ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ความขัดแย้งของสังคมไทย เกิดขึ้น เพราะ 1. มาจากมุมมองความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน เห็นต่างกัน จึงทำให้มีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย 77.45% 2.มีเรื่องผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องโดยเฉพาะการเมือง. 72.39% 3.กระบวนการขั้นตอนต่างๆยังไม่ชัดเจน 61.86% 4.ประชาชนยังขาดความเข้าใจในเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ 58.28% 5.มีการสร้างกระแส ใส่ร้ายป้ายสี บิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริง 45.86% ประชาชนอยากรู้เรื่องอะไรบ้างเพื่อตัดสินใจลงประชามติ 1.สิทธิประโยชน์ต่างๆที่ประชาชนจะได้รับ 82.75% 2.เนื้อหา รายละเอียดสำคัญหลักๆของร่างรัฐธรรมนูญ 78.14% 3.ทิศทางการดำเนินงานหลังจากการลงประชามติเสร็จสิ้นลง 74.00% 4.เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบทลงโทษผู้กระทำผิดทางการเมืองและทุจริตคอรัปชั่น.59.97% 5.ผลดี-ผลเสีย ในการจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 55.29% การที่จะตัดสินใจ “รับ” หรือ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญในการลงประชามติมีอะไรบ้าง 1.ใช้วิจารณญาณของตัวเองในการตัดสินใจ 80.29% 2.พิจารณาจากเนื้อหา ครอบคลุม ชัดเจน เป็นธรรม 67.48% 3.พิจารณาจากกระบวนการในการทำงานของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง 59.10% 4.ฟังจากกระแสสังคม เสียงวิพากษ์วิจารณ์ของบุคคลที่น่าเชื่อถือ 57.13% 5.ศึกษาข้อมูล เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย 54.60% 6. ข้างบนนี้ เป็นความคิดเห็นตามโพล ซึ่งจะได้ความเห็นแบบชาวบ้าน ตรงไปตรงมา แต่สำหรับความคิดคนมีอำนาจ ชนชั้นนำของสังคม โดยเฉพาะนักการเมือง มีเบื้องลึก เราต้องมาตามดูกัน : 1.รัฐธรรมนูญส่วนใหญ่ ให้อำนาจสูงสุดแก่นักการเมืองพรรคการเมืองในการเข้ากุมอำนาจรัฐ ในรัฐสภา และฝ่ายบริหาร ซึ่งที่ผ่านมา แม้บางยุคสามารถบริหารประเทศได้ แต่ก็ทิ้งปัญหาไว้มาก สะสมกันมา กลายเป็นวิกฤตที่แก้ไม่ตก ประชาชนมีทุกข์ ฯ จากระบบการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม ( ไม่เป็นประชาธิปไตย ) 2.ในยุคของการที่กองทัพเข้ามายึดอำนาจรัฐ โดยการทำรัฐประหาร โดยส่วนมาก ก็เพราะมีปัญหามีความขัดแย้ง ไม่พอใจนักการเมืองและพรรคการเมือง และทำเพื่อตนเองและคณะ แต่ก็มี การทำรัฐประหาร เพื่อแก้วิกฤตทางการเมือง ที่เกิดจากฝ่ายการเมือง และความขัดแย้งของประชาชน โดยเฉพาะในครั้ง 22 พฤษภาคม 2557 แต่ก็ทำได้จำกัด ตัวชี้วัด : คือ ความพอใจของประชาชน ที่มีมาตลอด 2 ปีเศษ มานี้ 2.1 การเข้ามายึดอำนาจของกองทัพ : มีการใช้อำนาจ มี 2 แบบ คือ @ การใช้อำนาจโดยธรรม คือเอาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศมาก่อน @ การใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม คือ เอาผลประโยชน์ของตนเอง กองทัพ เป็นหลัก ซึ่งจะอยู่ได้ไม่นาน เพราะ จะเกิดปัญหาใหญ่ และประชาชนจะไม่พอใจ ออกมาล้มรัฐบาล 2.2 แต่การที่จะแก้ปัญหา หรือทำการปฏิรูปได้สำเร็จไหม อยู่ที่ 3 ปัจจัย @ วิสัยทัศน์ของผู้นำ ความเป็นรัฐบุรุษ กล้าเสียสละ เพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไทย @การต่อต้านของฝ่ายที่เสียผลประโยชน์ ที่ยังมีอำนาจความพร้อมฯ เป็นอุปสรรคสำคัญ @การบริหารแผ่นดิน เอาประชาชนและประเทศเป็นตัวตั้ง และได้รับการสนับสนุนเต็มที 3.