ชัยวัฒน์ สุรวิชัย การกำหนดแนวทางและการตัดสินใจทางการเมือง ขึ้นอยู่กับยุคสมัย ดุลกำลังของแต่ละฝ่าย ฝ่ายก้าวหน้า ฝ่ายเป็นกลาง และฝ่ายล้าหลัง ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามสภาพสังคมที่เป็นจริงในแต่ละช่วงแต่ละยุคของสังคม หัวใจคือความเป็นจริง ของดุลกำลัง ที่คิดและทำเพื่อประชาชนและบ้านเมืองได้จริง เรามาพิจารณา โดยสรุปบทเรียนจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา 1. ยุค 14 ตุลาคม 2516 เป็นยุคที่เผด็จการทหารครองเมือง ใช้อำนาจมิชอบ ทำเพื่อผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องเป็นหลักนักการเมือง ยังอยู่ในยุคการเมือง มีความคิดทำเพื่อประชาชนและประเทศชาติ ในระดับหนึ่ง สถาบัน หน่วยงาน องค์กร ที่มีบทบาท คือ มีกำลังที่เป็นจริง 1. ประชาชนเรือนล้านคัดค้านรัฐบาลทหาร ที่ก่อเกิดกระแสใหญ่ เคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน2. นักการเมือง กลุ่มธุรกิจ และบุคคลหลากหลาย ที่ต่อต้านคัดค้านเผด็จการทหาร3. รัฐบาลจอมพลถนอม ประภาส ณรงค์ ซึ่งเป็นรัฐบาลจากการรัฐประหาร รวมศูนย์ผูกขาดอำนาจ และพลเอกกฤษณ์ เป็นผบ.ทบ. และพลเอกวิทูรยสวัสดิ์ ที่เป็นฝ่ายที่ขัดแย้งกับรัฐบาลถนอมฯ ประชาชนกว่าห้าแสนคน ได้ร่วมมือกับ นักการเมือง นักธุรกิจและกลุ่มต่างๆ ที่เป็นฝ่ายก้าวหน้ากว่า ได้ก่อกระแสใหญ่ ต่อต้านคัดค้านรัฐบาลทหาร ซึ่งมีความขัดแย้งกันเองภายในกองทัพ รัฐบาลทหาร ใช้กำลังปราบปรามประชาชน ฝ่ายประชาชน เป็นฝ่ายชนะ ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลของประชาชน จากรัฐธรรมนูญใหม่ 2. ยุค 17 พฤษภาคม 2535 เป็นยุคเผด็จการทหาร ทำการรัฐประหารฯรัฐบาลพลเอกชาติชาติ ที่มาจากการเลือกตั้ง มีอำนาจเบ็ดเสร็จ รวมศูนย์อยู่ที่รัฐบาลพลเอกสุจินดา นักการเมือง มีการรวมตัวกัน ต่อต้านคัดค้านรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารประชาชนในกรุงเทพปริมณฑล ในนาม “ ม๊อมมือถือ “ รวมตัวกันต่อต้านคัดค้านรัฐบาลทหาร ใช้กำลังปราบปรามประชาชน มีการเจรจายุติสถานการณ์ มีการจัดตั้งรัฐบาลจากพรรคการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 3. ยุครัฐบาลเผด็จการพรรคการเมืองทุนสามานย์ ปี 2544 สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มสับสน สลับซับซ้อน ระบบทุนใหญ่และทุนสามารถเข้าครอบงำสังคม สถานการณ์ทางการเมืองพัฒนาไปสู่ระบบเผด็จการรัฐสภา จากการที่นายทุนใหญ่ลงมาจัดตั้งพรรคการเมือง ซื้อส.ส. ซื้อพรรคการเมือง ซื้อเสียง และใช้กลไกรัฐ ข้าราชการตำรวจทหาร มวลชน และสื่อ เป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการใช้ “ นโยบายประชานิยม “ จับประชาชน เป็นตัวประกัน ให้ผลประโยชน์เล็กน้อยและฉาบฉวย โดยตัวผู้นำ ใช้อำนาจคอร์รัปชั่น และ ผลประโยชน์ทับซ้อน ฯลฯ ได้ผลประโยชน์ไปมหาศาลหลายแสนล้าน สามารถสร้างฐานะการเงินที่มั่งคั่งมหาศาล การสร้างอำนาจกลไกรัฐ ข้าราชการ ตำรวจอัยการ ศาลฯ พรรคการเมืองน้ำดี และพรรคขนาดกลางเล็ก เป็นตัวประกอบทางการเมือง ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เอง