“พรรคเพื่อไทย” สู้อุตส่าห์ นำทัพ “พรรคร่วมรัฐบาล” มาร่วมแถลงข่าวพร้อมเพรียง สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนได้เห็นว่า ทุกพรรคในรัฐบาลต่างให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการแจกเงินหมื่น ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ให้กับคนไทยที่มีอายุเกิน 16ปี จำนวน 50 ล้านคน 


 ในท่ามกลางเสียงอึกทึก และบรรยากาศอันชื่นมื่นภายในครม. เมื่อวันที่23 เม.ย.67ที่ผ่านมา อดทำให้หลายฝ่ายเพ่งตามองไปถึงท่าทีของ “แบงก์ชาติ” ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะออกมาเช่นใด เพราะนับตั้งแต่วันที่รัฐบาล


  โดยเฉพาะ “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ส่งสัญญาณ “ลุยต่อ”  ก็แทบไม่มีปฏิกิริยาใด ๆจาก “เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ”  ผู้ว่าการแบงก์ชาติ มาตั้งแต่ก่อนเทศกาลสงกรานต์แล้ว ขณะเดียวกัน มีการตั้งข้อสังเกตถึง “ความไม่ปกติ” ระหว่าง รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย กับผู้ว่าการแบงก์ชาติ นั้นดูมีระยะห่างอย่างชัดเจน 
 อย่างไรก็ดี เมื่อการแจกเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เป็นนโยบายเรือธง ของพรรคเพื่อไทย มาตั้งแต่ครั้งหาเสียงเลือกตั้ง เมื่อ 2566 ถึงอย่างไร พรรคเพื่อไทยต้องดันต่อ แม้ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา หลังจากที่นายกฯเศรษฐา นำทีมแถลงความคืบหน้าโครงการอย่างเป็นทางการ ไปเมื่อ 23 เม.ย. ผู้ว่าฯแบงก์ชาติ ส่งหนังสือแนะนำให้ครม.ทบทวนหลักการ โครงการแจกเงินหมื่น ด้วยความยาวทั้งสิ้น 5หน้า 


 โดยธปท.ได้เสนอความเห็นพร้อมข้อสังเกตสำคัญที่ได้เคยแจ้งต่อคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ ด้วยกัน 4 ประเด็นหลัก ๆได้แก่


 1.ความจำเป็นในการดำเนินโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ 

 2 . แหล่งเงินสำหรับดำเนินโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ซึ่งในประเด็นนี้ ระบุว่า “ การให้ ธ.ก.ส. ร่วมสนับสนุนการดำเนินโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่เกษตรกร ควรมีความชัดเจนทางกฎหมายว่าการดำเนินการดังกล่าวอยู่ภายใต้หน้าที่และอำนาจ
 และอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ของ ธ.ก.ส. ตามมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 ประกอบกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง” 


 3. ผู้พัฒนาและดำเนินการระบบสำหรับโครงการเติมเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เสนอว่า “ควรใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่น ระบบพร้อมเพย์ และ Thai QR Payment เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ลดต้นทุนในการพัฒนาระบบ และใช้ประโยชน์สูงสุด จากโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินที่มีอยู่” 

 และ4. การบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการรั่วไหลหรือทุจริต  อย่างไรก็ดี  แม้ธปท.จะออกมาแตะเบรค ส่งสัญญาณเตือนไปยังรัฐบาลและโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ “พรรคเพื่อไทย” แล้วก็ตาม แต่อาจยังไม่สามารถ “ต้านทานได้” จนกว่าจะมี “รันเวย์” จากกฤษฎีกา หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ต้องออกโรงเอง !