ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ผมไปร่วมทุกปี การรำลึกประวัติศาสตร์ 6 ตุลาคม 2519 ปีนี้ ยิ่งจะต้องไป เพราะเป็นการรำลึก ครอบรอบ 40 ปี แม้จะเห็นกำหนดการ มีแนวโน้มด้านเดียวก็ตามที่ เพราะ คนจัด มาแล้ว ก็จากไป แต่ประวัติศาสตร์ ประชาชน ความเป็นจริง ยังคงอยู่ ต่อไป 6 ตุลาคม 2519 คณะของเรา ที่ประกอบด้วย อ.ธีรยุทธ บุญมีและภรรยา ประสาร มฤคพิทักษ์และภรรยา วิสา คัญทัพ มวลชน สุขแสง วิสุทธิ์ แช่มช้าง และ ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ( ส.สุข ชมจันทร์ ) ฯลฯ เราไม่ได้อยู่เมืองไทย เพราะในยุคนั้น ” เขา” ไม่มีพื้นที่สำหรับ คนคิดต่าง โดยเฉพาะนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เราเดินทาง เข้าสู่ชนบท เพื่อแสวงหา แนวทางการต่อสู้ใหม่ ที่เราไม่คุ้นเคย แต่ไม่มีทางเลือก เราไปในวันที่ 7 สิงหาคม 2519 ตามหลังผู้นำชุด เสกสรรค์-จีรนันท์ ปรีดี บุญซื่อ ประสิทธิไชโยและภรรยา สมาน เลือดวงหัด และหมอเหวง โตจิราการ ที่เดินทางไปปารีส และเข้ามาทางจีน ประมาณกลางปี 2518 ผู้นำการต่อสู้ในยุค 14 ตุลาคม 2516 ( คนเดือนตุลา ) ประเมินสถานการณ์อย่างเป็นจริง สรุปได้ว่า จะมีการล้อมปราบนักศึกษาประชาชน ในเร็ววันนี้ ในช่วงเวลา ไม่นานนัก เพราะ 1.ด้านหลัก ชนชั้นปกครองหรือผู้บริหารประเทศ ผู้กุมอำนาจรัฐ มีกรอบความคิดออกไปทางขวาจัด รับไม่ได้กับ แนวทางประชาธิปไตย และความคิดเห็นต่างของประชาชน นักศึกษา นักการเมืองผู้รักชาติฯ ได้อาศัยช่วงเวลาหลังจาก 14 ตุลา 2516 ที่เพลี่ยงพล้ำ รื้อฟื้นสร้างกำลังขวาจัดขึ้นมา มีการจัดตั้ง กลุ่มนวพล กระทิงแดง วิทยุยานเกราะ กลุ่มตำรวจทหารฯ ออกมาต่อต้านฝ่ายประชาธิปไตย สร้างสถานการณ์ต่างๆ ตั้งแต่การลอบสังหารผู้นำชาวนา กรรมกร นักศึกษา และประชาชน และการนำจอมพลประภาส จอมพลถนอม ( ในรูปของการบวชเป็นสามเณร ) กลับเข้ามาเมืองไทย ฯ 2.ด้านรอง กระแสของกลุ่มซ้ายจัด ที่รับอิทธิพลทางความคิด จาก Red Guards ฯลฯ ที่เน้นความรุนแรง ที่เน้นปลุกระดม จัดตั้งกลุ่มขยายเครือข่ายในหมู่นักศึกษา กรรมกร ชาวนา และประชาชน สร้างกระแส “ ต่อสู้กับ จักรพรรดินิยม ศักดินานิยมและทุนนิยมขุนนาง “ อย่างไม่มีการจำแนก ใช้ผลพวงของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย 14 ตุลา 2516 ไปในทางที่ผิด สร้างศัตรูมากกว่าสร้างมิตร โดยก็มี “ การต่อสู้ทางความคิด ระหว่าง ฝ่ายประชาธิปไตย กับ ฝ่ายซ้ายจัด “ ในทุกบริบทโดยเฉพาะ ครั้งสุดท้าย “ ในประเด็น ของ การยุติการชุมนุม กับ การชุมนุมต่อ “ ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ปรากฏว่า “ แกนนำฝ่ายต้องการชุมนุมต่อ เพื่อสร้างกระแสต่อต้านทรราช “ เป็นฝ่ายชนะ ทั้งๆที่ มีความเห็นร่วมกันว่า “ หากมีการชุมนุมยืดเยื้อ จะเป็นการสร้างเงื่อนไข ให้ฝ่ายขวาจัดปราบ “ด้วยกรอบคิดซ้ายจัด “ เป็นการปลุกกระแสการต่อสู้ ให้มีการปราบ ประชาชนจะได้ลุกขึ้นสู้ “ พวกนี้ ได้กล่าวหา “ ดร.