นักการเมืองและพรรคการเมือง ถูกลดบทบาทจากการเป็นความหวังในการแก้ปัญหาของประชาชนลง ประชาชน ถูกแบ่งแยกเป็น 2 ฝ่าย เป็นฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลแ ละ ฝ่ายคัดค้านรัฐบาล ประชาชนฝ่ายคัดค้านรัฐบาล สามารถรวมตัวและได้รับการสนับสนุนจากคนในเมืองคนชั้นสูง-กลางในสังคม รวมทั้งกลุ่มองค์กรเอกชน องค์กรภาคประชาชน และนักวิชาการผู้ทรงภูมิ ฯลฯ ทำให้ดุลกำลังของทั้ง 2 ฝ่าย ก่ำกึ่ง ไม่มีใครมีกำลังเหนือกว่า 4. ยุคความขัดแย้งใหญ่ของประชาชน 2 ฝ่าย ที่ไม่สามารถประนีประนอมกันได้ จุดเปลี่ยนที่สำคัญของการเมืองไทย 1. เริ่มต้นจากปี 2544 ที่ทักษิณจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว และใช้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร สร้างระบบเผด็จการรัฐสภาพรรคการเมืองทุนสามานย์ ที่ทักษิณอ้อ เป็นเจ้าของและผู้กุมอำนาจเบ็ดเสร็จ 2. พัฒนาความขัดแย้งในหมู่ประชาชนให้สูงขึ้น โดยใช้แนวทางยุทธศาสตร์ “ ประชาชน สู้ กับประชาชน “ ต่างฝ่ายต่างมีกำลังของตน แต่คนละรูปแบบและเนื้อหา ฝ่ายทักษิณ ใช้การจัดตั้งและปลุกระดมความคิด เป็นอคติต่อกองทัพและสถาบัน โดยใช้ข้อมูลเท็จและบิดเบือน การใช้ความรุนแรง การปิดกรุงเทพ ปิดศาลากลาง การใช้ออาวุธและการเผาบ้านเผาเมือง ฝ่ายต่อต้าน ใช้ความรู้ สติปัญญา โดยอาศัยคนในเมืองคนชั้นกลาง และการเทิดทูนสถาบันฯ แต่บางส่วนบางครั้ง ก็มีการใช้การปลุกเร้าอารมณ์ด้วยข้อมูลสีเทา เพื่อสร้างความฮึกเหิม ฯ( ไม่ควรทำ มีผลเสีย ) 3. ฝ่ายทักษิณมีกองกำลังติดอาวุธ ทั้งในเครื่องแบบ ( ตำรวจเป็นหลัก ทหารบางส่วน) และมีมวลชนจัดตั้งบางส่วน ที่ปิดลับ ซึ่งจะถูกใช้ในการจัดการกับฝ่ายตรงข้าม และต่อต้านกองทัพ 4. เครื่องมือสำคัญของฝ่ายทักษิณ คือ องค์กรจัดตั้งในรูปแบบเครือข่ายทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น ที่ขึ้นตรงกับทักษิณและแกนนำพรรคเพื่อไทย สส. และ นปช. และการใช้สื่อทุน โซเชียลมิเดีย สื่อท้องถิ่น ทำงานปลุกระดมมวลชนและการต่อต้านคัดค้านรัฐบาลทหารและพรรคการเมืองคู่แข่ง โดยมีการจัดอย่างเป็นระบบและเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิผลประสิทธิภาพ 5. การใช้อำนาจรัฐ-ทุน และการจัดการเรื่องระบบข้อมูล กรอบความคิดประชาธิปไตยเลือกตั้ง การต่อต้านทหารและสถาบันฯ ในการสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงและล๊อปบี้ผู้นำรัฐมหาอำนาจตะวันตก รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน 6. จุดผิดพลาดและเป็นข้ออ่อนใหญ่ คือ การกระทำความผิดทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญทำให้ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสินยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชนของทักษิณพจมาน และศาลฎีกาพิพากษาตัดสินความผิดชองทักษิณและแกนนำพรรคเพื่อไทยและนปช.7. ทักษิณมักจะใช้ช่องทางต่างๆให้เกิดประโยชน์แก่ตน รวมทั้งการเจรจาต่อรองกับคนชั้นสูงในสังคม 5. การแก้วิกฤตของสังคมไทยในสภาพปัจจุบัน