ชัยวัฒน์ สุรวิชัย • มูลนิธิเติมน้ำใจให้สังคม 2545 -2549 http://www.handinhand-thailand.org/images/logo.gif เริ่มจากมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกัน ก่อตั้งขึ้น โดยปณิธานของ ดร. ภูษณ ปรีย์มาโนช อดีตรมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นองค์กรที่มุ่งส่งเสริม สนับสนุน ปลูกฝังให้ประชาชนประพฤติตนเป็นคนดีของสังคม และทำหน้าที่ประสานความร่วมมือ และสนับสนุนภาครัฐและเอกชนให้เข้ามาร่วมแก้ไข บรรเทาปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ต่อมาปรับเป็น “ มูลนิธิเติมน้ำใจให้สังคม” ซึ่ง ปู่จิ๊บ ได้มีมีโอกาสร่วมสร้างสาขาพิ่มเติมขึ้นในต่างจังหวัด 1. เริ่มจากจังหวัดลำปาง ได้ อ.อรรณนพ วงศ์วิชัย จากม.ราชภัฎลำปาง ซึ่งเป็นนักกิจกรรมตัวยงมาร่วม โดยประสานร่วมมือกับศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Node) ได้สริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดขึ้นมากมาย ซึ่งแต่ละงานจะดำเนินงานเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน จังหวัดลำปางมีลักษณะงานเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนมากมาย อาทิ มูลนิธิหมู่บ้านที่ดำเนินการด้านแผนแม่บทชุมชน ในนามของเครือข่ายติ๊บจ้างลำปาง พอช. / กองทุนเพื่อสังคมในนามของ SIF และ UNDP โดยร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ / สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) / มูลนิธิเติมน้ำใจให้สังคม และสมัชชาสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งก็ได้ ดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวงศ์ มาเป็นประธานบริหารมูลนิธิเติมน้ำใจให้สังคม จังหวัดลำปาง อ.อรรณนพ ได้ดึงเพื่อนอาจารย์และนักกิจกรรมในลำปางฯ มาร่วม ทำให้มีผลงานมากในระดับหนึ่ง 2. ที่สกลนคร ปู่จิ๊บ ได้ประสาน พี่วิทิต จันดางวงค์ ให้มารับเป็นประธานมูลนิธิเติมน้ำใจให้สังคม จ.สกลนคร มีกิจกรรมเป็นช่วงของงานวันสำคัญ เช่น วันรำลึกถึง “ ครูครองจันดาวงศ์” วีรบุรษคนสำคัญของภาคอีสาน (28 มกรา. 2451 - 31 พฤษภา 2504) นักโทษการเมือง ตามม. 17 ของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เจ้าของวลี "เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ" ในขณะเดินเข้าสู่ลานประหารฯ และงานรำลึกครบรอบ 72 ปี ของ จิตร ภูมิศักดิ์ ปัญญาชนปฏิวัติ วันที่ 5 พฤษภา 2552 ขึ้นในบริเวณ สนามฟุตบอล โรงเรียนบ้านหนองกุง สกลนครฯ จัดเสวนาภายใต้หัวข้อ “จิตร ภูมิศักดิ์...ให้อะไรกับสังคม...” 1.นายวิทิต จันดาวงศ์ ประธานมูลนิธิเติมน้ำใจให้สังคม 2. ทนายทองใบ ทองเปาด์ 3. .หมอพลเดช ปิ่นประทีป 4.อ.วิชาญ ฤทธิ์ธรรม รองคณบดี คณะมนุษยศาสตร์ ม.ราชภัฏสกลนคร 3. นอกจากนี้ มีศูนย์ปฏิบัติกรรมฐาน มูลนิธิเติมน้ำใจให้สังคม HAND-IN-HAND FOUNDATION Buddhist Cultivation Centre www.handinhand-thailand.org/content.php?id=21 ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 35 หมู่ที่ 7 ตำบลหัวไทร อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ริมแม่น้ำบางปะกง เป็นองค์กรในพระพุทธศาสนา แต่ไม่จำกัดนิกาย ทางศูนย์มีการจัดการฝึกอบรมสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ตามหลักสติปัฏฐานสี่ มีหลักสูตรอบรมระยะสั้น กลาง และยาว โดยมีวิทยากรจากองค์กรทางพระพุทธศาสนาหลายแห่ง รวมทั้งวิทยากรผู้มีชื่อเสียงในการสอนปฏิบัติธรรมหลายท่าน • สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติชุดแรก 2544 – 2548 ตัวย่อ สศ. (National Economic and Social Advisory Council, NESAC) เป็นสภาที่ปรึกษา ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรี ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นตามบทบัญญัติรธน.