เสือตัวที่ 6

เดือนรอมฎอน ถือเป็นเดือนอันศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของของพี่น้องชาวมุสลิมทั่วโลก เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่เชื่อกันว่าพระผู้เป็นเจ้าประทานพระคัมภีร์อัลกุรอานลงมาให้แก่ นบีมูฮัมหมัด ศาสดาของศาสนาอิสลาม เพื่อใช้สั่งสอน และเป็นเครื่องชี้ทางให้แก่อิสลามมิกชนทั่วโลกพระคัมภีร์ระบุว่า วันที่พระเจ้าประทานอัลกุรอานให้แก่ นบีมูฮัมหมัด คือ ช่วงวันที่ 26-27 ของเดือนรอมฎอน ซึ่งชาวมุสลิมทั้งโลกจะถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดด้วยเหตุนี้ ในเดือนรอมฎอน ชาวมุสลิมทุกคนจึงต้องรักษาศีล อดอาหารเพื่อฝึกฝนการบังคับตนเองและเพื่อให้เข้าถึงคำสอนของนบีมูฮัมหมัด รวมถึงใช้เวลาในการศึกษาพระคัมภีร์อัลกุรอานอย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการบูชาพระเป็นเจ้า เดือนนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าเดือนบวชของอิสลามมิกชนหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ชาวมุสลิมจะปฏิบัติศาสนกิจเพื่ออัลเลาะห์ ด้วยการอดอาหาร งดเว้นเครื่องดื่ม พร้อมทั้งงดเว้นจากการร่วมประเวณี รวมทั้งเข้มงวดระมัดระวังตนเองไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งต้องห้ามของศาสนา ไม่กระทำใดที่ขัดต่อคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า การเริ่มต้นวัตรปฏิบัติต่างๆ ในเดือนรอมฎอน จะมีขึ้นตั้งแต่วันแรกของเดือน โดยการประกาศการเริ่มต้นเดือนรอมฎอนจะทำโดยผู้นำทางศาสนาของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในปี 2567 นี้ สำนักจุฬาราชมนตรีประกาศให้วันที่ 1 เดือนรอมฎอน ฮิจเราะห์ศักราช 1445 ตรงกับวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567และการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเป็นห้วงเวลาที่สำคัญยิ่งของชาวมุสลิมทั้งโลก ไม่เป็นเพียงวิถีการปฏิบัติตามหลักทางศาสนอิสลามตามคำสอนในคำภีร์อัลกุรอาน แต่ยังเชื่อมโยงกับพฤติกรรมของผู้คนในสังคม เคยมีผลการศึกษาพบว่า ระหว่างช่วงเดือนของการถือศีลอด คดีการก่ออาชญากรรมลดลง

การถือศีลอดหรือการถือบวช ภาษาอาหรับใช้คำว่าอัศเซาม์หรืออัศศิยาม ความหมายเดิมหมายถึง การงดเว้น การระงับการหักห้ามตัวเองในนิยามศาสนบัญญัติผลจากการถือศีลอด จะนำไปสู่คุณธรรมนานาประการ เช่นแสดงให้ประจักษ์ชัดถึงความเสมอภาคทางสังคม สามารถควบคุมจิตใจของตนเองได้ มีความอดทน อดกลั้น มีคุณธรรม มีความสำรวมตนเองและยำเกรงพระเจ้า ไม่ประพฤติผิดในขณะถือศีลอด มีจิตเมตตาสงสาร เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น มีความสำนึกในเมตตาแห่งพระผู้เป็นเจ้า มีระเบียบวินัยและฝึกให้ตรงต่อเวลาเพราะการถือศีลอดมีเงื่อนไขให้ทุกคนปฏิบัติอยู่ในกรอบแห่งความประพฤติอันดีงามมากมายตามหลักศีลธรรม (เอี๊ยะห์ซาน) ซึ่งหมายความถึงความดีต่างๆ ที่ต้องประพฤติอยู่เสมอ อันได้แก่หน้าที่และมารยาทที่ต้องแสดงออก และคุณสมบัติที่ดีทางจิตใจให้ระลึกเสมอว่าคนทุกคนมีเพื่อน ไม่ว่าเพื่อนร่วมงานเพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อนร่วมหมู่บ้าน ตลอดจนเพื่อนร่วมโลก ดังนั้นคนทุกคนต้องหวังดีต่อกัน มีความประพฤติที่ดีต่อกัน ไม่ดูถูก ไม่เกลียด ไม่อาฆาตแค้นไม่ทับถมหรือทำลายใครโดยเฉพาะผู้บริสุทธิ์โดยต่างคิดที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

