ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ของฝากจากเพื่อนวิศวจุฬา รุ่น 2510 ถึงเพื่อนมิตรที่รักครอบครัว(ของตน) เรา หมายถึงผมและเพื่อนวิศวจุฬา2510ส่วนหนึ่ง ได้จัดวงแชร์มากันอย่างยาวนานเป็นประจำต่อเนื่อง หากเป็นหนุ่มสาว ก็สามารถแต่งงานมีครอบครัวมีลูกกันได้แล้ว เพราะอายุของวงแชร์ร่วม 30 ปี เริ่มจากต้นปี ของทศวรรษ 2530 กินอาหารกันที่ภัตตาคารพงหลีที่มีชื่อเสียง มุมอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ นอกจากความอร่อยของอาหารจีนไทยฝรั่งที่ขึ้นชื่อ และเป็นที่รู้จักดีของชราชนคนอายุ 60-70 ขึ้นไป ความสะดวกของการไปมาก็เป็นจุดเด่น ทั้งรถเมล์และรถไฟฟ้า BTS และที่สำคัญกว่านั้นคือ ความสัมพันธ์ทางจิตใจที่ผูกติดกันของชาววิศวจุฬารุ่นนี้ เพราะ”ลูกชายคนโตของร้านนี้ เป็นชาววศ.10 แม้ว่า “ ประจิตต์ ตงพิพฒน์ “ “ จะเสียชีวิตไปนานแล้ว “ เราคงรำลึกและคิดถึงกันเสมอ ท้าวหรือเจ้ามือของวงแชร์นี้ มีอยู่คนเดียว ไม่เคยเปลี่ยน คงไม่ต้องบอกว่า คือ “ จิ๊บ ชัยวัฒน์ สุรวิชัย “ โดยจัดกันทุกเดือน เอาวันที่ 15 ของเดือนเป็นตัวกำหนด ถ้าตรงกันศุกร์เสาร์อาทิตย์ ก็เลื่อนเป็นวันจันทร์ ผมเป็นคนประเภทที่ไม่ได้อะไรมาง่ายๆ รวมทั้ง วงค์แชร์วศ.10 นี้ จัดตั้งขึ้นปี 2533 ในช่วงที่ผมเป็นประธาน สมัยที่ 2 ( ผมเป็นประธาน ปี 2532 และ 2533 ) ในสมัยแรกที่เป็นประธาน ผมทำงานหนักมาก ทำอยู่คนเดียว คิดและทำเอง เพราะไม่มีลูกน้องช่วย มีการออกวารสารของรุ่น ทั้งคิด เขียน พิมพ์ ถ่ายเอกสาร จัดเย็บเล่ม และส่งเอง ให้เพื่อนทุกคนในรุ่น จุดเปลี่ยน คือ การจัดอภิปรายประจำปีของรุ่น ซึ่งปกติ ต้องเชิญรุ่นพี่ๆและบุคคลที่มีชื่อเสียงมาพูด แต่ปีนั้น คนในรุ่นเริ่มเติบโตและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและฐานะทั้งราชการและธุรกิจ จึงเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองและเพื่อนๆ แล้วตั้งคำถามว่า “ ทำไมเราไม่เอาคนในรุ่น มาพูดล่ะ “ เมื่อจัดได้สำเร็จอย่างใหญ่โตพอควร เงินบริจาคให้รุ่นจึงได้สูงมาก เกือบ 2 ล้านบา โดยเทคนิคที่ขอ ให้เพื่อนๆที่มีฐานะ บริจาคครั้งเดียว แต่ไม่ต้องจ่ายอีก แล้วดอกเบี้ย 12-18 % ( จากธนาคาร และไฟแนนซ์ ซึ่งเพื่อนบางคน มีตำแหน่งสำคัญ ช่วยจัดการให้ ) มีเรื่องอีกแยะ แต่คงเอาเท่านี้ก่อน วง แชร์ นี้ ก็มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ในปี 2559 เราซึ่งเป็นชราชนคนเกษียณ มาคิดกันว่า:- “ พวกเราล้วนเป็นคนเก่งมีความรู้ความสามารถ มีผลงานโดดเด่น ทั้งสายวิศวกรรมโดยตรง สายบริหาร ทั้งตำแหน่งสูงในราชการและบริษัท เป็นนักวิชาการใหญ่ระดับ อธิการบดี คณบดี รวมทั้งธุรกิจส่วนตัว ที่มีกิจการระดับหลายร้อยหลายพันล้าน และเป็นรัฐมนตรีระดับรองนายก รัฐมนตรีว่าการ และรมช. “ น่าจะนำความรู้นั้น ออกมาเผยแพร่แก่ สาธารณะ โดยเริ่มจากในวงเพื่อนฝูง เช่น วงศ์แชร์ประวัติศาสตร์นี้ จึงได้เริ่มมา 3 ครั้ง เริ่มจากคุณกิจจา จำนงอาษา (ปิโตรไทย ) , คุณไชยวัฒน์ สินสุวงค์ ( รมว.