แห่งราชอาณาจักรไทย 2540 หมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 89 โดยสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีหน้าที่ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี ในปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและแผนอื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติก่อนจะพิจารณาประกาศใช้ ซึ่งเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการประเทศ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความยุติธรรมและโปร่งใสเป็นสำคัญ ในปี พ.ศ. 2542 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 ท่าน ที่เป็นตัวแทนบุคคลจากกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆ อาทิ กลุ่มภูมิปัญญาชาวบ้าน สถาบันสันติศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัย สภาทนายความ นักกฎหมายมหาชน กลุ่มผู้หญิงกับการเมือง รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการยกร่างพระราชบัญญัติฯ และ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป จนกระทั่งได้มีการประกาศมีผลบังคับใช้พระราชบัญญัติ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2543 • สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มี 3 ชุด คือ ชุดแรก2544 , 2548 และ. ชุดสุดท้าย 2553 ซึ่ง ปู่จิ๊บ จะขอเล่าถึง เฉพาะ ชุดแรก ที่ เป็นสมาชิก 1. ใน 99 คน ชุดที่ 1 ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ. 2544 – 2548 ประธาน: อานันท์ ปันยารชุน รองประธานคนที่ 1: ชุมพล พรประภา รองประธานคนที่ 2: รองศาสตราจารย์ ดร.สังศิต พิริยะรังสรรค์ • สภาที่ปรึกษาฯชุดแรก มีบทบาทสูงเด่น จากการมี ท่านอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และมีสมาชิก 99 คน เป็นตัวแทนที่มาจากภาคส่วนต่างๆ ที่เป็นตัวจริงเสียงจริงค่อนข้างมาก บทบาทที่ได้ดำเนิงานไปที่สำคัญคือ 1. พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน 2. เป็นเวทีสะท้อนปัญหาสาธารณะ ลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม 3. พัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมการรวมกลุ่มให้กับภาคประชาชน 4. กระตุ้นให้ประชาชนมีสำนึกร่วมรับผิดชอบต่อสังคม 5. เป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศของรัฐบาล ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 6. พัฒนากระบวนการเรียนรู้มุ่งสู่เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความสมดุลและยั่งยืน • ปู่จิ๊บ มาในฐานะ สมาชิก กลุ่มในภาคสังคม ( พัฒนาชุมชน ) ส่วนรายชื่อ ขอนำมาลงบางคน 1. กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ น.ส.ศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์ นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ นายชุมพล พรประภา นายจิรายุทธ์ วสุรัตน์ นายชนะ รุ่งแสง นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ นายชนะ กสิภาร์ นายวิจิตร ณ ระนอง นายพจน์ สะเพียรชัย นายวรพงษ์ รวิรัตน์ นายวิจิตร บุณยะโหตระ นายอานันท์ ปันยารชุน นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม 2. ภาคเศรษฐกิจ: .