ชัยวัฒน์ สุรวิชัย การวิเคราะห์สถานการณ์ มีหลายหลักหลายวิธี แล้วแต่ความสันทัดของแต่ละบุคคลแต่ในที่นี้ จะขอนำหลักของ การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) มานำเสนอ ข. การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis)SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต SWOT เป็นตัวย่อที่มีความหมายดังนี้ Strengths – จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ Weaknesses – จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ Opportunities – โอกาสที่จะดำเนินการได้ Threats - อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจจากสภาพการณ์ 2 ด้าน คือ สภาพการณ์ภายในและสภาพการณ์ภายนอก SWOT จึงเรียกได้ว่าเป็น การวิเคราะห์สภาพการณ์ (SituationAnalysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตรวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่มีต่อองค์กรธุรกิจและจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถ ด้านต่างๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกาหนดวิสัยทัศน์การกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินตามกลยุทธ์ขององค์กรระดับองค์กรที่เหมาะสมต่อไป ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร 1. จุดแข็งขององค์กร เป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย 2.จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน 3. โอกาสทางสภาพแวดล้อมเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กร 4. อุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายองค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม ขั้นตอน / วิธีการดำเนินการทำ SWOT Analysisการวิเคราะห์ SWOT จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้างด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ทำให้มีข้อมูลในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถกำหนด กลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้ จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร 2. การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก 3. ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อมสถานการณ์เช่นนั้น องค์กรควรจะทำอย่างไร โดยทั่วไปในการวิเคราะห์ SWOT องค์กรจะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง-โอกาส) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด เนื่องจากองค์กรค่อนข้างจะมีหลายอย่างดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (Aggressive–Stratagy) เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่างๆ ที่เปิดมาหาประโยชน์อย่างเต็มที่สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากองค์กรกาลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภายในหลายประการดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดคือกลยุทธ์การตั้งรับหรือป้องกันตัว (Defensive Strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยอุปสรรค ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทาให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน-โอกาส) สถานการณ์องค์กรมีโอกาสเป็นข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้นทางออกคือกลยุทธ์การพลิกตัว (Turnaround-orientedStrategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่างๆ ให้พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่างๆ ที่เปิดให้ สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง-อุปสรรค) สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ ดังนั้น แทนที่จะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัวหรือขยายขอบข่ายกิจการ(Diversification Strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่นๆ แทน ค.หลักการในการวิเคราะห์ข่าว วิเคราะสถานการณ์แต่โดยข้อเท็จจริงหากเรารู้หลัก แนวคิด ทฤษฎีการวิเคราะห์ในการมองเชิงระบบแล้วเราจะทำให้กรอบการมองเป็นระบบและ เชื่อมโยงกันได้ ด้วยหลักการของการวิเคราะห์ข่าว คือ จะต้องแยกแยะเนื้อหาหรือองค์ประกอบในข่าวโดยใช้หลักการ 5 W 1 H : (Who Where Why When What How)เพราะเป็นหลักการสำคัญที่เราจะใช้วิเคราะห์ข่าว อย่างไรก็ตามในการวิเคราะห์ข่าวหรือสถานการณ์บ้านเมืองหากจะให้สมบูรณ์จริงๆ จะต้องมีหลักการขององค์ประกอบในการเขียนดังนี้ 1. กรอบของความคิดวิเคราะห์ คือ กรอบความคิดในเรื่องที่จะวิเคราะห์ 2. หน่วยที่จะวิเคราะห์ เช่น ถ้าจะวิเคราะห์การเมือง หน่วยย่อย ก็คือ นักการเมือง และพรรคการเมือง) 3. ความคิดเห็น ข้อมูลที่หายาก คุณค่าของบทวิเคราะห์มักจะมาพร้อมความคิดเห็น 4. มุมมอง ในมุมมองของความคิดนั้นอาจจะมีหลากหลาย อยู่ที่ว่าเราจะเลือกเอาอันไหนเข้ามาใช้ในบทวิเคราะห์ 5. บทสรุป ซึ่งจะมีในบทวิเคราะห์อยู่ที่ว่าจะสรุปแบบไหนให้คนอ่านเข้าใจและเห็นด้วยกับบทวิเคราะห์ เมื่ออ่าน เข้าใจ และรู้แล้ว ปัญหาสำคัญคือ “ จะเริ่มต้นทำ “ ครับ