ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ผู้นำจีนในยุคหลังเต้งเสี่ยวผิงถึง สีจิ้นผิง ส่วนมากเป็นวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ หู จิ่นเทา : จบการศึกษาด้านเอกสถานีไฟฟ้าพลังน้ำ คณะวิศวกรรมชลประทาน มหาวิทยาลัยชิงหวา ปักกิ่ง สี จิ้นผิง : ปริญญาตรีวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยชิงหัว ปักกิ่ง , ปริญญาโททฤษฎีการเมืองและแนวคิดของลัทธิมาร์กซ์ ปริญญาเอกด้านนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิงหัว ผู้นำที่เป็นนักคิดนักปฏิบัติที่มีบทบาทสูงในสังคมไทย : อ. ธีรยุทธ บุญมี ผู้นำ14 ตุลา และนักวิชาการที่มีชื่อเสียง , ดรประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้นำนักศึกษา 14 ตุลา และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยที่มีบทบาทสูงเด่น , ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ TDRI ฯลฯ ผมเป็นคนชอบและสันทัดในการติดตามและเข้าใจสถานการณ์ เหตุ ปัญหาอุปสรรค ทางออก อ่านศึกษา รับฟัง ด้วยใจจดจ่อ แล้วนำมาวิเคราะห์สรุป นำไปทำ แล้วกลับมาสรุปอยู่เนื่องนิจ ปรับทั้งความคิด วิธีการ ในการทำงาน และปรับปรุงท่วงทำนองการใช้ชีวิต การคบเพื่อนและชาวบ้าน ผม รู้ตัวว่า “ ไม่เก่ง มากเหมือนน้องๆที่กล่าวมา “ แต่อาศัย “ เอาจริง “ แน่วแน่ ไม่หยุด ทำงานหนักกาลเวลาที่ยาวนานชั่วชีวิต ทำให้ผม:มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกฝนได้ ได้พัฒนาตนเองพัฒนาการทำงานกับคนอื่นผลงาน ความก้าวหน้า การได้รับจากเพื่อนมิตรและผู้ที่เห็นต่าง แต่ยอมรับ “ความคิดที่ซื่อตรง ไม่มีผลประโยชน์ “ทำให้มีกำลังใจ ที่จะก้าวเดินหน้าต่อไป ทั้งในยามศึกและยามสงบ ที่ไม่มีคลื่นขาดคนที่เคยมาร่วมเป็นล้าน ผลการสรุป อย่างหนึ่ง ที่เป็นหัวใจ ทั้งจากผู้นำที่ประสบความสำเร็จและตัวเอง คือ “ เราเป็นวิศวกรสังคม “ หมายถึง : แนวคิดแบบวิศวกร หรือแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ มิจำเป็นต้องเป็นวิศวกร หรือนักวิทยาศาสตร์ ทุกคนที่มีใจทำได้ และวิศวกรฯหลายคน กลับไม่ได้เอามาใช้ ดังนั้น วันนี้ จึงพยายามถอด “ ความคิดแบบวิศวกร “ ออกมา ทั้งจาก ประสบการณ์ตรงและ อากู๋ ฯลฯ ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งคือ หลักคิดหลักปฏิบัติในการทำงาน ที่ทำให้ประสบความสำเร็จ สามารถนำและอธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจและยอมรับได้ ก. หลักคิดที่สำคัญคือ Conceive สามารถคิดวิเคราะห์และชี้ปัญหาได้ Design สามารถออกแบบและหาแนวทางแก้ไขได้ Implement สามารถดำเนินการ ประยุกต์ หรือ แก้ไขปัญหาให้สำเร็จลุล่วงได้ Operate สามารถพัฒนาและควบคุมระบบต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ข. หลักการและวิธีการ 1. นิยามปัญหา (เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต) 2. พัฒนาและใช้โมเดล 3. ออกแบบและลงมือทำการค้นคว้า