• 3 ตอนที่กล่าวมา ปู่จิ๊บ ใช้เวลาในการขึ้นไปที่สูง หลังจากเดินสัมผัสแม่น้ำทะเล และลงสู่เหวลึก สรุปบทเรียน ตอนแรก : เสียดายวันเวลาที่ผ่านมาในชีวิต เกือบ เจ็ดสิบปี : ที่ใช้ได้ไม่เต็ม 100 ของความสามารถที่มี เพราะ เพิ่งจะมารับรู้แบบซึ้มซาบ ( รู้จริง ) เรื่อง “ชีวิต “ เมื่อไม่นาน ……… ราว 10 ปีมานี้ ที่ผ่านมา ก็ผ่านขั้นตอนของ กระบวนการรับรู้ ปฏิบัติถูก-ผิด มาเป็นช่วงๆ ค่อยๆรู้มากขึ้น เข้าใจมากขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน แล้วค่อยๆมาสรุปบทเรียน “ อะไรถูก อะไรผิด “ ทำอย่างไร ให้ตรงเป้าถูกทิศถูกทาง ตอนสอง : ได้ทำความเข้าใจเรื่อง สังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ตอนสาม : ทำความเข้าใจ คุณค่าและความหมายของ การมีชีวิต และความตาย ก่อนที่จะคิดทำอะไร • ตอนนี้ เราจะเข้าสู่ “ ความคิดของมนุษย์ “ ความคิด จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี โดยทั่วไป ความคิด หมายถึง กิจกรรมทางจิตใจหรือทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับจิตสำนึกเฉพาะคน ความคิดยังอาจหมายถึงกระบวนการคิดหรือลำดับแง่คิด ในทำนองเดียวกัน กรอบความคิด หมายรวมถึง กระบวนการการรับรู้ การรับรู้ความรู้สึก ความมีจิตสำนึก และจินตนาการ การทำความเข้าใจถึงจุดกำเนิดที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม กระบวนวิธี และผล เป็นเป้าหมายที่นักวิชาการจำนวนมาก เช่น นักชีววิทยา นักปรัชญา นักจิตวิทยา และนักสังคมวิทยา ตั้งไว้ เนื่องมาจากความคิดนั้นเป็นหลักพื้นฐานรองรับการกระทำและปฏิกิริยาของมนุษย์ การคิดทำให้มนุษย์สามารถเข้าใจโลกหรือออกแบบชีวิตได้แตกต่างกัน ทั้งยังทำให้นำเสนอหรือแปลความหมายสิ่งต่าง ๆ ไปตามความหมายที่เขาเข้าใจ หรือเชื่อมโยงไปถึงความต้องการ ความปรารถนา ข้อผูกมัด วัตถุประสงค์ แผน และเป้าหมายของเขาได้ • คำถาม ทำไมมนุษย์ถึงมีความคิด ความคิดนั้นเกิดจากอะไร? ความคิดของมนุษย์ นั้นเกิดจากอะไร คำตอบ การคิด หมายถึง พฤติกรรมภายในที่เกิดจากกระบวนการทำงานของสมอง ในการรวบรวมจัดระบบข้อมูลและประสบการณ์ต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นรูปร่างหรือมโนภาพที่เป็นเรื่องราวขึ้นในใจและสื่อสารออกมา โดยใช้คำพูดหรือแสดงออก การใช้ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อการดำเนินชีวิต ผู้ที่มีความคิดเฉียบแหลม ทันสมัย ไม่เหมือนใคร คิดได้ก่อนใครจะเป็นผู้ที่ได้เปรียบในทุก ๆ ด้าน สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและประสบผลสำเร็จทั้งในชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ความคิดของมนุษย์เป็นผลที่เกิดจากกลไกของสมองซึ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และเป็นไปตามธรรมชาติ ผลของการใช้ความคิดจะแสดงให้เห็นในลักษณะของการสรุปเป็นความคิดรวบยอด การจำแนกความแตกต่าง การจัดกลุ่ม การจัดระบบการแปลความหมายของข้อมูล รวมทั้งการสรุปอ้างอิง การเชื่อมโยงสัมพันธ์ของข้อมูลต่าง ๆ อาจเป็นความจริงที่สัมผัสได้ หรือเป็นเพียงจินตนาการที่ไม่อาจสัมผัสได้ ดังนั้น