ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ความคิดความขัดแย้งในสังคมไทย เกิดจาก การรับรู้ ผ่าน ตา หู ปาก ฯลฯและท่าที ที่ต่างกัน คนที่ขาดคุณภาพ มักจะใช้ "อวัยะของตน" อย่างไม่คิด ไม่เข้าใจ และแสดงออกอย่างไม่สร้างสรรค์ เช่น พูดไม่คิด กดไลน์ให้เร็วเข้าว่า ชอบฟันธง เพราะมันเท่ห์ เก่งกว่าใคร ขาดความรับผิดชอบกับผลที่เกิดขึ้น ชอบใคร ก็เชียร์ดีเลิศ ว่าเก่งไม่มีใครเกิน ทั้งๆที่เป็นคนโกงชาติโกงประชาชน สั่งเผาบ้านเผาเมือง หนีคดี ฯลฯ ใครเห็นต่าง ก็ซัดแหลก หยิบยกตัวอย่าง อ้างต่างชาติชื่นชมยกย่อง เชิญไปลงทุน ฯลฯ วิธีการก็แยลยล ไม่พูดโดยตรง แต่หยิบข่าวหนึ่งออกมาเชียร์ หยิบข่าวสองออกมาอัดรัฐบาลและฝ่ายคิดต่าง หรือบางที มองเห็นเพื่อนมิตรคิดผิดทำพลาดบางเรื่อง ก็ไปกล่าวหาติเตือนอย่างรุนแรง ทั้งๆที่ตัวเอง ทำความผิดมากกว่าเขาหลายเท่าตัว แต่ตัวเอง มองไม่เห็นความผิดของตัวเอง แต่เห็นความผิดของคนอื่น นี่คือ “ คนตาดี ที่ตาบอด “ เรื่องเช่นนี้ ไม่น่าเกิดจากคนมีความรู้ตำแหน่งสูง แต่ใช้อคติ อวิชชา อารมณ์ นำสติปัญญาความจริง หลักการที่ถูกไม่ยาก “ แสวงหาความจริง ที่เกิดขึ้นจริง และมีข้อสรุปจากศาลและสังคม “ เช่น การสั่งให้คนของพรรคตนและตำรวจบางส่วน บุกไปพังการประชุมอาเซียน + 6 ที่พัทยา ปี 2552 แล้วเจ้าตัวโฟนอินจากเมืองนอก “ออกมาชื่นชม อ้างว่า เป็น ชัยชนะของประชาชน “ บนความเสียหายของชาติ การสั่งคนของกลุ่มตน บุกปิดล้อมบ้านเมือง ใช้อาวุธสังหารทหารที่ออกมารักษาความสงบ ปี 2553 สร้างกำแพงไม้ไผ่แท่นคอนกรีต ปิดสี่แยกราชประสงค์ เพื่อต่อรองทางการเมือง เมื่อแพ้ก็เผาเมืองเผาศาลากลาง สั่งคนบุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาฯ ซึ่งแม้แต่สงครามก็ไม่ทำกัน เพียงเพื่อหวังชัยชนะ ไมสนคนป่วยคนไข้ ฯ ศาลฏีกา( ที่ประชุมใหญ่ ) มีมติว่า “ เขากระทำผิด ต้องติดคุก “ แต่ก็หลอกล่อหนีไปต่างประเทศ ไม่ยอมรับผิด เรื่องเหล่านี้ คนทั้งบ้านทั้งเหมือนที่ติดตามรับรู้ข่าวข้อเท็จจริงที่เห็นด้วยตา มีหลักฐานประกอบชัดเจน หาก ยอมรับความจริงว่า “ สิ่งเหล่านี้ เป็นความผิด “ แต่ถ้าจะเชียร์ ก็ควรเอาเรื่องที่เขาทำดีมาพูด น่าจะดีกว่า เพราะทุกฝ่าย ไม่มีใครสมบูรณ์ มีผิดมีถูก และเขา ก็มีข้อดีอยู่ในบางช่วง แต่เมื่อไม่ดีทำผิด ต้องยอมรับน่ะจ้ะ เราในฐานะ อยู่เมืองพุทธ ที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธ เรามาทำความเข้าใจเรื่องนี้กัน ชีวิตในทัศนะของพุทธศาสนา เป็นผลของการที่ส่วนประกอบห้าส่วน (ขันธ์ 5) มารวมกันเข้า โดยมีความสัมพันธ์แบบอิงอาศัยกันอย่างสอดประสาน ส่วนประกอบทั้งห้านี้ มีทั้งส่วนที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ชีวิตของคนเราสัมพันธ์กับโลกภายนอกโดยผ่านระบบ 2 ระบบ คือ ระบบที่เป็นประตูแห่งการรับรู้ และ ระบบที่เป็นประตูแห่งการแสดงออก ระบบแรก (ระบบการรับรู้) ประกอบด้วยช่องทางเชื่อมต่อให้เกิดความรู้หรือการรับรู้” 6 ช่องทาง (เรียกว่า ”ทวารทั้งหก” ก็ได้) พุทธศาสนาเรียกว่า “อายตนะ” คือ 1. ตา : เป็นช่องสำหรับรับรู้รูปหรือสี และทรวดทรงของวัตถุสิ่งของต่างๆ 2. หู : รับรู้เสียง 3. จมูก : รับรู้กลิ่น 4. ลิ้น : รับรู้รส 5. กาย : รับรู้การสัมผัส และ 6. ใ : รับรู้อารมณ์ต่างๆ ระบบที่สอง (ระบบการแสดงออก) นั้น ประกอบด้วยช่องทางหลัก 3 ช่องทาง คือ กาย วาจา และ ใจ รูปแบบของการแสดงออกที่เราคุ้นเคยกันดีโดยผ่านช่องทางทั้งสามนี้ คือ การทำ การพูด และการคิด หรือกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม นั่นเอง ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ทั้งช่องทางการรับรู้และช่องทางการแสดงออก ต่างก็ขึ้นอยู่กับขันธ์ 5 เพราะถ้าไม่มีการรวมกันเข้าของขันธ์ 5 (นั่นคือไม่มีชีวิต) ช่องทางเหล่านี้ก็มีไม่ได้ ควรกล่าวตรงนี้ว่า ความรู้สึกว่า มีตัวตน ความรู้สึกว่า นี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา เป็นต้น เกิดขึ้นได้จากการที่ขันธ์ 5 (ชีวิต) มีการติดต่อกับโลกภายนอกเป็นสำคัญ กล่าวคือ เมื่อมีการรับรู้สิ่งต่างๆ ผ่านช่องทาง (อายตนะ, ทวาร) ทั้ง 6 ดังกล่าวมา เราย่อมเกิดความรู้สึก หรือมีปฏิกิริยาต่อสิ่งเหล่านั้น เช่น เกิดความรู้สึกชอบไม่ชอบ รักโกรธสุขทุกข์ ฯ ขึ้นอยู่กับลักษณะการรับอารมณ์ในขณะที่เกิดการสัมผัสกับสิ่งนั้นๆ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นนั้นจะก่อให้เกิดความอยาก (ตัณหา) ในลักษณะต่างๆ ตามมา คือ 1. อยากได้ อยากมี อยากเป็น ในสิ่งที่ตัวเองยังไม่ได้ยังไม่มีหรือยังไม่เป็น (กามตัณหา) 2. เมื่อได้ หรือมี หรือเป็นสมใจแล้วก็อยากให้สิ่งที่ตัวเองได้ มี และเป็นนั้นคงอยู่นานๆ (ภวตัณหา) 3. หรืออยากให้ตัวเองพ้นจากสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (วิภวตัณหา) (พระธรรมปิฎก, 2546; เมื่อได้สิ่งที่ชอบ สิ่งที่ทำให้เป็นสุข ความรู้สึกก็จะพัฒนาไปเป็นความยึดมั่นถือมั่น อยากครอบครองสิ่งนั้นๆ (นั่นคือเกิด อุปาทาน) ในขั้นนี้ขันธ์ 5 (ชีวิต) ก็กลายเป็นขันธ์ 5 ที่ประกอบด้วยอุปาทาน (อุปาทานขันธ์) ไม่ใช่ขันธ์ 5 บริสุทธิ์อีกต่อไป และนี่คือชีวิตของปุถุชนอย่างเราๆ ท่านๆ ทั่วไป ข้อเท็จจริงของชีวิตก็คือ เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เข้าไปสัมพันธ์กับโลกภายนอกเลย เมื่อมีการเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก ก็มักจะมีเรื่องของตัณหาและอุปาทานตามมา ก็อะไรล่ะ ที่จะทำให้ชีวิตไม่ตกอยู่ในกระแสแห่งตัณหาและอุปาทานซึ่งเป็นที่มาแห่งทุกข์? ในเรื่องนี้พุทธศาสนาชี้ทางว่า ควรฝึก“มองสิ่งทั้งหลายตามภาวะล้วนๆ ของมัน หรือตามสภาววิสัย (objective) คือ มองเห็นสิ่งทั้งหลาย “ตามที่มันเป็น” ไม่เอาตัณหาอุปาทานเข้าไปจับ อันเป็นเหตุให้มองเห็นตามที่อยากหรือไม่อยากให้มันเป็น อย่างที่เรียกว่าสกวิสัย (subjective)” (พระธรรมปิฎก, 2544: 25) การทำให้คนตาดี มองเห็นความเป็นจริง ทางพุทธ ได้ชี้ชัดว่า “ คือ มองเห็นสิ่งทั้งหลาย “ตามที่มันเป็น” : อะไรถูก ก็คือ ถูก , อะไร ผิด ก็คือ ผิด อย่าใช้ “ ตัณหา อุปทาน “ ไปจับ เพราะจะเป็นเหตุให้ 1. มองเห็นตามที่อยาก ที่ชอบ ที่เชียร์ 2. มองไม่เห็น ตามที่ไม่อยาก ไม่ชอบ แต่บางคนมีความรู้ มีประสบการณ์สูง เห็นความเป็นจริง และความเท็จที่เกิดขึ้น แต่เพราะ “ มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง “ คือ “ เอาตัวกูของกู ไปร่วมกับเขาด้วย “สิ่งที่แสดงออก จึงค้านกับความจริง และค้านกับตัวเอง คนบางคนมีชั้นเชิงสูง มีบริษัทใหญ่โต ต้องจ้างคนมีฝีมือสูง ราคาแพง