คำถาม ที่ประชาชนสงสัย แต่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนมีเหตุมีผลและเชื่อถือได้ คือ ทำไม ปัญหาใหญ่หลายปัญหา ไม่สามารถแก้ไขได้ ตามระบบรัฐสภาแบบเลือกตั้งแต่กลับมาแก้ไขได้ บางเรื่องในเรื่องใหญ่ๆ โดยคณะรัฐประหาร( แม้แก้ได้ครบหมดถ้วน )เพราะอะไร @ กรอบคิดของระบบการเมืองประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ที่นำเข้ามาจากตะวันตก ผู้นำรัฐ นักการเมือง นักวิชาการ นำเอามาใช้ทั้งดุ้น ไม่ประยุกต์ให้สอดคล้องกับสังคม“ นักปราชญ์ชาวตะวันออกพูดไว้น่าคิด การที่นักเรียนของจีนไปเรียนต่อที่ยุโรปแล้วคิดว่าจะนำแนวความคิดประชาธิปไตยแบบยุโรปมาใช้กับประเทศจีนดุ้นๆทั้งหมดนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากสภาพสังคมบริบทของประเทศจีนมีความแตกต่างอย่างมาก เปรียบเสมือนประชาธิปไตยคือรองเท้า ประเทศจีนเป็นเท้าคน ถามว่าเราจะตัดรองเท้าให้เข้ากับเท้าหรือเราจะตัดเท้าให้เข้ากับรองเท้า @ การใช้อำนาจที่เป็นธรรม กำจัด “ คนส่วนน้อยที่มีอำนาจ และใช้อำนาจมิชอบธรรม ” เป็นเรื่องที่มีความจำเป็น และถูกใช้แก้วิกฤตได้ ในประเทศที่มีการเปลี่ยนผ่านแต่จะถูกนักการเมือง นักวิชาการกรอบคิดตะวันตก และองค์กรต่างชาติ ต่อต้าน โดยอ้างเรื่อง “ สิทธิเสรีภาพ และ การไม่เป็นประชาธิปไตย “ มาคัดค้าน @ การเสนอกรอบคิด ให้ใช้วิธีสันติ ใช้หลักการประชาธิปไตยรัฐสภาเลือกตั้ง เพราะ นักการเมือง นายทุนใหญ่ กลุ่มอำนาจอิทธิพลและชนชั้นนำเดิม ได้เปรียบ ซึ่งหากสร้างกระแสให้ประชาชน หลงเชื่อ ( ซึ่งมักจะได้ผล ) และมาสนับสนุนพวกเขาพวกคนเหล่านี้ ที่มีความได้เปรียบสูง กว่า นักการเมือง และประชาชนดีๆในการเลือกตั้ง แล้วพวกเขา ก็จะกลับเข้ามามีอำนาจอย่างเดิม และล้มเลิกสิ่งดีๆที่รัฐบาลประยุทธ์ทำไว้ และพวกนักเลือกตั้งเหล่านี้ ก็จะย้อนมาสร้างอำนาจเบ็ดเสร็จให้มากขึ้นกว่าเดิม 4.เรื่องนี้ ใน ข้อ 3. เป็นเรื่องที่ยากจะทำความเข้าใจ โดยเฉพาะพวกนักการเมือง นักวิชาการ นักสิทธิ นักธุรกิจกลุ่มทุนที่มีอำนาจผลประโยชน์กับนัการเมือง และส่วนที่คิดแบบตะวันตก และโดยเฉพาะ นักประชาธิปไตย และองคืกรระหว่างประเทศ ค่ายตะวันตก ฯลฯ แต่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงประเทศ นักประชาธิปไตยตัวจริง นักต่อสู้ของประชาชน ต้องลงแรง ต้องอาศัยเงื่อนไขทุกทางทุกวิธี สร้างความเข้าใจต่อกลุ่มบุคคลและสังคมอย่างจริงจัง เพราะการรับรู้ความเป็นจริง ของระยะการเปลี่ยนแปลงนี้ จะนำมาซึ่งความสำเร็จ และประเทศไทย ก็มีเงื่อนไขที่ดี จากเหตุการณ์ใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงใกล้นี้ คือ @ การใช้อำนาจที่มิชอบของฝ่ายทักษิณเพื่อไทยนปช. ที่สร้างความทุกข์ และวิกฤติให้กับประเทศ ในช่วงปี 2552 – 2553 ( ในช่วงที่เป็นฝ่ายค้าน) และในช่วงที่เป็นรัฐบาล ตั้งแต่ปีที่ทักษิณเป็นนายกฯ 2544, 2554 -2557 @พลังของฝ่ายประชาธิปไตย มวลมหาประชาชนเรือนล้าน เกิดขึ้นได้จริง ซึ่งเป็นการสะสมบทเรียนของนักต่อสู้เดือนตุลาคม 16 พฤษภาคม 35และการก่อเกิดการลุกขึ้นสู้ของประชาชน เรือนแสน โดย พธม 2548 -2551 และมวลมหาประชาชนเรือนล้านๆ กปปส.2556-7 @การมี คสช. รัฐบาลพลเอกประยุทธ ที่บริหารประเทศ มา 2 ปีเศษมีผลงงานเป็นที่ยอมรับของระชาชน ( โพล 70-80 % ) ชื่นชมให้การยอมรับและการร่างรัฐธรรมนูญชุดอาจารย์มีชัย ( รวมทั้งชุดอาจารย์บวรศักดิ์ ) กกต. ที่มีการให้ข้อมูลและข้อเท็จจริง ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติและมีบทลงโทษเอาจริงและกำจัดอำนาจของนักการเมืองโกง ข้าราชการทุจริตฯที่ทำให้นักการเมืองนักเลือกตั้ง เปิดตัวล่อนจ้อน ให้ชาวบ้านเห็นถึงสันดานฯ นี่คือ โอกาสที่ดีที่สุด ของการเปลี่ยนผ่านจากวิกฤตนักเลือกตั้งไปสู่ประชาธิปไตยของประชาชน