ชัยวัฒน์ สุรวิชัย 1. บทบาทและความคาดหวังขององค์กรพัฒนาเอกชน ( NGO ) มีอะไรบ้าง 1.1 ก่อนอื่น เราจะต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อ NGO ก่อน จึงจะเข้าใจบทบาทและมีความคาดหวังต่อองค์กรพัฒนาเอกชน ( NGO )ได้อย่างถูกต้อง NGO เป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลประโยชน์ มีจิตใจที่ดี เป็นอาสาสมัครที่คิดทำเพื่อผู้อื่น-ส่วนรวม NGO เป็นองค์กรหรือบุคคลที่ทำเพื่อผู้อื่น คือ เป็น Secondery มิใช่ Primary คือ เรามิใช่เป็นเกษตรกร กรรมกร หรือชาวบ้านผู้เดือดร้อนไม่ได้รับความยุติธรรมโดยตรง เราเป็นบุคคลภายนอกที่ไปช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม ให้เขามีความคิดที่ถูกต้อง มีความเข้มแข็ง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ สามารถมีพลังในการแก้ไขปัญหา แก้ทุกข์ ได้ด้วยตนเอง แล้วเราก็จะหมดหน้าที่ หรือไปทำที่ใหม่ ที่ชาวบ้านมีทุกข์มีความเดือดร้อย ไม่ได้รับความเป็นธรรม ส่วน เกษตรกร กรรมกร ชาวบ้านฯ เขาเป็น Primary เป็นคนที่เป็นพื้นฐานของสังคมเป็นผู้รับผลของการพัฒนาของประเทศ โดยตรง และองค์กรของเขา คือ Primary Organization หรือ PO. 1.2 “NGOไทยต้องทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศไทย โดยต้องเคารพสิทธิเสรีภาพ และสิทธิมนุษยชนของประชาชนไทยและประชาชนทั่วโลก “ จะทำเช่นนี้ได้ ต้องมีการสรุปบทเรียนที่ผ่านมาของไทยและของทั่วโลก แล้วนำข้อดีจุดแข็งมาใช้ โดยแก้ไขจุดอ่อนและข้อเสียที่เกิดขึ้น ในการทำงานที่ผ่านมา และที่สำคัญ ต้องทำการศึกษาเข้าใจ ที่มาที่ไปของ NGOและองค์กรหรือกองทุนระหว่างประเทศ ที่ให้การสนับสนุน เรา โดยเฉพาะด้านความคิดที่ถูกต้อง และผลประโยชน์ของประชาชน-ประเทศ และที่สุด คือ ต้องทำการศึกษาและเข้าใจสภาพและประวัติศาสตร์ของประชาชนและประเทศไทย และจะได้ทำงานจิตอาสา ได้อย่างถูกต้องถูกทาง อันจะเป็นเหตุนำมาซึ่งความสำเร็จตามเป้าหมาย 1.3 เพราะต้องเข้าใจให้ถูกต้องก่อนว่า NGO เป็นกรอบคิดและมีต้นกำเนิดจากฝรั่งตะวันตก ประเทศไทย Import เข้ามา เหมือนกับ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน หรือ สังคมนิยมฯ นี่เป็นลักษณะของการเผยแพร่ ถ่ายทอดและการรับเอามาใช้ ไม่ใช้เรื่องผิด แถมเป็นความจำเป็น 1.4 แต่ ทุกประเทศ จะต้องนำสิ่งที่นำเข้า ( Import ) มานั้น มาประยุกต์ ( Apply ) ให้สอดคล้องกับสังคมไทย ให้คนไทยและประเทศไทยได้ประโยชน์ และหากเมื่อได้นำมาใช้แล้ว เมื่อเวลาผ่านไป ก็ต้องมีการสรุปทบทวนแก้ไข ให้สอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนไปด้วย 1.5 เรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง ที่เข้าใจกันไม่ครบถ้วน คือ “ คำว่า จิตอาสา “จิตอาสานั้น เป็นเรื่องของคนที่มีความคิดและการทำ เพื่อผู้อื่นเพื่อส่วนรวม