ดร.วิชัย พยัคฆโส [email protected] เดินหน้า 1 พ.ย.นี้แล้ว ได้ฤกษ์เปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเมืองไทยโดยไม่ต้องมีปัจจัยdการกักตัวสนับสนุนในท่ามกลางที่โควิดที่มียอดติดเชื้อและเสียชีวิตลดลงเป็นลำดับ แต่ยังมีปัจจัยภายในประเทศอื่นๆที่ต้องเหลียวมองให้รอบด้าน -นสพ.นิเคอิ ของญี่ปุ่น ได้คาดการณ์ไว้ว่ากว่าเศรษฐกิจไทยจะปรับตัวได้เหมือนเดิมยังต้องใช้เวลาอีกนาน ประเมินว่าไทยอยู่ในอันดับที่ 37 จาก 40 ประเทศ เกือบท้ายสุด -ผู้คนไร้งาน ไร้อาชีพ ว่างงานมากที่สุด -ปีที่ผ่านมาเงินหายไปจากระบบเศรษฐกิจ 2.2 ล้านๆบาท แต่ปีนี้ก็ยังหายอยู่ถึง 1.9 ล้านล้านบาท เพราะการท่องเที่ยวฉุดเงินเหล่านั้นหายไปจากระบบ -คนจนเพิ่มจากปีที่แล้ว 6.2 ล้านคน เป็น 8 ล้านคน ในปีนี้ น่าตกใจเพราะคนจนล้นประเทศ -ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนจนกับคนรวยมีมากขึ้น -ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่มีทีท่าว่าจะลดทำให้ต้นทุนขนส่งเพิ่มขึ้น -สิ่งแวดล้อมและการศึกษายังต้องได้รับการพัฒนาอีกมาก เพราะโลกนี้แข่งกันที่ศักยภาพของคนและความรู้ อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังมีความหวังกับการท่องเที่ยวอยู่มาก เพราะลำพังแค่เพียงส่งออกไปไม่รอด ถึงกับจะยอมลงทุนให้ลิซ่าและนักร้องอิตาลีมาเปิดคอนเสิร์ตที่ภูเก็ต เพื่อดึงคนทั้งโลกแห่มาดูกันมากมาย เป็นความหวังที่ควรสนับสนุนและมีโอกาสดีอยู่แต่ลิซ่าติดงานมาไม่ได้ คงมีแต่นักร้องอิตาลีจะมาหรือไม่ ยังมีความหวังพึ่งพายาโบลูร์ฟาวิพิราเวียร์ที่คิดขึ้นมาใหม่โดยจองไว้แล้ว 2 ล้านโดส เชื่อมั่นว่าสามารถรักษาผู้คนป่วยจากโควิด-19 ได้แน่ นอกจากนี้ยังมีความหวังว่าคนจะไร้งานน้อยลงเพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวส่วนหนึ่งพร้อมๆกับการเปิดพื้นที่ให้มากขึ้น แบบยอมเสี่ยงกันทั้งระบบ ที่หวังมากที่สุดคือการเปิดโลกเศรษฐกิจ EEC จะเริ่มเห็นผลในอีก 5 ปี ข้างหน้า คงหวังเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 4-5% การประชุมสุดยอดอาเซียนระหว่าง 26-28 ต.ค.นี้ หวังว่าคงจะพูดคุยกันเรื่องโรคระบาดและวิธีป้องกันให้ชาติในอาเซียนอยู่รอดได้ คาดว่านายกรัฐมนตรีไทยจะยกความได้เปรียบด้านบุคลากรทางการแพทย์ของไทย เชื่อใจได้คงต้องรอให้เห็นผลจะเป็นอย่างไร ประเทศไทยจะไปรอดหรือไม่ เพราะคนจนมีมากขึ้น หนี้สินครัวเรือนก็มากขึ้น จะพัฒนาให้คนมีอาชีพมากขึ้นได้อย่างไร เป็นปัญหาของชาติในอีก 4-5 ปีข้างหน้า