ชัยวัฒน์ สุรวิชัย หากพิจารณาจากสำนักโพลต่างๆ ตั้งแต่ต้นมาถึงปัจจุบัน 2 ปีเศษ ที่ให้คะแนนและยอมรับผลงานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ในระดับ 70-80 % กปปส.มวลมหาประชาชนเรือนล้าน ที่เคยออกมาเคลื่อนไหวใหญ่ครั้งประวัติศาสตร์ ต่างเห็นด้วย และเข้าใจ ไว้ใจรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ ในระดับสูงเช่นกัน แต่มิได้หมายความว่า "รัฐบาลพลเอกประยุทธ์"ได้ทำการปฏิรูปเรียบร้อยทุกอย่าง หลายเรื่องที่สำคัญๆ ก็ยังไม่ได้ทำเช่นการจัดการกับยิ่งลักษณ์เพื่อไทย นปช.ที่ทำผิด การปฏิรูปข้าราชการตำรวจอัยการ การปฏิรูปสื่อที่ยังออกข่าวบิดเบือนอย่างเด็ดขาดฯ การใช้กฎหมายกับพวกก่อกวนรัฐบาล รธน.ประชามติฯ ให้คนสับสน ไม่หยุดไม่หย่อนแต่มวลมหาประชาชน เข้าใจสถานการณ์ที่ล่อแหลม และยังไม่สงบมีคลื่นทักษิณก่อกวน และสภาพเศรษฐกิจ สังคม ยังคงมีปัญหาที่สะสมและถูกกระทบจากปัจจัยต่างประเทศทำให้รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ต้องใช้ท่าทีอย่างระมัดระวัง ค่อยเป็นค่อยไป นักประชาธิปไตยตัวจริงได้ยึดเรื่องหลักรองมองภาพรวม มากกว่าเรื่องเฉพาะส่วน ได้มองเห็นความทุ่มเทเอาจริงของรัฐบาลและได้เห็นการก่อกวนไม่หยุดของทักษิณ โดยใช้หลักจำแนกใครเป็นมิตรของประชาชน และใครเป็นศัตรูของประชาชน เรามาทำความเข้าใจหลักการสำคัญ "ใครเป็นมิตร ใครเป็นศัตรูของประชาชน" บทเรียนประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ของประชาชนทั่วโลก ที่ประสบความสำเร็จ เกิดจากการแยกมิตร แยกศัตรูของประชาชนและประเทศ ได้อย่างถูกต้อง คือ มี1.ประชาชน2.มิตรแนวร่วมของประชาชนและ3.ศัตรูของประชาชน ประชาชนเป็นมหาชนคนส่วนใหญ่ ที่เป็นเจ้าของประเทศและเป็นผู้รับผลดีผลเสีย จากการบริหารปกครองของคนส่วนน้อยที่มีอำนาจรัฐ ทุน สื่อ ฯลฯ และในช่วงเปลี่ยนผ่าน จะเป็นกลุ่มคนที่เคยมีอำนาจและเสียอำนาจไป ต้องการกลับมา ศัตรูของประชาชนคือคนกลุ่มคนหรือพรรคการเมือง ที่ได้อำนาจรัฐมามิชอบธรรม ใช้อำนาจเงินตรา กลุ่มคนที่มีอิทธิพล ข้าราชการนักการเมือง นายทุน นักวิชาการ สื่อ และบางครั้งก็ใช้ "คนที่ไม่มีจุดยืน" หรือ พวกอคติ อวิชา ที่อยากจะแก้แค้นอีกฝ่ายหนึ่ง เริ่มจากซื้อสิทธิขายเสียงซื้อคนมีอิทธิพล นักการเมือง พรรคการเมือง เข้ามาสังกัดทำให้นายทุนสามานย์สามารถเข้าสู่อำนาจรัฐได้และใช้อำนาจรัฐเพื่อพวกพ้องบริวารทำให้มีอำนาจ มีอิทธิพลเงินตรามากขึ้น จากการคอร์รัปชันโกงกิน โกงข้าว โกงต่างๆ โดยเจ้าของทุนสามานย์จะได้มากที่สุด รองลงมาเป็นพวกเสนาบดี