ชัยวัฒน์ สุรวิชัย อย่างที่บอกไว้ ในสังคมที่ขาดคุณภาพแบบไทย ผู้มีบทบาทจะเป็นชนชั้นนำของสังคม ที่ประชาชนส่วนใหญ่จะเชื่อถือไว้ใจ และทำตามผู้นำ โดยอาจจะเป็นคนดีหรือไม่ก็ได้ แต่ประชาชนที่มีคุณภาพ มีสำนึกและความรับผิดชอบ จะตัดสินใจด้วยตนเอง แล้วรัฐธรรมนูญ จะผ่านการลงประชามติ 7 สิงหา หรือไม่ ขึ้นกับหลายปัจจัย ที่สำคัญและจะมีผลอย่างจริงจัง คือ 5 กลุ่มใหญ่เรามาไล่เรียงไป ทีละข้อ เจาะทีละประเด็น ปมกว้างปมลึก และเป้าหมายของแต่ละฝ่าย 1. การรุกใหญ่ ทำทุกรูปทุกแบบ เพื่อต่อต้านคัดค้าน รธน.ของ ทักษิณปูเพื่อไทยนปช.ฯ เท่าที่สังเกตและติดตามดูอย่างใกล้ชิด ซึ่งต้องดูที่ท่าทีของทักษิณเป็นหลักเพราะ เป็นศูนย์บัญชาการใหญ่สุด ในการขับเคลื่อนทุกเหตุการณ์ใหญ่ที่ผ่านมา @ ทักษิณ ยังคงใช้ยุทธศาสตร์ทางการเมือง เป็นหลักกล่าวคือ ใช้แกนนำเพื่อไทย นปช.นักวิชาการและกลุ่มสิทธิฯ นักศึกษา ปชต.ใหม่เป็นตัวเคลื่อนไหว อาศัยเครือข่ายสื่อของตน และของพันธมิตร ประสานกับสื่อและองค์กรต่างประเทศ โดยการบิดเบือนร่าง รธน.ของ กรธ. - กกต. เชื่อมกับการทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ทำทุกเรื่องทุกประเด็น ทั้งการเมืองเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรม และงานต่างประเทศซึ่งดูเหมือนดี เพราะ สร้างภาพของรัฐบาล คสช. กรธ.ฯ ว่าเลวไปหมด ไม่ดีสักอย่างŽ แต่ การเหมารวมแบบด้านเดียวเช่นนี้ หลอกได้แต่พวกสุนัขรับใช้ และชาวบ้านที่ศรัทธาตน แต่ใช้ไม่ได้ผล และกลับกลายเป็นผลลบ เพราะเกิดมุมตีกลับ ว่า ไม่มีใครเลว 100%Ž ตัวหลักที่เชื่อมอยู่กับชาวบ้าน คือ  ส.ส. และกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่Ž ก็ใช้ได้เป็นบางพื้นที่ เป็นการสะท้อนว่า  อดีต ส.ส.และนักการเมือง ในพรรคเพื่อไทยเอง ก็มีความเห็นต่างŽ หรือ อาจจะเป็นเพราะว่า นายทักษิณ ยังไม่ได้ทำเต็มที่ ยังไม่ได้ทำสงครามแตกหัก  อาจจะเพราะว่า ยังไม่ถึงเวลา ยังมีเวลา หรือ ไม่คุ้มที่จะทำสงคราม ในจังหวะนี้Ž @ แล้วจังหวะนี้ ทำไม  จึงยังไม่คุ้ม ที่จะทำสงครามแตกหักŽ ทักษิณ เป็นคนฉลาด เป็นคนขี้เหนียวขี้ตืดอีกด้วย จะลงทุนหนัก ต้องให้คุ้มต้องถึงเวลาเพราะ ช่วงนี้  อำนาจการจัดการ มิใช่อยู่ที่นายทักษิณหรือหญิงอ้อ แต่อยู่ที่พลเอกประยุทธ์Ž ผลของการลงประชามติ ไม่ว่าเป็นอย่างไร รับไม่รับ ขั้นต่อไป คนกำหนดยังเป็นบี๊กตู่ ซึ่งฉลาดพอ ที่ไม่เป็นคนร่างเอง ( อย่างที่คุณอภิสิทธินำเสนอ อย่างมีนัยยะที่สำคัญ ) ให้อิสระแก่ กรธ.ทั้งชุดอาจารย์มีชัยและชุดดร.