หลักของศาสนาอิสลามให้ไว้ชัดเจนว่า ชีวิตของมนุษย์ทุกคน ไม่มีความแตกต่างกันว่าเขาจะเป็นมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิม เป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการเคารพ และการเอาชีวิตหรือการเข่นฆ่าชีวิตผู้อื่นนั้นเป็นสิทธิของพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ซึ่งพระองค์คือผู้ทรงให้ชีวิตแก่มนุษย์ นอกเหนือจากพระผู้เป็นเจ้าแล้วไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิที่จะลิดรอนชีวิตของผู้อื่นในสิทธิและเนี๊ยะอ์มัต (ความโปรดปราน) ดังกล่าวนี้ของพระผู้เป็นเจ้าได้ดังนั้น การสังหารผู้บริสุทธิ์โดยเจตนา เป็นหนึ่งในบาปใหญ่ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดการลงโทษที่รุนแรงไว้ คัมภีร์อัลกุรอานให้ความสำคัญอย่างมากในการรักษาเกียรติและชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริสุทธิ์ถูกสังหาร นั้นหมายถึงสิทธิในการมีชีวิตและการดำเนินชีวิตถูกเอาออกไปจากเขา สิทธิและเนี๊ยะอ์มัต (ความโปรดปราน) ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทานให้แก่เขาต้องถูกลิดรอนไปจากเขาอย่างไม่พึงประสงค์

คัมภีร์อัลกุรอานให้ความสำคัญอย่างมากในการเคารพให้เกียรติและการรักษาชีวิตของเพื่อนมนุษย์ผู้บริสุทธิ์ ความสำคัญและคุณค่าดังกล่าวนี้มีมากถึงขั้นที่ว่า การสังหารชีวิตของคนบริสุทธิ์เพียงคนเดียวเท่ากับการสังหารมนุษย์ทั้งมวล จากจุดนี้เองพระผู้เป็นเจ้าจึงทรงสั่งห้ามผู้ศรัทธาไว้อย่างรุนแรงไม่ให้สังหารผู้บริสุทธิ์โดยเจตนา ในคัมภีร์อัลกุรอาน พระองค์ได้ทรงตรัสไว้ตอนหนึ่งว่าผู้ใดสังหารชีวิตหนึ่งโดยมิใช่เป็นการชดเชยอีกชีวิตหนึ่ง หรือมิใช่เนื่องจากการบ่อนทำลายในแผ่นดินแล้ว ก็ประหนึ่งว่าเขาได้สังหารมนุษย์ทั้งมวลและผู้ใดสังหารผู้ศรัทธาโดยเจตนา ดังนั้นการตอบแทนของเขาก็คือนรกญะฮันนัม โดยที่เขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาล และอัลลอฮ์ก็ทรงกริ้วโกรธเขา และทรงสาปแช่งเขา (คือขับออกจากความเมตตาของพระองค์) และทรงเตรียมการลงโทษอันใหญ่หลวงไว้แล้วสำหรับเขาผู้ใดสังหารผู้ศรัทธาโดยเจตนา ดังนั้นการตอบแทนของเขาก็คือนรกญะฮันนัม โดยที่เขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาล เหล่านี้คือคำสอนในหลักศาสนาที่รับรู้และเข้าใจโดยทั่วกัน ความชัดเจนมีอยู่ในคำสอนที่ว่าชีวิตของมนุษย์ทุกคน ไม่มีความแตกต่างกันว่าเขาจะเป็นมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิม เป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการเคารพ และการเอาชีวิตหรือการเข่นฆ่าชีวิตผู้อื่นนั้น เป็นสิทธิของพระผู้เป็นเจ้าแต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น ซึ่งพระองค์คือผู้ทรงให้ชีวิตแก่มนุษย์ นอกเหนือจากพระผู้เป็นเจ้าแล้วไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิที่จะลิดรอนชีวิตของผู้อื่น

ปรากฏการคนร้ายใช้อาวุธปืนลอบยิง อาสาสมัคร ทหารพรานหญิง นูรีซัน พรหมศรี บริเวณพื้นที่ ตลาดดุซงญอ หมู่ที่ 1 ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ขณะช่วยญาติขายอาหารอยู่ในตลาดจนเสียชีวิตอย่างน่าอนาจเมื่อปลาย มี.ค.ที่ผ่านมา โดยกลุ่มแบ่งแยกการปกครองจากรัฐพยายามสร้างสถานการณ์ในทุกรูปแบบ มุ่งหวังกระทำต่อเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนผู้บริสุทธิ์ ทำลายบรรยากาศเดือนรอมฎอนแห่งสันติสุข ซึ่งเป็นห้วงเวลาแห่งการปฏิบัติตนทำความดี โดยไม่คำนึงถึงผู้บริสุทธิ์ นับเป็นการขัดกับหลักการอันดีงามของศาสนาที่ระบุว่า การสังหารผู้บริสุทธิ์โดยเจตนา เป็นหนึ่งในบาปใหญ่ที่พระผู้เป็นเจ้าทรงกำหนดการลงโทษที่รุนแรงไว้ คัมภีร์อัลกุรอานให้ความสำคัญอย่างมากในการรักษาเกียรติและชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์อย่างเคร่งครัด