ชัยวัฒน์ สุรวิชัย เสียดายวันเวลาที่ผ่านมาในชีวิต เกือบ เจ็ดสิบปี : ที่ใช้ได้ไม่เต็ม 100 ของความสามารถที่มี เพราะ “ปู่จิ๊บ” เพิ่งจะมารับรู้แบบซึ้มซาบ ( รู้จริง ) เรื่อง “ชีวิต” เมื่อไม่นาน ……… ราว 10 ปีมานี้ ที่ผ่านมา ก็ผ่านขั้นตอนของ กระบวนการรับรู้ ปฏิบัติถูก-ผิด มาเป็นช่วงๆ ค่อยๆรู้มากขึ้น เข้าใจมากขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน แล้วค่อยๆมาสรุปบทเรียน “อะไรถูก อะไรผิด” ทำอย่างไร ให้ตรงเป้าถูกทิศถูกทาง ที่ผ่านมา เสียเวลาไปมาก แต่ เรา ก็ได้ทำในสิ่งถูกต้องชอบธรรม ตามคำสอนของ “ บวร “ บ้านวัดโรงเรียน เรียกว่า “ทำได้ดีพอสมควร” เราจึงมีวันนี้ ที่ได้ใช้เวลาเมื่อวันวาน อย่างมีคุณค่าและความหมายพอควร อันเป็นธรรมดาและธรรมชาติฃอง “คน” ที่ ต้องผ่าน “การไม่รู้ สิ่งไม่ควร มาก่อน การรู้ และสิ่งที่ควร” และยังมีมิน้อยเลย ที่ผ่านอะไรมาเยอะ แต่ก็ทำผิดอีก เพราะ บางครั้งทำผิด แต่ได้ฐานะ อำนาจความร่ำรวยฯ สภาพที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในอดีต และที่กำลังจะผ่านมา ก็มักเดินตามรอยเดิม “ประวัติศาสตร์ ซ้ำรอยเดิม” เพราะ สภาพจำกัดของสังคมไทย ที่ผู้นำ ชนชั้นนำ ปัญญาชน นักวิชาการ นักการเมือง ข้าราชการ ฯลฯ ที่มีทั้ง ผิด ถูก ชอบ ชั่วดี แต่มีดีและชอบไม่มาก คนกลางๆ ทำทั้งผิดถูกมมีมาก และดีเลิศ มีน้อยมาก ที่เดินนำหน้าเรามา ที่ทำได้ในบางระดับ “ระดับต้น กลาง หรือนานๆ จะมีระดับสูงบ้าง แต่ก็ไม่ถึงสูงสุด” คือ ไม่มี ผู้นำที่เป็นรัฐบุรุษ มีวิสัยทัศน์ กล้าคิดกล้าตัดสินใจทำเพื่อบ้านเมืองเอาจริงอย่างแท้จริง บ้านเมืองเรา จึงอยู่ในสภาพ “ไม่ตกต่ำสุดขีด แต่ไม่ไปถึงจุดสุดยอด” ก็ได้แค่นี้ แบบไทยๆ ที่มิใช่ “ไท” เพราะ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ดินน้ำ และภูมิประเทศเหมาะสม อยู่ในเขตศูนย์กลางฯ คือ “นาวาไทย ยังไปไม่ถึงฝั่งประชาธิปไตย ที่คนมีคุณภาพ มีสิทธิเสรีภาพมีหน้าที่ความรับผิดชอบ มีอิสระ ยืนด้วยลำแข็งของตนเอง คิดเป็นทำเป็นฯ รักชาติประชาชนและพร้อมเสียสละออกมาสู้เพื่อบ้านเมือง แต่ความจริง “เรือสยามเรือไทย” ยังคงเกยตื้นอยู่กับ ความไม่เสมอภาคเป็นธรรม มีความเหลื่อมล้ำ ฯลฯ แม้ว่า “ประวัติศาสตร์ไทย ก็มีคนดีคนกล้า ทั้งผู้นำ ชาวบ้านฯ” ที่ได้กล้าเสียสละเพื่อบ้านเมือง แต่ที่ยังไปไม่ถึงฝั่งอารยะ ก็เพราะระบบโครงสร้างไม่เป็นธรรม คนขาดคุณภาพ ที่จะพัฒนาตนเองและชาติ มาสะท้อนดูจาก ชีวิต ความคิด ที่ผ่านมา จากจุดเริ่มต้น มาถึงจุดแห่งการเปลี่ยนแปลงฯ 