บวรศักดิ์ ยอมไม่ได้ดังใจหมด เพราะ การแยกตัวออกมาของพลเอกประยุทธ ทำให้มีอิสระมีบทบาทที่จะกำหนดเองได้ และอีกประการหนึ่ง คือ ทักษิณอ้อŽ รู้ดีว่า รัฐบาลประยุทธ จะเดินตามRoad MapŽ ทั้งที่ได้ประกาศและยืนยันมาตลอด ทั้งต่อประชาชนในประเทศ และต่างประเทศ เกมนี้ จากการสังเคราะห์ ก็เป็นการเดินแผนหนึ่งของทักษิณ ที่ใช้ โลกล้อมเมืองŽ @ โดยสรุป : หมากของทักษิณอ้อ คือ ใช้ยุทธศาสตร์การเมืองนำไปก่อน ทำลายความชอบธรรมและภาพพจน์ของรัฐบาลประยุทธ คสช. กรธ. และกกต. ฯ ซึ่งได้ผลบางระดับ แต่ก็ไม่มากนัก เพราะทีมเสธคณะยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ก็รู้ทัน ผลที่ได้มา ไม่ว่าจะอยู่ในแผนหรือไม่ คือ ได้หัวหน้า ปชป. มาเป็นแนวร่วมฯŽ เพราะ ทักษิณ รู้จุดอ่อนของคุณอภิสิทธิ์ ที่มีกรอบคิดตะวันตกที่ต้องเลือกตั้งโดยนักการเมือง หากสังเกตดูเกมส์การเมืองของทักษิณ : จะนำหน้าอภิสิทธิมาตลอด 1 ก้าวเสมอŽ แม้อภิสิทธิ์ จะเก่งมีความรู้ กว่า และมีความเป็นประชาธิปไตยมากกว่า แต่เรื่องเล่ห์ไม่ทันทัก @ แต่อย่าประมาทคนอย่างทักษิณ ที่อาจจะเดินเกมใหญ่ ทำสงครามย่อยในวัน 7 สิงหานี้ 2.การออกมาของมวลมหาประชาชนเรือนล้าน กปปส. กำนันสุเทพและคณะฯ สุเทพŽ ซัดพวกนักการเมืองไม่รับร่างรัฐธรรมนูญเห็นแก่ตัวไม่คำนึงถึงประโยชน์ชาติ ....  ผมยอมรับว่าเห็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในขณะนี้นักการเมืองหลายคนแสดงความเห็นแก่ตัว ใจแคบ คิดเอาแต่ประโยชน์เฉพาะหน้าในทางการเมือง ไม่แสดงความรับผิดชอบถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองในวันข้างหน้า แต่ประชาชนอย่างพวกเราไม่ได้สนใจประโยชน์ทางการเมือง เราไม่ได้ทำเพื่อตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง ไม่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ทางการเมืองของนักการเมือง พรรคการเมืองไหนทั้งสิ้นŽ วันนี้ได้ให้ความสำคัญกับประเทศไทยมากกว่าจะให้ราคานักการเมืองคนไหน พรรคไหนทั้งสิ้น ฉะนั้นจึงจะไปลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญผมจะไปลงประชามติรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แม้จะต้องเป็นการตัดสินใจที่สวนทางกับบรรดานักการเมืองหลายพรรค แต่ถือว่าประโยชน์ของชาติเหนือกว่าสิ่งใดทั้งสิ้นŽ.... 3.ท่าที่ที่ถูกต้อง ที่เอา  ประชาชนมาก่อนŽ ของพรรคประชาธิปัตย์ หมายถึงเสียงส่วนใหญ่ของชาว ปชป. ทั้งอดีต ส.ส. กก.บริหาร สมาชิก รวมทั้งผู้สนับสนุน ซึ่งต้องออกมารับผิดชอบประชาชนให้มาก เพราะหัวหน้าอภิสิทธิ์ แถลงไม่รับไปแล้ว ซึ่งก็เป็นที่น่ายินดี ที่พรรคปชป.ไม่น้อย ส่งเสียงออกมา จะไปลงรับ สวนกับ หัวหน้าอภิสิทธิ์Ž เป็นการรักษาเกียรติภูมิของพรรค และเป็นการตอบแทนบุญคุณมหาชนที่สนับสนุน ปชป.มาตลอด เรื่องนี้ต้องพูดตามเนื้อผ้า คุณอภิสิทธิ์ แถลง ไม่รับŽ เป็นจุดยืนและตัวตนที่คิดแบบตะวันตก ซึ่งทำให้คุณอภิสิทธิ์ เติบโตทางการเมืองอย่างรวดเร็ว จนถึงตำแหน่งหัวหน้าพรรคและนายก รมต.