ป๋วย “ ที่ออกมาห้าม มิให้มีการชุมนุม ว่า “ ขัดขวางการต่อสู้ของประชาชน “ แกนนำบางคน ได้กล่าวซ้ำ ถึงคุณูปการของการชุมนุมครั้งนี้ ในโรงเรียนการเมืองในป่า แกนนำส่วนหนึ่งของกลุ่มขวาจัดนี้ ปัจจุบันได้ไปร่วมกับพรรคการเมืองทุนสามานย์ ที่มีเจ้าของ ยุค ศรีอารยะ ได้กล่าวกับผม ในวันที่ 4 ตุลาคม 2559 ขณะที่เราไปร่วมงานอาหารเจ ที่เยาวราช ว่า “ ผมและเพื่อนๆ ได้ร่วมประชุมกับแกนนำซ้ายจัด โดยได้นำเสนอเหตุผลว่า “ ควรยุติการชุมนุมที่ธรรมศาสตร์ เพราะ จะถูกใช้เป็นเงื่อนไขของการล้อมปราบของกลุ่มขวาจัด ที่ก่อกระแสต่อต้านฝ่ายประชาธิปไตยมาต่อเนื่อง แต่กลุ่มพวกนี้ ที่ได้รับอิทธิพลมาจาก กลุ่มซ้ายจัด Red Gaurds ของจีน แล้วนำมาเผยแพร่นักศึกษาไทย “คนเหล่านี้ มิได้เดินแนวทางมวลชน ที่จะต้องทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน แต่ทำเพื่ออคติของตน…… ผม นำเสนอ ในการคุยแลกเปลี่ยนกับ ดร. เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ ว่า 1. “ พวกนักประชาธิปไตยไทย มีข้ออ่อนในเรื่องการ สรุปบทเรียน “ ไม่ยอมรับความจริง โดยเฉพาะข้อผิดพลาดของพวกตน จะโยนความผิดให้ ข้าราชการตำรวจทหารนักการเมืองกลุ่มทุน ทำให้เรา ไม่สามารถแก้ ความคิดที่ผิด อคติของตนได้ ทำให้ ไม่สามารถหาทางที่ถูกต้องได้ จึงย่ำอยู่กับที่ บางคน มองพลังของประชาชนใหญ่เกินจริง เช่น “ อ้างว่า มวลชน จะออกมาขับไล่รัฐบาลที่ไม่ดี ได้เสมอ “ 2.ในการจัดงานรำลึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของประชาชน ต้องจัดให้ “ วีรชนมีความหมาย ผู้ร่วมงานได้คุณค่า สร้างสรรค์พัฒนาประชาธิปไตย ให้ก้าวหน้า “ควรจะต้องมีคณะกรรมการที่หลากหลาย ที่มาจากผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ และองค์กรที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน ควรจะต้องเน้น การรำลึกถึงวีรชนผู้กล้า และได้เสียสละไป ศึกษาถึงจิตใจการต่อสู้ของผู้เข้าร่วมเหตุการณ์ หลายครั้ง คณะผู้จัด มีความโน้มเอียง “ เอาความคิดของกลุ่มตนเป็นหลัก “ เชิญเฉพาะพวกเดียวกันพูด และเสนอความคิดด้านเดียว ซึ่งไม่ได้วิเคราะห์แยกแยะ ไม่ยอมรับความจริง และความคิดที่แตกต่างของมิตร บางส่วน แย่มาก “ ไม่เคารพเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ ไม่เคารพวีรชน “ เอาวีรชนมารับใช้พวกตน “ เอาเหตุการณ์ไปรับใช้ปีกการเมืองและพรรคที่ตนสังกัด บางครั้งก็มีการด่าว่า “ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย “ 3.