต่ ก็ยังทำไปตามสภาพและปัจจัยที่สำคัญ คือ “ตัวเอง” ที่มีความคิดและทำต่อ มิได้หยุดไปเด็ดขาด เหมือนเช่นในตอนนี้ ก็ยังคงทำงานต่อ ด้วยตัวคนเดียว แต่ก็ไปได้ดีระดับหนึ่ง จากมีฐานการทำงานมาตลอด สรุปง่ายๆ คือ สถาบันพัฒฯการเมือง มี การทำงาน 2 รูปแบบ คือ 1. ทำงานด้วยตัวคนเดียว 2. การทำงานอย่างเต็มรูป มีทีมงาน มีทุน และปัจจัยสนับสนุน • 1. การทำงานด้วยตัวคนเดียว เริ่มในช่วงต้น ที่คิดจะทำงาน “ ในเชิงการเมืองภาคประชาชน และเน้นความรู้ความคิด”แต่เมื่อมีผู้สนับสนุน ก็จะนำมาคิดพิจารณาก่อน เมื่อได้ข้อสรุปว่า “ไปด้วยกันได้ ก็ร่วมมือกัน” โดย “ ปู่จิ๊บ” จะออกความคิด ใช้ความรู้สติปัญญา ความจริง ส่วน “ ผู้สนับสนุนออกทุน” และมาพิจารณาผลงานที่ออกมาร่วมกัน ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นที่พอใจทั้งสองฝ่ายฯ แต่เมื่อสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย หรือ ปัจจัยในการร่วมมือกัน หมดลง เราก็หยุด แล้วปู่ จิ๊บ ก็กลับมาทำงานในเชิงปัจเจกอีก คือ ก่อน 2542-2546 และหลัง 2554-2555 แต่การทำงานเชิงปัจเจกนี้ ก็ได้มีการพัฒนาการทำงาน จนสามารถทำงานได้ในระดับที่พอใช้ ในปัจจุบัน แต่การทำงานทั้งสองแบบ ปู่จิ๊บ ก็ได้ทุ่มเทความคิดเวลาร่างกายจิตใจให้กับงานอย่างเต็มร้อย และทำงานด้วยความรักความสุข และมีความหวัง แม้ว่าความสำเร็จ จะอยู่ห่างไกล และยังไม่มาถึง • การทำงานเต็มรูปแบบ มี 2 ส่วน 2 ชื่อ 2 สถานที่ทำงาน 1.1 ในยุคแรก ใช้ชื่อว่า “ สถาบันพัฒนาการเมือง” เน้นงานขับเคลื่อนเชิงการเมืองภาคประชาชน สถานที่ทำงาน คือ “ สำนักงานฯ ตึกช้าง สี่แยกรัชโยธิน กทม. ผู้สนับสนุน คือ ดร.ภูษณ ปรีมาโนช ช่วงปี 2542 - 2546 มีทีมงานประมาณ 10 คน กุลชีพ วรพงษ์ , ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ , ธนาพล อิ๋วสกุล ฯลฯ ทีมที่ปรึกษา ยุค ศรีอาริยะ คุณพิทยา ว่องกูล คุณไพศาล มังกรไชยา คุณคำนูญ สิทธิสมานย์ ทีมขับเคลื่อนงาน คือ คุณบำรุง คโยธา วีรพล โสภา อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ แนวทาง คือ การนำด้วยความรู้ความคิด เพื่อสร้างคนและ การเคลื่อนไหวอย่างเป็นกระบวนการฯ เครื่องมือ : การจัดกิจกรรมในห้องประชุม และการเคลื่อนไหวในพื้นที่ โดย การนำเสนอความคิด การปราศรัย การออกเอกสาร วารสาร หนังสือ โปสเตอร์สิ่งพิมพ์ประจำเดือน วารสารของสถาบันฯ ได้รับการนิยมชมชอบ และได้มีการเผยแพร่ไปยังต่างประเทศด้วย และสถานทูตของหลายประเทศ ได้นำไปใช้ ในการติดตามและประเมินสถานการณ์ของประเทศไทย 1.2 ในยุคที่สอง ได้ใช้ชื่อ “ สถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน” ( เป็นการพัฒนาความคิดที่เติมเต็ม โดยเพิ่ม “ คุณภาพคน” ) เพราะ ได้สรุปว่า “ ปัญหาของประเทศไทยที่ไม่เป็นประชาธิปไตย นอกจาก ระบบโครงสร้างของสังคมที่เหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมแล้ว ปัญหาใหญ่คือ ประชาชนไทยขาดคุณภาพ “ สถานที่ทำงาน อยู่ในซอยแจ้งวัฒนะ- ปากเกร็ด 19 เป็นการร่วมมือกัน ระหว่าง “ ผู้สนับสนุนงานทางความคิดและทุน และทีมงานของเพื่อนมิตร” ช่วงการทำงานช่วงนี้ จะสั้นหน่อย คือ ปลายปี 2554 – ต้นปี 2556 รวมเวลาประมาณ หนึ่งปีเศษ ทีมงาน มีคุณสมภพ บุนนาค เป็นผู้ช่วย และกลุ่มผู้นำแรงงาน ภาคประชาชนและนักศึกษาฯ ซึ่งตัวปู่จิ๊บ ต้องทำงานหนักกว่าเดิม เพราะต้องเป็นหลักในการศึกษาค้นคิดงาน โดดยประสานกับเพื่อนมิตร