ชัยวัฒน์ สุรวิชัย สังคมไทย ต้องให้ข้อเท็จจริงแก่ชาวบ้านชาวเมือง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องคดีทางการเมืองที่เกิดขึ้น จาก อดีตนายกทักษิณ สมชาย ยิ่งลักษณ์ เสนาบดีและแกนนำคนสำคัญของพรรคเพื่อไทย และแกนนำนปช. เพราะ มีความพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริงจากฝ่ายทักษิณเพื่อไทยนปช. ว่า : ทำถูกไม่ผิดแต่ถูกกลั่นแกล้ง ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้อำนาจมิชอบของคสช. เป็น 2 มาตรฐาน เมื่อเทียบกับพธม.และกปปส. โดยอาศัยความไม่รู้ ไม่ได้เข้าใจและติดตามพฤตกรรมและการกระทำที่มิชอบมาพากล ใช้อำนาจมิชอบ การโกงการคอร์รับชั่นเชิงนโยบายและผลประโยชน์ทับซ้อน ที่ขัดกับกฎหมายและรัฐธรรมนูญ โดยอาศัย การใช้สื่อ โซเชียลเน็ตเวริกค์ และเครือข่ายสื่อรวมทั้งเครือข่ายองค์กรจัดตั้งที่เป็นระบบกระบวนการและการพูดซ้ำย้ำเรื่องให้เป็นกระแสข่าวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในระดับบนกลางล่าง จากส่วนกลางและท้องถิ่น มาดูข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกัน เพื่อให้เห็นให้เข้าใจจะๆ ว่า พฤตกรรมและการกระทำถูกผิดอย่างไรห้วงเวลากว่า 2 ปี ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาควบคุมอำนาจ เพื่อที่จะเข้ามาปฏิบัติภารกิจแก้ปัญหาความไม่สงบทางการเมือง เพื่อนำความสุขคืนให้กับประชาชน ตามคำมั่นสัญญา คดีความฝ่ายการเมือง โดยเฉพาะคนที่อยู่ภายใต้ร่มเงาพรรคเพื่อไทย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ทั้งคดีการเมืองบ้าง คดีทุจริตคอร์รัปชั่นบ้าง แม้แต่คดีค้างเก่าก็ถูกเช็กบิล จำคุก ยึดทรัพย์ในยุคนี้ 1. เริ่มจากคนตระกูลชิน ที่เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 3 คน ไล่ตั้งแต่ “ทักษิณ ชินวัตร” สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ( 1 ) กรณีของทักษิณถูกดำเนินการถอดยศ ด้วยประกาศคําสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 26/2558 เรื่องการดําเนินการเพื่อถอด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ออกจากยศตํารวจ โดยผ่านการพิจารณาของ คสช. เนื่องจากเห็นว่าเป็นกรณีกระทบต่อความมั่นคงของชาติและมีความจำเป็นต้องดำเนินการเป็นการด่วน ( 2 ) ตามด้วยน้องเขย สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ศาลฎีกาแผนกอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กำลังพิจารณาคดีสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2551 บริเวณหน้ารัฐสภา จนกลายเป็นเหตุการณ์นองเลือดครั้งรุนแรง คดีดังกล่าวคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทย์ยื่นฟ้อง สมชาย พร้อมกับพวกรวม 4 คน คาดว่าประมาณกลางปี 2560 คดี 7 ตุลาฯ จะต้องติดตามอีกครั้งว่าจะมีคำพิพากษาอย่างไร ( 3 ) ส่วนน้องสาว ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เวลานี้กำลังเผชิญมรสุมทางการเมืองจากการถูกฟ้องร้อง ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายจากโครงการทุจริตรับจำนำข้าว มูลค่า 2.86 แสนล้านบาท เป็นความเสียหายจากการระบายข้าวในสต๊อกไม่ได้ ซึ่งคดีดังกล่าวยังอยู่ในชั้นการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยทำเอาเจ้าตัวหวาดหวั่นถึงขั้นต้องออกสื่อโซเชียลขออย่าใช้คำสั่งมาตรา 44 อายัดยึดทรัพย์ 2. คดีสมาชิกคนสำคัญของ พรรคเพื่อไทย เมื่อปลายสัปดาห์ ป.ป.ช.มีมติชี้มูลความผิดอดีต สส.พรรคเพื่อไทย เป็นแพ็ก ประกอบด้วย สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ในฐานะประธานสภา นริศร ทองธิราช อดีต สส.สกลนคร และ อุดมเดช รัตนเสถียร จากพฤติกรรมรู้เห็นเป็นใจ ปลอมแปลงและเสียบบัตรแทนกันแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา สว.โดยมิชอบ ซึ่ง ป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิจารณา พร้อมกับเสนอรายงานให้ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติถอดถอนจากตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ ขณะที่ก่อนหน้านี้ ประชา ประสพดี อดีต รมช.มหาดไทย ยุคยิ่งลักษณ์ ก็ถูก สนช.ลงมติถอดถอนจากคดีความผิดใช้ตำแหน่งหน้าที่แทรกแซงการทำงานขององค์การตลาด (อต.) ไปแล้ว และล่าสุด สนช.นัดลงมติถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต.อดีต รมว.กลาโหม ในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์หรือไม่ ในวันที่ 16 ก.ย.นี้ จากคดีที่ ป.ป.ช.กล่าวหาใช้ตำแหน่งหน้าที่แทรกแซงหรือสนับสนุนแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารระดับนายพล ด้าน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือ “หมอเลี้ยบ” อดีต รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในยุครัฐบาลทักษิณ ถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 1 ปี ไม่รอลงอาญาในคดีตกเป็นจำเลยอนุมัติให้แก้ไขสัญญาสัมปทานกิจการดาวเทียมภายในประเทศ เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น และบริษัท ชินแซทเทลไลท์ รวมถึงคดีที่ศาลฎีกาสั่งพิพากษาจำคุก พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ และเกียรติอุดม เมนะสวัสดิ์ อดีต สส.พรรคเพื่อไทย คนละ 1 ปี ไม่รอลงอาญา ฐานหมิ่นประมาทอดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ 3. คดีของนปช. อาทิ ศาลพิพากษา จตุพร พรหมพันธุ์ ให้จำคุก 2 ปี ปรับ 4 หมื่นบาท แต่รอลงอาญา 2 ปี โดยอยู่ระหว่างฎีกา เป็นคดีที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องจตุพรเป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาทในเหตุการณ์ชุมนุมช่วงเดือนเม.ย. 2552 คดีของ “ทอม ดันดี” ถูกศาลอาญาพิพากษาจำคุก 15 ปี ที่ปราศรัยหมิ่นเบื้องสูงบนเวที นปช.เมื่อปี 2556 และนำคลิปไปเผยแพร่ทางยูทูบ แต่ด้วยรับสารภาพลดโทษเหลือจำคุก 7 ปี 6 เดือน และคดีของ “จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ” อดีต สส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ที่ศาลอาญาพิพากษาจำคุก 2 ปี 6 เดือน ฐานหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ไม่รอลงอาญา มาฟังความเห็นที่บิดเบือนของพวกเขา 1. เปรียบเทียบการเกิดของ 3 องค์กรทางการเมืองว่า กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือ พันธมิตรฯ กลุ่ม กปปส. และ นปช. มีความแตกต่างกันทั้งในจุดยืนและแนวทางการต่อสู้ โดยกลุ่ม กปปส. กับพันธมิตรฯ เกิดขึ้นด้วยผลการแพ้เลือกตั้งและต้องการล้มรัฐบาลจากการเลือกตั้งแต่ นปช. เกิดภายหลังการยึดอำนาจเมื่อปี 2549 และต่อสู้ตามแนวทาง จุดยืนเพื่อประชาธิปไตยของประชาชนทั้ง 3 องค์กรนี้ มีจุดเริ่มต้นและจุดจบที่แตกต่างกัน ขณะที่ 2 องค์กรได้ไปถึงจุดจบการต่อสู้แล้ว ส่วน นปช. ยังไม่จบ ต้องต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยต่อไป โดยปลายทางไม่อาจกำหนดได้ การต่อสู้ก็ไม่ได้สิ้นหวัง 2. เปรียบเทียบคดี นปช. กับ กปปส. ที่มีเหตุจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองนั้น ดีเอสไอ DSI สอบสวน กปปส. ทั้ง 58 คน ใน 9 ข้อหารุนแรง และจำนวนนี้ถูกจับส่งฟ้องศาลแล้ว 4 ราย อีก 31 ราย ดีเอสไอส่งสำนวนสอบสวนให้อัยการสูงสุดแล้ว แต่คดีกลับค้างคา ไม่ดำเนินการนานกว่า 3 ปีแล้ว ส่วน นปช. กลับถูกขังตั้งแต่ขั้นการสอบสวน ขังระหว่างอัยการส่งฟ้อง และยังขังในระหว่างการพิจารณาคดีในศาล แต่ได้รับการประกันตัวชั่วคราว สิ่งนี้จึงเป็นเหตุให้ร้องหาความยุติธรรม 3. บ้านเมืองในขณะนี้ ก้าวผ่านความเป็นสีเสื้อกันแล้ว แต่เป็นการต่อสู้ตามอุดมการณ์การเมืองระหว่างประชาธิปไตยกับเผด็จการ ดังนั้น สีเสื้อจึงเป็นเพียงเปลือกนอก โดยแก่นแท้คืออุดมการณ์ทางการเมือง โดยกล่าวอ้างว่า “ พวกตน นปช. เป็นพวกมีอุดมการณ์ ทำเพื่อชาวบ้านและบ้านเมือง 4. นายกฯ และหัวหน้าคสช.ออกคำสั่งตาม ม. 44 ยกเลิกให้พลเรือนขึ้นศาลทหารนั้น เป็นเพียงการห้ามในคดีที่ยังไม่เกิดขึ้น จึงทำให้คำสั่งนี้ไม่เกิดประโยชน์ ไม่มีความหมายทางเสรีภาพความจริง ผู้ที่รักความเป็นธรรม และผู้ที่ติดตามข่าวสารมาโดยตลอด รวมทั้งผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของฝ่ายทักษิณเพื่อไทยและนปช. ย่อมรับรู้ความจริงที่เกิดขึ้น ที่มีประจักษ์พยานทั้งบุคคลตัวเงินและวัตถุ ฯ เป็นคดีที่ใช้อำนาจรัฐบาลและรัฐสภากระทำมิชอบ ทำผิดกฎหมายและรัฐธรรมนูญ คดีทุจริตคอร์รัปชั่น และการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายและผลประโยชน์ทับซ้อน การกล่าวหาจาบจ้วงต่อสถาบันฯด้วยความเท็จ เพื่อหวังทำลายฯ การเผาบ้านเผาเมือง การกล่าวหาละเมิดสิทธิ์ส่วนบุคคลฯ เพื่อให้เกิดความเสื่อมเสียในเรื่องเท็จฯ ทำเพื่อตนเองและพวกพ้อง สร้างอำนาจความร่ำรวย ฯ แต่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนและประเทศเกิดวิกฤตฯพฤตกรรมดังกล่าว เป็นดุจขโมยปล้นบ้านโจรเผาเมือง แล้วมากล่าวหารัฐบาลและ คสช. 2 มาตรฐาน ลงโทษแต่ตน ไม่ลงโทษเจ้าของบ้าน