ชัยวัฒน์สุรวิชัย 10 มกราคม Golden กัลยาณมิตร นาม ธีรยุทธ บุญมี “A friend in need is a friend indeed.” เพื่อนยามยากคือเพื่อนแท้ ความหมาย: คนที่ไม่หนีและช่วยเหลือเรายามอับจนคนนั้นคือเพื่อนแท้Description: A true friend is one who helps you when you are in needก่อนอื่น เราจะพูดถึงเพื่อน ในแง่ความสัมพันธ์และความรู้สึก 1.เรื่องของถ้อยคำ มี 4 ชุด ชุดแรก พูดถึงความสนิท good, close, best, fastเราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน เราเป็นเพื่อนสนิท เราเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด เป็นเพื่อนที่สนิทกันและดีต่อกัน ชุดที่สอง : ลักษณะของความสัมพันธ์ real, true, loyal, trustedเป็นเพื่อนแท้ เป็นเพื่อนจริงๆ เป็นเพื่อนที่ภักดี เป็นเพื่อนที่ไว้ใจเชื่อใจเค้าได้ ชุดที่สาม : ที่มา school, childhood, family, old ชุดที่สี่ : ความโรมานซ์ ในความสัมพันธ์ boy, girl , just 2. การแสดงออก มี 4 คำ fair - weather friend = เพื่อนกิน man's best friend "เพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์" = สุนัข friends in high places เพื่อนผู้สูงศักดิ์ มีบารมี circle of friends กลุ่มเพื่อน มีเพื่อนมาก 3. กิริยา to make friends / to be friend to be friends to have many friends to friend acquaintance 4. การพูดหรือกล่าวถึง A friend in need is a friend indeed friends like that, who needs enemies to form a friendship, to develop a friendship วันนี้ ปู่จิ๊บ จะกล่าวถึงเพื่อน ที่เป็น “ Golden กัลยาณมิตร นาม ธีรยุทธ บุญมี “ ทำไม ต้องเป็น “ Golden กัลยาณมิตร “ ? เพราะรู้จัก “ ธีรยุทธคนดัง” ที่สอบได้ที่หนึ่งประเทศไทย ที่เข้ามาเป็นรุ่นน้องวิศวฯจุฬาฯ 2512 นับเวลา ก็ร่วมๆ 50 ปี ซึ่ง ใช้เป็นสัญญาลักษณ์เวลาของการแต่งงานครบ 50 ปี Golden Weeding หากเอามาใช้สำหรับเพื่อนสนิทมิตรสหาย ที่คบกันมายาวนาน ว่า “ Golden กัลยาณมิตร “ น่าจะได้ น่ะครับโดยอ้างอิง กับ วันครบรอบแต่งงาน 50 ปี ที่ฝรั่งเขาใช้คำว่า “ Golden Wedding “ผมขอเริ่มต้น กล่าวถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์ ที่ลึกซึ้งยาวนานระหว่างกัน 1. ” นิสิตวิศวจุฬาฯด้วยกัน “วิศวฯจุฬาฯ มีความหมาย ในเรื่อง “ ระบบอาวุโส “ SOTUS “ Seniority Order Tradition Unity Spirit ที่คนภายนอก จะไม่รู้จักลึกซึ้ง ยิ่งเป็นในระบบเดิม ที่เรียนระบบ 60 % โดยหากใครไม่ผ่านวิชาใด ด้วยคะแนน 60% จะต้องสอบใหม่ ให้โอกาส Re-exam ได้ 3 วิชา หาก ตก 4 วิชา ก็จะ Repeat หาก 5 วิชา ก็จะ Retire ฉะนั้นเพลง “ จามจุรี ศรีจุฬาฯ “ จึงมีความหมาย ยิ่งได้ฟัง ตรงท่อนที่ว่า : - “…….. เมื่อปลายปีดอกจามจุรีร่วงหล่น ทิ้งใบเกลื่อนถนนเหลือเพียงลำต้นยืนไว้ เหล่าจุฬาฯ ทิ้งความสุขาทันใด พ่อแม่น้องพี่ไกลใกล้อยู่ไหนลืมพลัน ที่กินถิ่นนอน มิได้อาวรณ์นำพา มีความปรารถนาเหลือเพียงตำราเท่านั้น เพื่อนเชือนชักทิ้งจนคนรักสารพัน หวังมิให้ตกชั้นรีไทร์ “ เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ – YouTube ▶ 6:22 https://www.youtube.com/watch?v=DpNBfpPCbdk 2. ได้เริ่มเปิดยุค “ก้าวออกจาก ปราสาทแดง ไปสู่ รั้วจามจุรี และ บ้านเมือง” ส่วนใหญ่ นิสิตวิสวฯ หรือชาวปราสาทแดง จะเน้นงานในคณะวิศวฯ เป็นหลัก