ต้องใช้วิสัยทัศน์ความเป็นรัฐบุรุษของผู้นำกล้าเสียสละ1. สภาพสังคมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ในสภาพปัจจุบัน ทำให้แนวทางการแก้วิกฤตชองสังคมไทย เปลี่ยนไปอย่างมากมาย คือ ไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีเก่าที่เคยใช้ได้ผลมาในอดีต คือ นักการเมืองและพรรคการเมืองเก่าที่มีเจตนาดี ที่ยึดแนวประชาธิปไตยแบบรัฐสภาผ่านการเลือกตั้ง ไม่สามารถได้เสียงข้างมากในรัฐสภาและเข้าไปจัดตั้งรัฐบาลได้ เพราะ ระบบการเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม การใช้เงินทั้งซื้อเสียงซื้อส.ส.ซื้อพรรค ไม่สามารถป้องกันได้ และไม่สามารถสู้พรรคการเมืองทุนสามานย์ได้แต่กลับกัน พรรคการเมืองทุนสามานย์หากยังอยู่ได้ ไม่มีการจัดการอย่างเด็ดขาดจากผู้นำรัฐน้ำดีก็มีโอกาสและช่องทางเข้าสู่อำนาจรัฐได้ ในทุกด้านทุกกรณี( การเลือกตั้งทั่วไป ตั้งแต่ปี 2544 มาทุกครั้ง ย่อมเป็นหลักฐานพิสูจน์ได้ชัดเจน ) 2. บทบาทสถาบันหลักของสังคมไทย ที่เคยได้แก้วิกฤตทางการเมือง ในยุค 14 ตุลา 16 - 17พค.35 เพราะเป็นความขัดแย้งระหว่าง ทหาร กับประชาชน และทหารมีความจงรักภักดี ทำตามพระราชประสงค์ ที่จะให้คนไทยสามัคคีและยุติความขัดแย้ง ( ที่ไม่มีใคร Win มีแต่แพ้ทุกฝ่ายรวมทั้งประเทศด้วย ) แต่ปัจจุบัน เป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชน กับ ประชาชน จึงไม่สามารถใช้วิธีเดิมได้ 3. กองทัพ ยังคงเป็นสถาบันเดียว ที่มีกำลังและความพร้อมที่จะทำการรัฐประหารได้ตลอดเวลาแต่เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลทหาร ขึ้นมาแก้วิกฤตของประเทศ ของประชาชน ก็ทำได้แต่เพียงระงับความขัดแย้งในหมู่ประชาชนได้ชั่วคราว และเมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง ก็จะเข้าวงจรอุบาทว์แบบเดิม 4. กรอบคิดและทัศนะคติของชนชั้นนำในสังคมไทยรวมทั้งทหาร ที่ยึดติดประชาธิปไตยตะวันตก ความหวั่นเกรงบทบาทของมหาอำนาจอย่างอเมริกาและยุโรป ความสัมพันธ์ความคุ้นเคยกันกับฝ่ายทักษิณ และการรักษาหน้าตาตนมากกว่าการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศ มีส่วนกำหนด แนวทาง การแก้ไขวิกฤตของประเทศจากกนักการเมืองเก่า ไปไม่สุดซอย แก้ปัญหาไม่เบ็ดเสร็จ ห้าแนวทางที่จะแก้วิกฤตใหญ่ของบ้านเมืองได้ อยู่ที่ผู้นำรัฐที่มีวิสัยทัศน์ มีความเป็นรัฐบุรุษ กล้าตัดสินใจ ประวัติศาสตร์ของทุกประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ล้วนแต่ผ่านการใช้อำนาจที่เป็นธรรมขจัดผู้มีอำนาจมิชอบโดยกระทำอย่างเด็ดขาด ทั้งการริบทรัพย์ นำนักการเมืองนายทุนสามานย์มาลงโทษเด็ดขาด ทำลายกลไกและเครื่องมือในการสร้างอำนาจของตน ทั้งพรรคการเมือง นักการเมือง มวลชนจัดตั้ง ทุน สื่อ ฯลฯแล้วปฏิรูประบบโครงสร้างประเทศไทย ทั้งการเมืองเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมใหม่ เพื่อเอื้อและส่งเสริมคนดีเข้ามาบริหารประเทศและขจัดคนไม่ดีให้หมดไป ไม่สามารถก่อความวุ่นวายและสร้างวิกฤตให้ประเทศอีกรวมทั้งการดำเนินการไปควบคู่ คือ การพัฒนาคุณภาพประชาชน และให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูป