ชัยวัฒน์ สุรวิชัย การเรียนรู้ ผู้นำที่ประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ต้องศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจเข้าถึง เพื่อสามารถนำมาพัฒนาได้แต่ก่อนอื่น เราจะต้องสร้างความคิดที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในตัวเองก่อน ให้เท่า กับ ผู้นำที่เรานำมาเป็นเป้าหมายแล้วศึกษาเรียนรู้ว่า อะไรคือแรงแรงปรารถนาหรือความฝันอันยิ่งใหญ่ เขามีวิธีคิด วิธีปฏิบัติอย่างไร การศึกษา ต้องศึกษา ทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวความสำเร็จ และความสำเร็จที่สูงขึ้น ความล้มเหลว และการแก้ความล้มเหลว ได้อย่างไรเราต้องนำมาใช้และปฏิบัติ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยการนำมาประยุกต์ให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และตัวของเรา นี่คือ ข้อสำคัญ ที่แตกกต่างจากผู้นำที่ไม่ประสบความสำเร็จ. ความคิดต้องโตขึ้น ตามอายุ ตามเวลาที่ผ่านไป การเริ่มต้นคิด ส่วนมากจะได้ความคิดแบบเดียวหรือคล้ายกับคนอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ดีแล้ว แต่หากเราเติบโตขึ้น และต้องการการก้าวหน้าพัฒนาให้มากขึ้น ดีขึ้นการคิดแบบเดิมแบบเก่า ก็จะมีความสำคัญน้อยลง ใช้ประโยชน์ได้ไม่มาก เราจำเป็นจะต้องใช้ความตั้งใจ ความพยายาม ทั้งคิดและจินตนการ ฝัน ถึงสิ่งใหม่ๆ เพราะ "เมื่อทุกคน คิดแบบเดียวกัน ก็จะไม่มีใครใช้ความคิดกันมากนักและที่สำคัญ เราก็ไม่สามารถสร้างความคิดใหม่ๆ ที่ยิ่งใหญ่ได้" คิดถึงสิ่งดีๆ นำเข้าสิ่งดีๆ จิตก็จะดี ร่างกายก็จะแข็งแรง เรื่องง่ายๆที่ทำยาก ทั้งๆที่รู้ เราสามารถแก้ได้ ที่สำคัญ 1. รู้ 2. ต้องคิด 3. เข้าใจ 4. ใส่ใจ เอาใจจดจ่อ ถึงคุณค่าความหมายและประโยชน์ที่ได้รับมีอยู่ 3 เรื่อง คือ 1. ต่อตัวเอง เป็นจุดที่สำคัญที่สุด คือ การเป็นคนดี ก็จะทำให้เราคิดดีทำดี และการคิดดีทำดี ก็จะยิ่งทำให้เราเป็นคนดี และรักษาความดีไว้ได้นาน รวมทั้งลดความไม่ดี ความเห็นแก่ตัว ความไม่รับผิดชอบ ความโกรธ ความอาฆาตแค้น ฯลฯ 2. ต่อผู้อื่น ต้องคิดดีทำดีปรารถนาดีด้วยความรักความจริงใจและใส่ใจ โดยต้องมีท่วงทำนองที่ดีและถูกต้อง เหมาะกับสภาพของเขา สภาพของสังคมฯ 3. ต่อส่วนรวมสังคมและบ้านเมือง ต้องเรียนรู้เข้าใจ ด้วยสติปัญหาและความจริง เพื่อให้สามารถคิดดีทำดีต่อบ้านเมืองได้จริง ความสัมพันธ์ของ 3 เรื่อง คือ 1. ตัวเองดี ก็จะมีโอกาสทำให้คนอื่นและบ้านเมืองดี แต่ถ้าตัวเองไม่ดี นอกจากจะทำไม่ดีต่อคนอื่นและบ้านเมืองแล้ว ยังเป็นภาระต่อคนอื่นและบ้านเมืองด้วย 2. คนอื่นดี ก็จะช่วยให้เราดีด้วย 3. บ้านเมืองดี ก็จะช่วยให้ คนในสังคมและตัวเองดีด้วย และเมื่อเราดีคนอื่นดีบ้านเมืองดี ทุกอย่างก็จะดีด้วย การตั้งคำถาม ที่ถูกต้อง เท่ากับว่า เราก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ครึ่งทางแล้ว