ชัยวัฒน์ สุรวิชัย 1. เปิดอ่านข้อเขียน สันดาน 'นักเลือกตั้ง' โดย : ประชา บูรพาวิถี > ทำให้ต้องลงมือเขียนเรื่องนี้แคน สาลิกา ฝาแฝดของ ประชา บูรพาวิถี เขียนสัจจธรรมทางการเมืองไทย สรุปได้ชัดเจน “ ในรอบ 2 ทศวรรษ รัฐประหารกับนักเลือกตั้งไทย เป็นของคู่กัน เหมือนผีเน่ากับโลงผุทุกครั้งของการรัฐประหารโดยนายทหารใหญ่ เมื่อมีการเลือกตั้ง นักเลือกตั้งหน้าเดิมๆ ก็กลับมา ขนาด “ปัญญาชนคนชั้นกลาง” จะสร้างวาทกรรม “เทพ-มาร” ผ่านสื่อกระแสหลัก ก็หยุดยั้งฝ่ายมารไม่ได้ …… เป็นการพิสูจน์ให้เห็นความเป็นนักเลือกตั้งโดยอาชีพของพวกเขา ปี 2544-2547 ทักษิณ ชินวัตร ได้สร้างปรากฏการณ์“วัฒนธรรมอุปถัมภ์ใหม่” แทนที่การเมืองแบบเก่า ที่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ ระหว่าง “พรรคนักเลือกตั้ง” กับ “พรรคข้าราชการ”: ทักษิณ “กินรวบ” เลือกตั้งปี 2550 และปี 2554 พิสูจน์ให้เห็นอย่างหนึ่งว่า “ฆ่าทักษิณไม่ตาย”เมื่อฝ่ายขุนศึกโยนโจทย์ปรองดองลงมา ฝ่ายทักษิณจึงอ้าแขนรับทันที เพราะกระสันเลือกตั้ง มั่นใจชนะแน่ 2. หากถามว่า “ ทำไม จึงเป็นเช่นนั้น “ เราต้องมาศึกษาทำความเข้าใจ ถึงเหตุ ปัจจัย หาก หาเหตุได้ถูกก็จะแก้ปัญหาได้ หาก หาไม่ถูกหรือผิด ปัญหา ก็จะยังคงอยู่ และจะหนักมากขึ้น เหตุ มีที่มาจาก 6 ปัจจัย ( 5 ปัจจัย จากภายใน และ 1 ปัจจัย จากภายนอก ) หนึ่ง. ฝ่ายทักษิณ ตั้งแต่ จัดการการเลือกตั้งด้วยระบบทุนสามานย์ใหม่ ปี 2554 และพัฒนาให้สมบูรณ์ครบเครื่องหลังจากเป็นรัฐบาลและคุมรัฐศภา เขาก็ชนะขาดมาตลอด มาดูปัจจัย ที่ทำให้ “ เขา “ ขนะ 1. ความคิดชี้นำ : “ ไม่สนใจวิธีการ เอาเป้าหมายเป็นหลัก “ ดึงทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือสนับสนุน และการต่างตอบแทน 2. วิธีการ : ถูกต้องชอบธรรม ไม่ถูกต้อง และกล้าทำผิด 3. ระบบการจัดการ : มีประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผล รวมทั้งทำได้ทุกเวลาและโอกาส 4. กำลังคน : นักการเมือง นายทุนการเมือง เจ้าหน้าที่ของพรรค คนมีบทบาทในจังหวัด พื้นที่ถึงหมู่บ้าน 5. กำลังสนับสนุน : ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร(บางส่วน ) กระบวนการทางกฎหมาย บางส่วน 6. กำลังจัดตั้ง : ผู้ปฏิบัติงาน แกนนำ มวลชน 7. หัวคะแนน : ที่จัดเป็นระบบเครือข่ายฯ ในทุกระดับ 8. ทุน : ทุนส่วนตน กรรมการบริหาร รัฐมนตรี สส.และผู้สมัคร และ ทุนส่วนกลาง ฯลฯ 9. ทุนของรัฐ : ทุนจาก อภิมหาโครงการ นโยบายประชานิยม ที่จ่ายไปก่อนและหลังการเลือกตั้ง 10. นักวิชาการ : ที่นิยมชมชอบฯ เสรีนิยม อคติและมีความคิดเอียง ส่วนที่ความสัมพันธ์ใกล้ชิด ฯลฯ 11. สื่อ : สื่อทุกชนิดทุกแบบ ทั้งของพรรคของบุคคลและสื่อสารมวลชนฯที่สัมพันธ์ นสพ.วิทยุ โทรทัศน์ โซเชียลมีเดีย sms ฯลฯ ที่มีลักษณะเป็นเครือข่ายและกระบวนการฯ 12. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรม และ 13. องค์กร หน่วยงาน และรัฐบาลต่างชาติ สอง. ฝ่ายประชาชน 1. มวลชนที่มีการจัดตั้ง + ใส่ความคิดอย่างประจำและต่อเนื่อง 2.