อุตสาหกรรม) และดร.จีรเดช อู่สวัสดิ์ อดีตอธิการบดีหอการค้าไทย 2 สมัย …….. หัวข้อที่บรรยายแบบกันเอง คือ “ Family Systems Management “ ดร. จีรเดช อู่สวัสดิ์ นี่เป็นการสรุปแบบสั้นๆง่ายๆ พอเห็นภาพได้ประเด็นสำคัญของเรื่องที่เกี่ยวกับ “ คน : ครอบครัว :ธุรกิจ ”ระบบครอบครัว มีความสัมพันธ์ และสำคัญ ต่อ ระบบธุรกิจของครอบครัว เป็นเรื่องของศาสตร์ และศิลปะ ในการจัดการ 1. ต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจ ในเรื่องสำคัญ 2 เรื่องนี้ คือ ระบบครอบครัว และ ระบบธุรกิจ และการจัดให้สมดุล งาน 3 อย่าง 1. งานส่วนตัว 2. งานในบริษัท 3. งาน กับ ครอบครัว 2. ทฤษฎีระบบครอบครัว ทฤษฎีระบบครอบครัวเป็นทฤษฎีที่นำโดยดร. เมอร์เรเวนที่แสดงให้เห็นว่า บุคคลที่ไม่สามารถเข้าใจในการแยกจากคนอื่น แต่เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวของพวกเขา ในขณะที่ครอบครัวเป็นหน่วยทางอารมณ์ ครอบครัวที่เป็นระบบของบุคคลที่เชื่อมต่อกันและพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและ ไม่มีใครสามารถเข้าใจได้ในการแยกจากระบบ 3. ทฤษฎีระบบธุรกิจ คน เงิน ความสัมพันธ์ การจัดการ กฏเกณฑ์ กติกา 4. การเข้าใจถึงความสำคัญ การศึกษาหาความรู้ ให้รู้จริง การจัดให้ได้ดุล คน : คน ( พ่อลูก พี่น้อง ) งาน : คน ( ครอบครัว ) และ งาน : งาน โจทย์ ที่เกี่ยวข้อง 1. ตลาดทั่วไป จากรุ่นที่ 1 > 2 > 3 จะเหลือ 3 % ตลาดหลักทรัพย์ จากรุ่นที่ 1 > 2 > 3 จะเหลือถึง 21 % มีความต่างกันถึง 7 เท่า แสดงถึง “ ความสามารถในการบริหารจัดการ “ 2. รุ่นต่อรุ่น : พ่อกับลูก ต้องมีการคุยกัน และสร้างความเข้าใจกัน 3. การเก่งจริง นอกจากบริหารได้เก่งแล้ว ต้องสามารถสืบทอดต่อกันได้ 4. รุ่นที่ 1 เป็นตัวตั้ง ต้องคิด และ กล้าตัดสินใจ 5. ต้องมีเวลา ในการทำความเข้าใจ และ การสร้างให้เก่ง สามารถรับช่วงได้ 6. การสืบทอด ต้องมีการวางแผน และบริหารร่วมกัน 10 - 15 ปี 7. พ่อถึงเก่งแค่ไหน ถึงอายุหนึ่ง ต้องมีการส่งมอบให้ลูกและรุ่นต่อๆไป 8. การมีธรรมนูญครอบครัว มีกติกาที่ชัดเจน มีความสำคัญและจำเป็น ในการแก้ปัญหา ครอบครัวสายตรง > ครอบครัวสมทบ ( บางตระกูล ผู้ตัดสินใจ คือ พ่อ แม่ ลูก , เขยและสะใภ้ ให้ร่วมในเรื่องรองลงไป ) ( ปัญหา มักจะเกิดจากลูกเขย และลูกสะใภ้ มากกว่า ) 9. ถ้าลูกไม่ดี ให้โทษพ่อแม่ด้วย