และเมื่อได้ “แนวคิดและประเด็นงานแล้ว” จึงนำมาปรึกษาหารือในหน่วยงานฯ • ลักษณะงาน เป็นงานทั้งความรู้ความคิด และการเคลื่อนไหวในหมู่ภาคประชาชน เกษตรกร และกรรมกรฯลฯ 1. งานเชิงความรู้ความคิด การนำเสนอประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ของบ้านเมือง ตามจังหวะของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นๆ โดยมีการออกวารสาร หนังสือ โปสเตอร์สิ่งพิมพ์ประจำเดือน และในโอกาสวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ ก็จะมีการจัดนิทรรศการ และงานวิชาการ ที่มีผู้มาร่วมอย่างมาก เช่น งานครบรอบวันเสียชีวิตของ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทสไทยคนแรก งานวันพรรค พคท. 1 ธันวาคม , 7 สิงหา 2508 ( วันเสียงปืนแตก) 24 มิถุนายน 2475 ( คณะราษฎร์) วันสตรีสากล 8 มีนาคม , ฯลฯ การเชิญวิทยากรที่มีชื่อเสียงและรู้จริงมาบรรยาย เช่น อ.ธัญญา ผลอนันต์ มาบรรยายเรื่อง MIND MAP โดยมีนักกิจกรรม เอนจีโอ และนักศึกษาประชาชน มาร่วมฟังอย่างมากมาย ( ค่าตัวสูง แต่คิดพิเศษให้ปู่จิ๊บ ) 2. งานในเชิงเคลื่อนไหว เป็นกิจกรรมที่โดดเด่น ที่แทบไม่มีใครทำมาก่อน และได้รับการต้อนรับอย่างดีเพราะมีทีมงานที่มีประสบการณ์ เช่น กุลชีพ วรพงษ์ , ดร.มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ , ธนาพล อิ๋วสกุล ฯลฯ และจะเชิญ อาจารย์นักวิชาการที่มีชื่อเสียง มารับงาน เช่น ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ ฯลฯ ( โดยปู่จิ๊บ ในฐานะหัวหน้า จะประชุมผู้ร่วมงาน รับฟังความคิดเห็น และมอบหมายงานให้แต่ละคนทำ ฯลฯ”) และงานที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น “ การขับเคลื่อน สภาเกษตรกรแห่งชาติ “ ต้องเป็นผู้นำที่ได้รับการยอมรับทั้งจากผู้นำเกษตรกรและพื้นที่ เช่น คุณบำรุง คโยธา วีรพล โสภา อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ผู้นำในภาคอิสาน และผู้นำภาคเหนือใต้ และภาคกลาง รวมทั้งในกรุงเทพฯ งานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นงานยักษ์และหินมาก เพราะ ผู้นำเกษตรกรทั่วไทย ต้องการที่จะมีองค์กรที่เป็นตัวแทนของเกษตรกร ในการรวมตัวและสร้างคุณภาพเกษตรกร และการเจรจาต่อรองกับรัฐบาลและก.เกษตรฯ แต่ทำมาหลายสิบปี ก็ยังไม่คืบหน้า ฯ ทางสถาบันพัฒนาการเมืองฯ ได้จับงานนี้ ถือเป็นงานหลักสำคัญ มีการวางแผน จากการประชุมส่วนกลาง และการเคลื่อนไหวในพื้นที่ ทั้งในภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคใต้ และมาปิดท้ายที่ภาคกลางและกทม. การจัดในพื้นที่ทำกันอย่างใหญ่โต เพื่อแสดงพลังของเกษตรกรให้ รัฐบาล นักการเมือง ฯ ได้เห็นความต้องการฯ ในการประชุม มีผู้นำเกษตรกรของภาค จังหวัดและพื้นที่มาร่วม หลายพันคน ฯลฯ • เริ่มต้นด้วยการที่ ปู่จิ๊บ ในฐานะผอ.สถาบันพัฒนาการเมืองฯลฯ กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี คือ ดร.