ชัยวัฒน์ สุรวิชัย ความหมายของการพัฒนาตน การพัฒนาตน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า self-development หมายถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมาะสมเพื่อสนองความต้องการและเป้าหมายของตนเอง หรือเพื่อให้สอดคล้องกับ สิ่งที่สังคมคาดหวัง การพัฒนาศักยภาพตนเอง เป็นเรื่องที่มีคุณค่าและความจำเป็น และที่สำคัญ “ เราทำได้ “ 1. ตามหลักพุทธศาสนา “ มนุษย์ เป็นสัตว์ที่ฝึกได้ “ และเป็นสิ่งที่มนุษย์แตกกต่างจากสัตว์ 2. ตามหลักธรรมชาติ มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา 3. ตามหลักวิทยาศาสตร์ของชีวิต มนุษย์มีกลไกของการับรู้ พัฒนาได้มากมายกว่าที่ตัวเองคิด ความหมายของการเป็นมนุษย์ คือ การฝึกฝนและพัฒนาตนเอง อยู่ตลอดเวลา เพราะ 1. มนุษย์เป็นสัตย์ประเสริฐ เป็นสัตว์ที่ฝึกฝนเรียนรู้ได้ ( เป็นข้อแตกต่างที่สำคัญกับสัตว์ ) 2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ที่จะต้องมีการปรับปรุงตนเองให้สอดคล้องคนอื่นและสังคม 3. ความก้าวหน้าการพัฒนาของสังคม ทั้งการเมือง เศรษฐกิจสังคมวัฒนธรรมและเทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนไป 4. ตัวมนุษย์ จะมีการเติบโตขึ้นตามกาลเวลาที่ผ่านไป ( มีเกิด แก่เจ็บตาย ) มีการเปลี่ยนแปลงไปตลอด เริ่มจากช่วงของการเรียนรู้พัฒนาได้รวดเร็วในวัยเริ่มต้น จนไปถึงช่วงที่เริ่มถดถอย ในยามชรา การพัฒนาศักยภาพของตนเองมีความสำคัญมากต่อมนุษย์ 1. ทำให้มนุษย์มีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญา แสวงหาความจริงได้ 2. ทำให้มนุษย์ มีความเจริญก้าวหน้าและความสำเร็จบรรลุเป้าหมายในชีวิตและหน้าที่การทำงาน และสังคม 3. ทำให้มนุษย์สามารถอยู่ได้ด้วยตนเองและอยู่ร่วมกับสังคมที่มีความเหมือนและความแตกต่างกันได้ 4. ทำให้มนุษย์เป็นคนดี มีประโยชน์และคุณค่าต่อตนเอง ผู้อื่น ชุมชน สังคมและบ้านเมือง แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตน บุคคลที่จะพัฒนาตนเองได้ จะต้องเป็นผู้มุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงตัวเอง โดยมีความเชื่อหรือแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาตนที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การพัฒนาตนเองประสบความสำเร็จ แนวคิดที่สำคัญมีดังนี้ 1. มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่มีคุณค่าอยู่ในตัวเอง ทำให้สามารถฝึกหัดและพัฒนาตนได้ในเกือบทุกเรื่อง 2. ไม่มีบุคคลใดที่มีความสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน จนไม่จำเป็นต้องพัฒนาในเรื่องใดๆ อีก 3. แม้บุคคลจะเป็นผู้ที่รู้จักตนเองได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่สามารถปรับเปลี่ยนตนเองได้ในบางเรื่อง ยังต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่นในการพัฒนาตน การควบคุมความคิด ความรู้สึก และ การกระทำของตนเอง มีความสำคัญเท่ากับการควบคุมสิ่งแวดล้อมภายนอก 4. อุปสรรคสำคัญของการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง คือ การที่บุคคลมีความคิดติดยึด ไม่ยอมปรับเปลี่ยนวิธีคิด และการกระทำ จึงไม่ยอมสร้างนิสัยใหม่ หรือฝึกทักษะใหม่ๆที่จำเป็นต่อตนเอง 5. การปรับปรุงและพัฒนาตนเองสามารถดำเนินการได้ทุกเวลาและอย่างต่อเนื่อง เมื่อพบปัญหาหรือข้อบกพร่องเกี่ยวกับตนเอง ความสำคัญของการพัฒนาตน ก. ความสำคัญต่อตนเอง ข. ความสำคัญต่อบุคคลอื่น เนื่องจากบุคคลย่อมต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ค. ความสำคัญต่อสังคมโดยรวม เมื่อเราแต่ละคนพัฒนา ก็จะทำให้สังคมพัฒนาไปได้ดีขึ้น การพัฒนาศักยภาพของตนเอง ในหลายทาง 1. การเรียนรู้ ทางตรง ด้วยตนเอง การอ่าน การเขียน การพูด 2. การเรียนรู้ทางอ้อม จากคนอื่น 3. การปฏิบัติ การทำงาน 4. การเรียนรู้จากการแก้ปัญหา จากการผิดพลาด การผิดพลาด เป็นมารดาแห่งความสำเร็จ 5. การสรุป ทำให้เรารู้จุดอ่อน จุดแข็ง นำมาปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้น @ แต่ละเรื่อง ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง และการจัดให้สอดคล้อง จะทำให้เกิดการพัฒนา @ การอ่าน เป็นจุดเริ่มต้น การเขียน จะเป็นขั้นต่อมา เพราะการเขียนที่ดี ต้องมาจากการอ่านมากพอ แล้วจึงมายกระดับเป็นการเขียน การพูด จะเป็นขั้นต่อไป เพราะ การพูด ได้ดี จะเป็นการสรุปจากการเขียนที่ดี การได้มาซึ่งความรู้ และการพัฒนาตนเอง 1. การอ่านหนังสือ คนที่ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ต้องเป็นคนที่ชอบการอ่าน รักการอ่าน การสร้างนิสัยรักการอ่าน เริ่มจากหนังสือในแนวที่เราชอบหรือรักก่อน แล้วจึงขยายไปในแนวต่างๆ 1.1 การอ่านเพื่อศึกษาเรียนรู้ ในการเรียนในระบบการศึกษา 1.2 การอ่านเพื่ออาชีพ เราควรหาหนังสือที่เกี่ยวข้องกับอาชีพของเรา อ่านให้มากที่สุด อย่างน้อยเดือนละ 3-5 เล่ม ต่อเดือน และควรหาวารสารนิตยสารเกี่ยวกับอาชีพที่เราทำ อ่านเพื่อหาความก้าวหน้า ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในแวดวงอาชีพนั้น 1.3 การอ่านเพื่อการแก้ปัญหา หรือเพื่อบรรลุเป้าหมายในการงาน หรืออุดมการณ์ 2. การเข้าฟังสัมมนาดีๆ การอบรมดีๆ ถือว่าเป็นทางลัดในการเรียนรู้เทคนิคต่างๆ ( จาก วิทยากรหรืออาจารย์ ) ทำให้เราสามารถนำเทคนิคต่างๆ เหล่านั้น มาปรับใช้ ประยุกต์ใช้ได้ด้วย 3. การฟังเทปหรือCD วิชาการในรถ และมีเวลาว่างหรือมีโอกาส 4. หาทางเข้าสังคมหรือการสร้างเครือข่ายในอาชีพ หรือในงานอดิเรกที่เราสนใจ เช่น สมาคม สโมสร ชมรม ( สมาคมฝึกพูด , สโมสรนักเขียน , ชมรมกีฬาต่างๆ) เพื่อหาเพื่อนหรือเครือข่ายในการช่วยเหลือกัน 5. การดูแบบอย่าง การหาแบบอย่าง การดูต้นแบบ จะทำให้เราเกิดการลอกเลียนแบบ คนที่ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว มักมีต้นแบบเสมอ 6. หาเวลาว่างให้กับตนเอง ( คนที่ประสบความสำเร็จ) เพื่อใช้ในการคิด 7. .