คนส่วนใหญ่ มุ่งหน้าตั้งตา หาคำตอบ ตอนแรกๆจะได้ผล แต่เมื่อปัญหาใหญ่ขึ้น ยากขึ้น จะเริ่มไม่ได้ผล แต่คนที่แก้ปัญหาได้ มักจะเป็นคนที่ตั้งคำถามได้ถูกต้อง ซึ่งจะต้องเกิดจากการศึกษาเรียนรู้ หลักการ และฝึกหัดวิธีการที่จะไปสู่การตั้งคำถามที่ดีที่ถุกต้อง ตรงกับโจทย์ได้ การตั้งคำถาม ในรูปแบบต่างๆ กัน จะช่วยเรามองเห็นปัญหาที่แตกต่างกัน เมื่อเผชิยกับอุปสรรค จงตั้งคำถาม แล้วพยายามหาคำตอบหลายๆคำตอบ ถ้าเราเจอทางตัน ให้เปลี่ยนแนวคำถามไปอีกทางหนึ่ง เราสามารถตั้งคำถามได้หลากหลายรูปแบบและหลายแนวทาง ทักษะการตั้งคำถาม ( ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ ) การตั้งคำถามเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ที่นำใช้ในการการแก้ปัญหาได้ตลอดเวลา "การถามเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาความคิดใหม่ๆ กระบวนการถามขยายทักษะความคิด ทำความเข้าใจให้กระจ่างได้ข้อมูลป้อนกลับทั้งการเรียนการแก้ปัญหา ก่อให้เกิดยุทธศาสตร์การทบทวน เกิดความเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่าง ๆ ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็น และเกิดความท้าทาย" สำหรับประเภทของคำถาม 1. คำถามระดับต่ำ และคำถามระดับสูง คำถามระดับต่ำ เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบระดับความจำของข้อมูล หรือต้องการวัดความจำใช้ในการทบทวนความรู้พื้นฐานหรือมโนทัศน์ คำถามระดับสูง เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบระดับการแปลผล การนำไปใช้ การวิเคาะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า วัดความคิด ช่วยพัฒนาผู้เรียนในด้านของทักษะการคิดและการให้เหตุผล 2. คำถามเกี่ยวกับผล กระบวนการ และความคิดเห็น คำถามเกี่ยวผล ต้องการคำตอบในรูปของการสรุปผลขั้นสุดท้าย คำถามเกี่ยวกับกระบวน การ ต้องการให้อธิบายถึงวิธีการ การดำเนินการหรือขั้นตอนที่นำไปสู่ผลขั้นสุดท้าย คำถามเกี่ยวกับความคิดเห็น ต้องการให้ผู้เรียนแสดงความเห็น ตัดสินใจ หรือประเมินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 3. คำถามแบบปิดและแบบเปิด คำถามแบบปิด เป็นคำถามที่มีคำตอบเดียวมักใช้กับข้อมูลที่เป็นความจำ คำถามแบบเปิด เป็นคำถามที่ให้คำตอบได้หลายอย่าง ใช้เพื่อการสร้างข้อมูล เพื่อให้เกิดการตอบสนองเฉพาะตัว และนำไปสู่การอภิปรายและการถามในชั้นต่อไป เทคนิคการตั้งคำถาม การใช้คำถามเป็นเทคนิคสำคัญในการเสาะแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ เป็นกลวิธีที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด การตีความ การไตร่ตรอง การถ่ายทอดความคิด สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้และแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี การถามเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้และแก้ปัญหา ช่วยให้สร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาความคิดใหม่ ๆ กระบวนการถามจะช่วยขยายทักษะการคิด ทำความเข้าใจให้กระจ่าง ได้ข้อมูลป้อนกลับทั้งด้านการทำงานและการแก้ปัญหา ก่อให้เกิดการทบทวน การเชื่อมโยงระหว่างความคิดต่าง ๆ ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและเกิดความท้าทาย ระดับของการตั้งคำถาม 1) คำถามระดับพื้นฐาน เป็นการถามความรู้ ความจำ เป็นคำถามที่ใช้ความคิดทั่วไป หรือความคิดระดับต่ำ ใช้พื้นฐานความรู้เดิมหรือสิ่งที่ประจักษ์ในการตอบ เนื่องจากเป็นคำถามที่ฝึกให้เกิดความคล่องตัวในการตอบ คำถามในระดับนี้เป็นการประเมินความพร้อมของผู้ทำงาน วินิจฉัยจุดอ่อน – จุดแข็ง และสรุปเนื้อหา 1.1 คำถามให้สังเกต เป็นคำถามที่ให้ผู้เรียนคิดตอบจากการสังเกต 1.2 คำถามทบทวนความจำ1.3 คำถามที่ให้บอกความหมายหรือคำจำกัดความ 1.4 คำถามบ่งชี้หรือระบุ 2) คำถามระดับสูง เป็นการถามให้คิดค้น หมายถึง คำตอบที่ต้องใช้ความคิดซับซ้อน เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และกระตุ้นให้สามารถใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาในการคิดหาคำตอบ โดยอาจใช้ความรู้หรือประสบการณ์เดิมมาเป็นพื้นฐานในการคิดและตอบคำถาม 2.1) คำถามให้อธิบาย 2.2) คำถามให้เปรียบเทียบ 2.3 คำถามให้วิเคราะห์ 2.4) คำถามให้ยกตัวอย่าง 2.5) คำถามให้สรุป 2.6) คำถามเพื่อให้ประเมินและเลือกทางเลือก 2.7) คำถามให้ประยุกต์ 2.8) คำถามให้สร้างหรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือผลิตผลใหม่ ๆ มองเชิงบวก 1. แข่งพาย แข่งได้ แต่แข่งบุญ แข่งวาสนา แข่งไม่ได้ แข่งพาย แข่งได้ แต่แข่งบุญ แข่งวาสนา แข่งไม่ได้ 2. ทางตัน ไม่มีทางหนี แต่ > ทางตัน โจรขโมย ก็ หนีไม่ได้ 3. Road Map 5 ปี ไม่ได้ของ จะเสียของ แต่เวลา 5 ปี ทำให้เราแข็งแกร่ง มีเวลาคิดและหาทางออกได้ 4. 99% พิสูจน์แล้วว่า ทำไม่ได้ > แต่ มีอีก 1 % ที่มีโอกาสทำได้ และเป็นผู้เปลี่ยนแปลง โดยสรุป ความคิดดีๆ ไม่ได้เกิดขึ้นเอง ไม่มีใครกำหนดให้ เราต้องสร้างขึ้นเอง การสร้างขึ้น มี 2 ทางหลัก คือ 1. แรงบันดาลใจ 2. แรงกระตุ้น ความฝันความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่ ความคิด ความเชื่อ การทำให้สำเร็จ( ผู้ชนะ ) การบันทึก ความคิดดีๆ ไว้ตลอด จะเกิดประโยชน์และมีคุณค่ามาก การเรียนรู้ ถึงผู้นำที่ประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ความคิดต้องโตขึ้น ตามอายุ ตามเวลาที่ผ่านไป คิดถึงสิ่งดีๆ นำเข้าสิ่งดีๆ จิตก็จะดี ร่างกายก็จะแข็งแรง ความสัมพันธ์ ระหว่าง ตัวเอง คนอื่น และส่วนรวม (บ้านเมือง) การตั้งคำถาม ที่ถูกต้อง เท่ากับว่า เราก้าวไปสู่ความสำเร็จได้ครึ่งทางแล้ว มองเชิงบวก มีแต่ได้กับได้