และพวกรับใช้ฯ พวกรับใช้หลายคน ที่เป็นระดับแกนนำจากเดิมยากจนต้องแบบมือขอ กลับมีอำนาจ มีเงินตราเป็นหลักร้อยหลักพันล้านมีบ้านใหญ่รถสวยหรู มีบริวารติดตามแบบลูกพี่ พวกที่เคยมีอุดมการณ์ที่สู้เพื่อประชาธิปไตย กลับใช้อำนาจสร้างบารมีฐานะ แม้ว่าจะเสียวาจาสัตย์ กลับมารับใช้นายชายนายหญิง ที่พวกตนเคยด่าว่าฯยามสูญเสียอำนาจก็ใช้การก่อกวน ทำลายการประชุมอาเซียน+6ที่พัทยาระดมพวกชายชุดดำและกำลังพลที่จัดตั้งและชาวบ้าน เข้ามายึดก่อกวนเมือง ใช้อาวุธยิงใส่ทหารที่มารักษาความสงบความปลอดภัยโดยใช้ชาวบ้านเป็นโล่มนุษย์ บังอาจบุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาฯ ที่สมเด็จพระสังฆราชทรงประชวรประทับอยู่ฯ เมื่อจวนจะแพ้ก็ทำการ "เผาบ้านเผาเมือง"ครั้งในปัจจุบันก็ยังคงก่อกวนในรูปแบบต่างๆใช้ปากตะโกนกล่าวหารัฐบาลประยุทธ์โจมตี รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกงบิดเบือนประชามติ กล่าวหา คสช.แม่น้ำ 5 สายฯ อาศัยพวกแกนนำระดับเสนาบดีที่ส่วนใหญ่มีคดีติดตัวใช้นักวิชาการกลุ่มสิทธิ นักศึกษา และจะคงมีอะไรที่รุนแรง ที่ก่อกวนการบริหารประเทศของรัฐบาลประยุทธ์ อีกเรื่อยๆ สรุปคือ:ศัตรูของประชาชน ยามมีอำนาจ ใช้อำนาจต่อและเสริมอำนาจให้เบ็ดเสร็จยาม เสียอำนาจจะก่อกวน ป่วน เพื่อมิให้รัฐบาลบริหารแก้ปัญหาของประเทศได้สำเร็จ สะสมกำลัง รอคอยโอกาส ทั้งจากการใช้ความรุนแรงหรือจากการเลือกตั้งทั่วไปฯ มิตรแนวร่วมของประชาชน:ที่อยากจะเน้นเป็นพิเศษเพื่อความเข้าใจ แนวร่วม คือพวก, ภาคี, พันธมิตร, ผู้สนับสนุน, ผู้ร่วมความคิด ประชาชนที่มีแนวความคิดคล้อยตามและให้การสนับสนุนแก่พวกที่มีความคิดเห็นในแนวเดียวกัน. ( พจนานุกรม ) แนวร่วมคือมิตรที่มีเป้าหมายหลัก เพื่อประชาชนคนส่วนใหญ่และประชาธิปไตยที่แท้จริง แต่มิใช่ว่าจะเห็นร่วมกันหมดทุกอย่างทุกเรื่อง มีบางเรื่องที่มีความแตกต่างกัน สิ่งสำคัญ คือต้องจับเรื่องหลักไว้ให้ได้ คือ"มิตร คือ พวกเดียวกันที่มีเป้าหมายร่วมกัน จะต้องร่วมมือกัน สนับสนุนกันในเรื่องที่เห็นพ้องเห็นร่วมกันและการร่วมมือกันที่จะขจัดและลดบทบาทของศัตรูของประชาชน การสามัคคีร่วมมือกัน คือ เงื่อนไขเดียว ที่จะทำให้งานเพื่อประชาชน บรรลุผลสำเร็จ เพราะกำลัง บทบาทและอิทธิพลของระบอบทุนสามานย์ยังคงมีพลังความเข้มแข็งอยู่ เพราะยังกุมอำนาจทางการเมือง ทุน สื่อ ข้าราชการตำรวจ นักวิชาการบางส่วน และยังใช้อำนาจของตน ที่มีอยู่ ส่งเสริมยุยง "ผู้คน" ทั้งที่มีความคิดแบบตน หรือกลุ่มคนที่ไม่พอใจรัฐบาลประยุทธ์ ในเชิงความคิด ผลประโยชน์ และการมีอคติฯ ที่สำคัญการมีเล่ห์กลมนตราเงินทอง ที่จะยุแหย่ให้เกิดความขัดแย้งและแตกแยกกัน แนวร่วมมีความหมายและใช้กันเพื่อบรรลุความสำเร็จ ทั้งการเมือง สังคม เศรษฐกิจฯ กล่าวเชิงรูปธรรม สำหรับประชาชนกลุ่มชนชั้นต่างๆไม่ว่าจะเป็น ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม นักวิชาการนักศึกษา กลุ่มสิทธิ นักธุรกิจ และนักการเมืองอื่นๆ จะต้องจับหลักการนี้ให้มั่น ยึดเรื่องหลักคือ ประชาธิปไตยที่แท้จริงและผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ ต้องใช้หลัก "แสวงจุดร่วม สงวนส่วนต่าง"มิใช่ใช้อารมณ์ และทิฐิของตนกลุ่มตนเป็นใหญ่:รัฐบาลทำไม่ถูกใจ ไม่ทำในบางเรื่อง หรือบางอย่างมีข้อผิดพลาดบกพร่องก็จะถือ "รัฐบาลประยุทธ์เป็นศัตรู "มีคำถามที่เพื่อนมิตรใช้เตือนกัน หรือพูดเตือนสติ ว่า"หากคุณไม่เอาระบอบทักษิณ แล้วคุณไม่เอา ไม่ร่วมมือกับรัฐบาลประยุทธ์แล้ว คุณจะอยู่โดดเดียวคนเดียวหรือ หากคุณมีกำลัง มีมวลมหาประชาชนมหาศาล มีอำนาจ มีอาวุธมีกำลังพลพร้อม ก็อาจจะคิด หรือทำได้และต้องคิดต่อไปว่า"จะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร" มีผู้นำประชาชนบางคน พูดเสียงดัง "จะคัดค้านสิ่งที่ไม่ถูกต้องถูกใจทุกอย่างทุกฝ่าย" ซึ่งฟังดูดีเป็นคนมีหลักการที่น่ายกย่องชื่นชมแต่การสรุปที่ผ่านมา 50 ปี ของการต่อสู้ของประชาชน ที่ไม่สำเร็จและบางครั้งล่มเหลวก็เป็นเพราะทัศนคติหรือ อคติ เช่นนี้ มิใช่หรือ จำเป็นบทเรียนไว้บ้างซิ,เพื่อนเอย และจะมีคนที่หัวเราะดังกว่าคือ ระบอบทุนสามานย์ทักษิณ" เพราะพวกคุณ พวกเรา ที่คิดและทำแบบนี้ จะกลายเป็น"แนวร่วมมุมกลับ" ให้พวกเขา จึงขอเตือนมายังเพื่อนมิตรและน้องนุ่งให้ช่วยสรุปและทบทวนบทเรียนอีกสักครั้งเถอะ งานหลายเรื่องที่เพื่อนมิตรทำอยู่ เป็นเรื่องที่ดีงาม เพราะตั้งอยู่บนผลประโยชน์ประชาชน แต่ในความเป็นจริงเราไม่สามารถทำได้ทุกเรื่อง ไปพร้อมๆกัน จับเรื่องหลักให้มั่น จำให้ได้คือ"เรื่องอำนาจรัฐ" คือการสร้างระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย คือการร่วมมือสามัคคีกับรัฐบาลประยุทธ์ ทำในสิ่งที่เป็นเรื่องหลักและคิดเหมือนกัน และการกำจัดหรือขจัด ลดบทบาทฐานะของระบอบทุนสามานย์ทักษิณลงไปแล้วเราก็จะปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนกัน ในประเด็นที่ยังเห็นต่างกันอยู่ต่อไป เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องฝากภาคประชาชน ภาคสังคมคิดในเรื่องใหญ่ และเช่นเดียวกัน ก็ขอฝากรัฐบาลประยุทธ์ คิดและหาทางร่วมมือกับภาคประชาชนด้วย-