แสงไทย เค้าภูไทย ยุโรปพากันแตกตื่นเมื่อทุนจีนเข้าไปซื้อกิจการดักเส้นทางสายไหมใหม่ ขณะที่ไทยและอาเซียนยังไม่เอะใจว่า ว่าจีนกำลังเคลื่อนลงใต้ ทุนจีนเข้าไทยเงียบๆผ่านสินค้าราคาถูกและกิจการท่องเที่ยวที่มารองรับนักท่องเที่ยวจีน หลายชาติหวั่นทางรถไฟความเร็วสูงจะพาสินค้าทะลักท่วมไทย อาเซียนและอินเดีย โดยเฉพาะอินเดีย ขณะนี้ตื่นตัวและตื่นตระหนกมากเมื่อสินค้าจีนทะลักเข้าไปท่วมตลาดเมืองใหญ่ๆ ถึงขนาดรัฐบาลเร่งระดมทุนพ่อค้า นักธุรกิจอุตสาหกรรมออกมาต้านทุนจีนเป็นการใหญ่ ส่วนภาคประชาชน มีการรณรงค์ชี้แจงให้ชาวอินเดียแยกแยะว่าไหนคือสินค้าทำในอินเดีย ไหนเป็นสินค้าจากจีน รวมทั้งปลุกสำนึกรักชาติ รักสินค้า Indian Made ต่างจากไทย ที่ยังเงียบเฉย ทั้งๆสินค้าจีนเทคโลยีท่วมตลาดคลองถม เสื้อผ้าท่วมตลาดสำเพ็ง โบ๊เบ๊ พาราเดี้ยมกระจายไปสู่ตลาดนัดและต่างจังหวัดยังไม่นับเครื่องครัว เครื่องใช้ในครัวเรือน ผลไม้สด ผลไม้แห้ง ย่านที่พักแหล่งชุมนุมนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งถนนข้าวสาร เยาวราช สุขุมวิท รัชดาภิเษก ฯลฯ ล้วนมีทุนจีนเข้ามาตั้งกิจการเพื่อบริการนักท่องเที่ยวของตน อย่างเช่นแยกห้วยขวางเป็นต้น ร้านอาหารจีน ร้านนวด ร้านบริการนำเที่ยว เต็มไปด้วยป้ายชวนใช้บริการและชื่อร้านเป็นภาษาจีน มีข่าวอยู่บ่อยๆเรื่องทุนจีนเข้ามาซื้อหรือเช่าที่ดินย่านเชียงราย เชียงของ ซำเหนือ ฯลฯ เพื่อปลูกผลไม้ที่คนจีนนำเข้าจากไทยและย่าน 4 ชาติอินโดจีนคือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม ที่ใช้อักษรแรกของชาติเหล่านั้น ย่อมาเป็นชื่อเรียกกลุ่มประเทศคือ CLMV การที่จีนส่งเสริมอุตสาหกรรมหนักมาก เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้จีนต้องนำเข้าวัตถุดิบมาก โดยเฉพาะยางดิบเพื่อผลิตยางรถยนต์และอุปกรณ์ภายในรถยนต์มากรัฐบาลจีนทุ่มเทกับอุตสาหกรรมอาหารอย่างหนัก ทั้งเพื่อเลี้ยงประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดในโลกและเพื่อการส่งออก ทำให้ต้องนำเข้าน้ำมันปาล์มปริมาณมหาศาลสินค้าที่จีนนำเข้าจำนวนมากๆ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร นายทุนีจะปลูกเพื่อทดแทนการนำเข้า เช่นยางพารา ปาล์มน้ำมัน กล้วยหอม ทุเรียนฯลฯโดยนายทุนจะเช่าหรือซื้อที่ดินที่ติดชายแดนด้านใต้ของจีนผ่านนอมินีชาวเมืองนั้นๆ โดยรัฐบาลท้องถิ่นให้ทุนสนับสนุน ทุนจีนทำเกษตรแบบไม่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้วยเห็นว่า ไม่ใช่บ้านของตน ทำให้มีการใช้สารเคมีมาก บางแห่งมากเสียจนชาวบ้านใกล้เคียงทนไหว เรียกร้องให้รัฐบาลของตนเข้ามาดูแล เมื่อปลายปีที่ผ่านแล้ว รัฐบาลลาวสั่งยกเลิกสัญญาเช่าที่ดินปลูกกล้วยหอม ส้มและผลไม้ต่างย่านซำเหนือ ด้วยเหตุผลว่า มีการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชและแมลงเบียนมากและขาดการควบคุม สารพิษเหล่านั้นแพร่ลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งบนดินและใต้ดิน จนชาวบ้านเจ็บป่วยและขาดแคลนน้ำสะอาด สำหรับไทย ทุนจีนแทรกซึมไปแทบทุกอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ หัตถกรรมพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ตำบล อุตสาหกรรมขนาดย่อมฯลฯ ล้วนถูกสินค้าราคาถูกจากจีนเข้ามาตีตลาด สินค้าจีนเป็นสินค้าด้อยคุณภาพ เพราะผลิตครั้งละมากๆ เพื่อลดต้นทุน กดราคาให้ต่ำ แต่เน้นดีไซน์ เพราะทำวิจัยแล้ว พบว่า ราคาและดีไซน์หรือรูปแบบสินค้าเป็นเครื่องจูงใจลูกค้าระดับล่างๆที่เป็นกลุ่มลูกค้าจำนวนมากที่สุดเหนือกว่าคุณภาพ ประโยชน์ใช้สอยและมาตรฐานสินค้า คนไทยแม้จะไม่นิยมของจีน แต่เพราะราคาถูกและมีดีไซน์แปลกใหม่ ทันยุคทันสมัย ทำให้ซื้อหามาใช้ ทั้งๆที่สินค้าบางชิ้นไมมีความจำเป็นต้องใช้ผลไม้จีน เช่นส้มจิ๋ว แอปเปิล พลับ แพร์ฯลฯ เคลือบสารโพลีเมอร์เช่นสารอะลาร์ทำให้อยู่นานไม่สุก เน่าเสียแม้จะเก็บไว้นอกตู้เย็นเป็นสัปดาห์ๆ นอกจากนี้ สินค้าเครื่องเหล็ก เครื่องจักรของจีนก็ใช้กลยุทธตลาดเดียวกันกับสินค้าครัวเรือนและเครื่องใช้ส่วนตัวความที่จีนมีประชากรหนาแน่น ทำให้อุตสาหกรรมจีนสามารถผลิตสินค้าได้ครั้งละมากๆเพื่อป้อนประชากรของตนและส่งออก ทำให้ต้นทุนผลิตต่ำแม้การขนส่งสินค้ามาทางบกจะไม่สะดวก แต่การใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางผ่าน ก็ทำให้สินค้าจีนมาถึงปลายทางได้ถึง5 ชาติ คือเมียนาร์ ลาว ไทย กัมพูชาและเวียดนาม แต่เมื่อใดที่ยุทธศาสตร์ One Belt,One Road “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ของจีนบรรลุเป้าหมาย เมื่อนั้นจีนจะกลายเป็นเจ้าโลกในด้านการค้า ถือเป็นยุทธศาสตร์เปลี่ยนแปลงโลกในด้านเศรษฐกิจครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์โลก จีนเตรียมงบประมาณเพื่อการสร้างเส้นทางเชื่อมโยงจีนทางเหนือกับยุโรป ทางใต้กับอาเซียนและอินเดียเป็นเงิน 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สรอ.หรือ 45 ล้านล้านบาทเฉพาะไทยนั้น เส้นทางเริ่มต้นที่คุนหมิง ลงมาสปป.ลาวผ่านหลวงพระบางแยกเป็น 2 สาย สายหนึ่งลงมาไทย ข้ามแม่น้ำโขงที่หนองคาย ไปสู่ชุมทางแล้วแยกไปท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังสายหนึ่ง ลงไปกรุงเทพฯอีกสายหนึ่งเพื่อลงใต้ไปเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงของสิงค์โปร์กับมาเลเซียที่ลงมือสร้างตั้งแต่ปี 2010 มาจ่อเตรียมเชื่อมปาดังเบซาร์ของไทยแล้ว อีกสายแยกไปเวียดนามมุ่งโฮจิมินห์ซิตี้ จุดหมายปลายทางคือท่าเรือน้ำลึกโฮจิมินห์( Port of Ho Chi Minh City)การที่จีนตั้งเป้าสร้างทางลงไปสู่เมืองท่าของเวียดนามกับไทยนั้น มีสองเป้าหมาย เป้าหมายหนึ่ง ใช้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นจุดระบายสินค้าไปยังชาติอาเซียน เป้าหมายที่สอง ใช้ท่าเรือโฮจิมินห์ ส่งสินค้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก ไปสู่ท่าเรือ Port of Atlanta ขอ ฝั่งอเมริกาได้โดยสะดวก สำหรับปลายทางสิงคโปร์นั้น สามารถส่งสินค้าไปยังประเทศย่านเอเชียใต้ที่อยู่บนฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และยังข้ามไปยังประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียและตะวันออกกลางได้ด้วยเมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เกิดคำถามว่า ไทยได้อะไรกับเส้นทางสายนี้ ? คำถามนี้เคยเกิดกับลาวมาแล้ว ทำให้การลงนามในสัญญาสร้างทางรถไฟสายนี้ต้องชะงักไปหลายเดือนเพราะดูแล้ว ประเทศลาวและคนลาวไม่ได้อะไรจากรถไฟสายนี้เท่าใดนัก เทียบกับประโยชน์ที่จีนจะได้รับ แล้วต่างกันลิบลับ เนื่องจากลาวเป็นแต่เพียงประตูไปสู่อาเซียนให้จีนเท่านั้น จนเมื่อจีนยอมทำสัญญาสร้างทางให้ฟรีและตกลงจ่ายค่าผ่านแดนรวมถึงความช่วยเหลือทางอื่นๆนั่นแหละ ลาวถึงยอมจัดพิธีลงนามในสัญญา ถ้าเราจะถามจีนด้วยคำถามเดียวกันกับลาว จะได้ไหม ?คงจะยาก เพราะยังไม่เห็นใครหน้าไหนในรัฐบาลนี้ กล้าหาญชาญชัยแบบผู้นำรัฐบาลลาวสักคนมีแต่พวกปากดี ปากเก่ง ที่ดีแต่เก่งกับคนไทยด้วยกันเท่านั้น