1. ตัวเราก็มัวหลง “งมโข่ง” งุ่มง่าม ไม่ทันคน ไม่ทันเหตุการณ์ เทคโนโลยี ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะความคิดประชาธิปไตยที่สอดคล้องกับสภาพสังคม เห็นผู้นำเชิงความคิด “ เสรีนิยม สังคมนิยม ไทยฝรั่งนิยม ฯลฯ” ที่ดูดี แต่ในที่สุด ก็ไปไม่ถึงดวงดาว ฯ เราๆ ท่านๆ จึง “ งมโข่ง” อยู่กับความคิดเก่าๆ และถึงจะมีความคิดใหม่ ก็รับเข้ามาทั้งดุน ไม่ประยุกต์ดัดแปลง 2. “งงเป็นไก่ตาแตก” คือสังคมงง ในเรื่องของ “ระบอบประชาธิปไตย” แบบตะวันตก หรือแบบจีน ฯลฯ ชนชั้นนำในสังคม โดยเฉพาะนักการเมือง คิดอะไรไม่ออก ทำอะไรไม่ถูก แต่พูดได้คำเดียว “เลือกตั้ง” ดีที่สุด ชาวบ้าน ก็ถูกมอมเมา จากชนชั้นนำ ให้เป็น “ ผู้ขอ แบมือ งอตีนงอเท้า” ไม่คิด ไม่สรุปบทเรียน 3. ไกลปืนเที่ยงแบบไทยๆ คือ แม้อยู่ในความเจริญโลก แต่ไม่ค่อยรู้ความเป็นไปของโลกตามความเป็นจริง ตามเขา ในเรื่องของความทันสมัยในเชิงรูปแบบ วัตถุ และเอามาผสมปนเปกับ วัฒนธรรมอุปถัมภ์ในส่วนที่อ่อน ขาดการเลือกสรรสิ่งที่ดีงามของตะวันตกและตะวันตก มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเรา และประเทศของเรา เรียกตามศัพท์แสงของยุคสังคมนิยมแบบจีนว่า “ ตัดเท้า ให้เข้ากับเกือก” มันจึงเดินไม่ตรงทาง เพราะติดๆขัดๆ 4. เพราะ ทำตัวเป็น “กบ – ในกะลาครอบ” มีความรู้หรือประสบการณ์น้อย มักนึกว่า ตัวรู้มาก เห็นกบเหล่านี้มากมายในสังคม ที่มักกล่าวอ้าง ทฤษฎีนั้น หลักการนี้ ที่ล้วนไปไม่ถึงฟ้า เพราะติดกะลาครอบ เช่น ประชาธิปไตยตะวันตกแบบเลือกตั้งดีที่สุดแล้ว แต่เพราะ “การรัฐประหารของทหาร” มาหยุดยั้งทำลายฯ ประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่ชนชั้นนำ นักการเมืองนักเลือกตั้ง ข้าราชการ นายทุน ทำไว้ เหมาะแล้วกับสังคมไทย อย่ารีบร้อน “เรื่องประชาธิปไตย” ที่ไหน เขาก็ต้องใช้เวลา ต้องอดทน “ให้ข้าครองก่อน” แล้วมันจะดีเอง 5. เป็นพวก “คลื่นกระทบฝั่ง” เรื่องราวเกิดขึ้นดีๆทั้งในและต่างประเทศ ก็ปล่อยให้เงียบหายไปในที่สุด เพราะ “ ไม่เคยสรุปบทเรียน เหตุการณ์สำคัญๆที่เป็นจุดเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ไม่หาสาเหตุ จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข เพื่อก้าวต่อไปอย่างตรงทาง ก้าวไปสู่ฝั่งอารยะได้จริง เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 , 6 ตุลา 2519 , 17 พฤษภา 2535 , เหตุการณ์ ปี 2552 และ 2553 รวมทั้งเหตุการณ์ลุกขึ้นสู้ของ พธม.2549 – 2551 และ กปปส. 2556 -2557 ฯลฯ รวมทั้งการบริหาราชการของรัฐบาลพลเมือง-นักการเมืองลุ่มทุนใหญ่ ที่มาจากการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม และการใช้กำลังเข้ามายึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่อ่อนแอของกองทัพ ฯลฯ ไม่เคยมีการสรุปบทเรียน โดยการตั้งคณะกรรมการฯที่เป็นกลางมาสรุปบทเรียนตามความเป็นจริง ทำให้ไม่รู้สาเหตุที่แท้จริง ว่า “ มีเรื่องใดดี เรื่องใดไม่ดี ใครผิดใครถูก และระบบที่ใช้อยู่ ถูกหรือผิด” ประเทศจีน สิงคโปร์ เกาหลี ญี่ปุ่นฯลฯ และประเทศอเมริกาและยุโรป ที่เข้าพัฒนามาได้ในวันนี้ จุดเปลี่ยนแปลง จุดเริ่มต้น คือ “การสรุปบทเรียน” ที่เจ็บปวดฯ ที่ได้ข้อเท็จจริง แล้วก้าวไปข้างหน้าได้ แต่ผู้นำ นักวิชาการไทย ทำให้ “ทุกเหตุการณ์” ทุกเรื่อง กลาย เป็นคลื่นกระทบฝั่ง แบบ “ฝั่งใครฝั่งมัน” นักการเมือง ก็กล่าวโทษทหาร , ฝ่ายทหาร ก็กล่าวโทษ นักการเมือง , นักวิชาการ ก็สรุปไปตามอคติของตน กลุ่มเอ็นจีโอ และพวกที่อ้างตัวเป็นภาคประชาชน ก็มักเอนเอียง กล่าวโทษทหาร ข้าราชการและสถาบันฯ เพราะ “ มันสอดคล้องกับความคิดตะวันตก” ที่ไม่เอาทหารและสถาบันฯ ผู้คนที่รักชาติบ้านเมืองที่แท้จริง ซึ่งมีน้อยกว่าพวกแอบอ้างเอาเสื้อคลุมประชาธิปไตยมาสวมใส่ให้เท่ห์ พยายามศึกษาและนำเสนอ “ เนื้อหาประชาธิปไตย ที่เอาผลประโยชน์ของประชาชนมาก่อนรูปแบบ” แต่พลังของเสียงเรียกร้องเช่นนี้ “แผ่วเบา ไม่ดัง ไม่มีพลัง ที่จะให้ คนไทยที่ขาดคุณภาพมาหนุนเสริม” การนำเสนอ “ธรรมาธิปไตย ของท่านพุทธทาส” และแม้แต่ “ ทฤษฎีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ก็เบาบาง ไม่ได้รับการนำมาศึกษา เป็นแนวทาง นโยบายหลักของชาติ ที่ผู้นำรัฐบาลใดๆ จะมาสานต่อสืบทอดอย่างจริงจัง 6. “งมเข็มในมหาสมุทร” ค้นหาสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ เป็นสิ่งที่นักอุดมคติ พยายามจะหา พยายามจะทำ ในเรื่องประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบ ที่ต้องได้มาอย่างรวดเร็วทันใจ ผลก็คือ “ ไม่มีทาง ไม่มีวันได้เข็มมาสักเล่ม นึกถึง ยุคของการเปลี่ยนแปลง 2475 ที่คณะพลเรือนทหารฯ ที่นำความคิดความเจริญจากตะวันตกเข้ามาฯ ยุคของ 14 ตุลา 2516 ที่นักศึกษาประชาชน นำความคิดสังคมนิยม ประชาชนเป็นใหญ่ ฯลฯ การมีรัฐธรรมนูญ 2517 และ 2540 ที่ถูกกล่าวขานว่า เป็นฉบับประชาธิปไตย ฉบับประชาชน ฯลฯ 7. “เส้นผมบังภูเขา” เรื่องง่าย ๆ แต่คิดไม่ออก เหมือนมีอะไรมาบังอยู่ ขอยกมาสัก 2 เรื่อง คือ “ประชาธิปไตย” ที่มีนิยามชัดเจน คือ ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน มนุษย์เรา สามารถลิขิตชีวิตได้ และสร้างบ้านแปลงเมืองได้ ด้วยความรู้ สติปัญญา และความจริง 8. “ ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น “ ดูเหมือนรอบคอบถี่ถ้วนแต่ไม่รอบคอบถี่ถ้วนจริง ประหยัดในสิ่งที่ไม่ควรประหยัด ไม่ประหยัดในสิ่งที่ควรประหยัด. และการกระทำที่ดูเหมือนละเอียดรอบคอบแล้ว แต่ในความเป็นจริงยังไม่รอบคอบ ขาดความละเอียดถี่ถ้วน มีช่องโหว่เกิดขึ้น เช่น ช่วงนี้บ้านเมืองของเรา เป็นเป้าหมายของผู้ก่อการร้าย เจ้าหน้าที่จึงเข้มงวดกวดขันมากเป็นพิเศษ จะผ่านเข้า-ออกแต่ละครั้งจะมีการตรวจสอบหาอาวุธตามร่างกายโดยเฉพาะกับผู้ชาย ส่วนผู้หญิงเจ้าหน้าที่เกรงว่าจะไม่เหมาะสมในการตรวจสอบจึงละเว้น แบบนี้ก็เข้าทำนองถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็นชัดๆ หรือ การที่นักการเมือง นักวิชาการ กลุ่มเอนจีโอฯลฯ วิจารณ์รัฐบาลประยุทธ์ โดยขาดข้อมูลที่เป็นจริง และขาดการมองตามสภาพความเป็นจริง ที่ “ ไม่มีรัฐบาลใดที่สมบูรณ์แบบ” และขาดการเปรียบเทียบ กับรัฐบาลจากการเลือกตั้ง โดยเฉพาะยุคทุนมามานย์ แต่เอากรอบคิดสมบูรณ์แบบ มากำหนดความคิด โดยไม่ศึกษาความเป็นจริง ของ แนวทาง นโยบาย จังหวะก้าวขั้นตอน ที่จะต้องเป็นไป จากสภาพสังคมไทยที่วิกฤต สะสมปัญหามากมาย จากรัฐบาลนักเลือกตั้งที่ผ่านๆมา 9. “เข็นครกขึ้นภูเขา” ทำงานที่ยากลำบากต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนมาก งานการสร้างประชาธิปไตยไทย ที่เป็นเรื่องใหญ่ และการสร้างคนแบบปัจเจก ที่เป็นเรื่องเล็กลงมา เป็นงานที่ยากลำบากแสนเข็ญ เหมือนกับ “ เข็นครกขึ้นภูเขา” แต่สามารถทำสำเร็จได้ด้วย ปัญญา-ความเพียร ปัญญา ที่เกิดจากการศึกษาหาความรู้ แล้วนำมาปฏิบัติ สรุปแล้วสรุปอีก จนได้แก่นหรือหลักของความรู้ ความเพียร เป็นตัวหนุนที่สำคัญมาก ที่ทำให้ปัญญา ไม่ย่อท้อ แต่ผ่านความตั้งใจสูงสุด ที่นำไปสู่ความสำเร็จ 10. “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” เพียรพยายามสุดความสามารถจนสำเร็จ เป็นหลักแห่งปัญญา ที่รู้จักวิธีการฝนที่ถูกต้อง และหลักของวิริยะอุตสาหะ ทำให้เราทำสิ่งที่ยากที่สุดได้ โดยสรุป ปู่จิ๊บ ได้สรุปบทเรียน ที่ได้กล่าวมาทั้งหมด อย่างเป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง ทั้งในเรื่องของบ้านเมืองที่รักสุดชีวิต และชีวิตของตนเองครอบครัววงค์ตระกูล ที่รักสุดหัวใจ ทั้งปัจเจกของตนเองที่พัฒนาให้มีคุณภาพ มีความมุ่งมั่น มีความฝันอันสูงสุดคือ “ประชาธิปไตย” ของไทย