ภูษณ ปรีย์มาโนช นักธุรกิจใหญ่ที่มาสนใจเรื่องของภาคประชาชนฯ แล้วท่านประธานกล่าวเปิดงานฯ จากนั้น ก็เป็นหน้าที่ของ ผู้นำเกษตรกรอย่าง คุณบำรุง คโยธา วีรพล โสภา อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ซึ่งจะร่วมกับผู้นำเกษตรกรและนักวิชาการจากภาคต่างๆ บรรยาย ปลุกเร้า และมีการร่วมแสดงความคิดเห็นฯ การจัดเคลื่อนไหวนี้ “ นโยบายและยุทธศาสตร์ คือ การแสวงความร่วมมือกับรัฐบาลและข้าราชการฯลฯ “ ( มิใช่ไปโจมตีกล่าวหา อย่างที่ผู้นำภาคประชาชนบางส่วน นิยมนำมาใช้กัน ซึ่งมิน่าจะถูกต้อง ) 3. การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เป็นประจำเดือนหรือสองเดือน แต่ต่อมาก็เป็นปีละหนสองหน ซึ่งก็แล้วแต่คุณภูษณฯ จะให้คนประสานมาฯ และบางครั้ง ก็มีน้องๆที่เดือดร้อน ต้องการความช่วยเหลือ ก็จะติดต่อให้ ปู่จิ๊บ ช่วยนัดฯ ซึ่งคุณภูษณ หากว่าง ก็ได้นัดมาพบกันทุกครั้ง • ปู่จิ๊บชอบฟังคุณภูษณพูดหรือเสนอความคิด เพราะได้ความคิดความรู้และประสบการณ์ดีๆมาตลอด เช่น หลายปีมาแล้ว ในช่วงดอกเบี้ยธนาคารร่วม สิบเปอร์เซ็นต์ “ คุณภูษณฯ บอกว่า อีกไม่นาน ดอกเบี้ยจะเหลือบาทเดียว” ซึ่ง ผมก็ไม่เชื่อ เพราะ เป็นเรื่องที่ไม่มีความรู้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป จึงรู้ว่า “ มันเป็นไปแล้ว” คุณภูษณ โดดเด่น เรื่อง เทคโนโลยี่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และการคาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ และสนใจในเรื่อง “ธรรม” ที่ค่อนค้างแตกฉาน ถึงขั้น ในเรื่องของพระไตรปิฎก และมีการเผยแพร่ฯ นอกจากการนั่งคุยในเรื่องนี้กับผู้รู้อื่นๆ ( ซึ่งปู่จิ๊บ ได้นั่งฟัง เพราะไม่มีความรู้มากพอ ) มีการไปทัศนศึกษาที่อินเดีย และเนปาล ในเรื่องของพระพุทธศาสนาฯ ซึ่งทำให้ปู่จิ๊บได้ประโยชน์มาก @ ต้องขอขอบคุณ “ คุณภูษณ และคนทำงานร่วมฯ “ ที่ได้ให้ความรักจริงใจ ต่อปู่จิ๊บมาตลอด” • กลับมาพูดถึง ปัจจัยของความสำเร็จของงานนี้ และงานที่ปู่จิ๊บทำมาตลอด คือ 1.มีแนวคิดที่ดีถูกต้อง สอดคล้องกับสภาพและแนวโน้มของสถานการณ์และส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว 2. มีทีมงานที่มีความรู้ความสามารถ ที่สามารถปฏิบัติงานได้ และความเป็นเอกภาพ 3. มีทุนสนับสนุนที่ ปราศจากการสั่งการ แทรกแซงการทำงาน และการผูกมัด คือ ให้ความเป็นอิสระ 4. มีการสรุปและประเมินผลงาน หลังจากเสร็จงานแล้ว นำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นในโอกาสต่อไป • คงมีคำถามที่สงสัยตามมา ถึง ความเป็นได้หรือ จะมีนายทุนที่ใจดีอย่างนี้หรือ คำตอบ อยู่ที่ความเคารพนับถือกัน ความตรงไปตรงมา และความจริงใจต่อกัน สิ่งที่ผู้สนับสนุนจะได้ คือ 1. ความภาคภูมิใจ ที่ได้สนับสนุนคนดีมีอุดมคติ ที่ทำสิ่งที่ดีมีประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ 2. ได้รับเกียรติและเป็นที่ยอมรับ จากผลงงานและการได้เป็นประธานเปิดงานและกล่าวสุนทรพจน์ 3. ความเคารพนับถือด้วยความรักและความจริงใจจากผู้ได้รับการสนับสนุน ซึ่งปู่จิ๊บจะสามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า “ ว่าใครเป็นผู้สนับสนุน “ เพราะสิ่งที่ทำไปเป็นเรื่องที่ดีและถูกต้อง • แน่นอนว่า ผู้ที่มีทุนใหญ่ที่จะสนับสนุนเช่นนี้ สิ่งที่ทำมา ก็อาจจะมีทั้งเรื่องถูกและการมีข้อจำกัดบางอย่าง แต่สิ่งที่ทำคัญคือ เราต้องให้โอกาส ในการนำเสนอในสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และผู้ให้ฯ เขาก็จะให้แต่สิ่งที่ดี แก่เราตอบกลับมาฯ • หลักสำคัญหรือหัวใจของการทำงาน เราต้องมีความเป็นอิสระเป็นตัวของตนเอง บนพื้นฐานของการทำงานหนัก เอาจริง จริงใจ เคารพตนเอง เคารพผู้อื่น และเคารพเชื่อใจกันและกัน พูดกันตรงไปตรงมา ด้วยเจตนาและความหวังดีต่อกัน ซึ่งจะทำให้การร่วมงานกันบนผลประโยชน์ของส่วนรวมบรรลุได้จริง คือ ตัวเรา และ ตัวเขา “ คิดดีทำดี ในส่วนที่ร่วมมือกัน” เป็นสิ่งสำคัญ