ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ที่มา 1. 7 สิงหาคม 2559 รัฐธรรมนูญ ผ่านลงประชามติ 2. กรธ. ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จ 3. ส่งมาให้นายกรัฐมนตรี 4. 8 หรือ 9 พฤศจิกายน 2559 นายกรัฐมนตรี ( ลงนามฯ) นำเสนอทูลเกล้าฯ พิจารณา เพื่อลงพระปรมาภิไธย( ซึ่งอยู่ในกรอบเวลา )รอพระบรมราชวินิจฉัยใน 90 วัน ขบวนการในการพิจารณา 5. พระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ส่งเรื่องให้ องคมนตรีพิจารณา 6. ทางฝ่ายองคมนตรีได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายฯ 7. พระเจ้าอยู่หัวมี พระราชกระแสลงมาว่า ในเรื่องรัฐธรรมนูญหมวดพระมหากษัตริย์มี 3 - 4 รายการ ที่จำเป็นต้องแก้ไขให้เป็นไปตามพระราชอำนาจของพระองค์ท่าน 8. สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง ได้นำเรื่องเสนอมายังรัฐบาล 9. รัฐบาล และ คสช. ใช้เวลาหาวิธีการแก้ให้ได้ โดยไม่ต้องไปทำประชามติ เพราะไม่ได้เกี่ยวกับประชาชน เป็นการถวายพระราชอำนาจพระองค์ท่าน 10. 9 มกราคม 2560 องคมนตรี ( ไพบูลย์ ดาวพงษ์ วิรัชฯ ) ได้มาพบนายกรัฐมนตรี ตามเรื่อง 11. 10มกราคม 2560 ประชุมร่วม คสช. และครม. รับสนองพระบรมราชโองการฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงหลังมีมติร่วมขอแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราวและการประชุมคณะรัฐมนตรี ถึงประเด็นร่างรัฐธรรมนูญว่า ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เป็นไปตามขั้นตอน ( ในส่วนของการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ผ่านประชามติตามที่พระมหากษัตริย์ทรงมีข้อสังเกตว่าสมควรแก้ไขข้อความใด ว่า กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านประชามตินั้น เป็นเรื่องของนายกฯ ที่จะดำเนินการเพราะในมาตรา 4 ที่ขอแก้ไขมาตรา 39/1 วรรคสิบเอ็ดให้เป็น ข้อความใหม่นั้น ระบุไว้ชัดเจนว่า กรณีที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกตว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใด ภายใน 90 วัน ให้นายกรัฐมนตรีต้องขอรับพระราชทานรัฐธรรมนูญนั้นคืนมา เพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะประเด็นตามข้อสังเกตนั้น : นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานกรธ. ) 11 มกราคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง หลักการและขั้นตอน การแก้ไขรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 เพื่อเปิดทางให้มีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติต้องดำเนินการโดย สนช. 12. นายกฯได้แต่งตั้ง “กรรมการกฤษฎีกาเพื่อดำเนินการยกร่างมาตราที่จะมีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติให้เป็นไปตามข้อสังเกตพระราชทาน” ทันที คณะกรรมการชุดนี้มีจำนวน 8 – 10 คน คุณสมบัติจะต้องมีความเชื่อมโยงกับเรื่อง และต้องเป็นกรรมการกฤษฎีกาประกอบด้วย นายวิษณุ เครืองาม นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) นายอภิชาต สุขัคคานนท์ รองประธานกรธ. นายอัชพร จารุจินดา กรธ. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายบวรศักด์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นายอำพน กิตติอำพน อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร อัยการสูงสุด และ นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยคณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ 2 อย่างคือ 1.ยกร่างเฉพาะมาตรา และ 2.ตรวจสอบให้เป็นไปตามข้อสังเกตพระราชทาน และรวมทั้ง คำปรารภรัฐธรรมนูญ มาตราที่จะแก้ไขคือ มาตรา 5, 17 และ 182 ในหลักการเป็นเช่นนั้น แต่ต้องดูว่าทั้งสามมาตราที่พูดถึงจะเกี่ยวพันกับมาตราใดอีกบ้าง ที่เกี่ยวพันกับพระราชอำนาจ หากมีต้องตามไปแก้ด้วย แต่ยืนยันว่าไม่แก้ไขเรื่องสิทธิเสรีภาพ แนวนโยบายแห่งรัฐ คณะรัฐมนตรี ศาล การเลือกตั้ง องค์กร พรรคการเมือง ส.ว. ส.ส. บทเฉพาะกาล ไม่แตะท่อนที่ถกเถียงกันตอนทำประชามติ ไม่ยืดเวลา ไม่อะไรทั้งสิ้น มาตราที่จะแก้ไขล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ตอนประชามติเราอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจ และตอนยกร่างก็ลอกมาจากของเดิม แต่มาในปัจจุบันบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปจึงจำเป็นต้องปรับใหม่ให้เข้ากับเหตุการณ์ เพราะถ้าไม่แก้จะเท่ากับว่าเราใช้หลักที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2475 13. 13 มกราคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557ให้เสร็จ 3 วาระรวด 14. นายกฯจะต้องไปรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติกลับลงมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แล้วนำทูลเกล้า ฯ จากนั้นเป็นเวลาที่อยู่ในพระราชอำนาจ 90 วัน 15. “กรรมการกฤษฎีกา ชุดพิเศษ “ ทำหน้าที่แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ ฯ 16. นำเสนอฯ ต่อนายกรัฐมนตรี 17. นายกรัฐมนตรี นำขึ้นทูลเกล้าฯ พิจารณา 18. พระเจ้าอยู่หัวฯทรงพิจารณา ฯ ลงพระประมาภิไธยในรัฐธรรมนูญ ( เวลาที่อยู่ในพระราชอำนาจ 90 วัน ) 19. รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ฯ 20. ร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ 21. ราชพิธีพระบรมศพ และบรมราชาภิเษก ( ตามพระราอัธยาศัย ) ช่วงประมาณปลายปี 2560 นายกฯยืนยันขั้นตอน 240 วัน 150 วัน 90 วัน = 480 วัน เปิดร่างแก้ รธน.ชั่วคราว ปมผู้สำเร็จราชการ-ระยะเวลาทูลเกล้าฯ...