ทวี สุรฤทธิกุล ในระบอบประชาธิปไตยทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน กรณีผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งที่นิวซีแลนด์ ที่มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ 1,542 คน แต่ด้วยความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลการเลือกตั้ง ทำให้คะแนนส่งมานับไม่ทันในเวลาก่อนการปิดหีบในวันที่ 24 มีนาคม ที่สุด กกต.ได้มีมติไม่ให้เอามานับ โดยอ้างข้อกฎหมายที่กล่าวถึงการทุจริตต่างๆ อย่างยอกย้อน ก่อนที่จะสรุปดื้อๆ ว่า ไม่มีการทุจริตอะไร แต่กฎหมายท่านว่าไม่ให้เอามานับ (ฮา) ผู้เขียนขอออกตัวก่อนว่าไม่ได้ศึกษากฎหมายเลือกตั้งที่ใช้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ให้ลึกซึ้งเท่าใดนัก เพียงแต่มีความเชื่อตามปรัชญาของระบอบประชาธิปไตยว่า สิทธิและเสรีภาพคืออำนาจของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยŽ แต่เมื่อกฎหมายเลือกตั้งฉบับนี้มีข้อกำหนดที่หยุมหยิมมากมายเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิของประชาชน(ที่รวมถึงการนับคะแนนและการประกาศผลการเลือกตั้ง) จึงอาจจะกระทบกระเทือนถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างแน่นอน อย่างที่เรียกว่า ถูกจำกัดสิทธิŽ หรือ ริดรอนสิทธิและเสรีภาพŽ นั่นเอง ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตว่า การตัดสินแบบนี้ของ กกต. น่าจะŽ เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยเฉพาะ สิทธิในการตัดสินใจเลือกผู้ปกครองŽ อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่เป็นประชาธิปไตย(หมายถึงทุกฉบับของประเทศที่เป็นประชาธิปไตยโดยที่มีผู้ปกครองที่มาจากการเลือกตั้ง อย่างเสรีŽ ของประชาชน)ได้ระบุไว้อย่างชัดเจน แต่เมื่อ กตต.ได้ลงมติ(อย่างเอกฉันท์เสียด้วย)ว่า ไม่เอาสิทธิของคนไทยที่นิวซีแลนด์มานับ จึงเท่ากับเป็นการ จำกัดสิทธิŽ อันแสดงถึง ความไม่เท่าเทียมŽ ที่อาจจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 27 ที่กล่าวว่า บุคคลย่อมเสมอันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพ และได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันŽ ผู้เขียนไม่ได้ยุแยงให้มีคนนำเรื่องนี้ไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่ กตต.กำลังตกเป็นจำเลยของผู้คน ซึ่งแม้ว่าในวันที่ ๒๙ ที่ผ่านมาจะได้ชี้แจงต่อสังคมแล้วบางส่วน(ซึ่งก็ยังมีความเคลือบแคลงกันอยู่ดี) จึงเชื่อต่อไปว่าเรื่องของการโจมตี กกต.คงจะไม่จบสิ้นไปได้ง่ายๆ บางทีอาจจะก่อความรำคาญจนถึงขั้น รัฐาธิปัตย์Ž อาจจะต้องออกมาใช้อำนาจพิเศษ ยุติŽ การเลือกตั้งในครั้งนี้ ก่อนที่เหตุจะลุกลามบานปลาย ซึ่งในสภาพปัจจุบัน คสช.ยังเป็นรัฐาธิปัตย์นั้นอยู่ โดยที่หัวหน้า คสช.คือพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังคงมีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาลควบคุมการบริหารประเทศ และเป็นผู้มี สิทธิขาดŽ ในอันที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ เราคงจะไม่เรียกว่าเป็นการ ยุบสภาŽ เพราะสภายังไม่ได้เปิดการประชุม เพียงแต่การนับคะแนนที่โกลาหลและไม่เป็นที่ยอมรับ (บางทีอาจจะเป็นแผนของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายก็ได้ ที่สร้างสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น) แต่น่าจะเป็นเรื่องของการทำ รัฐประหารเทียมŽ คือไม่ได้ใช้อำนาจทหารเอาปืนและรถถังออกมาข่มขวัญ แต่ใช้อำนาจของ คสช.