และต้องการรักษาระบอบประชาธิปไตยรัฐสภาการเลือกตั้งที่ไม่สุจริตเที่ยงธรรม มากกว่า การจะมุ่งการแก้วิกฤติของการเมืองเก่า และผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติ 4.การมีวิสัยทัศน์ ความกล้าหาญเสียสละเยี่ยงรัฐบุรุษของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ เพราะ นี่เป็น โอกาสสุดท้ายŽ ที่จะทำเพื่อ คืนความสุขให้กับคนไทยทั้งชาติ ต้องก้าวผ่าน หน้าตาของตนเอง ไปสู่อนาคตของประเทศชาติและสถาบันฯŽ ไม่รู้ จะเป็นการเรียกร้องพลเกประยุทธ มากไปหรือไม่ เพราะที่ได้ทำมาทั้งหมด กว่า 2 ปี ก็ทำอะไรได้เยอะ ถูกใจประชาชน แต่ ยังไม่พอกับวิกฤตและปัญหาของประเทศที่หมักหมมสะสมกันมายาวนาน แล้วครั้งนี้ การลงประชามติŽ เป็นเส้นทางทีจะต้องก้าวผ่าน เพื่อเดินต่อไป โดยส่วนตัวและรัฐบาล อาจจะต้องรวมกองทัพไปด้วย  เห็นด้วยกับ รธนŽ จากการได้แสดงทัศนะและวิจารณืนักเลือกตั้งที่เห็นแก่ตัวมาตลอด 5.ประชาชนเยาวชน คนชั้นกลาง ชราชนคนเกษียณ ต้องออกมากู้ชาติให้พ้นวิกฤติ ตามหลักการประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนโดยและเพื่อ ปชช.Ž แต่ในความเป็นจริง ที่สังคมไทยได้เห็นเป็นประจักษ์กับสองตามา กว่า 84 ปี ประชาชนมาก่อน ทำเพื่อประชาชน เป็นเพียงข้ออ้าง ท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพยังมาไม่ถึง หลักการที่นักการเมืองและผู้บริหารประเทศที่ควรทำ คือ เอาผลประโยชน์ของประชาชนมาก่อนเสียงประชาชน (การเลือกตั้ง )Ž ( พุทธทาส ) แต่รองจากประชาชนทั้งประเทศ คือ ประชาชนที่มีคุณภาพ ชนชั้นกลาง นักประชาธิปไตย ผู้คนที่มีอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม ฯ จะต้องเดินหน้า จุดคบไฟแห่งประชาธิปไตย ส่องทาง โดยปฏิบัติตนให้เห็นเป็นที่ประจักษ์  เป็นคนดีคิดดีทำดี เพื่อส่วนรวมและบ้านเมืองŽ เดินหน้าเข้าแถว มุ่งไปสู่ เคหาเลือกตั้ง แล้วไปลงคะแนน รับและรับ = 2 รับ ประชามติ คือ 1. รับร่างรับธรรมนูญ 2. รับคำถามพ่วง เพื่อให้ ส.ว.ช่วยสนับสนุนการปฏิรูปไปค้านอำนาจกับนักการเมืองนักเลือกตั้ง ที่จะพาประเทศหันหลังกลับไปสู่การเมืองเก่า โดยสรุป พิจารณาจาก 5 ปัจจัยหลัก ดังกล่าวแล้ว ผลน่าจะออกมา  รับ > ไม่รับŽ เพราะปัจจัยบวกพลังต้องการการเปลี่ยนแปลง มีมากกว่า พลัง ลบ ที่คัดค้านการเปลี่ยนแปลง  และฝ่ายต้านที่เป็นตัวหลักคือ คุณทักษิณพรรคเพื่อไทย ยังไม่ทุ่มสุดตัว ยังไม่ทำสงครามแตกหัก ฉะนั้นแนวโน้มการลงประชามติครั้งนี้ ซึ่งกลายเป็นกระแสทางการเมืองของมวลมหาประชาชนที่ไม่เอาการเมืองเก่า คงจะมีโอกาสสูงกว่า คือ รับŽ ประชามติ 7 สิงหา 2559