ฉะนั้นต้องเลี้ยงลูกให้ดี ( ในการเรียนแผนใหม่ ต้องมี ครู : นักเรียน + พ่อแม่ ) 10. บริษัทเป็นของทุกคน บริหารโดยทุกคน ทุกคนต้องช่วยกันแก้ปัญหา ( ทฤษฎี การมีส่วนร่วม ทำให้เกิดความรู้สึกในการเป็นเจ้าของ ) เรื่องมรดก เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากต่อชีวิต ครอบครัว วงศ์ตระกูล แต่ผู้คนมักละเลย ไม่ใความสำคัญ มีส่วนอย่างมีนัยยะสำคัญ ที่จะต่อเนื่องความสำเร็จ ความมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน ต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญ ในการศึกษา เรียนรู้ ให้เข้าใจ และใช้สติปัญญา ความจริง กำหนดและตัดสินใจ เป็นเรื่องที่เป็นภาพรวมของ “ คน ครอบครัววงศ์ตระกูล ธุรกิจ กฎหมายเป็นสิทธิ และการจัดการ “ 1. เป็นสิทธิของพ่อหรือแม่ ผู้ที่สร้างเงินและสมบัติขึ้นมา จึงมีสิทธิที่จะให้ได้ต้องเข้าใจในเรื่องของสิทธิของพ่อแม่หรือผู้สร้างทรัพย์สินและสมบัติขึ้นมาเรื่องของความสัมพันธ์ของครอบครัว มิใช่ตัวกำหนดทั้งหมด แต่มีส่วนสำคัญ 2. ให้เท่าๆกัน หรือให้มากน้อยต่างกัน ขึ้นกับสภาพของแต่ละครอบครัว เหตุและผลในยุคก่อน ในบางสังคม เช่น สังคมจีน พ่อมักจะให้แก่ลูกชายเป็นหลัก เพราะเป็นผู้สืบทอดฯแต่ปัจจุบัน เพราะลูกผู้หญิงมีความเก่งความรู้ความสามารถ และความรับผิดชอบ ไม่แพ้ลูกชายการแบ่งมรดก มักจะให้แก่ลูกๆค่อนข้างเท่าเทียมกัน แต่ ก็มีปัจจัยของ ความคิด ความรัก ความผูกพัน ความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบฯซึ่งพ่อหรือแม่ หรือพ่อแม่ ผู้เป็นเจ้าของ จะพิจารณาจากความเป็นจริงในลูกแต่ละคน 3.ควรมีการทำพินัยกรรม เพราะหากไม่ทำ กฎหมายหรือศาล จะมาตัดสินใจแทน > เลือกเอา มีความเข้าใจผิด เพราะ ขาดการเห็นความสำคัญและความเข้าใจ มักเอาความคิดเดิมกำหนดเพราะหากพ่อแม่ ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ศาลหรือกฎหมาย จะเป็นผู้ตัดสินแทน 4.หากพ่อหรือแม่ไม่ทำพินัยกรรม ส่วนของพ่อหรือแม่ จะถูกแบ่งไปยังพ่อแม่พี่น้องของพ่อหรือแม่ 5.ฉะนั้นถึงมีลูกคนเดียว ก็ต้องทำพินัยกรรม 6.พินัยรรม ไม่ควรเป็นความลับ 7.ผู้รับผลประโยชน์ จะต้องไม่เป็นพยาน เพราะมีส่วนตัวส่วนเสีย จะถูกคัดค้านได้ 8.พินัยกรรมทำได้หลายครั้ง แต่ฉบับสุดท้าย เป็นตัวกำหนด 9. อยากให้ทรัพย์สินยืนยาว ให้ลูกส่วนหนึ่ง ( ไม่ให้ทั้งหมด )อีกส่วนหนึ่งให้หลาน ใช้ตั้งเป็นกงสี เป็นค่าใช้จ่ายร่วม และ เป็นสวัสดิการของหลานและพี่น้อง 10. ความสำคัญของเรื่องนี้ จึงมีวิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง และมีการอบรมกัน ที่ราคาสูงวันนี้ คุณปู่ย่าตายาย หรือพ่อแม่ ทำพินัยกรรมแล้ว หรือยัง