สมองจึงควรได้รับการฝึกฝนและพัฒนาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและ คุณภาพของสมองมิได้อยู่ที่การมีสมองเท่านั้น แต่อยู่ที่การใช้สมองเป็นสำคัญ การฝึกทักษะกระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่เยาวชนควรได้รับการพัฒนาเพื่อให้เกิดความเจริญเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ( guru.sanook.com ) • กระบวนการคิดของมนุษย์ 1. ความหมายของการคิด เป็นกระบวนการทางสมอง มี 2 ลักษณะ คิดอย่างมีจุดหมายและไม่มีจุดหมาย 2. เหตุของการคิด คือ สิ่งเร้าที่เป็นปัญหา สิ่งเร้าที่เป็นความต้องการ และ สิ่งเร้าที่ชวนสงสัย สิ่งเร้าที่เป็นปัญหา เป็นประเภทสถานการณ์เหตุการณ์ หรือสภาวะที่มากระทบแล้ว ต้องทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่ทำให้ปัญหานั้นลดลงหรือหมดไป แต่ไม่อาจทำได้โดยวิธีง่ายๆ จึงทำให้อยู่ในสภาพตัดสินใจไม่ได้ ไม่มีทางเลือก ไม่มีวิธีการในการปฏิบัติ สภาพการณ์อยู่ในอันตราย หรือ สภาพการณ์สู่ทางไม่ดี เป็นต้น จึงจำเป็นต้องคิด(have to think)เพื่อแก่ที่ปัญหานั้น สิ่งเร้าที่เป็นความต้องการ เป็นความต้องการสิ่งที่ดีขึ้นดีกว่าเดิม เช่น ทำได้เร็วขึ้น ทำได้ง่ายขึ้น ลงทุนน้อยลง ผิดพลาดน้อยลง ปลอดภัยมากขึ้น ฯลฯ จึงต้องการการคิด (want to think)มาเพื่อทำให้ความต้องการหมดไป สิ่งเร้าที่ชวนสงสัย เป็นสิ่งเร้าแปลกๆใหม่ๆ ที่มากระตุ้นให้สงสัยอยากรู้ หรือ เกิดจากบุคลิกภาพประจำตัว ที่เป็นผู้ช่างคิดช่างสงสัย เมื่อกระทบสิ่งเร้าก็เกิดความสงสัย ทำให้ต้องการคำตอบ 3. คุณค่าของการคิด ทำให้สามารถตอบคำถามบางประการได้ ทำให้ได้วิธีการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาหรือลดความต้องการซึ้งดีกว่าวิธีการที่ปล่อยไปตามธรรมชาติ(เป็นไปตามการสุ่ม)หรือวิธีลองผิดลองถูก การคิดที่มีคุณภาพ จะให้ผลของการคิดที่มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ลดเวลา ทรัพยากรในการแก้ปัญหา การคิดที่ดี ช่วยให้มีการดำเนินชีวิตที่ดี ถูกต้อง และมีคุณค่า 4. ผลของการคิด คือ คำตอบ ,วิธีการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปแก้ปัญหาทำให้ความต้องการความสงสัยลดลงไปหรือหมดไป หนึ่ง. บทสรุปหรือคำตอบที่ต้องการ สอง. แผนปฏิบัติงานหรือขั้นตอนการปฏิบัติงาน สาม. แนวคิดใหม่ๆความรู้ใหม่ๆทางเลือกใหม่ๆสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ สี่. วิธีการในการแก้ปัญหา ห้า. ข้อตัดสินใจ หก. ความเข้าใจที่สามารถอธิบายได้ เจ็ด. การทำนายหรือคาดการสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 5. กลไกลทางสมองกับการพัฒนาความคิดของมนุษย์ สมอง เป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายที่เป็นศูนย์รวมของระบบประสาท และเป็นศูนย์กลางในการควบคุม และ จัดระเบียบในการควบคุม และจัดระเบียบในการทำงานทุกชนิดของร่างกาย สมองจึงเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เราจะไม่สามารถคิดอะไรได้เลย ถ้าสมองเราไม่ทำงาน ความคิดต่างๆก็เกิดขึ้นมาได้ก็เป็นผลมาจากการทำงานของเครื่องจักรที่อยู่ในสมองเราที่เป็นเซลล์ เป็นเนื้อเยื้อ คือเซลล์ประสาทร้อยล้านล้านเซลล์ ทำให้เรารับความรู้สึกสัมผัสต่างๆได้ทำให้เราเรียนรู้ได้ ทำให้เราเก็บความจำได้ แล้วจากข้อมูลที่เป็นความจำ มาเป็นการเรียนรู้ของเรานั้นเอง ทำให้เรามีความรู้สึกต่างๆ ที่เข้าไปสู่ประสารทสัมผัสทำให้เราตัดสินใจและมีพฤติกรรมตอบสนองออกมา (นัยพินิจ คชภัคดี,2534:4-5)สมอง 2 ซีก คือ สมองซีกซ้าย กับ สมองซีกขวา สมองทั้งสองซีกทำงานพร้อมๆกัน แต่ทำหน้าที่ต่างกันบางเรื่องสมองซีกซ้าย มีการทำงานเกี่ยวกับการใช้เหตุผล คณิตศาสตร์ การคิดวิเคราะห์ การจัดระบบระเบียบ กิจกรรมทางด้านภาษา การเขียน ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานในสายวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ และเป็นตัวควบคุมการกระทำ การฟัง การเห็น และการสัมผัสต่างๆ ของร่างกายทางซีกขวา สมองซีกขวาทำงานเกี่ยวกับกิจกรรมด้านสุนทรียศิลป์ ได้แก่ นาฏศิลป์ ศิลปะ ดนตรี ด้านการรับรู้ในภาพรวมด้านจินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ด้านอารมณ์ ด้านนามธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ซึ่งเป็นลักษณะการทำงานในสายศิลปะศาสตร์เป็นส่วนใหญ่และยังเป็นตัวควบคุมร่างกายทางซีกขวา 6. ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนาของสมอง 1.พันธุกรรม มนุษย์ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ดังนั้นสมองจึงมีส่วนมาจากพันธุกรรมของพ่อแม่ ฯลฯ 2.อาหาร เป็นสิ่งที่ร่างกายใช้ในการเจริญเติบโต การสร้างเซลล์ใหม่หรือขยายเซลล์ในร่างกาย เช่น โปรตีน การขาดสารอาหารนอกจากมีผลทางร่างกายแล้วยังมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วย (นัยพินิจ คชภักดี,2534:27) 3.สิ่งแวดล้อม มีผลต่อการพัฒนาสมองของมนุษย์ เรื่องพันธุกรรมนั้นเป็นสิ่งที่ติดตัวมาแล้วตั้งแต่เกิดไม่สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก่ไขได้ อาหาร และสิ่งแวดล้อม ที่เป็นปัจจัยที่มนุษย์สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก่ไข และพัฒนาของสมองได้ • การใช้ภาษาเพื่อพัฒนาความคิด 1. บทบาทของภาษาในการพัฒนาความคิด มนุษย์เราสามารถแสดงความคิด โดย 1. การกระทำ 2. การใช้ภาษา มีประโยชน์คือการสร้างความเข้าใจกับผู้อื่น และการพัฒนาความคิดของตัวเรา ให้แจ่มชัดและแหลมคม • 2. วิธีการวิเคราะห์ วิธีคิดเชิงวิเคราะห์ วิธีคิดเชิงสังเคราะห์ วิธีคิดเชิงประเมินค่า • 3. หลักการสำคัญของการคิดเพื่อแก้ปัญหา 1 ) ทำความเข้าใจลักษระของปัญหา และวางขอบเขตของการแก้ปัญหา 2) พิจารณา สาเหตุของปัญหา 3) รู้สภาพแวดล้อมของปัญหา 4 ) กำหนดเป้าหมาย 5 ) เลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่ต้องเป็นไปได้จริง • โดยสรุป เมื่อเรารู้ และเข้าใจ “ ความคิดของมนุษย์ “ ซึ่งมีหลักที่สำคัญ คือ “ ความคิดสามารถพัฒนาได้ “ ทั้งตามหลักของพุทธศาสนา และหลักของวิทยาศาสตร์ชีวิต ซึ่ง “ ความคิด “สามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา พัฒนาจากการเรียนรู้ การปฏิบัติ และการเข้าร่วมกระบวนการเปลี่ยนแปลงพัฒนา โดยการเอาจริง เอาใจจดจ่อ มีความเพียร ทำอย่างต่อเนื่อง และอย่างมีเป้าหมาย