ชัยวัฒน์ สุรวิชัย - คนเราส่วนใหญ่มีเป้าหมายของตนเอง แต่น้อยคนนักที่จะสามารถไปถึงฝั่งได้ เพราะขาดหลักคิด หลักคิด ขาดความรู้ การใช้สติปัญญา การมองความเป็นจริง และการมีจิตใจจดจ่อ แน่วแน่เอาจริง ที่จริงแล้ว ปัญหามันอยู่ที่ไหน แล้วเราจะทำอะไร What is to be done ? จุดเริ่มต้น หากเริ่มต้นถูก ก็จะสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว นี่ก็คือความจริงที่คนพูดกันมาก แต่ไม่ทำ แปลกแต่จริง ความยากที่สุด และ ง่ายที่สุด อยู่ที่สิ่งเดียวกัน เชื่อหรือไม่ คือ “ ตัวเราเอง “ ง่ายที่สุด เพราะ เราสามารถเริ่มต้นได้ทันที เพราะเป็นตัวของเราเอง มิใช่ใครอื่น แต่ที่ “ การเปลี่ยนแปลงตัวเองยากที่สุด “ เพราะ เรามองไม่เห็น เรามักจะมองไปที่คนอื่น สิ่งอื่น ที่มิใช่เรา ความผิด สิ่งไม่ดี ไม่ถูกต้อง เราก็ชี้นิ้ว อ้าปากใส่ประโยคข้อความ โยนความผิดไปให้คนอื่น : รัฐบาล นักการเมือง ข้าราชการ ทุนใหญ่ และคนที่มีความคิดแตกต่างหรือขัดแย้งกับเรา ได้ทั้งความสะใจต่อตัวเอง และทำให้คนอื่นรับความผิดนั้นไป เป็นตัวปัญหา เป็นคนสร้างวิกฤตให้สังคม มันเป็นการง่ายมาก ที่จะโยนความผิดให้คนอื่น แต่ยากมากที่จะมามองดูตนเอง ที่มีความผิด ความละอายในสิ่งที่ตัวเองทำผิด การรักษาหน้าตาเพื่อให้ดูดีในสังคม เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องใส่ใจยิ่ง เพราะ มันทำให้ วิกฤตของสังคมแก้ไม่ได้ เพราะ เราไม่กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง แก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ยิ่งตำแหน่งหน้าที่การงานสูง ความรับผิดชอบต่อส่วนรวมบ้านเมืองมีมาก ความละอายใจตนเองกลับมีน้อย ทำให้ไม่กล้าหาญเสียสละ ที่จะปฏิรูปหรือปฏิวัติสิ่งที่ไม่ดีไม่งามไม่ถูกต้อง ที่เป็นต้นเหตุแห่งวิกฤต ตัวเองก็รู้ดี ประชาชนเรือนล้านที่ลุกขึ้นมาตะโกน “ วิกฤตใหญ่บ้านเมือง เกิดขึ้นเพราะคนไม่ดี “ ปากของผู้นำรัฐ ข้าราชการ ตำรวจทหาร ก็บอกว่า “ จะดำเนินตามพระบรมราโชวาท ตามรอยพ่อหลวง “ "... ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครทำทุกคนให้เป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อยจึงไม่ใช่อยู่ที่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากอยู่ที่การส่งเสริมคนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ ...". "อายหน้าตาตัวเอง จะเสียหน้า แต่ไม่อายหน้าบ้านเมือง ที่เสียหายใหญ่โต" ฉะนั้นเรามาดูกัน สิ่งที่เราจะสามารถเริ่มต้นทำได้ ในการแก้ปัญหาหรือวิกฤต - หลักคิดง่ายๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น ตามสภาพเงื่อนไขที่จำกัด 1. เริ่มต้น เปลี่ยนแปลงที่ตนเอง (1) ศึกษาหาความรู้ สร้างความเข้าใจ ใช้สติปัญญา แก้ปัญหา (2) สร้างคนที่มีอุดมการณ์ เข้ามารวมกลุ่มอาสาฯเพื่อการเปลี่ยนแปลง (3) นำพาและเข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงฯ (4) สรุปประเมินผล ข้อดีทำต่อ ปรับปรุงข้ออ่อน (5) แก้นิสัยที่ไม่ดีของตน เพราะนี่คืออุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้เราทำงานไม่สำเร็จ 2. จับเรื่องหลัก และภาพรวมของสังคม อย่างเข้าใจ (1) สนับสนุนรัฐบาลที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง แม้ยังมีข้ออ่อน ไม่สมบูรณ์ต้องวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ในสิ่งผิด มีข้อเสนอแนะด้วยความปรารถนาดี (2) ต้องร่วมวิพากษ์และโจมตี “ฝ่ายอำนาจเก่าฯ” ที่ก่อกวนเสนอสิ่งที่ผิดฯ 3. เสนอตามความเป็นจริง เสนอสิ่งที่ทำได้ เป็นไปได้ (1) พิจารณาแยกแยะ งานของรัฐบาล หรือ องค์กร, เพื่อนมิตรฯ > สิ่งที่รัฐบาล ยอมรับ > สิ่งที่ต้องออกแรงให้มากพอ รัฐบาลถึงจะยอมรับเพื่อนำไปแก้ไข > สิ่งที่รัฐบาล ไม่ยอมรับเด็ดขาด เพราะวิสัยทรรศไม่ถึงหรือเห็นต่าง (2) เลือกทำใน ข้อ (1) เป็นลำดับแรก (3) ออกแรงทำ ข้อ (2) เป็นลำดับต่อไป (4) ส่วนข้อ (3) อาศัยเวลา และความเชื่อใจต่อเรา รัฐบาลอาจจะทำ หากยังไม่ทำ ก็นำไปเปลี่ยนแปลง ในโอกาสต่อไป น่าแปลกใจไหม, พวกเราส่วนใหญ่ มักไปทำในข้อ (3) ส่วนที่สอง เป็นแนวคิดทางวิชาการ ที่คนส่วนใหญ่ได้นำเอามาใช้กัน การศึกษาวิชาวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันมีความกว้างขวางในเนื้อหาและไม่มีกรอบที่ตายตัว เพราะสังคมสับสนซับซ้อน เปลี่ยนแปลงตลอด มีสถานการณ์ใหม่ๆ เสมอ แต่โดยข้อเท็จจริงหากเรารู้หลัก แนวคิด ทฤษฎีการวิเคราะห์ในการมองเชิงระบบแล้ว จะทำให้เรามีพื้นฐาน ที่จำเป็นและสำคัญในขั้นต้นและมีกรอบการมองเป็นระบบและเชื่อมโยงกันเป็นสหวิทยาการได้ดีขึ้น ก. การวิเคราะห์สถานการณ์ : Scenario Analysis เครื่องมือนี้มีประโยชน์มากสำหรับการวางเป้าหมายของกิจการในอนาคต การประเมินสถานการณ์ในมิติต่างๆ เพื่อจะได้มีการวางแผนป้องกันสิ่งที่ไม่คาดฝัน ที่อาจจะทำให้ตกใจได้ในอนาคต การวิเคราะห์สถานการณ์จะช่วยให้คุณนำความกลัวเหล่านี้เข้าไปอยู่ ในกระบวนการตีกรอบอย่างมีเหตุผล และเป็นมืออาชีพสำหรับการคิดแบบ Scenario Analysis คุณอาจจะทำการตัดสินใจในบริบทของอนาคตที่จะมาถึงที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ที่บังคับให้คุณต้องตั้งสมมุติฐานที่ท้าทายเกี่ยวกับอนาคต โดยการสร้างแผนและการตัดสินใจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด ซึ่งคุณอาจจะมั่นใจได้ว่าการตัดสินใจของคุณ เป็นการเสี่ยงถ้าหากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่คุณประเมินไว้ วิธีการใช้เครื่องมือ : วิธีการที่เรียบง่าย 5 กระบวนการในการวิเคราะห์สถานการณ์ 1. การกำหนดปัญหา : ตัดสินใจว่า เราต้องการจะบรรลุผลสำเร็จ และคิดเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องการ ตามช่วงเวลา การที่จะขับเคลื่อนแผนการจำเป็นที่จะต้องทดสอบ 2. รวบรวมข้อมูล : ระบุแนวโน้มปัจจัยที่สำคัญและความไม่แน่นอน ที่อาจจะมีผลต่อการวางแผน ถ้าแผนของคุณเป็นหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เราอาจจะพบว่าเป็นประโยชน์ที่จะทำ PEST Analysis ของการที่จะดำเนินการ เพื่อระบุปัจจัยทางการเมืองเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมและเทคโนโลยี ที่อาจจะส่งผลกระทบ ถัดไปให้เราทดสอบสมมุติฐานที่สำคัญเกี่ยวกับแผนว่าอาจจะขึ้นอยู่กับท่ามกลางปัจจัยอื่นๆ 3. การแยก “ความแน่นอน” ออกจาก “ความไม่แน่นอน” ความแน่นอน : มีความมั่น ใจในบางส่วนของสมมติฐานแน่ใจว่าแนวโน้มบางอย่างจะทำงานผ่านการทดสอบแล้ว ให้คุณแยกสิ่งที่มีความแน่นอนเหล่านี้ออกจาก “ความไม่แน่นอน” ซึ่งจะอยู่ในกลุ่มข้อมูลที่ยังอยู่ในขั้นการคิด หรือแนวโน้มที่อาจจะเกิดขึ้น….. ปัจจัยพื้นฐานที่รอการพิสูจน์……และมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จัดลำดับความไม่แน่นอน 4. พัฒนาสถานการณ์ : เริ่มต้นด้วยความไม่แน่นอน ให้กำหนดรูปแบบของผลลัพธ์ที่ดีระดับปานกลาง และรูปแบบของผลลัพธ์ที่ไม่ดีระดับปานกลาง และแนวทางสำหรับการพัฒนาในอนาคตที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่มี ความแน่นอนที่คุณเลือกให้คุณลองกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่มีความไม่แน่นอน (อย่ากำหนดแนวทาง scenarios มากเกินไป) 5. ใช้สถานการณ์ในการวางแผนของคุณ : เราต้องดูที่สถานการณ์ ที่ได้ประเมินไว้แล้ว