นั้นเองออกประกาศหรือคำสั่งที่จะ จัดการŽ กับความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ซึ่งสามารถทำได้โดยที่ไม่ได้ทำให้ผู้คนอกสั่นขวัญแขวน อย่างที่ได้ทำมาแล้วหลายครั้ง การเลือกตั้งครั้งนี้ทราบว่ามีการใช้งบประมาณหลายพันล้านบาท (บ้างก็ว่าประมาณ 5,800 ล้านบาท) ซึ่งหลายคนบอกว่าทำไมแพงจัง และถ้าจะเลือกตั้งใหม่ก็ต้องใช้งบประมาณอีกในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน มันจะไม่ล้างผลาญงบประมาณมากไปหรือ แต่ถ้าเราเชื่อในทฤษฎีที่ว่า ประชาธิปไตยต้องมีราคาแพงŽ เราก็คงจะต้อง ทำใจŽ คือยอมรับให้ได้ว่า หากถึงคราวจำเป็น เช่น อาจจะเกิดภัยร้ายแรงจากการที่ประชาชนไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง (ที่อาจจะส่งผลเสียมากกว่าเป็นหมื่นล้านแสนล้านบาท) เราก็ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ท่านอาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยตอบคำถามเมื่อมีผู้ถามถึงการเลือกตั้งแต่ละครั้งว่า ทำไมจึงต้องมีค่าใช้จ่ายในการจัดการเลือกตั้งสูงมาก ซึ่งคำตอบของท่านก็คือ ประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีราคาแพงŽ เหตุผลของท่านก็คือเพื่อจัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ เมื่อเป็นการจัดการเพื่อผู้มาใช้สิทธิจำนวนมาก ก็จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายที่มีจำนวนมาก ซึ่งรัฐบาลต้องเป็นผู้รับผิดชอบ แต่ก็ยังไม่มากเท่าของฝ่ายที่ลงมาสมัครให้ประชาชนเลือกเป็นผู้แทนราษฎร ที่แม้จะไม่มีการซื้อเสียง แต่ก็ต้องมีรายจ่ายเพื่อให้ประชาชนได้รู้จักอย่างกว้างขวาง นั่นคือการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ที่รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การจัดปราศัย หรือการชุมนุม เป็นต้น ซึ่งถ้าเป็นประเทศที่ร่ำรวยอย่างสหรัฐอเมริกา เขาก็จะให้ทุ่มเทงบประมาณในการหาเสียงได้อย่างไม่อั้น (เพียงแต่ให้รายงานค่าใช้จ่ายให้ละเอียดชัดเจนเท่านั้น) แต่ถ้าเป็นประเทศที่ยากจนอย่างอินเดีย รัฐบาลเขาก็ต้องออกเงินให้บางส่วนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน รวมถึงการจำกัดวงเงินค่าใช้จ่าย เพื่อไม่ให้มีพรรคใดเอาเปรียบกันมากจนเกินไป (ประเทศไทยคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่ยากจน จึงต้องมีการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างละเอียดยิบ) ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งทั้งหลายนี้ ไม่ว่าจะในฝ่ายของรัฐบาลหรือฝ่ายผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง จำเป็นต้องแพงŽ ก็เพราะเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อ ปกป้องรักษาสิทธิของพลเมืองŽ อันถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยและได้ผลการเลือกตั้งอันเป็นที่น่าเชื่อถือ การเลือกตั้งอีกครั้งก็น่าจะเป็น ทางเลือกทางรอดŽ ที่ดีกว่า แม้จะต้องเสียเงินงบประมาณอีกมากพอสมควร แต่ก็มีความจำเป็น ลำพังรัฐบาลคงจะพอรับภาระด้านงบประมาณนี้ได้ (แม้จะมีเสียงบ่นและเสียงอื่นๆ ที่ไม่น่าฟัง) แต่ที่จะต้องเป็นภาระมากที่สุดและน่าจะ เหลือทนŽ สำหรับกรณีที่มีการเลือกตั้งใหม่นี้ก็คือ นักการเมืองŽ ที่คงลงทุนไปไม่น้อยในการเลือกตั้งที่ผ่านมา แต่นั่นแหละนี่ก็เป็น ความรอบคอบŽ ของระบอบประชาธิปไตย ที่จำเป็นจะต้องให้มีกระบวนการในการ กลั่นกรองŽ คนที่จะมาปกครองเราให้มี ความสะอาดŽ อย่างดีที่สุด ทีรัฐประหารแต่ละครั้งก็ใช้เงินมาก แต่ไม่เห็นมีใครบ่น