รศ.ดร.ไชยา ยิ้มวิไล เวียดนามเป็นกลุ่มประเทศที่เพิ่งเข้าสู่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC” เมื่อต้นปี 2559 แล้วเวลาก็ผ่านไป 1 ปีเต็ม จนปัจจุบันต้องเรียนว่า “เวียดนาม” รุดหน้าไปมากจนแทบตกใจว่าทำไมเจริญเหลือเกิน จนประธานาธิบดีบารัค โอบามา ต้องมาเยือน โดยขอย้ำว่าเริ่มจากกลุ่ม CLMV (C=กัมพูชา L=สปป.ลาว M=สหภาพเมียนมาร์ และ V=สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม) แม้ว่าในปีที่ผ่านมา "เวียดนาม" จะต้องเผชิญกับมรสุมต่าง ๆ ทั้งปัญหาภัยแล้งครั้งรุนแรงที่สุด แต่เศรษฐกิจเวียดนามยังถือเป็น “พระเอก” ของอาเซียน สามารถขยายตัวที่ระดับ 6.3% ซึ่งเป็นตัวเลขสูงอันดับต้น ๆ ของภูมิภาค รัฐบาลยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เติบโตปี 2017 อยู่ที่ 6.8%  "นิตยสารฟอร์บส" ชี้ 5 ปัจจัยหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ "เวียดนาม" ให้เป็นดาวเด่น ประกอบด้วย หนึ่ง โอกาสจากข้อตกลง FTA 16 ฉบับ แม้ว่า ข้อตกลง "หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก" หรือ “TPP : TRANPACIFIC PARTNERSHIP” ซึ่งถือเป็นความหวังใหญ่ของเวียดนามในการดึงดูดการค้าและลงทุนจากต่างประเทศ อาจปิดฉากลงหลัง "โดนัลด์ ทรัมป์" สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ และประกาศว่าจะฉีกข้อตกลงนี้ทิ้ง อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังมีข้อตกลงทางการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ถึง 16 ฉบับที่ได้ทำข้อตกลงไว้แล้ว โดยเฉพาะที่ทำร่วมกับจีนและญี่ปุ่น ถือเป็นอีกสองมหาอำนาจเศรษฐกิจโลก  นิตยสารฟอร์บสวิเคราะห์ว่า ข้อตกลง 16 ฉบับที่ว่านี้จะสามารถกู้ชีพจรเวียดนามได้ หาก TPP ถูกปัดตก นอกจากนี้ เวียดนามยังจ่อคิวเตรียมเซ็นร่วมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับ ภูมิภาค "ไชน่า-แชมเปี้ยน เอเชีย เทรด" ซึ่งถูกผลักดันอย่างหนักจากรัฐบาลจีน หลังจากที่อเมริกามีท่าทีจะคว่ำ TPP ทั้งนี้ ถ้าดีลของพญามังกรฉบับนี้ไปได้สวย จะสามารถครอบคลุมจีดีพีโลกได้มากถึง 30% สอง ต่างชาติแห่ลงทุนเวียดนาม เวียดนาม ยังคงผลักดันการลงทุนจากต่างชาติด้วยสารพัดมาตรการ เช่น กฏระเบียบที่ให้นักลงทุนต่างชาติได้สิทธิประโยชน์จากอัตราภาษีศุลกากรที่ต่ำ ลง โดยนับตั้งแต่ปี 2558 เวียดนามได้กำหนดระเบียบการลงทุนของต่างชาติให้มีความชัดเจนและโปร่งใสมาก ขึ้น ทั้งยังปรับปรุงการอนุมัติใบอนุญาตต่าง ๆ รวดเร็วขึ้น ทำให้ปีที่ผ่านมามีนักลงทุนต่างชาติแห่เข้ามาลงทุนต่อเนื่อง ดังนั้นในปี 2560 เวียดนามจะได้เริ่ม "เก็บผลผลิต" ที่ได้หว่านเมล็ดเอาไว้ สาม ผู้คนร่ำรวยขึ้น และบริโภคเพิ่มขึ้น "บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป" คาดการณ์ไว้ว่า ชนชั้นกลางเวียดนามจะขยายตัวเพิ่มขึ้น 2 เท่าในปี 2563 ทำให้ชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นเป็น 33 ล้านคน นั่นหมายถึงกำลังซื้อที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยชนชั้นกลางจะมีรายได้ราว 714 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน เพียงพอที่จะใช้จ่ายค่าโทรศัพท์ ซื้อรถจักรยานยนต์ เหลือไว้สำหรับการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ สี่ ก้าวสู่อุตฯผลิตสินค้าเทคโนโลยี การผลิตของเวียดนามได้รับการยกระดับจากอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่ผลิตเครื่องนุ่ง ห่มและรองเท้า กลายเป็นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่สร้างมูลค่ามากขึ้น จากการลงทุนสร้างฐานผลิตของบริษัทเทคโนโลยีต่างชาติ ทำให้สินค้าเทคโนโลยีกลายเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ด้วยสัดส่วนอยู่ที่ 25% ในปี 2558 และเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยักษ์เทคโนโลยีที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม อาทิ "ห่องไห่ พรีซิชั่น อินดัสทรี" หรือ "ฟ็อกซ์คอนน์" รวมไปถึง "อินเทล" และ "ซัมซุง" ได้มีการลงทุนรวมกันหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ซัมซุงกำลังพิจารณาที่จะลงทุนในส่วนของการผลิตจอโทรทัศน์เพิ่มอีก 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในเวียดนาม ได้สร้างทักษะใหม่ให้กับแรงงาน รวมทั้งยกค่าแรงคนงานและรายได้บริษัทเพิ่มขึ้น ขณะที่ปีนี้ทางการเวียดนามตั้งเป้าการขยายตัวภาคส่งออกไว้ที่ 8-10%  ห้า การขยายตัวของธุรกิจภาคเอกชน ก่อนหน้านี้ธุรกิจในเวียดนามอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ซึ่งทำงานงุ่มง่ามและล่าช้า และพึ่งพาการนำเข้าจากจีนเป็นหลัก แต่ปัจจุบันทิศทางเปลี่ยนไป ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในธุรกิจต่าง ๆ มากขึ้น ทั้งธุรกิจค้าปลีกและการส่งออก รวมถึงกระแสธุรกิจใหม่ๆ อย่าง "คราฟต์ เบียร์" "สตาร์ตอัพด้านสื่อ" รวมถึง "ธุรกิจบันเทิง" และ "การทำธุรกรรมออนไลน์" ก็กำลังมาแรงในเวียดนาม ทำให้ปีที่ผ่านมามีการก่อตั้งกองทุนร่วมทุนท้องถิ่น ที่เข้ามาสนับสนุนเงินทุนแก่บรรดาบริษัทสตาร์ตอัพจำนวนมาก และฟอร์บสคาดว่า ธุรกิจเอกชนเป็นความหวังที่จะเป็นเครื่องยนต์ตัวใหญ่ขึ้นในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจเวียดนาม เวียดนามวันนี้เป็นที่จับตามองของกลุ่มสมาชิกอาเซียน จนน่าจะรุ่งเร็วเกินคาด เหตุผลเพราะว่า “สหรัฐอเมริกา” และ “ญี่ปุ่น” บวกกับ “ญี่ปุ่น” ต่างทุ่มเทการลงทุนอย่างมากกับเวียดนาม จนประเทศพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยประเทศไทยอาจต้องเชื่อมโยงการลงทุนกับเวียดนาม แต่คงต้องประสานผ่านทางสปป.ลาว และแน่นอนกับสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และญี่ปุ่น แต่ถามว่า “จีน” นั้นแสดงท่าทีอาจกีดกัน “ความกว้างขวาง” ของสหรัฐฯ โดยมีกรณีเหตุพิพาททางทะเลจีนใต้ที่ยังไงๆ ก็ยังคงยืดเยื้อต่อไปจนประธานาธิบดีทรัมป์อาจต้องพลิกแพลงนโยบายกับจีนเชิงพาณิชย์หรือกล่าวภาษาชาวบ้านว่า “ต้องเป็นมิตรกับจีน” อย่างดี เรียกว่า “พลิกฟ้าพลิกดิน!” ก็อาจเป็นได้ บวกกับ “ค่าแรงของคนเวียดนาม” ที่ราคาถูกมาก จนนักลงทุนต่างชาติต่างมุ่งสู่การลงทุนต่างชาติต่างมุ่งสู่การลงทุนที่เวียดนาม อย่างว่าครับ “เศรษฐกิจหรือเงินต้องมาก่อน!” ทั้งนี้ ในโลกแห่งความเป็นจริง “นานาประเทศทั่วโลกมุ่งหาเงินเป็นอันดับแรกอยู่แล้ว” ซึ่งเป็น “ธรรมดาของโลก!” ในขณะเดียวกัน “สหภาพเมียนมาร์” นั้น ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องด้วยสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกันพุ่งสู่การลงทุนในสหภาพเมียนมาร์เช่นเดียวกัน เหตุผลเพราะว่า “ค่าแรงถูก” แต่ไม่สำคัญเท่ากับ “วัตถุดิบ” ราคาถูกมาก โดยเฉพาะ “ก๊าซธรรมชาติ-น้ำมันดิบ” ที่มีมากมหาศาลที่ทะเลอินเดียใน “อ่าวเบงกอล” ดังนั้น ประเทศสหภาพเมียนมาร์จึงเป็นประเทศที่ใกล้ทางไทยมากที่สุด ที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยประมาณ 2,400 กว่ากิโลเมตร ที่น่าจะมีโอกาสดีกว่าเวียดนาม ในกรณีของการเชื่อมโยงด้วยระบบคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ เมียนมาร์นั้น มีความใกล้ชิดกับประเทศไทยค่อนข้างดีช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา โดยไทยต้องรีบเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับสหภาพเมียนมาร์อย่างใกล้ชิด เริ่มตั้งแต่อำเภอแม่สาย เชียงราย อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก กาญจนบุรีเชื่อมกับท่าเรือน้ำลึกทวาย และทางตอนใต้กับจังหวัดระนอง เพราะฉะนั้น เราคงอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ต้องเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับสหภาพเมียนมาร์ และกับสปป.ลาว ส่วนเวียดนามนั้นแน่นอนที่เราต้องเชื่อมโยงต่อไปเพื่อสู่ทะเลจีนใต้ ทั้งนี้เวียดนามก็อย่าลืมครับ!