ชัยวัฒน์ สุรวิชัย 1.วีรชน คือ คนที่ได้รับการยกย่องว่ากล้าหาญ ผู้ที่ได้เสียสละเพื่อประชาชนและประเทศชาติ ในการต่อสู้เพื่อเอกราชประชาธิปไตยของทุกประเทศ มีเงื่อนไขที่ทำให้เกิดวีรชนเสมอ ไม่ว่าจะในระดับโลกระดับประเทศระดับท้องถิ่น เราก็ได้มีผู้เสียสละ ที่มีเกียรติเสมอมา สำหรับประเทศไทย มีเหตุการณ์การต่อสู้ของประชาชน 14 ตุลาคม 2516, 6 ตุลาคม 2519 17 พฤษภาทมิฬในปี 2535 เหตุการณ์ 7 ตุลาคม ปี 2551 ผู้ที่ได้ร่วมต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ อย่างกล้าหาญ และเสียสละชีวิต เสียสละร่างกาย คือวีรชน ” และทุกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์เหล่านี้ ล้วนมีความสำคัญ โดยมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันมา อย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถแยกออกจากกันได้ และเป็นเรื่องที่ต้องการเกิดขึ้นในประเทศที่ผู้นำเป็นคนส่วนน้อย ใช้อำนาจเผด็จการทหาร ใช้กลไกรัฐ ทหารตำรวจ หรือเผด็จการรัฐสภา “โดยความรุนแรงทั้งหมดเริ่มต้นจากการที่ชนชั้นปกครองใช้กำลังตอบโต้กับประชาชนที่ต้องการ รักษาปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน-ประเทศ และลุกขึ้นมาเรียกร้องแสวงหาความเป็นธรรม” และประชาชนไทย จะต้อง “ มิให้ วีรชน ต้องเสียสละไปอย่างไร้ค่า หรือ สูญเปล่า “ อย่างเด็ดขาด เราต้องกอบกู้ “วีรภาพและวีกรรมของวีรชน “ไปจนกว่า รัฐบาลจะยอมรับให้เกียรติสูงส่งแก่เขา มีประโยคที่งดงามต่อความหมายวีรชน “ ความสำเร็จของวีรชน คือการมีวีรกรรมเหนือวาทกรรม” ความจริง ต้องมีมาตรฐานเข้มงวดสำหรับ บุคคลที่เสียสละ เพื่อชาติประชาชน ที่เรียกว่า “ วีรชน” เพราะบางกรณี บางคน ได้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ แต่มิได้เกิดจากการเข้าร่วมต่อสู้อย่างแท้จริง . เจ็ดตุลา รำลึก คำร้อง-ทำนอง : ศรัณยู วงษ์กระจ่าง ดนตรี : สมิธ บัณฑิต เหมือนเพิ่งผ่านวันนั้น...ไม่นาน เหมือนเมื่อวาน เพิ่งยิ้มให้กัน เหมือนเพิ่งจับมือเรา กับเขาเหล่านั้น ไม่นาน ยังจำได้ดี ภาพวันเก่า...ยังจำฝังใจ เสียงร้องไห้ ร่ำร้อง เรียกกัน ทุกเรื่องราวของเขา กับเรา วันนั้น ไม่มีวัน ลบ เลือน เลย * ที่มีวันนี้ เพราะเราผ่านวันนั้น ที่เขาเหล่านั้น ล้มลง หากในวันนั้น ไม่มี เขาคง วันนี้จะยืนยง อย่างไร จะร้องเพลงนี้ อย่างนี้ ต่อไป ให้รับให้รู้กันไว้ อีกนาน ส่งเสียง กู่ร้อง กึกก้อง กังวาน นานแสนนาน... เขาคงอยู่บนฟ้า ไกลไกล เขาคงได้ยินเสียง ของเรา สัญญาว่า จะทำอย่างเดียวกับเขา ที่เราเคยเคียงข้างกัน ทุกทุกวัน และทุกเวลา ขอบูชา สิ่งที่เขาทำ ขอเชิดชู พวกเขา ให้เราตอกย้ำ ให้จำ ไม่ลืมเลือนเลย ( ซ้ำ * , ** ) หลับก็ยังฝัน ตื่นก็นึกถึง ติดตราตรึง ในใจ บอกให้โลกรู้ ว่าลูกหลานไทย ไม่ยอมให้ใครเอาไทย ไปครอง ดนตรี ( ซ้ำ ** , * , ** , ** ) นานแสนนาน ..... ไม่ลืมเขา เจ็ดตุลา ..... อย่าลืมเขา พี่น้องเรา ..... จดจำเขา 2.