และยังจ้างผู้นำมวลชนมาทำงาน แต่เมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาล ก็โอน เจ้าหน้าที่ระดับสูงของตน ไปกินตำแหน่งซีอีโอ ผู้บริหารขององค์กรมหาชน แล้วให้รัฐมนตรีในสังกัด เอาตัวแกนนำ ไปเป็นที่ปรึกษา กินเงินเดือนรัฐ ซึ่งก็คือ เงินประชาชน เอาพวกพ้องบริวารร่วมพรรค ที่มีบริษัทใหญ่โต มาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญ โดยมีผลประโยชน์ร่วม เสนออภิมหาโครงการมีเงินหลายพันหลายหมื่นหลายแสนล้าน อ้างเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากกินส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์ 20 - 30 % แล้ว ยังดึงข้าราชการ อาจารย์นักวิชาการมีชื่อ มาร่วมทีมฯ ส่งเสริมข้าราชการตำรวจทหารบางนาย ขึ้นแซงหน้าเพื่อนฝูงขึ้นมาเป็นใหญ่ในหน่วยงาน คนที่ได้รับตำแหน่งใหญ่ ถึงกลับ กล้าพูดต่อสังคม “ มีวันนี้เพราะ พี่ให้ ก็ต้องทำคุณตอบแทน “ หลักการเจ้าเล่ห์ของเขา “ คือ เอาคนมาร่วม “ ทำงาน ร่วม กิน “ และต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย เงินทอง ตำแหน่งที่ให้ ก็มิใช่เงินส่วนตัว แต่เป็นเงินของประชาชน หรือ การอ้างความช่วยเหลือประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยงบประมาณ หลายพันล้าน ( ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี น่าชื่นชม ) แต่กลับ ให้ผู้นำเพื่อนบ้าน มาซื้อมาใช้บริการ บริษัทของตนเอง สร้างกำไรที่มิชอบ หลายสิบเปอร์เซ็นต์ ฯลฯ เมื่อหมดอำนาจ เรื่องแดงขึ้น ก็ต้องถูกติดคดีไปด้วย ฯลฯความจริง ไม่น่า เอาชื่อเสียง เกียรติยศ เกียรติภูมิ ที่สร้างสะสมมานาน เข้าไปร่วมเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเลย แต่เมื่อผิดไปแล้ว ซึ่งมีไม่น้อย ที่มีการทำผิดพลาด ทั้งที่เคยเป็นคนดี มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักดีในสังคม ทางที่ถูกที่ควร “ ควรจะหยุด ถอนตัวออกมา “แล้วกลับมาอยู่ฝ่ายดี ฝ่ายถูกต้อง คงจำกันได้ “ องคุลีมาน “ ประหารคนไป 999 คน ( นิ้วหัวแม่มือ ) ยังหยุดได้ เจอได้เจอพระพุทธเจ้าฯ แล้วตอนนี้ ล่ะ จะให้ไปเจอใคร ใครอาสาจะไปช่วยเพื่อนบ้าง ไม่ยากเลยเลยพี่ ต้องมาสรุปบทเรียน ความผิดพลาดที่ผ่านมา โดย ทำตัวว่าง ใจสบาย 1. โดยใช้ความรู้ ความเก่ง ประสบการณ์ เป็นพื้นฐาน ซึ่งใช้อย่างเดียวไม่พอ 2. ต้องใช้ “ สติ ปัญญา ความจริง “ นำ “ อคติ อวิชชา ความเท็จ “ 3. เอา ผลประโยชน์ส่วนรวม และ ประเทศชาติ มาก่อน ผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ร่วมที่ผิด 4. ปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยน หรือ ขอคำแนะนำ จากมิตรแท้ ที่รักและหวังดีต่อเราอย่างแท้จริง ปรารถนาให้เพื่อนมิตรและประชาชนที่รักและหวังดีต่อประชาชนและประเทศ ได้ 1. ได้คิดดีทำดี เพื่อคนอื่น เพื่อบ้านเมิอง เป็นการตอบแทนบุญคุณ ก่อนจากไป 2. ได้เป็นคนดีมีคุณธรรม ได้รับการยอมรับชื่นชมจากสังคม จากความรู้ความสามารถที่มี 3. ได้มีส่วนร่วมในการคิดแกวิกฤติของสังคมและประเทศชาติ ที่หนักมาก ต้องการระดมคนมาช่วยแก้ไข 4. ให้คนที่อยู่ ลูกหลาน ที่ยังต้องอยู่ในสังคมต่อไป ได้รำลึกถึงเราในด้านดีงาม ทั้งหมดที่กล่าวสรุปมาคร่าวๆ เพื่อหวังให้คนตาดี ได้ความจริง ได้คิดดีทำดี มิใช่มองไม่เห็นความจริง