ชัยวัฒน์ สุรวิชัย อยากจะรู้จังเลย ว่า ความรักแท้ มีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้างจะหาความรักแท้ ได้อย่างไร จะหาได้จากใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด Who Where How When ก่อนหน้านี้ จะต้องค้นหาอ่าน ในหนังสือเรื่องราวของความรัก หนังที่เกี่ยวความรักโรแมนติก Love Story ไปสัมภาษณ์หนุ่มสาวที่กำลังแรกรัก และ คนแก่คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณตา ฯ ที่มีประสบการณ์แห่งรัก ไปเปิดดู Google Website Social Media ต่างๆ หรือ ถามใจเราดู ทำไมเราจึงเสียสละทุกอย่างเพื่อรัก แต่ตอนนี้ง่ายมาก สามารถถามคนไทยทุกคน ทุกหมู่ฝ่าย ทุกหน่วยงานสถาบัน ทั้งในเมืองชนบทของไทย และคนไทยในต่างประเทศ ทั้งต่างชาติที่สนใจและรักเมืองไทย โดยที่ สองตาสองหู และความคิดความรู้สึก ที่ได้เห็น ได้ยินได้ฟัง และได้รับรู้ใจ ที่มีต่อเรื่องราวของในหลวง ทั้งพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระราชดำรัส และพระบรมราโชวาท ที่พระองค์ได้แสดงออกมาตลอด 70 ปีแห่งการครองราชย์ ด้วยพระปฐมบรมราชโองการ “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวยาม” ทั้งหมดที่พระองค์ทรงทำด้วยธรรม สรุปด้วยพระราชดำรัสของพระองค์เอง เพราะ “ ในหลวงรักประชาชน “ ฉะนั้น เมื่อเราได้ที่หมายที่จะแสวงหา เรื่องของความรักแท้ ว่า อยู่ที่ “ ในหลวงรักประชาชน “เราก็มาศึกษาค้นคว้าดูว่า “ ในรักแท้ “ ของในหลวง ที่รักประชาชน พระองค์ได้ทรงใช้อะไรบ้าง 1. หัวใจคือ การใช้ธรรมของพระพุทธเจ้า มาทำหน้าที่ของกษัตริย์ที่ต้องดูแลความทุกข์สุขของประชาชน สูงสุดของการทำบุญ มิใช่วัตถุ แต่เป็น “ คน “ การ ช่วยคน ได้เข้าถึงธรรม การพึ่งตนเอง การเข้าใจตนเอง และผู้อื่น และความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานของตน ของครอบครัว ของชุมนชนและบ้านเมือง ดังเช่น พระบรมศาสดา หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ออกมาทำหน้าที่โปรดเพื่อนมนุษย์ให้พ้นทุกข์มีสุข ด้วยการปลุกให้ตื่น จากการทำชั่ว การลุ่มหลงในสิ่งที่ไม่ดีมอมเมาอำนาจ มาทำดีทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมฯ หากศึกษาให้ครบ ในสิ่งที่พระองค์ทรงทำให้กับประชาชน คือ พระองค์จะใช้ธรรมของพุทธเจ้า เป็นหลักนำ ในหลวง จะเริ่มต้นจากธรรม เน้นความคิดที่ถูกต้อง และเป็นไปเพื่อประชาชนและบ้านเมือง มาก่อน พระราชธรรมทั้ง 10 ประการ ได้แก่ 1. ทาน การให้โดยไม่หวังผลประโยชน์ 2. ศีล การสำรวมในศีล 3. ปริจาคะ การบริจาค 4. อาชชวะ ความซื่อตรง 5. มัททวะ ความอ่อนโยน 6. ตบะ ความเพียร 7. อโกธะ ความไม่โกรธ 8. อวิหิงสา ความกรุณา 9. ขันติ ความอดทน 10. อวิโรธนะ ความยึดมั่นในประเพณี 2. สิ่งที่พระองค์เริ่มใช้ ก่อนที่จะได้ทำอะไร เพื่อประชาชน ทำเพื่อตนเองและผู้อื่น และส่วนรวม การใช้ความรู้ ความคิด สติปัญญา สมาธิ ของตน ให้ได้ดีถูกต้อง ชอบธรรมก่อน การคิดถึงผู้อื่น คิดถึงประชาชน ต้องการแก้ทุกข์ให้กับประชาชน ให้มีสุข ได้มีการทดลองทำ และศึกษาติดตาม สรุปผล จนแน่ใจว่า ได้ผลดี 3. การนำไปใช้ไปปฏิบัติ ต่อทุกภาคส่วน ทั้งนายกรัฐมนตรี รัฐสภา ศาลอัยการ ทหาร ฯและประชาชนในส่วนที่เป็นทางการ หรือกึ่งทางการ เช่น พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท ฯ ต่อบุคคล คณะบุคคล ฯ ต่อสาธารณะการรับสั่งต่อ นายกรัฐมนตรีที่เข้าไปถวายรายงาน บุคคล ฯ โดยส่วนพระองค์ ในส่วนที่ไม่เป็นทางการ คือ การมีพระราชดำรัส ต่อบุคคลที่มีหน้าที่ และชาวบ้าน ในโครงการพระราชดำริ หรือ การเสด็จไปพบชาวบ้านในทั้งทุกแห่งหนของประเทศ ฯลฯ 3.1 บันทึกพล.อ.