ในฐานะรุ่นพี่ ที่ร่วมต่อสู้มา ประเภท “ ยามลำบากอยู่หน้า “ ได้เตือนเสมอ ในเรื่องการจัดงานรำลึก ต้องให้เกียรติ เพื่อนมิตรที่ร่วมต่อสู้ ที่มาร่วมงาน ไม่ว่าฝ่ายใด ส่วนความคิดที่ต่างกันก็สงวนกันไว้ก่อน ต้องเน้นการเคารพประวัติศาสตร์ สามัคคีกับเพื่อนมิตรที่ร่วมต่อสู้ด้วยกันมา สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม ต้องสามารถสรุป “ วิกฤตของสังคมไทย ต้นเหตุอยู่ไหน แล้วรวมพลังแก้ให้ถูกทาง จึงจะแก้วิกฤตได้จริง “โดยสรุป รำลึก 40 ปี 6 ตุลาคม 2519 อย่างถูกต้องมีคุณค่า ประโยชน์ คิดสร้างสรรค์ พัฒนาต่อไปได้จริง ผมไปร่วมงานรำลึก 40 ปี 6 ตุลาคม 2519 แต่เช้า อันเป็นนิสัยประจำตัว งานจัดขึ้นบริเวณลานประติมากรรม หน้าหอประชุมใหญ่ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เจอน้องนุ่ง เพื่อนพ้องน้องพี่มากมาย ที่เคนเรียน ทำงาน และร่วมสู้รบในหลายเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ ส่วนใหญ่มีการทักตอบ และยกมือไหว้ในฐานะความอาวุโส และได้ถามทุกข์สุข ฐานะ ความเป็นอยู่ สุขภาพ สำหรับผม เอาเรื่องความเป็นมิตรสหาย มาก่อน ความคิดต่างที่แยกเป็นฝักฝ่าย จากอดีตนายกทักษิณ 2544 จึงทักทายพูดคุยกันได้ทุกสี อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ หมอพรมมินทร์ ดร.ธงชัย วินิจกุล , ดร.สุรชาติ บำรุงสุข, ฯ และ สุชีลา ตันชัยนันท์ บุญส่ง ชเลธร …… และผู้คนอีกมากมาย ที่ไม่ได้รู้เจอกันมานาน หลายปี หลายสิบปี แต่ก็ต้องยอมรับสภาพความจริง น้องและเพื่อนที่ออกโทนสีแดง ทักทายกันได้สั้นๆ ต่างออกไปจากเดิม มีผู้นำนักศึกษาบางคนที่เคยคุ้นเคย ผมทักก่อน แต่หน้าตึง ไม่ตอบ “ เป็นคนที่ประกาศว่า “ ทักษิณมีบุญคุณ “แต่ที่สำคัญ คือ “ จะได้กำลังใจทางอ้อมจากเพื่อนมิตรและน้องๆ ที่เชื่อมั่น ความจริงใจ จริงจัง มั่นคง “ ที่ได้เป็นหลัก กลับเป็นลุงสัมผัส ผู้ใหญ่วัย 90 ปี ที่ยืนคุยกันนาน ในช่วงเช้าที่คนยังมาน้อย “ ลุง มีความผิด ที่ไม่สามารถสร้างคนรุ่นใหม่ มาสานต่อสืบทอดเจตนารมณ์เพื่อประชาธิปไตยได้ ……( ผม ได้เสริมด้วยว่า “ เป็นความผิดของคนรุ่นผมด้วย เช่นเดียวกันครับ , ผมจึงใช้เวลาที่เหลือให้คุ้มค่า “ ) ข้ออ่อนที่สำคัญ สำหรับขบวนการประชาชน คือ มีความคิดเอกชน ซ้ายจัด และไม่สรุปบทเรียนที่เป็นจริง ….”