ผู้นำการต่อสู้ของประชาชน สังคมไทยเรามีผู้นำไม่น้อย ทั้งผู้นำสังคม ทหาร ประชาชน โดยเรามักจะมีผู้นำที่โดดเด่น จากสถานการณ์ที่เป็นจริงที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงแต่ละยุคสมัย ที่เราเรียกกันว่า “ สถานการณ์สร้างผู้นำ “ ผู้นำประชาชน ที่สมควรแก่การยกย่อง ต้องเป็นคนที่คิดและทำเพื่อประชาชนและประเทศชาติ ต้องเอาผลประโยชน์ส่วนรวมอันกว้างใหญ่ไพศาลมาก่อนส่วนตัวอันคับแคบของตนและครอบครัว ผู้นำฯ ต้องเคารพประชาชน จริงใจ ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ไม่โกหกหลอกลวงประชาชน และการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินอนาคตของตนเอง มิใช่การกำหนดเองโดยผู้นำฯ ผู้นำ อาจจะเป็นนักต่อสู้มานาน ผู้นำที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือผู้นำที่กลับมายืนอยู่เคียงข้างประชาชน หลายเหตุการณ์ เราได้ผู้นำของประชาชน จากการที่เขาได้ตัดสินใจ มาต่อสู้ร่วมกับประชาชน และ ณ วันเวลาที่ เขา ได้แสดงความกล้าหาญเสียสละ อย่างต่อเนื่อง จนประชาชนยอมรับ เขาก็สมควรได้รับการต้อนรับ ยกย่องชื่นชม จากประชาชน ในบทบาทที่ได้ทำให้กับชาติประชาชน เช่น กรณีของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล กำนันสุเทพ เทือกสุบรรณ ฯลฯ แต่หาก “ เขา “ มีการเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์ จากการรับใช้ประชาชน ไปรับใช้นายทุนสามานย์ “เขา ก็จะถูกสังคมประณาม เพราะ เขาทำตัวของเขาเอง เขาเปลี่ยนเอง มิใช่ใครไปกลั่นแกล้ง เช่น คนเดือนตุลาคม หลายคน ที่ไม่สามารถบรรลุอุดมการณ์ได้ตามแนวทางประชาชนที่ถูกต้อง หรือ อาจผิดหวัง จากการต่อสู้ของประชาชนที่ไปไม่ถึงไหนสักที และแสวงหาทางออกใหม่และไปเข้าใจผิดว่า “ พรรคการเมืองไม่ดีหรือทุนสามานย์ที่มีอำนาจทุนสื่อฯ จะทำให้เขาถึงฝั่งได้ “หรือ อาจจะใช้วาทกรรมให้สวยหรูหลอกตนเอง ปลอบใจตัวเองให้สบายใจที่ผิดสัญญาต่อวีรชนว่า “ ร่วมกับทุนสามานย์ล้มศักดินาก่อน แล้วค่อยไปล้มทุนสามานย์ที่หลัง “ ประวัติศาสตร์ไทย มีเรื่องราวของคนเปลี่ยนสีแปรธาตุอยู่เสมอ จนมีการเขียนเป็นบทกวีไว้ว่า วิญญาณหนังสือพิมพ์ นั้นลุกโรจน์กระพือฮือ หลอมลนด้วยเปลวบือ จนเหลือคนที่ทนไฟ ใครคน( ประชาชน) หนังสือพิมพ์ ที่ทรนงในนามไทย มวลชนย่อมชมใจ และชมชื่นในผลงาน ใครคนหนังสือพิมพ์ ที่ทรยศอุดมการณ์ เสียงแช่งจะยาวนาน เป็นเดนปากของปวงชน ใครคนหนังสือพิมพ์ ที่ทรนงในนามคน ชื่อเสียงจะคงทน ดั่งรุ้งทาบนภา.....บา ! ใครคนหนังสือพิมพ์ ที่ขายตัวเพื่อเงินตรา จารึกบนหนังหมา ประจานนานถึงหลานเหลน อาสูพวกกาฝาก จะตายซากเป็นกากเดน พื้นฐานนั้นโงนเงน จะพังพับอยู่นับวัน อาเพื่อน (ยังเรียกเพื่อน) จะขอเตือนอีกครั้งครัน อย่าด้านและดึงดัน อย่าดื้อดึงจนเกินไกล "เจ้าซื่อต่อคนคด แต่ทรยศต่อคนไทย ลูกหลานจะอายใจ ที่มีพ่อเป็นคนทราม" สูเอยประวัติศาสตร์ จะจารึกประจานนาม ตัวอย่างแสดงความ สกุลถ่อยแห่งกรุงไทย ครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ถ้าไร้อายก็ตามใจ อย่ารอจนสายไป จะครางอา....นิจจากู ! ( บางส่วนจากบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์ ชื่อ “วิญญาณหนังสือพิมพ์” โดย “กวี ศรีสยาม” เขียนให้ ปปช. และประชามหาชน ในการพิจารณาคดีสลายการชุมนุม 7 ตุลา 51