ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของ องค์กรพัฒนาเอกชน ( NGO ) ก. ต้องเอาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศไทยเป็นหลัก เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้ NGO ได้รับการสนับสนุนและร่วมมือจากประชาชน ที่ผ่านมา NGO มักใช้กรอบคิดของตะวันตก ที่เน้นสิทธิของปัจเจกเป็นหลัก ซึ่งไม่ใช่จะผิดแต่สิทธิของปัจเจก มิใช่อยู่ได้โดยโดดๆ ต้องขึ้นต่อสิทธิของส่วนรวม ของบ้านเมืองหลักการปฏิบัติ คือ การสนับสนุนช่วยเหลือปัจเจกที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐฯ แต่หากปัจเจก ทำผิดทำไม่ถูก โดยละเมิดสิทธิของชุมชน สังคม ต้องชี้แจงให้เข้าใจ ให้แก้ไข คือ สิทธิของปัจเจก จะต้องขึ้นต่อสิทธิของส่วนรวมและผลประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติ ข. ความสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล หนึ่ง. หลักการสำคัญอย่างหนึ่งของ องค์กรพัฒนาเอกชน ( NGO ) คือ การทำงานร่วมและสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล จะทำให้ได้รับการสนับสนุนและเกิดผลดี คือ มีความเข้าใจและยอมรับซึ่งกันและกัน และการไม่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล อย่างเสียๆหายๆ โดยขาดข้อมูลและข้อเท็จจริง โดยไม่จำเป็น สอง. เป็นความจำเป็นที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจนโยบายของรัฐบาล และข้าราชการฯ พิจารณาเลือกสรร นโยบายของรัฐบาลในส่วนที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านและบ้านเมือง และมีการแสวงหาความร่วมมือกับรัฐบาลข้าราชการฝ่ายการเมืองและองค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้อง สาม. การวิจารณ์และเสนอแนะต่อนโยบายและการกระทำที่ไม่ถูกต้องของรัฐบาลอย่างสร้างสรรค์ ในสังคมไทย ที่คนส่วนน้อยมีอำนาจและเอาเปรียบคนส่วนใหญ่ ที่ยากจน เพราะโครงสร้างและระบบของสังคม ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ถูกคนส่วนน้อย ที่เป็นนักการเมือง ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร และกระบวนการยุติธรรม เข้าครอบครองและเข้าถึง ขณะที่คนส่วนใหญ่ ที่เป็นกรรมกร ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกร ชาวบ้าน คนในชนบท และชนชาติส่วนน้อย ขาดปัจจัยการผลิต และได้รับการจัดสรรส่วนแบ่งอย่างไม่เป็นธรรมและชอบธรรม ทำให้ส่วนใหญ่ยากจน เป็นทุกข์และเดือดร้อน และได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากรัฐบาลไม่เพียงพอ อีกทั้งยังถูกคนส่วนน้อยที่มีอำนาจ และใช้กลไกรัฐ ข่มเหงรังแก ฯ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรภาคประชาชน และผู้รักความเป็นธรรม ฯ จึงต้องเข้าไปช่วยแนะนำปกป้อง ให้สามารถต่อสู้กับคนส่วนน้อยที่มีอำนาจได้ระดับหนึ่ง สี่ . การสรุปบทเรียน-การเก็บรับผล จากการทำงานร่วมกับรัฐบาล แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ค. ภาวการณ์นำขององค์กร องค์กรพัฒนาเอกชน ( NGO ) จะประสบความสำเร็จ ได้ ต้องมีหลายปัจจัยที่สำคัญ กรอบคิด ปรัชญา แนวทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี จังหวะก้าวและขั้นตอน ผู้นำองค์กร ลักษณะการนำ นำเดียว นำหมู่นำเป็นกลุ่ม และภาวการณ์นำของผู้นำ ต้องสร้างองค์กรที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ขับเคลื่อนด้วยความรู้ สติปัญญา ความจริง ทั้งตัวผู้นำ คณะกรรมการ ผู้ปฏิบัติงานและสมาชิกขององค์กร และชาวบ้านที่เป็นเป้าหมายลักษณะของผู้นำที่ดี คือ เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ ที่เป็นจริง ภาวการณ์นำของผู้นำ จะต้องแสดงบทบาทได้ทั้งในการบริหารงานปรกติและช่วงวิกฤต จากความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพสิทธิผลขององค์กร และการร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายต่างๆ รวมทั้งภาครัฐ การเมือง ข้าราชการ กองทัพ และเอกชน ฯ ง. ทรัพยากรสนับสนุน ทรัพยากรที่สำคัญที่สุด คือ ตัวบุคลากรที่มีคุณภาพ ที่มาจากการคัดเลือกสรรหาและสร้างขึ้น ที่ทำงาน ห้องสมุด อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ โซเชียลมีเดีย สื่อ พาหนะ ทุน ฯลฯ จ. สื่อประชาสัมพันธ์ เป็นหัวใจและความจำเป็น ที่จะเผยแพร่ความคิดปรัชญาเป้าหมายและกิจกรรมขององค์กร ไปถึงผู้เกี่ยวข้องและประชาชน สื่อสิ่งพิมพ์ จุลสาร จดหมาย และสื่อโซเชียลมีเดีย การแสดงบทบาทของผู้นำหรือสมาชิกขององค์กร ให้ประชาชน และภาคส่วนต่างๆรู้จัก การแสดงท่าทีความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ต่างๆที่จำเป็น หลักการสำคัญการการประชาสัมพันธ์ คือ ทำให้กลุ่มเป้าหมาย และชาวบ้านรู้จักและยอมรับ เห็นความสำคัญขององค์กร และจะคิดถึง เมื่อมีประเด็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตัวเขา ฉ. การพัฒนาองค์กรและตัวบุคคล รวมทั้งกลุ่มชาวบ้านที่เป็นเป้าหมาย เป็นหัวใจและความจำเป็นขององค์กร การทำให้องค์กรเข้มแข็งและขยายตัว เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเป้าหมาย ชาวบ้านและภาครัฐ การทำงาน โดยถือเป็นหน้าที่และภารกิจเพื่อให้งานบรรลุ ให้ชาวบ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้ คิดเองทำเองได้ เป็นความสำเร็จที่แท้จริงขององค์กรพัฒนาเอกชน ทัศนความคิดเห็นต่อองค์กรอื่นๆและภาคส่วนอื่นๆ หลักการต่อการมีทัศนะที่ถูกต้อง คือ การมองจากความเป็นจริง “ การแสวงหาสัจจธรรม จากความเป็นจริง “ มิตรภาพระหว่างองค์กร และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลการ มีความสำคัญความจำเป็น ที่จะต้องได้รับการสร้างสรรค์พัฒนา บนพื้นฐานของความรักความเข้าใจ ในหลักการ ๑. เคารพซึ่งกันและกัน ๒. ไม่ก้าวก่ายกัน ๓. เสมอภาคเท่าเทียมกัน ๔. อำนวยประโยชน์แก่กัน ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร และฝ่ายต่างๆ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์และประวัติศาสตร์ระหว่างกัน เชิงบวก ได้แก่ มิตรภาพและผลประโยชน์ร่วมกันขององค์กรและสมาชิกที่เป็นหลักและหัวใจของการร่วมมือและพัฒนาสร้างสรรค์ร่วมกัน เชิงลบ ได้แก่ ความไม่เข้าใจกัน จากทัศนคติ ความคิดและข้อมูลที่ยังไม่ตรงกัน ที่ยังขาดการทำความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน ซึ่งควรจะได้รับการแลกเปลี่ยนกันอย่างตรงไปตรงมา ด้วยความเคารพซึ่งกันและกัน ส่วนหนึ่งมาจาก กรอบความคิดขององค์กรพัฒนาเอกชน ( NGO)ของตะวันตก เราต้องใช้ความรักและความเข้าใจกัน มาพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ลดความคิดเชิงลบที่มีต่อกัน และเชื่อมั่นว่า จะเกิดผลดีและมีความคิดเชิงบวกต่อกัน จากการได้ร่วมมือและแลกเปลี่ยนกัน อย่างจริงใจ จริงจังและสม่ำเสมอ ข้อเสนอแนะที่จะเพิ่มบทบาทและความสัมพันธ์ ระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชน และฝ่ายต่างๆ หนึ่ง การสรรสร้างโครงการความร่วมมือ ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น บนพื้นฐานของความรักความเคารพซึ่งกันและกันอย่างเสมอภาคตรงไปตรงมา สอง ทรัพยากรสนับสนุน เป็นการสนับสนุนและการร่วมมือกัน ในสิ่งที่มี และสิ่งที่ขาด ของแต่ละส่วนเพื่อเติมเต็มซึ่งกันและกัน สาม การฝึกอบรมและศึกษาดูงาน เป็นกิจกรรมเพื่อเติมเต็มข้อมูลและข้อเท็จจริงที่ถูกต้องร่วมกัน ควรจะจัดขึ้นเป็นประจำ ใช้สถานที่ของแต่ละฝ่าย หรือสถานที่ที่มีความเหมาะสม สี่ กฎเกณฑ์และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ต้องเรียบง่าย เข้าใจง่าย และ ปฏิบัติได้ทั้งสองฝ่าย ห้า การมีคณะทำงานร่วมกันทั้งสองฝ่าย จากคนที่มีความรู้ความเข้าใจและเจตนาดีร่วมกัน เพื่อให้งานการพัฒนาความร่วมมือในองค์กรพัฒนาเอกชน ( NGO ) ของทั้งสองฝ่าย และหรือกับฝ่ายต่างๆ