รศ.ดร.ไชยา ยิ้มวิไล งวดนี้ขอกล่าวถึง “ชีพจรลงเท้า” นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ช่วง 3-4 สัปดาห์นี้ ท่านเดินทางไปโน่นนี่แทบทุกสัปาดาห์ทีเดียว เริ่มตั้งแต่เดินทางไปประเทศจีนเพื่อประชุม “กลุ่ม G20” ใน “ฐานะประธานกลุ่ม G77” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ทั้งนี้ การเข้าร่วมประชุมเวทีโลกระดับพระกาฬนี้ นับว่า ท่านนายกรัฐมนตรีไทยได้รับเกียรติและศักดิ์ศรีอย่างมาก พร้อมได้รับการตอบรับอย่างดีทีเดียว! หลังจากนั้น ท่านได้เดินทางมาประชุมที่นครเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) กับ “การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN SUMMIT)” เพียง 2 วันเท่านั้น แล้วจะส่งต่อให้ประเทศฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพต่อไป การที่นายกรัฐมนตรีได้มีโอกาสพบปะผู้นำระดับทั่วโลกและภูมิภาคเอเชีย ต้องยอมรับว่า “ได้รับการตอบรับอย่างดี” โดยที่นานาอารยประเทศทั้ง “กลุ่มมหาเศรษฐี G20” และ “กลุ่มผู้นำอาเซียน” ที่มีทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และผู้นำระดับยักษ์ใหญ่อย่างจีนกับรัสเซีย ตลอดจนผู้นำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก ต้องเรียนว่าทุกประเทศทั่วโลก มิได้แสดงความห่วงใยในเสถียรภาพของประเทศไทยเลย หน่ำซ้ำยังเปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรีไทยเราได้แสดงวิสัยทัศน์ว่า “ไทยเดินตามโรดแมป” แน่นอน และขณะนี้ นายกรัฐมนตรีไทยได้ร่วมประชุม “สมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญครั้งที่ 71” ที่มหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม ขออธิบายถึ “ความสำคัญของการประชุม” ในครั้งนี้ “สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly)” เป็นองค์กรที่มีอำนาจมากที่สุดและเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ เป็นเพียงองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่ตัวแทนของแต่ละประเทศสมาชิกมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมกัน สมัชชาใหญ่มีหน้าที่ตรวจสอบงบประมาณและการใช้จ่ายในโครงการของสหประชาชาติ แต่งตั้งสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเพื่ออภิปรายและให้ความเห็น ตลอดจนจัดตั้งองค์กรลูกต่างๆมากมายของสหประชาชาติ  สมัชชาใหญ่จะมีวาระการประชุมตามที่ประธานที่ประชุมหรือเลขาธิการสหประชาชาติได้เรียกประชุมตามขั้นตอนปีละหนึ่งครั้ง ซึ่งโดยมากจะเริ่มเปิดวาระการประชุมตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป ซึ่งจะหารือกันในหัวข้อหลักต่างๆไปจนถึงราวเดือนธันวาคม และหารือกันในหัวข้อย่อยตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนกระทั่งสิ้นสุดทุกประเด็นตามที่ได้แถลงไว้ (ซึ่งส่วนมากมักจะจบก่อนเปิดวาระใหม่ไม่นาน) นอกจากนี้ อาจมีเปิดวาระการประชุมในกรณีพิเศษหรือกรณีฉุกเฉิน ซึ่งการประชุม, กลไก, อำนาจหน้าที่ และการลงคะแนนของสมัชชาใหญ่นั้น เป็นไปตามมาตรา 5 แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ การลงคะแนนของสมัชชาใหญ่เพื่อออกเป็นมติสมัชชาใหญ่ในหัวข้อสำคัญ ข้อแนะนำด้านสันติภาพและความมั่นคง ข้องบประมาณ การเข้าร่วมสหประชาชาติ การระงับหรือเพิกถอนสมาชิกภาพ จะต้องได้รับคะแนนเสียงในที่ประชุมไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดในที่ประชุม ส่วนหัวข้อย่อยอื่นๆนั้นใช้เพียงคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสมาชิกในที่ประชุม โดยที่ประเทศสมาชิกแต่ละประเทศมีเพียงหนึ่งเสียงเท่านั้น สมัชชาใหญ่อาจให้ข้อแนะนำเรื่องใดๆก็ตามที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของสหประชาชาติ ยกเว้นอำนาจในดำเนินการรักษาสันติภาพและความมั่นคงซึ่งเป็นอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ปัจจุบัน สมัชชาใหญ่มีสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ ซึ่งกว่าสองในสามเป็นประเทศกำลังพัฒนา และมีผู้สังเกตการณ์ 2 ประเทศ คือนครรัฐวาติกัน กับ รัฐปาเลสไตน์ และสมัชชาใหญ่มีคณะกรรมาธิการทั้งหมด 30 คณะซึ่งในจำนวนนี้เป็นคณะกรรมาธิการใหญ่ 6 คณะ โดยหกคณะใหญ่ดังกล่าวเรียงตามลำดับดังนี้ คณะกรรมาธิการที่หนึ่ง: การลดอาวุธและความมั่นคงระหว่างประเทศ (DISEC) คณะกรรมาธิการที่สอง: เศรษฐกิจและสังคม (ECOFIN) คณะกรรมาธิการที่สาม: สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม (SOCHUM) คณะกรรมาธิการที่สี่: การเมืองและการปลดปล่อย (SPECPOL) คณะกรรมาธิการที่ห้า: บริหารและงบประมาณและการทั่วไป คณะกรรมาธิการที่หก: กฎหมาย นอกจากนี้ยังมีอีกสองคณะกรรมาธิการที่มีความสำคัญแต่ไม่ได้ถูกจัดลำดับไว้ นั่นก็คือคณะกรรมาธิการสาสน์ตราตั้ง – รับผิดชอบการแต่งตั้งนักการทูตของสหประชาชาติไปประจำตามพื้นที่ต่างๆ ประกอบด้วยสมาชิกจาก 9 ประเทศผลัดเปลี่ยนกันทุกวาระ คณะกรรมาธิการวิสามัญ – รับผิดชอบควบคุมจัดการการประชุมของสมัชชาใหญ่ให้ดำเนินการได้และเป็นไปอย่างเรียบร้อย ประธานและรองประธานของคณะกรรมาธิการนี้คือประธานและรองประธานสมัชชาใหญ่ การประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 71 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เดินทางไปร่วมการประชุมในวันที่ 18 ก.ย.นี้ สาระสำคัญของเรื่อง ดังนี้ 1. การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 71 จะเปิดสมัยการประชุมในวันที่ 13 กันยายน 2559 และดำเนินการประชุมคณะกรรมการต่าง ๆ ระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม 2559 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยสหประชาชาติได้กำหนดประเด็นหลักของการประชุมคือ “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน : การผลักดันในระดับสากลเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกของเรา (The Sustainble Development Goals : a universal push to transform our world)” 2.ร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 71 สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศ และทำให้ประชาคมระหว่างประเทศตระหนักถึงบทบาทของไทยในฐานะสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติ และในฐานะประธานกลุ่ม 77 ซึ่งไทยแสดงบทบาทนำที่แข็งขันและสร้างสรรค์ในการผลักดันผลประโยชน์ของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสนับสนุนการ   อนุวัติเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งสอดคล้องกับหัวข้อหลักของการอภิปรายทั่วไปของที่ประชุมฯ  ในปีนี้   โดยร่างเอกสารท่าทีไทยครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ตามระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่ไทยให้ความสำคัญในแต่ละหมวด รวมทั้งสิ้น 9 หมวด ได้แก่ 1) การส่งเสริมการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติและผลการประชุมสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง 2) รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ 3) การพัฒนาแอฟริกา 4) การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน 5) การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม 6) การส่งเสริมความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ 7) การลดอาวุธ 8) การควบคุมยาเสพติด การป้องกันอาชญากรรม และการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศ 9) การบริหารองค์การและอื่นก็ได้แสดงวิสัยทัศน์อย่างมากกับเวทีโลก…จนอาจชินไปแล้ว!