วิจัย ทดลอง 4. วิเคราะห์ข้อมูล 5. ใช้คณิตฯ ช่วยในการคำนวณ 6. ออกแบบวิธีแก้ปัญหา 7. ใช้หลักฐานในการยืนยันแนวคิด 8. ประเมินและสื่อสารแนวคิด สิ่งที่ได้นำมาใช้ได้มากที่สุดก็คือ “หลักการคิดแบบวิศวกรรมศาสตร์” มาดูทัศนะหนึ่งใน “ อากู๋ “ คนที่ผ่านการเรียนวิศวกรรมศาสตร์ จะได้รับการปลูกฝังหลักคิดเช่นนี้โดยสอดแทรกอยู่ในทุกวิชาที่เรียนโดยอ้อม แล้ว “หลักการคิดแบบวิศวกรรมศาสตร์” เป็นอย่างไร “หลักการคิดแบบวิศวกรรมศาสตร์” คือการคิดแบบเป็นระบบ หรือคิดแบบเป็นขั้นตอน เช่น หากเริ่มที่ 1 จะต้องตามด้วย 2 และขั้นต่อไปจะต้องเป็น 3 ดังนั้นการที่จะเป็นให้ถึง 3ได้นั้นจะต้องมี 1 และ 2 เสมอ จะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะข้ามขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง เช่น ถ้าไม่มี 1 ก็จะไม่มี 2 และก็จะไม่มี 3อย่างแน่นอน หรือ หากมี 2 อย่างเดียว และไม่มี 1 ก็จะไม่เกิด 3 อีกเช่นกัน หรือ จะเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ 3 โดยไม่มี 2 และ 1 เป็นต้น การคิดเช่นนี้เป็นรากฐานของวิศวกรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นวิศวโทรคมนาคม วิศวโยธา วิศวเครื่องยนต์ หรือวิศวอะไรก็ตาม เพื่อให้เข้าใกล้เรื่องทางวิศวกรรมศาสตร์มากขึ้น จะขออ้างอิง ตัวอย่าง123 ข้างต้น โดย แทน 1 ด้วย “Input” หรือรับข้อมูล แทน 2 ด้วย “Process” หรือประมวลผล และ แทน 3 ด้วย “Output” หรือผลลัพธ์ ในฐานะที่อยู่ในวงการโทรคมนาคมจึงขอยกตัวอย่างที่เกี่ยวข้องโทรคมนาคม เช่น หากนาย A ที่อยู่กรุงเทพต้องการจะโทรหานาย B ทีอยู่เชียงใหม่ วิศวกรก็จะเริ่มคิดว่า อะไรคือ Input : ซึ่งในที่นี้ก็คือเสียงของนาย A ที่อยู่กรุงเทพ ต่อมาวิศวกรก็จะคิดต่อว่าจะประมวลผล หรือ Process อย่างไร ที่จะทำให้เสียงของนาย A ที่อยู่กรุงเทพ สามารถส่งผ่านไปหานาย B ที่อยู่เชียงใหม่ได้ ซึ่งหากนาย A สามารถพูดคุยกับนาย B ได้ ก็จะถือว่าเป็นผลลัพธ์ หรือ Output ของการทำงานของวิศวกร จะเห็นว่าในการออกแบบการสื่อสารโทรคมนาคมของวิศวกรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคิดอย่างเป็นระบบมาก แต่ชีวิตของวิศวกรไม่ได้ง่ายอย่างที่ยกตัวอย่างข้างต้น ในความเป็นจริงแล้วขั้นตอนการคิดทั้งกล่าว จะมีความซับซ้อนมาก เนื่องจากในการระบบโทรคมนาคม 1. Output ของระบบย่อยหนึ่งจะเป็น Input ของระบบที่ใหญ่ขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ดังนั้นหากวิศวกรมิได้มีการคิดอย่างเป็นระบบ ( ซึ่งก็มีไม่น้อย ) จะทำให้การออกแบบหรือการทำงานของโครงข่ายทั้งเกิดความสับสนอย่างมาก เช่น หากไม่รู้ว่าก่อนที่จะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการจะ ต้องมี Input ถึง 4 ตัว วิศวกรอาจจะออกแบบโครงข่ายที่รองรับ Input เพียง 3 ตัว ซึ่งก็จะให้การทำงานของระบบบกพร่องได้ 2. นอกจากนั้นแล้ว วิศวกรยังจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าการที่จะต้อง