จรูญ พงศาปาน ปราโมทย์ วนิชานนท์ วันชัย แสงสุขเอี่ยม .สน รูปสูงอำนวย ทงก๊ก นายอโณทัย ฤทธิ์ปัญญาวงศ์ นายสุทิน ภาศิวะมาศ นายปรีชา ส่งวัฒนา พ.ต.ท.พีระ วิชากรกุล นายกงกฤช หิรัญกิจ นายต่อตระกูล ยมนาค สวัสดิ์ แสงบางปลา 3. ภาคสังคม: ชัยวัฒน์ สุรวิชัย นางรัชนีภรณ์ คุปรัตน์ สวิง ตันอุดนางรัชนี ธงไชย ชาติชาย พุคยาภรณ์ นายสรรพสิทธฺ คุมพ์ประพันธ์ นายวีระ นามศิริพงศ์พันธ์ นางประภาศรี สุฉันทบุตร นายพนัส ไทยล้วน 4. ภาคฐานทรัพยากร: เริงชัย ตันสกุล นายจอนิ โอ่โดชา นางภินันทน์ โชติรสเศรณี วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/nesd/243278 • ขอเล่าบางเรื่องให้ฟังอย่างสังเขป ในส่วนเกี่ยวกับ “ปู่จิ๊บ” 1. การได้รับการคัดเลือก คุณคำนูญ สิทธิสมานย์ ซึ่งทำงานกับ ดร.ภูษณะ ปรีมาโนช ที่ตึกช้างด้วยกัน พูดดักหน้าว่า “ พี่ชัยวัฒน์ สุรวิชัย “ นอนมาแน่ เพราะ เป็นคนดัง มีบทบาทมาตลอด ได้รับการยอมรับสูง แต่ ชีวิตของปู่จิ๊บ อย่างที่บอก “ ไม่เคยได้อะไรมาง่ายๆ “ ต้องทุ่มเทเต็มร้อย เอาจริงจัง ทุกครั้งที่ลงสมัครฯ มีสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการคัดเลือกกันเอง ให้ได้บุคคลผู้ที่จะเป็นสมาชิกที่ปรึกษาฯแห่งชาติ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2544 ณ โรงแรม บรินซ์พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร ผ่านรอบแรกมา ในภาคสังคม-พัฒนาชุมชน 30 กว่าคน เอาตัวแทน 2 คน โดยให้เวลานำเสนอ เพียง 5 นาที “ ขอให้ทุกท่าน เลือกคนที่จะไปทำงานได้จริงเพื่อส่วนรวม และ ควรเลือกผู้หญิงอย่างน้อย 1คน “ ฯลฯ 2. การทำงาน ปู่จิ๊บ ทุ่มเทความคิด สติปัญญา เวลา กายใจ ให้กับงาน ”สภาที่ปรึกษาฯชุดแรกอย่างเต็มที่ “ เพราะ เป็นหน่วยงานที่มีประโยชน์อย่างมาก ในการเสนอความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องสนใจการหาเสียง ( เหมือนอย่างระบบผู้แทนราษฎรฯบ้านเรา ) ปู่จิ๊บ ได้เบี้ยประชุมฯ มากที่สุด คือ เข้าร่วมการประชุมมากที่สุดคนหนึ่ง 3. การเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯชุดที่ท่านอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคต่างๆ ทำให้ได้รับประโยชน์และคุณค่ามากที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะ ลำพัง “ ความคิด ท่าทีท่วงทำนอง การนำเสนอ การเป็นประธาน การให้ความคิดเห็น ทั้งชมและติ การเบรกให้คนชอบพูดหยุด การชี้ให้คนที่ควรพูดได้พูด ลีลาการทูต การเป็นประธาน การเป็นผู้นำ และการเจรจาต่องรอง และผ่อนคลาย ฯลฯ สุดยอดมาก ทั้งคนอื่นๆอีกหลายคน ตัวแทนจากรากหญ้า และชนกลุ่มน้อย อย่างพ่อหลวง จอนิ โอ่โดชา ฯลฯ การเดินทางไปดูงานหลายงาน เช่น งานโครงการพระราชดำริ ในหลายโครงการฯ ( การได้ร่วมคุยกับ ดร.สุเมธ ชุมสายฯ และท่านอานันท์ ที่คุยในเรื่องเฉพาะ ) รวมทั้งการได้มีโอกาสคุยพาะกับท่านอานันท์ หลายครั้งทั้งที่ทำงาน ที่บ้าน และช่วงของการเดินทางดูงานฯ 4. สภาที่ปรึกษาฯชุดนี้ มีโอกาสพิเศษ ที่ได้เชิญ นายกทักษิณ ชินวัตร มาร่วมการประชุม ปู่จิ๊บ ได้มีโอกาสพูดคุยกันสั้นๆถึงความสัมพันธ์ที่ดีในช่วงที่อยู่พรรคพลังธรรมร่วมกัน ปี 2537 - 2539 รวมทั้งการคุยกับหมอมิ้งอย่างยาว ถึงบทบาทของคุณทักษิณที่คนคนสมบูรณ์แบบในทัศนะของน้องชายคนนี้ ในเรื่องการยึดหลักการ “ ในการสรรหาที่ถูกต้อง “ ก็ร่วมกับ อ.ต่อ ตระกูล ยมนาค โต้ กับ คุณพนัส ไทยล้วนฯ ในห้องประชุม อย่างดุเดือด ถึงสิ่งที่ควรและไม่ควร ฯลฯ เพราะ ปู่จิ๊บ ได้เห็น “เค้าลางของอนาคตที่ไม่สดใสของสภาที่ปรึกษาฯ “ ที่จะไม่ดีนักในอนาคตอันใกล้