ผม ได้ร่วมกิจกรรมของชมรมต่างๆของจุฬาฯ ทั้งที่ตึกจักรพงษ์ และศาลาพระเกี้ยว มาตั้งแต่ปี 2และร่วมเคลื่อนไหวต่อต้านการทุจริตคอร์รับชันของจุฬาฯ ที่นำโดยนายฉันท์แก่น และพี่ต่อตระกูล ยมนาค หลังจาก ขับเคลื่อน ชมรมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มาก่อน และ “ ธีรยุทธ “ ได้มาพัฒนาต่อในปี 2514 ได้ลงสมัคร “ อุปนายก สจม. “ ได้เป็นอุปนายกคนที่หนึ่ง “ และทำหน้าที่นายกสโมสรไปเกือบทั้งปี และในปี 2515 ธีรยุทธ ได้รับเลือกเป็น สาราณียกรของสโมสรจุฬาฯ และเริ่มฉายแววมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะ การเริ่มรณรงค์ให้นิสิตจุฬาฯและนักเรียนนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ สนใจในเรื่องของส่วนรวม 3. การรณรงค์เรื่องผ้าดิบ ต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น “ ที่ออกโปสเตอร์ เด็กไทยหัวจุก ถูกเด็กซามูไรญี่ปุ่นขี่คอ” และไปถึงยอดของบทบาทนิสิตนักศึกษาในฐานะ “ เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศ ศนท. “ 4. ก่อตั้งกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ร่วมลงชื่อ100 คนผู้นำสังคม และเป็น กบฏเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ14 ตุลา16การเปิดแถลงข่าวเรียกร้องรัฐธรรมนูญ เริ่มเย็นวันที่ 5 ตุลาคม 2516 ที่อนุสาวรีย์ทหารอาสาฯถือป้ายและแจกใบปลิวเช้าวันที่ 6 ตุลา ที่ตลอดนัดสนามหลวง โรงพักชนะสงคราม และตอนบ่ายที่ประตูน้ำ แล้วเราก็ถูกรัฐบาลสั่งตำรวจสันติบาลจับ ไปสอบสวนที่กรมตำรวจปทุมวัน และขังที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน เป็นจุดก่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม16 ที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนไทย สามารถล้มเผด็จการถนอมประภาสณรงค์และการสถาปนารัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง ปี 2517 หลังจากนิสิตนักศึกษาออกชนบทครั้งใหญ่ที่สุด 5. การออกประชาธิปไตยสัญจร ปช.ปช และการมีส่วนร่วมก่อตั้งพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย อาจารย์ธีรยุทธ ได้ร่วมกับเพื่อน 13 กบฏ และกลุ่มเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ออกปะชาธิปไตยสัญจรต่างจังหวัด ในนามของกลุ่มประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ( ปช.ปช ) ไปปราศัยไฮปราก์ในต่างจังหวัดต่างๆ โดยได้รับการต้อนรับจากประชาชนที่มาร่วมฟัง อย่า.แน่นขนัดเป็นเรือนพันเรือนหมื่น พูดถึงสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตย ความเสมอภาคเป็นธรรม ความยุติธรรม ซึ่งเป็นครั้งแรกๆหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ปลุกเร้าให้นักศึกษาประชาชนตื่นตัว ลุกขึ้นมากำหนดอนาคตและชตากรรมของประเทสด้วยสองมือเรา 6. การเดินทางไปร่วมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในชนบทกับประชาชน เมื่อ 7 สิงหาคม 2519ขบวนการขวาจัดและอนุรักษ์นิยม ได้ก่อกระแสตีกลับต่อขบวนการนักศึกษาประชาชนชาวนากรรมกรหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 มีการก่อกวนโจมตีด้วยสื่อ ลอบสังหาร นักศึกษาชาวนากรรมกรและผู้สื่อข่าว ผู้นำที่มีบทบาทฯ ถุกคุกขามนัก อาจารย์ธีรยุทธ ถูกเอาโรงศพไปตั้งหน้าที่พัก และเริ่มไม่ปลอดภัย พวกเราจึงตัดสินใจไปสู้ในพื่นที่ที่มีเงื่อนไข เป็นฝ่ายกระทำได้ คือ เข้าสู่ชนบทอันกว้างใหญ่ของประเทศ ซึ่งก็มี ธีรยุทธ ประสาร มฤคพิทักษ์ และภรรยา วิสา คัญทัพ มวลชน สุขแสง ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ฯ ธีรยุทธ บุญมี ได้ทำหน้าที่ ผู้ประสานงาน คณะกรรมการประสานงานผู้รักชาติรักประชาธิปไตย ( ปช.