นอกจากตนเอง คนที่มีจิตอาสา จะต้องเป็นคนที่มีจิตสำนึก มีความรับผิดชอบ ในการทำงานให้บรรลุ มิใช่ว่า หากมีความคิดเห็นต่างกัน ก็ใช้อารมณ์โต้แย้งกัน และเมื่ออีกฝ่ายไม่เห็นด้วย เราก็จะเลิกจากงาน ออกมาจากหน่วยงาน เพราะเรามีอิสระจะคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องง้อใคร ที่นี้ทำไม่ได้ ก็ไปทำที่อื่น ….. นี่คือสิ่งผิด นี่คือ ความไม่รับผิดชอบ 1.6 ความคิดที่ว่า NGO ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน เป็นสากลทั่วไป ใช้ได้ทุกที่ทุกแห่ง โดยสามารถนำมาใช้ได้เลย ไม่ต้องแก้ไขประยุกต์ให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศนั้นๆ ไม่น่าจะถูก “ เราต้องตัดเกือกฝรั่งให้เข้ากับเท้าคนไทย มิใช่ตัดเท้าคนไทยให้เข้ากับเกือกฝรั่ง “ไม่มีประเทศใดลัทธิใดหรือผู้ใด จะเอาผลประโยชน์ของชาติอื่นมาเหนือกว่าคนในชาติของตน สรุป NGO มีบทบาท ในการไปช่วยเหลือ สนับสนุน ส่งเสริม ให้ชาวบ้านที่ทุกข์ ไม่ได้รับความเป็นธรรม จากภาครัฐ นักการเมือง ข้าราชการ นายทุน ผู้มีอิทธิพลทั้งส่วนกลางและท้องถิ่น ให้ชาวบ้านมีคุณภาพ เป็น Active Citizen คือมีความคิดที่ถูกต้อง คิดเป็นทำงานเป็น มีประสิทธิภาพ เป็นอิสระ เป็นตัวของตนเอง ยืนอยู่บนลำแข็งของตนเองได้ มีความเข้มแข็ง มีคุณภาพ สามารถมีพลังในการแก้ไขปัญหา แก้ทุกข์ ได้ด้วยตนเอง แล้วเราก็จะหมดหน้าที่ หรือไปทำที่ใหม่ ที่ชาวบ้านมีทุกข์มีความเดือดร้อย ไม่ได้รับความเป็นธรรม ความคาดหวัง คือ ก่อนอื่น NGO ต้องเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และพัฒนาคุณภาพของตนเอง เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างถูกต้องถูกทาง และประสบความสำเร็จ และหวังว่า หลังจากได้ใช้เวลาสรุปบทเรียนที่ผ่านมาแล้ว NGOไทย จะสามารถทำงานจิตอาสา ช่วยเหลือกรรมกร เกษตรกร และชาวบ้านที่ทุกข์ไม่ได้รับความเป็นธรรมได้ดียิ่งขึ้น และสามารถจะเป็นแบบอย่างให้กับ NGO ทั่วโลกได้ 2. ประสบการณ์ความสำเร็จ/ไม่สำเร็จ ขององค์กรพัฒนาเอกชน ( NGO ) ผมทำงานมาหลากหลาย ยาวนาน เพราะมีจิตอาสา ต้องการทำงานให้สังคมส่วนรวมดีขึ้น เพราะเมื่อส่วนรวมดี เราและลูกหลานรวมทั้งคนที่เรารัก ก็จะได้ดีขึ้นด้วย “ สังคมเลว ทำให้คนกลายเป็นผี สังคมดี ทำให้ผีกลายเป็นคน “หัวใจของพุทธศาสนาคือ “ การคิดดีทำดีเพื่อตนเองและผู้อื่น ส่วนรวมชุมชนสังคมบ้านเมือง” คือหลักในการทำงาน ทำให้ดีที่สุด ทำด้วยความรับผิดชอบ มุ่งมั่นแน่วแน่ ไม่หยุด หากงานไม่เสร็จ การทำงาน ต้องเริ่มจากการศึกษาเรียนรู้ให้เข้าใจแจ่มชัด แล้วใช้สติปัญญาความจริง ตัดสิน และเมื่อทำงานไป ต้องมีการสรุปบทเรียน หาข้ออ่อนจุดบกพร่องข้อดีจุดแข็ง แล้วปรับปรุงแกไข อุดมคติ คือ สร้างสังคมแห่งความรักความเข้าใจกัน มีสิทธิเสรีภาพความเสมอภาคเป็นธรรม มีสุขปราศจากทุกข์ ทุกคนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสร้างสรรค์สังคมมั่งคงมั่นคั่งและยั่งยืน ผ่านงานทุกระดับ นิสิต นักศึกษา จิตอาสา ชมรม สังคมสงเคราะห์ องค์กรภาคประชาชน PO & NGO งานสิทธิเสรีภาพของประชาชน งานพรรคการเมืองเชิงอุดมคติ & อุดมการณ์ การเมืองในรัฐสภา ร่วมรัฐบาล และองค์กรระหว่างประเทศ ฯลฯ 2.1 องค์กรพัฒนาเอกชน ที่ไม่สำเร็จและล้มเหลว มาจากการไม่เข้าใจบทบาทของตนเอง และองค์กร NGO ที่เป็น Secondary ไม่มีการประยุกต์ให้สอดคล้องกับสังคมไทย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศไทย ไม่เข้าใจสังคมไทย และประวัติศาสตร์ของประชาชนและประเทศไทย ขาดการศึกษาหาความรู้ และการใช้สติปัญญา ความจริง ในการทำงานและแก้ปัญหา ขาดหลักคิดและการจัดการในการทำงาน โดยเฉพาะ “เรื่องการเจรจาต่อรองและการล๊อปปี้ ” ซึ่งเป็นศาสตร์และศิลปะที่จำเป็นในการทำงานกับนักการเมืองข้าราชการกลุ่มทุนและทหารฯ มักใช้อารมณ์ อคติ ที่มองสถาบันทหาร ข้าราชการ องค์กรธุรกิจฯ ในเชิงลบ ไม่จำแนกดีเสีย มองประชาชน เป็นฝ่ายถูกหมด เพราะถูกข่มเหงรังแก เอาเปรียบ จากคนส่วนน้อยที่ได้เปรียบ ไม่ได้แยกแยะข้ออ่อน ความจำกัด และการขาดคุณภาพของชาวบ้าน ในบางด้านบางประเด็น ต้องเข้าใจว่า “ ทุกฝ่ายล้วนมีจุดดีจุดแข็ง และข้ออ่อนข้อเสีย และความจำกัด “ขาดการจำแนก การสรุปบทเรียน ที่จะนำข้อดีมาเสริม และแก้ไขจุดอ่อน ปัญหาใหญ่ส่วนหนึ่ง คือ “ การขาดเงินทุน “ คือ การพึ่งตนเองไม่ได้ในการบริหารงาน ไม่สันทัดในการหาทุนและการสนับสนุนจากรัฐ ธุรกิจ และต่างประเทศ แบบไม่มีเงื่อนไข ผู้ทำงาน มีรายได้ไม่เพียงพอในการใช้ชีวิตและการครองชีพ ทำให้ถึงจุดหนึ่ง ต้องออกไปฯ 2.2 องค์กรพัฒนาเอกชนที่สำเร็จ มีค่อนข้างน้อย เป็นองค์กรนำทางความคิด การประสานร่วมมือกับทุกฝ่ายมีกิจกรรมสม่ำเสมอได้การยอมรับ มีความพร้อมในด้านความคิด ความเป็นผู้นำ เข้ากับชาวบ้าน มีสื่อ เผยแพร่เป็นประจำ มีผู้นำที่เก่งมีความสามารถ ในการพัฒนาองค์กร และบุคลากร โดยเฉพาะชาวบ้านที่ร่วมงาน มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และได้รับการยอมรับจากฝ่ายต่างๆ การเมือง ข้าราชการ ธุรกิจ ฯลฯ มีการประสาน สัมพันธ์ เชื่อมโยงกับภาคส่วนต่างๆอย่างสม่ำเสมอ มีความสามารถและสันทัดในการระดมทุน จากฝ่ายต่างๆและเอกชน และบริหารการเงินได้ดี คิดและสร้างสรรค์กิจกรรมที่ดีเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม จึงได้รับการสนับสนุนจากเอกชนฯ เป็นองค์กรที่มีเครือข่ายทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งต่างประเทศ มีการจัดประชุมเชิงวิชาการ และการระดมความคิดเห็นและความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ มีการสรุปบทเรียนประจำ จึงสามารถปรับปรุงองค์กรและบุคลากรให้สอดคล้องสถานการณ์