ชัยวัฒน์ สุรวิชัย • เรามาทำความเข้าใจเรื่อง สังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี วัฏสงสารหรือ สังสารวัฏ หรือ สงสารวัฏ คือการเวียนว่ายตายเกิด การท่องเที่ยวไปในอาการที่เป็นวัฏฏะ การหมุนวนอยู่ในการเวียนว่ายตายเกิด • อวิชชาและตัณหา : เป็นตัวการที่ทำให้บุคคลต้องเวียนว่ายตายเกิด ท่องเที่ยวเร่ร่อนไปในสังสารวัฏ "อวิชชา" หมายถึงความไม่รู้แจ้งในสัจธรรม ท่านชี้ไปที่ความไม่รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ได้แก่ ความไม่รู้แจ้งในทุกข์ ไม่รู้แจ้งในเหตุให้เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทัย) ไม่รู้แจ้งในความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธ) และไม่รู้แจ้งในข้อปฏิบัติทีนำไปสู่ึความดับทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) ถ้ารู้แจ้งในอริยสัจทั้ง 4 ประการนี้ การท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏก็สิ้นสุดลง แต่เพราะไม่รู้แจ้งในอริยสัจ 4 จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดไปไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนตันหาได้แก่ความทะยานอยาก หมายถึงตัณหา 3 อย่าง คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา หรือตัณหา 6 คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และธัมมตัณหา ทั้งอวิชชาและตัณหา เป็นกิเลสอันเป็นสิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ตามทรรศนะของพุทธศาสนาตราบใดที่มนุษย์ยังไม่สามารถทำลายกิเลสให้หมดไปจากจิต การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏก็ยังมีอยู่ตราบนั้น สรุป มนุษย์สามารถลิขิตชีวิตได้ คือ 1. ต้อง ขจัด “อวิชชา” ด้วยการศึกษาหาความรู้ อย่างมีสติปัญญาความจริง 2. ต้องทำลาย ความทยานยาก “ตัณหา” ในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพื่อ นำชีวิตไปสู่สิ่งที่ถูกต้อง ชอบธรรม พอดีฯ • การศึกษาเรียนรู้ มี 2 แบบ 1. การเรียนจากผู้รู้ที่มาก่อน คือ พ่อแม่ ตรูบาอาจารย์ พระหรือนักบวช บุคคลอื่นๆและตำราต่างๆ 2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งจะเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตอย่างสูง เพราะ เราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาฯ • การเรียนรู้แบบแรก คงเป็นที่รับรู้และเข้าใจ ของผู้คนที่อยู่ในระบบนี้ อยู่แล้ว จึงจะขอผ่านไป สู่ แบบที่ 2 • การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning) ( เรียงเรียงจาก ข้อเขียนของ สายสุดา ขันธเวช ) ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงที่ทั่วโลกเต็มไปด้วยข่าวสารและข้อมูลต่างๆ ที่ล้วนส่ง ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการตัดสินใจของผู้คนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้ที่สามารถเข้าถึง และมีความแม่นตรงของข่าวสารและข้อมูลมากกว่าย่อมตัดสินใจในสิ่งต่างๆ ได้ อย่างเหมาะ สมและถูกต้อง การรับรู้ข่าวสารและข้อมูลเหล่านี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตบน พื้นฐานของการเรียนรู้ด้วยตนเองการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนริเริ่มการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ความต้องการ และความถนัดมีเป้าหมาย รู้จักแสวงหาแหล่งทรัพยากรของการเรียนรู้ เลือกวิธีการเรียนรู้ จนถึงการประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเอง โดยจะดำเนินการด้วยตนเองหรือร่วมมือช่วยเหลือกับผู้อื่นหรือไม่ก็ได้ • วัตถุประสงค์การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นคุณลักษณะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตที่มีประสิทธิภาพ ในปัจจุบัน ที่จะต้องมีส่งเสริมให้บุคคลมีคุณลักษณะของการชี้นำตนเองในการเรียนรู้เพื่อให้ บุคคลมีประสบการณ์ และมีศักยภาพในการแสวงหาความรู้เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาตลอดชีวิตต่อไป การเรียนรู้ด้วยตนเองมีแนวคิดพื้นฐานมาจากทฤษฎีกลุ่มมานุษยนิยม (Humanism) ซึ่งมีความเชื่อเรื่องความเป็นอิสระ และความเป็นตัวของตัวเองของมนุษย์ มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับความดีมีความเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเองสามารถหาทางเลือกของตนเอง มีศักยภาพและพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างไม่มีขีดจำกัดมีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น • การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีกระบวนการ ดังต่อไปนี้ 1. การประเมินความต้องการของตนเอง (Assessing Needs) 2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Setting goals) 3. การกำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ (Specifying learning content) โดยกำหนดระดับความยากง่าย ชนิดของสิ่งที่ต้องการเรียน แหล่งทรัพยากร ประสบการณ์ ที่จำเป็นในการเรียน 4. การจัดการในการเรียน โดยกำหนดปริมาณเวลาที่ต้องการให้อาจที่ควรใช้ การเริ่มต้น และการสิ้นสุด ฯลฯ 5. การกำหนดขอบเขตบทบาทของตนเอง และ ผู้ช่วยเหลือ ( ที่มีความรู้จริง ในเรื่องที่เราต้องการเรียนรู้ ) 6. ควรจะต้องแสวงหา “ เพื่อนแท้ เพื่อนร่วมคิดที่เหมาะสมในแต่ละเรื่อง “ เพื่อจะได้ช่วยกันคิดวิเคราะห์ 7. มีความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมี “ การปฏิบัติที่เป็นจริง “ ด้วยเสมอ จึงจะทำให้เกิดความสมบูรณ์ 8. ประเมินผลการเรียน กาFeedbackที่จะใช้วิธีการประเมินความถูกต้องและการติดตามประเมินผล • รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ซึ่งควรจะต้องให้สอดคล้องกับตัวเอง ที่จะได้ผลจริง โดยต้องมีระบบการบันทึกด้วย • ลักษณะของผู้ที่มีการเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น มีความสมัครใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง รู้ "วิธีการที่จะเรียน" (Know how to Learn) สิ่งที่เป็นตัวกำหนดคือ ความสามารถและความตั้งใจของบุคคล ความคิดเชิงบวก มีเป้าหมาย • วิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์(Methods of acquiring knowledge)ความรู้ต่างๆของมนุษย์ประกอบด้วยข้อเท็จจริงและทฤษฎีต่างๆ ซึ่งเมื่อมนุษย์มีความรู้ความเข้าใจ สามารถที่จะอธิบาย ควบคุมหรือพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆในสถานการณ์ที่กำหนดให้ได้ การแสวงหาความรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยสติปัญญาและการฝึกฝนต่างๆ วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ที่ดีในการแก้ ปัญหาต่างๆ วิธีการทางวิศวกรรมศาสตร์ ( Engineering method ) คือ Input Process Output • ทักษะการสร้างปัญญา เพื่อนำไปสู่การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองมี 10 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ทักษะการสังเกต คือ การสังเกตสิ่งที่เราเห็น สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งที่เราจะศึกษา โดยสังเกตเกี่ยวกับแหล่งที่มาความเหมือน ความแตกต่าง สาเหตุของความแตกต่าง ประโยชน์ และผลกระทบ วิธีฝึกการสังเกต คือ การฝึกสมาธิ เพื่อให้มีสติ และทำให้เกิดปัญญา มีโลกทรรศน์ มีวิธีคิด 2.ทักษะการบันทึก การบันทึกทุกครั้งที่มีการสังเกต มีการฟังหรือมีการอ่านเป็นการพัฒนาปัญญา 3.ทักษะการนำเสนอ คือ การทำความเข้าใจในเรื่องที่จะนำเสนอให้ผู้อื่นรับรู้ได้ ดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ จน 4.ทักษะการฟัง คือ การจับประเด็นสำคัญของผู้พูด สามารถตั้งคำถามเรื่องที่ฟัง 5. ทักษะการถาม คือ การถามเรื่องสำคัญ ๆ การตั้งคำถามสั้น ๆ เพื่อนำคำตอบมา เชื่อมต่อให้สัมพันธ์กับสิ่งที่เรารู้แล้วมาเป็นหลักฐานสำหรับประเด็นที่กล่าวถึง 6.ทักษะการตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม คือ การตั้งสมมติฐาน และตั้งคำถาม สิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ทำอย่างไรจึงจะสำเร็จได้ การฝึกตั้งคำถาม ที่มีคุณค่าและมีความสำคัญ ทำให้อยากได้คำตอบ 7.ทักษะการค้นหาคำตอบจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น จากหนังสือ อินเทอร์เน็ต คุยกับคนมีประสบการณ์ ฯ 8.ทักษะการทำวิจัยสร้างความรู้ การวิจัยเพื่อหาคำตอบเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการเรียนรู้ทุกระดับ การวิจัยจะทำให้ค้นพบความรู้ใหม่ ทำให้เกิดความภูมิใจ สนุก และมีประโยชน์มาก 9.ทักษะการเชื่อมโยงบูรณาการ คือ การเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนรู้มาให้เห็นภาพรวมทั้งหมด มองเห็นความงดงาม มองให้เห็นตัวเอง ไม่ควรให้ความรู้นั้นแยกออกเป็นส่วน ๆ 10.ทักษะการเขียนเรียบเรียง คือ การเรียบเรียงความคิดให้ประณีตขึ้น โดยการค้นคว้า หาหลักฐานอ้างอิง เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญ และเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ของผู้อื่นในวงกว้างออกไป • ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructivism) เป็นทฤษฎี ที่อธิบายถึง การได้มาซึ่งความรู้ และนำความรู้นั้นมาเป็นของตนได้อย่างไร • สรุป การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีคุณค่าและประโยชน์มาก ต่อการพัฒนาความรู้ความคิด สติปัญญาของตัวเรา หากสังเกต คนที่เรียนเก่ง ทำงานเก่ง และผู้ประสบความสำเร็จ เป็นผู้นำในวงการต่างๆ ล้วนแล้วแต่ “ เป็นคนที่เรียนรู้ด้วยตนเอง “ ทั้งอาจจะมีหลักการที่ดีเฉพาะตัว หรือใช้หลักการทั่วๆไป การเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นทั้งกระบวนการ และเป้าหมาย กระบวนการ คือ การเริ่มต้น พัฒนา ( การก้าวหน้าไป หรือ ความล้มเหลว แต่ไม่ยอมแพ้ สู้จนสำเร็จ ) การเริ่มต้น สามารถทำได้ทุกเวลาและโอกาส คือ บางคนเริ่มมาตั้งแต่เด็ก แต่บางคนมาเริ่มต้นเมื่อเป็นผู้ใหญ่ บางคนเริ่มต้นใหม่ จากความล้มเหลวที่ผ่านมา หรือ มีโอกาสเงื่อนไขใหม่ ที่จะต้องทำ มิฉะนั้น แย่หรือตายแน่ๆ แต่ความเป็นจริง คนเริ่มต้น เมื่อมีความจำเป็นต้องทำ ( ถูกบังคับให้ทำ ) ซึ่งมิใช่ปัญหา สิ่งสำคัญ เมื่อ มีการเริ่มต้นแล้ว ทำไปแล้ว , จะต้องทำความเข้าใจ และสรุปบทเรียน แล้วมาสร้าง “ บทเรียน ที่สอดคล้องกับตนเอง “ แล้วพัฒนา ต่อไป ให้สามารถเป็นบทเรียนที่ใช้ได้กับผู้อื่นฯ การมีเป้าหมาย มีความสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้เรา “ มีการเริ่มต้นได้จริง “ ยิ่งเป้าหมายยิ่งสูง ยิ่งมีประโยชน์ต่อส่วนรวม จะทำให้เรา มีความตั้งใจสูงขึ้น เอาจริงมากขึ้น. ชีวิตของปู่จิ๊บ แม้จะทำได้ดีมาเรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้ง จนมาถึงช่วงหลังๆ ที่มีอายุมากขึ้น แล้วมาสรุปบทเรียนของชีวิตที่ผ่านมา เพื่อจะทำอะไรให้ได้อย่างจริงจังทำให้เวลาที่เหลืออยู่น้อยนิดของเรา ได้ทำอะไรที่ตรงเป้า มีประโยชน์มีคุณค่าและความหมายมากขึ้น