Output 2 ที่จะกลายเป็น Input ของระบบใหญ่จะต้องนำ Input 2 ทำประมวลผลอย่างไรถึงจะได้ Output 2 ที่เหมาะสม ที่จะเป็น Input ของระบบใหญ่อย่างไร ดังคำที่บอกว่า “Garbage in Garbage out” หรือ หาก Input เป็นขยะ ไม่ว่าจะประมวลผลอย่างไร Output ก็คือขยะ นี่คือความซับซ้อนของการเป็นวิศวกร 3. ดังนั้นหากวิศวกรไม่มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบและขั้นตอน จะไม่สามารถคิดหรือเข้าใจการทำงานของระบบใดๆได้เลย “หลักการคิดแบบวิศวกรรมศาสตร์” จะเห็นว่าแนวความคิดที่เป็นระบบดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องปลูกฝังและสร้างขึ้น โดยการปรับกระบวนการคิดของผู้ที่จะเรียนวิศวกรรมศาสตร์ในมีแนวคิดให้สอดคล้องกับหลักวิชา ถ้าไม่เช่นแล้วผู้เรียนก็จะเกิดความสับสน เมื่อเรียนวิชาที่มีโครงสร้างซับซ้อน เมื่อพูดถึงวิศวกร ทุกคนจะต้องคิดว่าวิศวกรคือผู้ที่เก่งด้านคณิตศาสตร์เป็นหลัก แต่ความจริงคณิตศาสตร์เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยในขั้นตอนของการประมวลผล “Process” แต่สิ่งที่เป็นแก่นสารจริงๆของวิศวกรก็คือ“หลักการคิดแบบวิศวกรรมศาสตร์” เพราะหลักคิดแบบนี้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมากมาย และยังช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างที่สามารถนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้ได้กับชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาตนเอง ก็คือ การพัฒนาองค์ความรู้ของตนเอง หากเรานำ“หลักการคิดแบบวิศวกรรมศาสตร์” มาปรับใช้จะสามารถสรุปหลักการได้ดังนี้ 1. การอ่านเปรียบเสมือน Input 2. สมองที่เราใช้คิดระหว่างการอ่านเปรียบเสมือน Process และ 3. องค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นก็คือ Output หากเราไม่อ่านก็เสมือนว่าเราไม่มี Input เข้าสู่สมองเรา ดังนั้นสมองเราก็จะไม่มี Input อะไรมาประมวลผล คำถามจึงเกิดขึ้นมาว่าแล้วจะมีองค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ การอ่านจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาตนเองอย่างมาก “หนังสือคืออาหารสมอง” หรือจะเป็นวิธีในการพิจารณาประเด็นต่างๆ เราจะต้องรู้ว่า 1. อะไรคือข้อเท็จจริงซึ่งก็คือ Input 2. อะไรคือแนวทางพิจารณาซึ่งก็คือ Process 3. อะไรคือผลการพิจารณาซึ่งก็คือ Output ดังนั้นหากจะต้องการจะพิจารณาหรือวิจารณ์ประเด็นใด ก็ไม่ควรจะไปวิพากษ์วิจารณ์ที่ผลการพิจารณา แต่ต้องกลับต้องทำความเข้าใจข้อเท็จจริงให้ตรงกันก่อน คือ ระบบการพิจารณาจะมี Input ที่เหมือนกัน ดังนั้นสิ่งที่ถกเถียงหารือกันให้อิสระ คือแนวทางการพิจารณา ว่าจะใช้หลักการอะไรมาดำเนินการโดยสรุปแล้ว “หลักการคิดแบบวิศวกรรมศาสตร์” เป็นหลักการที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกเรื่องๆ ซึ่งเราจะต้องให้ความสำคัญกับแก่นของวิชาที่แท้จริงมากกว่า เครื่องมือ