ประชาชนและชาวบ้านทั่วไป เรื่องระบบอุปถัมภ์ 3. ชนชั้นกลางและคนในเมือง ที่รับรู้ข่าวสารและมีข้อมูล ฝ่ายทักษิณ จะได้มวลชน ส่วนแรกเป็นกำลัง และใช้มวลชนและอำนาจฯ ดึงประชาชนส่วนที่สองส่วนประชาชนส่วนที่สาม ทำได้น้อย เพราะเขารู้ทันในส่วนที่ทำผิดและเกิดผลเสียต่อประเทศ สาม. นักการเมืองคู่แข่ง 1. พรรคใหญ่กลางเล็กติดในระบบรัฐสภา ขอให้มีการเลือกตั้ง ขอให้ได้เป็นสส หรือฝ่ายค้านในรัฐสภา มักไม่ชอบทหาร( รัฐประหาร ) ขาดการปฏิรูปอย่างจริงจัง ที่จะทำให้เป็นพรรคการเมืองของประชาชน 2. พรรคขนาดเล็กที่มีอุดมการณ์ ขาดปัจจัยเกือบทุกอย่าง ทั้งคน ทุน การจัดการ โดยสรุป นักการเมืองไทย ยังคงยึดมั่นในระบบรัฐสภาที่มีข้ออ่อนและข้อจำกัด และเอื้อต่อชนชั้นนำสังคม ทำให้ นักการเมือง ไม่สามารถเป็นความหวัง ที่จะปฏิรุปการเมืองและประชาชนให้มีคุณภาพได้ สี่. ฝ่ายรัฐ ต้องมองให้ครบทั้งระบบโครงสร้างและระบบของสังคม ที่ไม่เป็นธรรม มีความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมโดยมีระบบอุปถัมภ์ค้ำจุน ระบบบริโภคนิยม และประเพณีวัฒนธรรมอ่อน ( ขาดความขยัน อดทน การประหยัด ความรับผิดชอบ และการกล้าต่อสู้กล้าเสียสละฯ ) ทำให้ ระบบการเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม เอื้อต่อชนชั้นำชนชั้นสูงที่มีอำนาจฯ ประชาชนขาดคุณภาพ คือ ขาดความเป็นอิสระเป็นตัวของตนเอง การแสวงหาความรู้ และใช้ข้อมูลตัดสินใจ ระบบการเมืองไทย อยู่ในระบบรัฐสภาตัวแทนที่ขาดความสุจริตเที่ยงธรรมในการเลือกตั้ง ตัวแทนที่ได้รับเลือกตั้งไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนที่แท้จริง จึงไม่ได้เอาผลประโยชน์ประชาชนและประเทศชาติมาก่อนแต่ทำเพื่อพรรคการเมือง( เจ้าของและผู้มีอำนาจในพรรค) นักการเมือง ตัวเองและพวกพ้อง ระบบรัฐสภาไทย รัฐสภา รัฐสภา และศาล ฯ ไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลกันได้อย่างแท้จริง และกลับเป็นคนกลุ่มเดียว ทำให้มีอำนาจรวมศูนย์ และไม่ฟังเสียงประชาชนที่แท้จริง พรรคการเมืองระบบการเมือง ขาดการพัฒนาและส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพ เป็นพลเมืองที่เอาการเอางาน มีความรู้ มีทักษะ มีความรับผิดชอบ และความคิดเพื่อส่วนรวม ห้า. ฝ่ายประชาชนที่มีคุณภาพ ( พลเมือง ) และภาคประชาชน พลเมือง ( Citizen ) ตามระบอบประชาธิปไตยมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ด้านความรู้คือ 1) รู้จักการเมืองโดยรวมและเข้าใจหลักการประชาธิปไตยทั้งในฐานะรูปแบบการปกครองและ วิถีชีวิตในสังคม 2) รู้จักตนเอง ชุมชนและสังคมที่ตนอยู่อาศัย ด้านทักษะมี คือ 1) คิดอย่างมีวิจารณญาณและแสดงออกอย่างรู้เท่าทัน 2) การใช้สิทธิเสรีภาพอย่างมีความรับผิดชอบ 3) การทำงานร่วมกับผู้อื่น 4) มีส่วนร่วมทางการเมือง และ ด้านเจตคติมี คือ 1) ยึดถือผลประโยชน์ส่วนรวม 2) เชื่อในความเสมอภาค ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความยุติธรรมในสังคม 3) ยึดหลักสันติวิธี และ 4) ศรัทธาในอิสระและปกครองตนเองได้หรับภาคประชาชน ยังขาดคุณภาพและการมีความคิดที่ถูกต้อง เข้าใจสภาพสังคมไทยตามความเป็นจริงติดความคิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งเสรีนิยม และสังคมนิยม แบบไม่จำแนก ที่สำคัญ คือ การสร้างคุณภาพของประชาชนที่เป็นพื้นฐานหลักคือ กรรมกร ชาวไร่ชาวนา และคนจนเมือง ยังไม่ได้ให้ความสำคัญพอ ทำให้กำลังประชาชนส่วนนี้ ขาดความเป็นพลเมือง และถูกใช้เป็นเครื่องมือได้ หก. ปัจจัยจากภายนอก เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อทักษิณมากกว่า ทั้งองค์กรระหว่างประเทศ ประเทศมหาอำนาจ และประเทศอาเซียนและเอเชีย เพราะ 1. กรอบความคิดในฐานะประเทศประชาธิปไตย ที่มีทัศนะต่อสถาบันกษัตริย์ ทหาร ในเชิงลบและการขาดข้อมูลที่ถูกต้องของสภาพสังคมและคนไทย 2. ทักษิณ มีแนวทางและการจัดการประสานสัมพันธ์ และการจัดจ้างองค์กรระหว่างประเทศ ในการทำข้อมูลที่เป็นผลดีต่อทักษิณ และผลลบต่อรัฐบาลพลเรือนและรัฐบาลทหารที่เป็นฝ่ายตรงข้าม 3. รัฐบาลที่เป็นคู่แข่งหรือรัฐบาลทหาร ขาดวิสัยทัศน์และการจัดความสัมพันธ์ที่ดีให้ข้อมูลและความเข้าใจ ที่ถูกต้องตามสภาพความเป็นจริง สาเหตุของการที่พรรคการเมืองอื่น และรัฐบาลทหาร ไม่สามารถจัดการได้อย่างถูกต้องต่อฝ่ายทักษิณเพราะ ไม่ได้มีวิสัยทัศน์ความเป็นรัฐบุรุษ ที่มีความกล้าหาญเสียสละ แก้ที่ต้นเหตุของปัญหาของประเทศ คือ ขจัดคนไม่ดี และระบบโครงการของสังคมที่เหลื่อมล้ำ และพัฒนาคุณภาพคน แม้แต่ในคราวนี้ก็ตาม ฉะนั้น หากมีการเลือกตั้งครั้งต่อไป ผู้ได้เสียงข้างมาก ก็จะเป็นฝ่ายทักษิณ 1. กำลังและอำนาจของฝ่ายทักษิณ ยังมีอยู่เต็มที่ ( ตามที่กล่าวมา ) แต่ฝ่ายอื่นไม่ได้มีความเข้มแข็งเท่าเทียม 2. ฝ่ายอื่นรวมถึงรัฐบาลประยุทธและแม่น้ำ 5 สาย ได้ดำเนินการแบบอะลุ้มอะล่วย รักษาหน้าตาของตนไว้ 3. ไม่กล้าทำอะไรเด็ดขาด ที่จะถอนรากถอนโคนเอาคนผิดมาลงโทษ จัดการเงินโกงสื่อและกำลังของทักษิณ 4. ขณะที่ฝ่ายทักษิณยังรักษาสถานะและกำลังต่างๆได้ และยังโจมตีบิดเบือนใส่ร้ายรัฐบาลมาตลอด หากเรามีรัฐบาลที่มีผู้นำเป็นรัฐบุรุษ มีวิสัยทัศน์กว้างไกล กล้าเสียสละ ปฏิรูปประเทศจริงจัง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ 1. ทักษิณยิ่งลักษณ์และครอบครัวรวมทั้งพวกพ้องแกนนำ จะถูกจัดการเด็ดขาด เพราะความผิดมีหลักฐานชัด 2. พรรคการเมืองของเขา ที่ใช้ระบอบทุนสามานย์เผด็จการรัฐสภาฯ จะถูกยุบ ไม่สามารถก่อการไม่ดีได้อีก 3. ทุนที่ได้มาจากการโกงกินทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มต้นการเมือง จะถูกตรวจสอบ และถูกยึดคืนทั้งหมด 4. สื่อสารในเครือข่าย ที่ขาดจรรยาบรรณ ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือใส่ร้ายป้ายสีให้ข้อมูลผิด จะหมดไป 5. ระบบและโครงสร้างสังคม จะถูกแก้ไขให้เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นเครื่องมือของนักการเมืองจะถูกปฏิรูปใหญ่ จะเกิดระบบการเมืองเศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมที่เป็นธรรมและเอื้อต่อผล ประโยชน์ของประชาชนและประเทศ เราจะมีข้าราชการที่รับใช้ประชาชน ระบบธุรกิจที่โปร่งใส มีธรรมาภิบาลและประชาชนมีคุณภาพ มีสิทธิหน้าที และเสรีภาพกับความรับผิดชอบฯ โดย การปฏิรูปประเทศได้ เช่นนี้ ไม่สามารถจะใช้วิธีการประณีประนอมกับความผิดและคนผิดได้ และต้องดำเนินการอย่างจริงจังเด็ดขาด โดยใช้อำนาจที่เป็นธรรม ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม ( 5 -10 ปี ) สิ่งเหล่านี้ ไม่สามารถทำได้ โดยนักการเมืองหรือรัฐบาลที่ยังแคร์ต่อคนทำผิดและอิทธิพลของต่างชาติที่มากดดันมีแต่รัฐบุรุษที่มีวิสัยทัศน์กล้าหาญเสียสละ เพื่ออนาคตของประเทศและลูกหลาน สามารถทำได้จริง