ฝึกจดบันทึกส่วนตัว เกี่ยวกับความสำเร็จ ไอเดียใหม่ๆ การใช้ชีวิตประจำวัน การจดสิ่งเหล่านี้จะทำให้เราไม่ลืม หรือ สามารถนำเอาไอเดียเหล่านั้น มาใช้เพื่อสร้างเป็นธุรกิจหรือการทำงานของเราได้ 8. ต้องฝึกปฏิบัติหรือพัฒนาตนเองตลอดเวลา จะทำให้ตนเองเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง คนเรามักไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง แต่คนเราจะเจริญก้าวหน้าหรือพัฒนาได้ก็เพราะการเปลี่ยนแปลง แนวทางการพัฒนาศักยภาพของคน โดย การกำจัดจุดอ่อน และเสริมจุดแข็ง มีขั้นตอนดังนี้ 1. สำรวจค้นหาจุดอ่อนและจุดเด่น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาตนเองคือ การค้นหาตัวเองให้เจอว่าตัวเองมีจุดอ่อนและจุดเด่นตรงไหนบ้าง สำหรับวิธีการในการวิเคราะห์สามารถทำได้หลายวิธี 2. จัดลำดับความสำคัญ เมื่อเราทราบจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเองแล้ว ให้ลองนำมาจัดลำดับดูว่าเรื่องไหนเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องกำจัดหรือพัฒนาอย่างเร่งด่วน โดยพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 3. ลงมือกำจัดจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่น โดยการปฏิบัติให้ได้จริง แนะนำให้ทำทีละอย่าง เช่น ช่วงแรกอาจจะพัฒนาในเรื่องทัศนคติก่อน เมื่อทำได้สำเร็จแล้ว ค่อยๆ พัฒนาในเรื่องอื่นๆต่อไป จุดหักเหที่สำคัญในการลงมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาตัวเองอยู่ที่ "อย่าล้มเลิกความตั้งใจ" คนบางคนท้อ คนบางคนขาดความอดทนอดกลั้น พ่ายแพ้ภัยตัวเอง แน่นอนว่าการทำอะไรก็ตามย่อมมี พยายามหาแรงบันดาลใจหรือ จูงใจเข้ามาเสริมทัพอยู่ตลอดเวลา บางคนได้แรงใจจากลูก บางคนได้แรงใจจากใจจากเพื่อนสนิท และที่สำคัญคือ จาก เป้าหมายในชีวิต 4. ประเมินผลและแก้ไขปรับปรุงเมื่อเราได้กำจัดจุดอ่อนหรือเสริมจุดแข็งอะไรให้กับชีวิตแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะต้องทำคือการประเมินผลดูว่าได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่ เพราะอะไรก็ตามที่เราสามารถวัดได้ ประเมินผลได้ เราสามารถจัดการกับมันได้ และการประเมินผลจะช่วยให้เราสามารถตั้งเป้าหมายที่ท้าทายเพิ่มขึ้นไปอีก ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่เราหาจุดอ่อนและจุดเด่นของตัวเองเจอหรือไม่ เรายอมรับมันหรือไม่ "ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้นที่การชนะใจตนเอง" โดยสรุป : การพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นให้มีความก้าวหน้าในอาชีพและงานส่วนรวม สามารถทำได้ แต่ ความยากที่สุด คือ “ ตัวเราเอง “ ที่เกิดจากการขาดความรู้ที่ไม่เข้าใจ และความคิด “ว่าเป็นไปไม่ได้” และการขาดเป้าหมายของชีวิต และที่สำคัญกว่า คือ การทำเพื่อส่วนรวมและตอบแทนคุณแผ่นดิน ************** หมายเหตุ ข้อมูลบางส่วนมาจาก : ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ณรงค์วิทย์ แสนทอง ผศ.วินัย เพชรช่วย