เปรมประธานองคมนตรี ถึงในหลวง วิธีการทรงงานของพระองค์ ผู้เขียนได้รับพระราชทานพระมหากรุณาให้ตามเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ห่างไกลเป็นสิบๆ ครั้ง ได้ทราบ ได้เห็น ถึงวิธีการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พอสรุปได้ว่า “เมื่อทรงทราบข้อมูลโดยละเอียดถูกต้องและครบถ้วนแล้ว จึงจะทรงพระราชดำริพระราชทานแก่หน่วยงานต่างๆ ไม่ทรงมีกฎเกณฑ์และกำหนดการแต่งกายของราษฎรที่เข้าเฝ้าฯ บางคนไม่สวมเสื้อ ไม่ทรงรังเกียจแต่อย่างใด ทรงวางพระองค์เรียบง่าย ประทับกับพื้นดินบ่อยๆ ในการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรแต่ละครั้ง จะทรงงานจนเสร็จตามที่ทรงตั้งพระราชหฤทัย จึงจะทรงหยุด ไม่ว่าจะทรงใช้เวลานานเท่าใดจะไม่ทรงตำหนิใด แม้จะกราบบังคมทูลรายงานไม่ถูก ไม่ครบถ้วน ไม่ใช้ราชาศัพท์ หรือใช้ราชาศัพท์ไม่ถูก 3.2 หนังสือ “หลักธรรม หลักทำ ตามรอย พระยุคลบาท 10 ประการ” ทำงานอย่างผู้รู้จริง และมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ก่อนที่จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเพื่อประชาชนในทุกเรื่อง ทรงศึกษา หาความรู้เป็นอันดับแรก โดยจะทรงค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ ศึกษาอย่างละเอียด ในแต่ละเรื่อง เมื่อพร้อมแล้วจึงลงมือทำ ความอ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่าย และประหยัดน้อมพระวรกายไปหาประชาชนเพื่อทรงสอบถามทุกข์สุขและปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และมักจะทรงประทับบนพื้นเดียวกันกับประชาชนเสมอรับฟังความเห็นของผู้อื่น และเคารพความคิดที่แตกต่าง“นั่งปรึกษาหารือกัน ฟังเขาแสดงเหตุแสดงผลออกมา แล้วเราแสดงเหตุแสดงผลออกไป แล้วดูซิเหตุผลอันไหนจะยอมรับได้ถูกต้องมากกว่า และเมื่อตกลงกันแล้วก็เลิกเถียงกันต่อลงมือปฏิบัติเลย” โดยเฉพาะเมื่อจะทำอะไรให้นึกถึง “บ้าน” ซึ่งก็คือ “บ้านเมือง” หรือ “แผ่นดินไทย” ให้มากที่สุดมีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียรทรงงานทุกวันไม่มีวันเสาร์ วันอาทิตย์ ไม่มีกลางวัน กลางคืน และ ทรงเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านดนตรี ด้านกีฬา ด้านเกษตร และอื่น ๆในโครงการพระราชกรณียกิจ การนำไปใช้ในการแก้ปัญหาความทุกข์ของชาวบ้าน การปฏิบัติที่ดีปฏิบัติชอบ มีความเพียร วิริยะอุตสาหะ มั่นคงแน่วแน่ ยั่งยืน 4. ในระหว่างการทดลอง หรือ การนำลงไปทำไปปฏิบัติ ก็ย่อมมีปัญหาอุปสรรคในหลายส่วนทั้งจากตัวพระราชกรณียกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวชาวบ้านเอง ไม่ท้อแท้ ท้อถอย ต่อเนื่องจนบรรลุ , พบปัญหาอุปสรรค หาทางแก้ , ทำในสิ่งที่ดีและถูกต้องชอบธรรม 5. ในการเข้าหา หรือลงไปสู่ชาวบ้าน ทรงมีท่าที่ท่วงทำนอง การอ่อนน้อมถ่อมตนสุภาพ เรียบร้อยรับฟังความเห็นซึ่งกันและกันเป็นเรื่องที่สร้างความปลิ้มปิติยินดีแก่พสกนิกร ที่ได้มีโอกาสที่ดียิ่งเช่นนี้เรื่องเหล่านี้ สมัยก่อนประชาชน ได้รับรู้ไม่มากนัก แต่มามีมากมาย จากคำบอกเล่าที่ชาวบ้านได้ทยอยออกมาเล่า และเป็นข่าวลงในสื่อมวลชน ฯลฯ ทำให้ประชาชนชาวไทย ได้รับรู้เรื่องราวที่น่าปิติยินดีเหล่านี้ 6. ต่อการที่หน่วยงาน บุคคลและกลุ่มบุคคล ที่ยังเห็นต่างไม่ใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา ใช้การอธิบาย ชี้แนะ แนะนำ ให้เห็นด้วย และใช้การทดลองปฏิบัติให้เห็นจริง ผิด แก้ไขปรับปรุง สรุป ทำให้ดีขึ้น 7. การที่สามารถผ่านมาได้ และครองใจประชาชนได้เอาความรักประชาชน นำทาง ทำด้วยความรัก ความจริงใจ และปรารถนาดี ต้องการให้ประชาชนพึ่งตนเองได้ “ ทรงสอนให้ตกปลา มิได้ให้ปลา “ ไม่โกรธ เกลียด ไม่น้อยใจ และเน้นความพอดี นี่คือข้อสรุปโดยสังเขป : ความรักที่แท้จริง > ศึกษาจาก : รักประชาชนของในหลวง คงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง หากประชาชนชาวไทย ได้รับไปศึกษา และปฏิบัติ ซึ่งจะมีส่วนทำให้ งานหลักงานเดียวของในหลวงของประชาชน ที่ยังไม่แล้วเสร็จ ได้บรรลุผลสำเร็จได้