ปช ) เป็นเวลาร่วม 5 ปี ที่ได้ร่วมกันคิดการทำงานเพื่อเอกราชประชาธิปไตย กับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย พรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย พรรคแนวร่วมสังคมนิยม และผู้รักชาติรักประชาธิปไตยนักศึกษาประชาชนฯเป็นการร่วมกินร่วมอยู่ร่วมใช้ชีวิต และต้องพูดถึง การต่อสู้กับไข้ป่ามาเลเรียและเรื่องสุขภาพที่ไม่คุ้นเคยฯ พวกเราที่เป็นส่วนหนึ่งออกมา ในปี 2524 หลังและก่อน ขบวนแถวของประชาชนที่ทยอยกันออกจากป่า 7. เริ่มต่อสู้ใหม่ไม่หยุด หลังจากใช้เวลากลับมาสร้างเนื้อสร้างตัวและไปศึกษาต่อต่างประเทศ ผ่านมาทุกเหตุการณ์ใหญ่ ที่อาจารย์ธีรยุทธ ได้ส่วนร่วมคิดและนำเสนอแนวทางทิศทางและวิธีการต่อสู้ ตั้งแต่ 17พฤษภา 2535 2540 (รัฐธรรมนูญ ) 2549- 2553 ( พธม.) 2556-2557 ( กป.ปส. )ฯลฯ 8. ก่อนและหลังเหตุการณ์ใหญ่ดังกล่าว ยังคงพบปะแลกเปลี่ยนรับฟังความคิดเห็นกันเป็นประจำ ทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็กที่สนิทคุ้นเคยและรู้ใจ ได้ความคิดและอะไรดีๆเสมอ แม้ว่าในระยะหลัง ความคิดในสังคมจะแตกต่างแปลกแยกกันหลากหลาย ไม่มีใครยอมรับความคิดใคร เราเป็นเพื่อนที่ใกล้ชิดกัน บนเส้นทางแห่งมิตรภาพอันยาวนาน สายสัมพันธ์ที่งดงามทั้งส่วนตัวและครอบครัว ในยามเรียนที่จุฬาฯ ผมได้ไปที่บ้าน ไปเคารพจ่าฉิมบุญมีและคุณแม่ที่ค่ายทหารม้าพญาไทในอดีตสนิทคุ้นเคยกับพี่ๆน้องๆของธีรยุทธ ตั้งแต่เล็กๆจนโตและไปร่วมงานศพ เมื่อจากไปธีรยุทธ ก็ได้ไปนอนที่บ้านนายทหารใหญ่ ที่มีศักดิ์เป็นพี่ผม ที่แถวพหลโยธิน ซึ่งทำให้พี่ถูกพันเอกณรงค์ตำหนิ และได้ไปนอนบนเตียงที่มีฝาผนังตาข่ายแบบยุคโบราณ ที่บ้านลำปาง ในคราวไปสัญจรหลัง 14 ตุลา 16 กับ “ตุ๊ก “ ศิริพร บุญมี เป็นหญิงที่เข้มแข็งทรหดอดทน แม้ต้องเดินทางไปร่วมการต่อสู้ของคนรักในป่าเขา และช่วงเวลาให้กำเนิด “ ทายาทคนเดียว นาม ตี๋ต่าง “ ที่เริ่มตั้งครรภ์ในชนบท ก็ได้อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ยามสุข คือ งานเลี้ยงวันเกิด การไปหาอาหารอร่อยๆกินกัน ไปต่างประเทศในฐานะไกด์กิตติมศักดิ์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้ำอันชันตะ อินเดีย ร่วมกับอาจารย์ศรีศักด์ วัลลิโภดม ที่ทำให้ไกด์ตัวจริง ต้องบันทึกความรู้ที่ใหม่เพิ่มเติมฯลฯ ยามสู้รบ คือ การนำเสนอความคิดที่คม เพื่อนำพาหรือคลี่คลายสถานการณ์ โดยจะเป็นคนพูดสุดท้ายปิดเวที ตั้งแต่การเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เช่น กรณีการชุมนุมของนักศึกษา 5 สถาบันที่วางแผน ให้ ธรรมศาสตร์ มหิดล ศิลปากร จุฬา เดินเคลื่อนมาตามถนน ส่วนเกษตรปั่นจักรยานจากบางเขนมาร่วมตัวกันชุมนุมใหญ่ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 21-22 มิถุนายน 2516 ในการเรียกร้องให้รัฐบาลจอมพลถนอม คืนสภาพ 9 นักศึกษารามคำแหง ที่ถูกอธิการบดีสั่งให้ออกฯซึ่งจบลงโดยการประกาศก้องต่อสาธารณะ ให้ รัฐบาลคืนรัฐธรรมนูญให้ประชาชนใน 6 เดือน